ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
maru
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 13 ต.ค. 2005
ตอบ: 5
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 11:30 am |
  |
อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องการอุทิศส่วนกุศลผลบุญ หลังจากการสวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ ?
1. ถ้าเราระบุผู้รับมากกว่า 1ท่าน ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจะได้รับผลบุญเท่ากันทั้งหมดหรือไม่
2. เราอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
3. เราอุทิศผลบุญให้กับตนเองได้หรือไม่
4. เราอุทิศผลบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรของบิดามารดาได้หรือไม่
5. ที่ถูกต้องควรจะทำอย่างไร
ขอบคุณมากนะคะ
 |
|
|
|
   |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 12:07 pm |
  |
ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ
พุทธศาสนิกชน เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็มักจะอุทิศส่วนบุญนั้นแก่ท่านผู้มีพระคุณ หรือแก่คนอื่น สัตว์อื่นเป็นอันมาก เพราะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้น เป็นการแสดงออกถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ขี้เหนียว มีใจกว้างหวังประโยชน์สุขต่อคนอื่นสัตว์อื่น
เมื่อตนได้รับบุญแล้วก็หวังจะให้คนอื่นสัตว์อื่นได้รับบุญนั้นด้วย เหมือนคนมีความรู้แล้วก็ถ่ายทอดให้แก่คนอื่น ด้วยหวังให้เขาได้มีความรู้ความสามารถด้วย
บางคนทำบุญ เช่น ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาแล้วก็ไม่ยอมอุทิศบุญที่ได้รับนั้นให้แก่ผู้ใดก็ได้บุญแต่ผู้เดียว และได้บุญเฉพาะในเรื่องของทาน ศีล หรือ ภาวนาที่ตนได้ทำเท่านั้น แต่ไม่ได้บุญข้อปัตติทานมัย แต่ถ้าหากว่าผู้นั้นอุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้อื่นด้วย เขาก็จะได้บุญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ
การให้ส่วนบุญนั้น สามารถให้ได้ทั้งแก่คนเป็นและคนที่ตายไปแล้ว บางคนเข้าใจผิดว่าการให้ส่วนบุญหรืออุทิศส่วนกุศลให้ได้เฉพาะคนตายเท่านั้น ข้อนี้เข้าใจผิด แท้ที่จริง การให้ส่วนบุญนี้สามารถให้ได้ทั้งแก่คนที่ยังมีชีวิตและแก่ท่านที่ล่วงลับไปแล้ว
การให้ส่วนบุญแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จะให้ต่อหน้าก็ได้ ให้ลับหลังก็ได้การให้ต่อหน้า เช่น เราทำบุญมาสักอย่างหนึ่ง จะเกิดจากทานก็ตามจากศีลก็ตาม หรือจากภาวนาก็ตาม เมื่อเราพบพ่อแม่หรือญาติมิตร ก็บอกว่า "วันนี้กระผม(หรือดิฉัน) ได้บวชลูกหรือบวชหลานมา ขอให้คุณพ่อ... จงได้ได้รับส่วนกุศลนั้นด้วย ขอให้อนุโมทนาในส่วนกุศลครั้งนี้ด้วย" ผู้รับจะอนุโมทนาหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้ให้ย่อมได้รับส่วนบุญแล้ว ถ้าเขาอนุโมทนา เขาก็ได้รับบุญข้อปัตตานุโมทนามัย
การให้ลับหลัง เข่น ในปัจจุบัน ชาวไทยจำนวนมากรวมทั้งพระสงฆ์ เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ก็มักจะบำเพ็ญบุญกุศลโดยเสด็จพระราชกุศล มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา แล้วถวายพระราชกุศลแก่พระองค์ท่าน อย่างนี้ก็เรียกว่า ปัตติทานมัยเช่นกัน
การให้ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาจะตายไปแล้วนานเท่าไรก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ มีน้ำกรวดก็ได้ ไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้นั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
