ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
kokorado
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2008, 10:49 am |
  |
ที่มา:การบริหารชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ชนิดของกรรมนั้นมีอยู่สามชนิดด้วยกัน
1. กรรมที่มีเจตนาดีเป็นฐาน
2. กรรมที่มีเจตนาร้ายเป็นฐาน
3.กรรมที่ไม่มีเจตนาดีหรือร้ายเป็นฐาน เป็นกิริยาเป็นกลางล้วนๆ
กรรมทั้งสามชนิดดังกล่าว เมื่อบุคคลกระทำแล้วย่อมให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่างเสมอ แต่เฉพาะกรรมที่มีเจตนาดีเป็นฐานและกรรมที่มีเจตนาร้ายเป็นฐานเท่านั้นที่ให้ทั้งผลและก่อให้เกิดวิบากเป็นบ่วงกรรมปฏิกิริยาด้วย
เมือ่ทราบหลักธรรม(หลักความเป็นจริงแล้ว) คราวนี้มาพิจารณาดูการรบของกษัตริย์และของทหารว่าเป็นอย่างไร การรบราฆ่าฟันของกษัตริย์และทหารนั้น หากมีเจตนาร้าย คือโลภ โกรธ หลง เป็นฐานแล้วย่อมบาปหนักแน่นอน
แต่หากการรบหรือการฆ่านั้นตั้งอยู่บนเจตนาดี ซึ่งมีได้สามกรณี คือ
1. เจตนาดีต่อผู้ถูกฆ่าด้วย ด้วยพิจารณาแล้วด้วยความเป็นธรรมเห็นว่าบุคคลเหล่านี้เป็นคนชั่ว มีความเห็นผิด กระทำการผิด และจะกระทำสิ่งผิดอีกมากมาย ดังนั้น จึงฆ่าเขาเสียเพื่อไม่ให้เขาได้กระทำผิดอีกต่อไป การกระทำเช่นนี้ได้กุศลเล็กน้อยตรงที่หวังดี แต่ความหวังดีนั้นถูกนำมาใช้ด้วยวิธีการที่ไม่ดีจึงเป็นบาปที่ไปทำลายชีวิตเขา ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่เขาจะได้ดำรงชีวิตอยู่เพื่อเรียนรู้ความชั่วและผลของความชั่วนั้น
2. เจตนาดีต่อสังคม ด้วยพิจารณาแล้วด้วยความเป็นธรรมเห็นว่า บุคคลเหล่านี้เป็นคนชั่ว มีความเห็นผิด มีการกระทำผิดและเขาจะกระทำการร้ายอีกมากมายต่อสังคม ทำให้สังคมเกิดความเสียหายจึงทำการฆ่าเขาเสียเพื่อปกป้องไว้ซึ่งสังคมที่ชอบธรรม ในกรณีนี้ก็จะได้ทั้งบุญและบาป ได้บุญที่รักษาไว้ซึ่งสังคมที่ชอบธรรม ได้บาปที่ฆ่าคนซึ่งเขามีสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่เพื่อเรียนรู้ต่อไป ส่วนบุญหรือบาปจะมากกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบธรรมของสังคม และความชั่วช้าของผู้ถูกฆ่า
ถ้าความชอบธรรมของสังคมมาก และความชั่วช้าของบุคคลนั้นมาก ก็ได้บุญมาก ได้บาปน้อย
ถ้าความชอบธรรมของสังคมน้อย และความชั่วช้าของบุคคลเหล่านั้นมาก ก็ได้บุญน้อย ได้บาปน้อย
ถ้าความชอบธรรมของสังคมน้อย และความชั่วช้าของบุคคลเหล่านั้นน้อย ก้ได้บุญน้อย ได้บาปมาก
ถ้าความชอบธรรมของสังคมปานกลาง และความชั่วช้าของบุคคลปานกลาง ก็ได้บุญปานกลาง ได้บาปปานกลาง
3. เจตนาดีต่อผุ้ถูกฆ่าด้วย และเจตนาดีต่อสังคมด้วย ด้วยพิจารณาแล้วด้วยความเป้นธรรมเห็นว่า บุคคลเหล่านี้เป็นคนชั่ว มีความเห็นผิด มีการกระทำผิด และเขาจะกระทำการร้ายอีกมากมายต่อสังคม ทำให้สังคมเกิดความเสียหาย อย่างไม่อาจทัดทานได้ จึงทำการฆ่าเขาเสีย เพื่อไม่ให้เขาได้กระทำผิดอีกต่อไปและเพื่อปกป้องไว้ซึ่งสังคมที่ชอบธรรม การกระทำเช่นนี้ก็จะได้ทั้งบุญและบาปเช่นกัน แต่มีแนวโน้มว่าน้ำหนักทางบุญจะมากกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ ต้องพิจารณาความชอบธรรมของสังคม และความชั่วช้าของบุคคลเหล่านั้นประกอบดังกรณีที่สองด้วย
สรุปแล้ว การฆ่าคนไม่ว่าจะด้วยเจตนาใดก้ตามล้วนเป็นบาปเสมอ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเจตนา แม้พระพุทธเจ้าเมือสมัยเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้รับบาปกรรมเพราะสงครามเช่นกัน ดังที่ทรงเล่าว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป" |
|
_________________ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
13 ส.ค. 2008, 9:09 am |
  |
ชัดเจนครับ
 |
|
|
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
13 ส.ค. 2008, 10:02 am |
  |
ถูก เหมือนที่ผมคิดนั่นแหละคับ
บุญบาป เรื่องของใจ ..... เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าทำได้บุญ มันก็ได้ เพราะใจมันรับรู้บุญ สั่งสมบุญ
เห็นคนทำความดี เรายินดีด้วย ในใจคิดอนุโมทนาก็ได้บุญ
เพราะใจมันรับรู้บุญ โดยไม่ต้องลงแรงอะไรเลยสักบาท
แต่การกระทำ มันมี ผลของการกระทำเสมอ .... |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:00 am |
  |
ข้อความของคุณkokorado
อย่างไร การรบราฆ่าฟันของกษัตริย์และทหารนั้น หากมีเจตนาร้าย คือโลภ โกรธ หลง เป็นฐานแล้วย่อมบาปหนักแน่นอน
ทหารเป็นแสนเป็นล้านคน คุณไปรู้ใจทหารได้อย่างไรว่า เขา โลภ โกรธ หลง เขารบตามหน้าที่
นายทหารสั่งให้ยิง เขาก็ยิง เขาไม่ได้ไปโลภ โกรธ หลง อะไรสักหน่อย |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:08 am |
  |
คุณkokorado ครับ
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรม
นั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนัง
ที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป"
ต้องแยกให้ชัดครับ ตอนนั้นพระพุทธเจ้าเมามันในการฆ่า สนุกที่ได้ฆ่า เป็นการรบแบบเผชิญหน้า
ไม่เหมือนกับสมัยนี้ นั่งนอนหลบ แล้วยิงปืนไปข้างหน้าเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:38 am |
  |
จากหน้า 4 หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ แสนบุราณ
อธิบายหลักมหากรุณาในนิกายมหายานว่า:
" พระโพธิสัตว์อาจจะทำลายชีวิตสัตว์อื่นด้วยความกรุณาเสียก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์เห็นคนบางคนทำ
ความชั่ว ถึงจะสั่งสอนตักเตือนอย่างไร คนชั่วนั้นก็ไม่เชื่อฟัง ไม่กลับตัวกลับใจ ยังทำความชั่วเรื่อยไป
พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้เขาทำกรรมชั่วหนักขึ้นๆ จนไม่อาจจะพบทางสว่างได้ พระโพธิสัตว์
จึงตั้งมหากรุณาจิตปลงชีวิตสัตว์เสียก็ได้ " |
|
|
|
  |
 |
ยุติธรรม
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2008
ตอบ: 26
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 9:24 am |
  |
ดิฉันไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อสรุปของเจ้าของกระทู้ที่ว่า การฆ่าคนไม่ว่าด้วยเจตนาใดล้วนเป็นบาปเสมอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเช่นนั้นนะคะ
