เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ บันทึกธรรม ฉบับดับทุกข์ ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

บุญ

          เมื่อเห็นหัวเรื่องนี้ หลายท่านคงจะเกิดความสงสัยขึ้นมาตะหงิด ๆ ละสิว่า มีด้วยหรือทุกข์เพราะบุญ ? ขอตอบว่า มี! และมีอยู่ ทั่วไปเสียด้วย

          เอ๊ะ…ก็ไหนว่าบุญเป็นชื่อของความดี หรือความสุข ไฉนการทำบุญ จึงต้องมีความทุกข์ด้วยเล่า ? เอ..ชักจะเขียนเลอะเทอะ เสียด้วยกระมัง ? ไม่หรอก ?

          ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เกิดจากว่า เราทำไม่ถูกบุญ และไม่ถึงบุญด้วย มันจึงเกิดความทุกข์ขึ้น เช่น

          - อยากสร้างพระพุทธรูป สร้างศาลา สร้างกุฎี สร้างพระไตรปิฎก สร้าง… แต่ท่านสมภารไม่ต้องการ จะเป็นเพราะมีมากแล้วหรือเหตุใดก็ตาม

          - อยากไปทำบุญวัดนี้ แต่ไม่ชอบหน้าท่านสมภาร หรือพระลูกวัดบางรูป จะไปทำวัดอื่นก็ไม่มี หรือมีแต่อยู่ไกล

          - อยากให้วัดข้างบ้าน มีการศึกษาและปฏิบัติธรรมและนำมาสอนชาวบ้านบ้าง แต่ก็ไม่มีตามต้องการ

          - อยากให้พระท่านต่อชะตา ต่ออายุ เป่าหัวให้โชคดี ผูกดวงให้ ท่านก็ไม่ทำให้

          - อยากไปวัด แต่ก็เบื่อการรีดการไถ การก่อสร้าง หรือการเรี่ยไรบอกบุญทั้งปีของวัด

          - อยากทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็ทำไม่ได้เพราะยากจน ต้องไปทำงานทุกวัน อยาก…

          ความอยากอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้สนองความอยาก มันก็เป็นความทุกข์ชนิดหนึ่ง ท่านพ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านว่าเป็น “ความทุกข์ของนักบุญ” คือทุกข์เพราะอยากทำดี แล้วไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้

          ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เกิดจากความไม่เข้าใจ ในเรื่องของการทำบุญนั่งเอง ถ้ารู้จัก “ตัวบุญ” อย่างถูกต้องและแท้จริงแล้ว การทำบุญก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งกว่าการพลิกฝ่ามือคว่ำหรือหงาย ไม่ต้องใช้เงินและใช้เวลา หรือแรงงานเสียด้วยสิ

          ในปุญญกิริยาวัตถุสูตร (๒๒/๒๑๕) พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องการทำบุญไว้ ๓ ประการ คือ
          ๑. บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
          ๒. บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีบ
          ๓. บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา

          ส่วนในอรรถกถา ท่านได้ขยายออกไปอีก ๗ ประการ คือ
          ๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
          ๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้)
          ๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ความดีแก่ผู้อื่น)
          ๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีบุญของผู้อื่น)
          ๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟัง-อ่านธรรมะ)
          ๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมะ)
          ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

          หลักการทำความดีในพุทธศาสนา ทั้งหมดมีอยู่ ๓ พวกใหญ่ ๆ คือ ทาน ศีล และภาวนา แม้จะขยายออกไปอีก ๗ ข้อ ก็ไม่มีทานคือ ไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของหรือเงินเลย

          ผู้ที่อยากทำโน่นทำนี่ แล้วไม่ได้ทำนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของทาน ถ้าเป็นการทำบุญด้วยศีล ด้วยภาวนาและต่อไปอีก ๗ ข้อแล้ว ก็เกือบไม่ต้องใช้เงินเลย เช่น