อย่างในกรณีเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ก็ทรงจำชื่อพระญาติเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่คนเดียว พระองค์อ้างในคำอุทิศว่า เป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ เพราะเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้นกำลังรอรับส่วนบุญอยู่แล้ว
ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติของพระองค์หลังจากที่พระองค์ทรงบริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า
"อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข"
เพียงเท่านี้ก็สำเร็จ โดยพระองค์ไม่ได้บ่งชื่อญาติเหล่านั้นเลยแม้แต่พระองค์เดียว และในการกรวดน้ำครั้งนั้นไม่ต้องใช้น้ำเลย
การอุทิศส่วนบุญโดยมีน้ำกรวดเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังนี้เอง คือหลังจากครั้งพุทธกาล แต่จะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ยังหาหลักฐานไม่พบกล่าวกันว่า พุทธศาสนิกชน ในประเทศอินเดียเห็นพราหมณ์ลงไปในแม่น้ำคงคา เอามือวักน้ำแล้วหยอดลงไปในแม่น้ำตามเดิม พร้อมกับกล่าวอุทิศว่า "ขอให้น้ำนี้จงถึงแก่พ่อแม่ของข้าพเจ้า"
พุทธศาสนิกชนเห็นพวกพราหมณ์กรวดน้ำเช่นนี้ จึงเห็นว่าเข้าทีดี จึงได้นำน้ำมาประกอบในการอุทิศส่วนกุศล เรียกกันในปัจจุบันว่า "การกรวดน้ำ" พระสงฆ์เห็นว่าไม่ผิดหลักพุทธศาสนาอันใด จึงอนุโลมให้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
แท้ที่จริง การอุทิศส่วนกุศลที่เรียกว่าปัตติทานมัยนั้น เดิมทีไม่ต้องใช้น้ำเลย ฉะนั้น การอุทิศส่วนกุศล จะมีน้ำด้วยก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
แต่การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น บุญนั้นจะต้องเกิดจากทานเท่านั้น และเปรตที่จะได้รับส่วนบุญนี้ก็เฉพาะ ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์อย่างนี้
การที่พวกเปรตจะได้รับส่วนบุญนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. การอุทิศของผู้ให้
๒. การอนุโมทนาของเปรต
๓. ปฏิคาหก (ผู้รับทาน) เป็นผู้ทรงศีล
ต้องพร้อมทั้ง ๓ ประการนี้ จึงจะสำเร็จผล ถ้าขาดแม้ข้อเดียว เช่น ปฏิคาหกไม่มีศีล บุญก็ไม่ถึง อันปฏิคาหกผู้รับทานนั้นไม่จำเป็นต้องได้ภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลเท่านั้นเสมอไป ในคัมภีร์ท่านกล่าวไว้ว่า แม้อุบาสกผู้ทรงศีลก็สามารถทำให้ทานสำเร็จแก่พวกเปรตได้เช่นกัน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในเรื่องนางเวมาณิกาเปรต ในอรรถกถาเปตวัตถุ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pra-thep-visut-kawee/pra-thep-visut-kawee-02.htm
 |
|
|
|
     |
 |
แมวขาวมณี
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 7:35 pm |
  |
อยากทราบเกี่ยวกับเรื่องการอุทิศส่วนกุศลผลบุญ หลังจากการสวดมนต์ ทำบุญ นั่งสมาธิ ?
1. ถ้าเราระบุผู้รับมากกว่า 1ท่าน ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจะได้รับผลบุญเท่ากันทั้งหมดหรือไม่
2. เราอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
3. เราอุทิศผลบุญให้กับตนเองได้หรือไม่
4. เราอุทิศผลบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรของบิดามารดาได้หรือไม่
5. ที่ถูกต้องควรจะทำอย่างไร
สา.....ธุ
คุณ I am อธิบายได้ชัดเจนมากค่ะ
สรุปว่า ที่คุณ มารุ ถามมานั้น ทุกข้อสามารถบังเกิดผลได้ มากน้อยแล้วแต่ปัจจัยของผู้ให้และผู้รับ
ข้อ1. ระบุผู้รับได้มากกว่า 1 ท่าน แต่ท่านเหล่านั้นอาจได้รับผลบุญแตกต่างกัน หรืออาจรับไม่ได้แล้วแต่ภพภูมิของท่านเหล่านั้นด้วยและปัจจัยอื่นๆอีก
ข้อ2.,3.,4 ได้ค่ะ
ข้อ5. ถูกทุกข้อค่ะ อิอิ ตามที่คุณ I am บรรยายนั่นแหละค่ะ |
|
_________________ พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา |
|
   |
 |
|