|
 |
|
กำลังอ่านอยู่ : 6 คน |
|
|
|
|

1.
ทุกข์ ได้แก่ ความเกิดแก่เจ็บตาย
การพบสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ต้องการสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
และขันธ์ 5 ( คือ ตัวเรานี่แหละ ) คือ ทุกข์
2.
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์มี
3 อย่าง
-
กามตัณหา อยากในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
-
ภวตัณหา อยากมี อยากเป็น อยากเป็นโน่นเป็นนี่
-
วิภวตัณหา อยากไม่มี อยากไม่เป็น เป็นการปฏิเสธสิ่งที่เราไม่ชอบ อยากให้ออกไปจากตัว
เช่น คนโทสะ แล้วอยากทำร้ายผู้อื่น หรือคนเป็นครู อยากเป็นอย่างอื่น
3.
นิโรธ การดับทุกข์
สลัดทิ้งปล่อยคืน ทำลายความอยากถ้าต้องการไม่ให้ทุกข์ ก็ระงับความอยาก
4.
มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
คือ มรรคมีองค์ 8
อริยสัจ
4 เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ฟังดูเหมือนง่าย ๆ คือมีทุกข์ หาเหตุของมัน
หาทางดับมัน แล้วก็ดับมัน แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น พอเริ่มแก่ ได้เห็นปัญหาของคนอื่นที่เขาเดือดร้อน
เพิ่งได้เข้าใจว่า ความเห็นแก่ตัวของคนเรานี่เอง ทำให้หาเหตุของทุกข์ไม่เจอ
หรือเจอผิด ก็เลยทำให้แก้ทุกข์ไม่ได้

รติยาเป็นทุกข์ใจ
เพราะเกียรติคนรักไปชอบผู้หญิงอื่น รติยาสรุปว่าเหตุแห่งทุกข์ มี 2
อย่าง คือ เกียรติไม่รัก และผู้หญิงอื่น วิธีดับทุกข์ของเธอก็คือ บังคับให้เกียรติกลับมารัก
และให้ผู้หญิงอื่นไปเสีย แต่ไม่สำเร็จทั้งสองอย่าง รติยาจึงยังทุกข์อยู่
รติยามองปัญหาและแก้ปัญหา
เพื่อสนองความสุขของตนคนเดียว ให้ทุกคนมาแก้ปัญหา เพื่อความสุขของเธอ
เธอจึงไม่ได้
เกียรติเลิกรักรติยา
เพราะนิสัยที่เข้ากันไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องทะเลาะกันบ่อยครั้ง
เขาจึงคิดว่าน่าจะอยู่กับคนที่นิสัยเข้ากันได้ จะดีกว่า เพราะการให้รติยาเปลี่ยนนิสัย
เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้
รติยาก็รู้เรื่องนี้เหมือนกัน
แต่เธออยากให้เกียรติเปลี่ยนนิสัยมาเข้ากับเธอ และไม่ยอมรับว่ามันเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น
เธอจึงทุกข์ต่อไป
หากเธอมองเหตุของทุกข์ออก
ว่าเกิดจากการเข้ากันไม่ได้และเขาก็จากไปแล้ว เธอต้องตัดใจไปหาคนที่นิสัยเข้ากับเธอได้
ก็จะพ้นทุกข์
แต่เรื่องของความรักของปุถุชนก็เป็นเช่นนี้แหละ
มันยากไปเสียทั้งหมด เราจึงทุกข์กันทุกวัน
เรื่องของความทุกข์มีมากมาย
หนังสือของอาจารย์หลายท่านเขียนเรื่องความทุกข์เรื่องเดียว ได้เป็นเล่มหลายร้อยหน้า
ก็หาอ่านเอาได้ตามอัธยาศัย
ในเรื่องของข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์
คือ มรรคมีองค์ 8 ประการ
ดังนี้
1.