          การรักษาศีล ทำที่ไหนก็ได้ ทำวันไหนก็ได้ รักษาศีล ๘ ไม่ได้ ก็เอาแต่ศีล ๕ ไปก่อน ก็ดีมากแล้วสำหรับชาวบ้าน ไปรับกับพระที่วัดไม่ได้ ก็ตั้งใจเจตนางดเว้นเอาเอง หรือรับทางวิทยุอยู่กับบ้านก็ได้

          - การเจริญภาวนา ด้วยการทำสมาธิ – วิปัสสนา คึกษาวิธีการ และความหมายให้เข้าใจ แล้วจะทำที่ไหนก็ได้ จะนั่งทำ เดิน ทำ ยืนทำ หรือนอนทำก็ได้ทั้งสิ้น

          - อีก ๗ ข้อต่อไป ไม่ไปวัดไม่ต้องหยุดงาน ก็ทำได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง ถ้าเราตั้งใจจริงที่จะทำ

          ชาวพุทธส่วนมาก มักจะติดอยู่แต่ทาน เห็นคนอื่นเขาทำกันโครม ๆ ก็อยากจะทำตามเขาบ้าง แต่วัตถุมันไม่อำนวยก็เลยมีความทุกข์ใจน้อยใจ ในวาสนาของตน

          การทำบุญหรือทำความดี ในทางพุทธศาสนานั้น จะต้องไม่ทำให้ตนเอง และผู้อื่นเดือดร้อน จึงจะถือว่าเป็นบุญที่บริสุทธิ์ เมื่อเราทำบุญด้วยวัตถุไม่ได้ เราก็หันมาทำบุญด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนาก็ได้

          แถมเป็นบุญที่สูงกว่า และประเสริฐกว่า ชนิดเทียบกันไม่ได้เลย เพราะสามารถตัดเวรภัย ทำให้หมดภพชาติ และดับทุกข์สิ้นเชิงได้ด้วย

          ดังนั้น ชาวพุทธที่ดี จึงไม่ควรที่จะติดอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่ง ไม่ว่าใน ๓ ขั้นหรืออีก ๗ ขั้นก็ตาม

          การอ้างว่าไม่มีเงินไม่มีเวลา แล้วไม่ไปทำบุญ เป็นการอ้างของคนปัญญานิ่ม ไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง หรืออย่างถูกต้อง

          แต่ว่าก็ว่าเถอะ คนที่ชอบอ้างที่ว่านี้ ส่วนมากก็เป็นคนไม่ชอบไปวัดไปวา ไม่สนใจธรรมะธัมโมอยู่แล้ว แต่ยังเกรงคนอื่นเขาจะว่าไม่มีศาสนา ก็เลยยกเอางานและเงิน มาเป็นกำแพงกั้นแบบ “ขายผ้า เอาหน้ารอด” ไว้ก่อน

ทางแก้
          ๑. หลักใหญ่ของคำสอนทางพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา ควรทำให้ครบทั้ง ๓ ขั้น ถ้าขั้นไหนทำไม่ได้ทำไม่สะดวก ก็ควรจะเลื่อนไปทำในขึ้นต่อไป ไม่ควรย่ำเท้าอยู่กับที่ เพราะจะไม่ได้พบสิ่งสูงสุด ในพุทธศาสนา

          ๒. พุทธศาสนา ให้อิสระเสรี ในการทำความดี ไม่มีขีดขั้น พอใจทำก็จงทำ ไม่พอใจหรือไม่นับถือ ก็ไม่ต้องทำ ไม่ต้องนับถือ อย่าเอาข้ออ้างมาเป็นฉาก

          ๓. การทำความดี หรือทำบุญ ควรทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่าเห็นแก่หน้าหรือค่านิยม จะได้บุญแรง

          ๔. ไม่ว่าจะอยู่บ้าน หรืออยู่ที่ทำงาน ถ้ารู้จักตัวบุญแล้ว จะทำบุญได้ทุกที่ทุกเวลา

          ๕. บุญยอดบุญ คือ การทำให้จิตใจสงบ และเย็นด้วยการเจริญสติ สมาธิและวิปัสสนา.

 

     
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน