เว็บบอร์ด สนทนาธรรม สอบถามห้องแชดสนทนาธรรมสมุดเยี่ยม ฝากข้อความ ติชมรวมเว็บพระพุทธศาสนารวมรูปภาพ พุทธศิลป์ พระพุทธเจ้า พระพุทธรูป พระเจดีย์ พระสงฆ์
  ตั้งเป็นหน้าแรก   เก็บเข้า Favorites   สั่งพิมพ์   แจ้งปัญหา
   
 
 
 
สารบัญหลัก
  หน้าหลัก
  หนังสือธรรมะ
  บทสวดมนต์
  เสียงธรรม mp3
  เสียงสวดมนต์ mp3
  ห้องสวดมนต์ออนไลน์
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  วัดป่า-พระป่า
  วันสำคัญทางศาสนา
  ดาวน์โหลด e-book
  คำสอนจากครูบาอาจารย์
  บทความ..ธรรมจักร
  รูปภาพ
  กระดานสนทนา
  ห้องสนทนา
  สมุดเยี่ยม
  รวมเว็บ
  ติดต่อทีมงาน
ขึ้นบน
 
เว็บบอร์ด
  สนทนาธรรม
  ข่าวกิจกรรม
  สติปัฏฐาน
  สมาธิ
  กฎแห่งกรรม
  นิทานธรรมะ
  หนังสือธรรมะ
  บทความธรรมะ
  กวีธรรม
  นานาสาระ
  วิทยุธรรมะ
  สถานที่ปฏิบัติธรรม
  เสียงธรรมออนไลน์
  เสียงสวดมนต์ออนไลน์
  พระพุทธเจ้า
  ประวัติอสีติมหาสาวก
  ประวัติเอตทัคคะ
  ประวัติครูบาอาจารย์
 
 
^-^ มาฝึกสมาธิกันดีกว่า ^-^
 
@ อยากรู้  ประวัติศาสตร์ วงล้อมธรรมจักร ลัญลักษณ์ของพุทธศาสนา  คลิกอ่าน @
 
รวมเว็บพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล
 
คำสอนของครูบาอาจารย์ เช่นหลวงปู่ดูลย์,หลวงปู่เทสก์,หลวงพ่อชา,หลวงพ่อพุธ,หลวงพ่อจรัญ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นต้น
 
อัลบั้มภาพพระพุทธศาสนา
 
เรือนธรรม - บ้านพักผ่อนทางจิตใจด้วยธรรมะ
 
ขอเชิญเข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกันครับ
 
ดูซิ ! ว่ามีใครอยู่ในห้องบ้าง
 
ฝากข้อความติชมของท่านได้ที่นี่ครับ
 
 
 
 
   ธรรมจักร   หนังสือธรรมะ บันทึกธรรม ฉบับดับทุกข์ ปรับขนาดตัวอักษร เพิ่มขนาด ลดขนาด ขนาดปกติ  
 

สัตว์

          มีด้วยหรือ ? คนที่มีความทุกข์เพราะสัตว์ ขอตอบว่ามีและมีมากเสียด้วย จะต่างกันก็แต่เฉพาะมีความทุกข์ไปคนละแบบ มากบ้างน้อยบ้าง ก็แล้วแต่ระดับของสติและปัญญา

          ทั้งนี้เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คำสอนทางพุทธศาสนาเน้นเรื่องความรักหรือเมตตามาก โดยเฉพาะความรักที่มาจากเมตตา ในพรหมวิหาร ๔

          ลำพังความรักที่มาจากเมตตานั้น ไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ดอก เพราะว่าเป็นความรักเพื่อผู้อื่น คือความปรารถนาให้ผู้อื่น หรือสัตว์อื่นมีความสุข เมื่อเราไม่อาจมีความสุขได้ เพราะกรรมของเขาเอง เราก็ต้องวางอุเบกขา คือความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปข้างความรักหรือชัง

          แต่ที่มาเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะมี “ตัวเรา” และ “ของเรา” เข้าไปมีหุ้นส่วนอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย พระพุทธวจนะที่ว่า “มีความรักที่ไหน มีความทุกข์ที่นั่น” และถ้า “ไม่มีความรักเลย ความทุกข์ก็ไม่มี” จึงเป็นอมตะวาจาแท้