ความเห็นถูก คือ เห็นอริยสัจ
4 นั่นเอง เราเอามาคิดเรื่องทุกข์ว่า ทุกข์เกิดเพราะการกระทำของตนเอง
ตนเองเป็นตัวทุกข์ เป็นต้นเหตุของทุกข์ และเป็นผู้ดับทุกข์ได้ ถ้าเรามองอย่างเป็นธรรมไม่เห็นแก่ตัวเข้าข้างตัวเองเกินไป
และมีเจตนาจะดับทุกข์ให้แก่ตัวเอง ทุกข์ในธรรมะท่านหมายถึงทุกข์ใจ
2.
คิดถูก มี 3 อย่างคือ
-
คิดที่จะปลีกตัวออกจากอารมณ์ยั่วยวนต่าง ๆ
-
คิดไม่พยาบาทปองร้าย
-
คิดไม่เบียดเบียน ข้อนี้ทำได้โดยคิดว่า ทุกคนเป็นญาติกัน
( ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง ) , ทำตนให้เป็นคนเห็นอกเขาอกเรา , ชีวิตเป็นของน้อย
ทุกคนเกิดมาแล้วต้องแตกดับ , มีเมตตาต่อกัน , ใช้หลักกรรม ทำอะไรแก่ใคร
ก็จะได้รับผลกรรม , ถ้าเบียดเบียนเขา ก็คือ เบียดเบียนตัวเราเอง เพระเมื่อเบียดเบียนเขา
สิ่งที่เราทำเขา ก็จะไปรอให้ผลร้ายแก่เราในวันหน้า เท่ากับเบียดเบียนตัวเราเองในวันข้างหน้านั่นเอง
3.
พูดจาชอบ คือ เว้นจาก
4 อย่างคือ
-
พูดปด
-
พูดส่อเสียด
-
พูดคำหยาบ
-
พูดเพ้อเจ้อ
คำพูดบางอย่างทำร้ายคนได้
เราก็ควรระวัง คือ
-
พูดเกินสมควร
-
พูดคำรุนแรง
-
พูดผิดเวลา บางคนคิดว่า เรื่องจริงพูดเมื่อไรก็ได้ แต่บางทีเมื่อพูดผิดเวลา
ก็อาจทำให้กลายเป็นความเดือดร้อนตามมาได้เหมือนกัน ก่อนพูดจึงควรพิจารณาว่าสมควรหรือเปล่าด้วย
ท่านสอนให้พูดวาจาสุภาษิต
คือ
-
พูดให้ถูกเวลา กาลเทศะ
-
พูดความจริง
-
พูดจาอ่อนหวาน
-
พูดคำมีประโยชน์
-
พูดด้วยใจเมตตา
4.
กระทำชอบ มี 3 อย่าง
คือ
-
ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ให้มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย
-
ไม่เบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น ให้เสียสละแบ่งปันตามสมควร
-
ไม่ประพฤติผิดในกาม ให้พอใจในคู่ครองของตน
5.
การเลี้ยงชีวิตชอบ
การงานที่ทำแล้ว ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อาชีพที่ต้องห้ามมี 5 อย่าง
-
ค้าขายเครื่องประหาร
-
ขายมนุษย์
-
ค้าขายสัตว์มีชีวิตสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
-
ค้าขายน้ำเมา
-
ค้าขายยาพิษ
6.
ความพยายามชอบ ให้มีความพยายามประคองจิตใจตั้งไว้เพื่อ
-
ระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น
-
ละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
-
ทำความดีให้เกิดขึ้น
-
รักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญขึ้น
พยายามถอนความพอใจ
ไม่พอใจในโลกออกเสีย คือ ท่านไม่ให้ยินดียินร้าย ถ้ามีทุกข์ ไม่ให้เศร้าเสียใจมาก
คิดว่า ยังมีทุกข์มากกว่านี้ ที่เรายังไม่ได้พบ เมื่อมีสุข อย่ายินดีมาก
คิดว่ายังมีสุขอีกมาก ที่เรายังไม่ได้พบ การไม่ดีใจมากหรือเสียใจมากเป็นสิ่งที่ดีกับจิตใจ

7.