          ความทุกข์ที่เกิดมาจากสัตว์ เป็นต้นเหตุนี้ ถ้ามองเพียงผิวเผิน ก็ดูจะเป็นเรื่องเล็ก แต่ที่จริงไม่เล็กเลย ที่ฆ่ากันตายเพราะสัตว์ก็มี ผัวเมียต้องเลิกร้างกัน เพราะสัตว์ก็มี ที่ต้องจำต้องอยู่ด้วยกัน อย่างหมดความสุข เพราะสัตว์ก็มี ตัวอย่างบางคนที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น

          - ไม่ทำการงานอะไรเลย เอาแต่ทะนุบำรุง เลี้ยงแต่สัตว์อย่างเดียว อย่างอื่นไม่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น เห็นสัตว์อดอยาก เจ็บป่วย เดือดร้อน ก็ไม่อาจทนดูอยู่ได้ ไม่ห่วงลูก เมีย ผัว หรือพ่อแม่ทั้งสิ้น

          - บางคนเที่ยวได้เก็บสัตว์ ที่ถูกรถทับรถเฉี่ยว บาดเจ็บหรือพิการ มาไว้เต็มบ้าน นอกจากจะแสนสกปรกแล้วยังส่งเสียงร้องหนวกหูเพื่อนบ้านด้วย

          - บางคนก็กินกับสัตว์ นอนกับสัตว์ ไม่สนใจลูก เมีย หรือผัว ใครพูดหรือห้ามไม่ได้ เป็นเกิดเรื่อง ถึงกับยอมเลิกกับเมียหรือผัวได้ แต่ไม่ยอมเลิกกับหมาหรือแมว…

          - บางคนก็เลี้ยงสัตว์ไว้ไม่มาก สองสามตัว หรือสองสามอย่าง แต่ห่วงกังวล ใครเลี้ยงให้ก็ไม่ถูกใจ จะไปไหนทีก็ลำบาก หรือไปไม่ได้เอาเลย เพราะกลัวสัตว์อด

          - บางคนก็เอาหมาขึ้นมาเลี้ยงไว้บนบ้าน บนที่นอน บ้านหรือที่นอน ก็เลยเต็มไปด้วยหมาหรือขนแมว กลิ่นขี้เรื้อน เวลาเปิดพัดลมหรือลมพัด ก็ฟุ้งกระจายเต็มห้องหรือบ้าน

          - บางคนจนแสนจน ยังอุตส่าหากรรม เอาสัตว์มาขังไว้ในกรง ให้มันอด ๆ อยาก ๆ พลัดพรากจากลูก จากคู่ครอง ขาดความอิสระ จะไปไหนก็ไม่ได้

          แม้บางคนจะให้การเลี้ยงดูอย่างดี ถ้าเปิดกรงมันก็หนี ลืมนึกถึง “อกเขา อกเรา” ถ้าเขาเอาเราไปขังไว้ พรากพ่อแม่ ลูกเมีย (ผัว) แต่ให้กินอยู่อย่างสมบูรณ์ เราจะเอาไหม ? คนที่มีสติและปัญญาสมบูรณ์ ก็ต้องส่ายหน้าทุกคน

          - บางคนเลี้ยงสัตว์ไว้ เมื่อสัตว์เจ็บป่วยก็ต้องพาไปหาหมดตัวแล้วตัวเล่า เวลาที่จะหากิน หรือพักผ่อนกับลูกเมีย หรือผัวก็ไม่มี เพราะสัตว์แย่งเอาไปหมด

          - บางคนแสนยากจนยังชอบเลี้ยงสัตว์ แต่ปล่อยให้มันอยู่อย่างอด ๆ อยาก ๆ เมื่อขัดใจก็ตีอย่างทารุณ ถึงพิการหรือตายก็มี

ทางแก้
          ๑. ต้องเปลี่ยนความรัก ที่เห็นแก่ตัว มาเป็นความรักแบบเมตตา คือแยกให้ออกว่า รักอย่างไรเป็นทุกข์ รักอย่างไรไม่เป็นทุกข์ต่อตนเอง ผู้อื่นและสัตว์อื่น ?

          ๒. ต้องมีปัญญากำกับด้วย คือ ต้องเปรียบเทียบให้ เห็นค่าของคน กับค่าของสัตว์ให้แจ่มแจ้ง ว่าการช่วยคนกับการช่วยสัตว์ หรือเลี้ยงคนที่อดอยาก กับเลี้ยงสัตว์ที่อดอยากอย่างไหน จะให้อานิสงส์หรือผลมากกว่ากัน ?

          พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔/๓๘๙) ว่า
          ให้ทานกับสัตว์ดิรัจฉาน ได้รับผล ๑๐๐ เท่า
          ให้ทานกับปุถุชนที่ทุศีล ได้รับผล ๑,๐๐๐ เท่า
          ให้ทานกับปุถุชนที่มีศีล ได้รับผล ๑๐๐,๐๐๐ เท่า

          เมื่อเป็นเช่นนี้ เราเอาเวลาและทรัพย์ที่เสียไป กับการเลี้ยงสัตว์ ไปเลี้ยงคนธรรมดา คนมีศีลหรือพระอริยบุคคล ก็ยิ่งจะได้ผลที่เทียบกันไม่ได้เลย

          เขียนอย่างนี้ คนที่รักสัตว์แบบโมหะ ก็จะแย้งว่า แล้วจะเอาสัตว์พวกนี้ไปไว้ที่ไหน ? มันมิอดอยากทรมานตายกันหมดหรือ ?

          ขอตอบว่า ไม่เป็นเช่นนั้นดอก ทั้งคนและสัตว์ต่างก็เกิดมาจากกรรม และมีกรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ไม่ถึงที่ตายมันก็ไม่ตายดอก

          ถ้ามันไม่ก่อกรรมทำเวรไว้ในอดีต มันก็ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากนัก จะต้องมีผู้ช่วยเหลือมันจนได้ โดยที่ผู้ช่วยไม่เดือดร้อนด้วย

          แต่ว่ากันเถอะ คนที่ทำอย่างนั้น ก็ต้องถือว่ามีเวรมาก่อน คือเคยทำให้สัตว์เหล่านั้นเคยทุกข์ยากมาก่อน เขาจึงต้องมาชดใช้กรรม คิดได้ปลงได้อย่างนี้ เราก็สบายใจหมดเวรหมดกรรมเมื่อไหร่ เขาก็เลิกไปเอง

          ๓. ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม ให้เข้าใจอย่างถูกต้องจะเห็นว่าทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นของตนเอง ไม่มีใครจะอยู่เหนือหรือพ้นจากกฎแห่งกรรมไปได้ ไม่ว่าคนหรือสัตว์

          ๔. ถ้ายังพอทนอยู่ได้ หรืออยู่กับเขาได้ ก็อยู่กันไปถ้าอยู่ไม่ได้ ก็ขอให้แยกจากกันด้วย “สันติวิธี”

          ๕. วางอุเบกขา ปล่อยให้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เอาแต่ใจตรวจสำรวจตนเอง รับรู้และปฏิบัติตามสิทธิ และหน้าที่ของตนเองให้ถูกต้อง

          ๖. ถ้ายังรักที่จะเลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ก็ควรเลี้ยงด้วยปัญญา คือ อย่าเลี้ยงให้มากนัก อย่ากักขัง อย่าอคติ (รักสัตว์มากกว่าลูก ผัว (เมีย) พ่อ แม่) อย่าให้เดือดร้อนทั้งตนเอง และผู้อื่น

          ๗. ควรเจริญพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ให้ครบ พร้อมทั้งมีปัญญาประกอบด้วย ความรักสัตว์จะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ และเมตตาก็จะไม่ทำให้น้ำไหลออกตาด้วย.

…...
เมตตาเกินประมาณ จะก่อความรำคาญไม่สิ้นสุด
เมตตาอุตลุด จะสิ้นสุดด้วยโรคประสาท

 

     
 
 
 
 
 
 
 
 
  หน้าหลัก l หนังสือธรรมะ l เสียงสวดมนต์ mp3 l เสียงธรรม mp3 l บทสวดมนต์ l สมาธิ l รูปภาพ
ดาวน์โหลด e-book l ห้องสวดมนต์ออนไลน์  l กระดานสนทนา l ห้องสนทนา chat  l สมุดเยี่ยม lรวมเว็บ
 
จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
ขึ้นบน