การระลึกชอบ แปลว่า
มีสติดีอยู่เสมอ รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ เช่น กำลังยืนอยู่
กำลังนั่งอยู่ กำลังเดินอยู่ กำลังนอนอยู่ กำลังเสียใจ กำลังดีใจ กำลังโกรธ
รู้ใจตัวเองว่า กำลังมีความหวั่นไหวขึ้นลงยังไงบ้าง
ท่านสอนไปถึงให้ดูลักษณะด้วย
เช่น ความโกรธ ว่าขณะโกรธเราร้อนยังไง เครียดยังไง แล้วพิจารณาว่า
เออ
เวลาคนอื่นเขาโกรธ เขาก็รู้สึกแบบนี้เหมือนกัน มันแย่นะ เราจะได้รู้จักเข้าใจคนอื่นเขาบ้าง
ถ้าเราหัดดูอารมณ์อื่น ๆ ด้วยก็เหมือนกัน จะได้มีสติรู้ตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ได้ตระหนักว่า
คนอื่นเขาก็จะเป็นเหมือนเรา รู้สึกอย่างที่เรารู้สึกนี่แหละ เมื่อเราเห็นใจเขา
เราก็จะดีกับเขาได้
การฝึกพิจารณาลักษณะ
เช่น อารมณ์โกรธ คงไม่ได้ทำขณะกำลังโกรธ สมมุติโกรธตอนสาย ตกค่ำลองมานั่งพิจารณาว่าวันนี้ที่เราโกรธ
เราเป็นยังไง รู้สึกยังไง ควรโกรธจริงหรือ ฯลฯ แล้วเราก็จะได้คำตอบออกมาให้เห็นว่า
อารมณ์นี้มันรู้สึกยังไง เพราะระหว่างที่โกรธ มันมองอะไรไม่เห็นไปหมด
เอาแค่มีสติขึ้นมาให้ทันว่ากำลังโกรธนะ แค่นี้ก็หนักแล้ว
มีเรื่องเล่าถึงเรื่องสติอยู่เรื่องหนึ่งว่า
พระสงฆ์รูปหนึ่งกำลังไปหาอาจารย์ พอเข้าพบแล้วอาจารย์ถามว่า เมื่อกี้เข้าประตูมาถอดรองเท้าไว้ข้างไหนของประตู
ท่านตอบว่า ข้างขวาของประตู แสดงว่าท่านมีสติในขณะถอดรองเท้า
อาจารย์ถามต่อว่า
แล้ววางร่มไว้ด้านไหนของรองเท้า ท่านตอบไม่ได้ คือใจมันมัวจะรีบไปหาอาจารย์
ได้เผลอสติไปตอนวางร่ม
ละเอียดขนาดนี้
ก็สำหรับท่านที่ตั้งใจปฏิบัติจริง ๆแหละ สำหรับพวกเราบางทีถามไปไหนมา
ยังตอบไม่ค่อยถูกเลย แต่ก็ควรรีบ ๆหัดมีสติเข้าไว้อย่าช้า
8.
ตั้งใจมั่นชอบ สำหรับปุถุชน
ท่านหมายถึง เวลาจะทำอะไร ตั้งใจมั่น ไม่วอกแวกไป มีความตั้งใจแน่วแน่จนถึงจุดหมายในทางธรรมะ
ท่านหมายถึงนั่งสมาธิจนได้ฌาน
ภาษาของธรรมะ
เหมือนมะระ อ่านใหม่ ๆ ก็ขมหน่อย กิน ๆไปก็อร่อยไปเอง เดี๋ยวก็ชิน
ถ้าง่วงแล้ว จะนอนสักหลับก็ย่อมได้

|