พระองค์ตรัสว่า เจตนาคือกรรม แล้วแบ่งเจตนาออกเป็น 3 ชนิด อย่างที่เจ้าของกระทู้ได้เขียนไว้
โดยสรุป
อกุศลจิตเจตนาเป็นบาป
กุศลจิตเจตนาเป็นบุญ
ไม่มีกุศลและอกุศลจิตเจตนาเป็นกิรยาเฉยๆ
ตัวอย่างที่พระผู้มีพระภาคเล่าว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป"
จะเห็นว่าตัวอย่างนี้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่า เจตนาในการฆ่ามาจากอกุศลจิตจึงเป็นบาป
ดิฉันเห็นด้วยกับคุณพลศักดิ์ อย่างไรก็ดี เรื่องจะบาปหรือบุญต้องดูที่จิตของเขาว่าเป็นกุศล อกุศล
หรือเป็นกิริยาเฉยๆ จะหรอกใครหรอกได้ หรอกมโนธรรมในใจตัวเองไม่ได้นะคะ |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 1:19 pm |
  |
ยุติธรรม พิมพ์ว่า: |
ดิฉันไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อสรุปของเจ้าของกระทู้ที่ว่า การฆ่าคนไม่ว่าด้วยเจตนาใดล้วนเป็นบาปเสมอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเช่นนั้นนะคะ
พระองค์ตรัสว่า เจตนาคือกรรม แล้วแบ่งเจตนาออกเป็น 3 ชนิด อย่างที่เจ้าของกระทู้ได้เขียนไว้
โดยสรุป
อกุศลจิตเจตนาเป็นบาป
กุศลจิตเจตนาเป็นบุญ
ไม่มีกุศลและอกุศลจิตเจตนาเป็นกิรยาเฉยๆ
ตัวอย่างที่พระผู้มีพระภาคเล่าว่า
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป"
จะเห็นว่าตัวอย่างนี้ชัดเจนอยู่ในตัวเองว่า เจตนาในการฆ่ามาจากอกุศลจิตจึงเป็นบาป
ดิฉันเห็นด้วยกับคุณพลศักดิ์ อย่างไรก็ดี เรื่องจะบาปหรือบุญต้องดูที่จิตของเขาว่าเป็นกุศล อกุศล
หรือเป็นกิริยาเฉยๆ จะหรอกใครหรอกได้ หรอกมโนธรรมในใจตัวเองไม่ได้นะคะ |
ก็ทำไมพระพุทธเจ้า ถึงต้องได้รับ
"...ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก
ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป....."
ถ้า... พระพุทธเจ้าไม่บาป ... จากการฆ่าเขาในสนามรบ
แต่ทำไมต้องรับผลในนรก ทำไมผลยังเหลือมาไหม้เท้าล่ะคับ
คิดให้ดีนะคับ
ว่าบาปบุญที่ทำอยู่ มันมีผลกระทบหรือไม่ (กรรม-มีผลของกรรมเสมอ)
|
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 8:18 pm |
  |
เอ ... อ่านแล้วก็งงๆ แล้ว ศิล ๕ ศิลข้อที่ ๑ มีไว้ทำอะไรหรือคะ
-- บางทีการฆ่า เกิดเนื่องจากการป้องกันตัว เช่นในกรณีที่มีโจรขึ้นบ้าน เจ้าของบ้านยิงขโมยตาย เพราะเขาป้องกันตัวเอง ถ้าถามว่าบาปไหม ..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า " บาป "
-- เหมือนอย่างเรากำลังเดิน เราเดินเหยียบมดตาย หรือเรากำลังนั่งดูทีวีอยู่ รู้สึกคันๆแขน เอามือไปลูบ ปรากฏว่ากลายเป็นว่าลูบไปโดนยุง มันคงหนีไม่ทันตัวเต่งเลย เห็นตอนมันตายติดมือมา ถ้าถามว่า " บาป " ไหม..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า "บาป "ค่ะ
-- ทั้งสองกรณี ถึงไม่ได้มีเจตนาที่จะฆ่าก็ตาม แต่ถ้าว่าตามหลักของการกระทำคือ ฆ่า ถือว่า บาปค่ะ
-- ส่วนกรรม (การกระทำ) วิบากกรรม (ผลของการกระทำ) อันนี้ผู้ใดกระทำก็รับผลของการกระทำนั้นเอง หาใช่ผู้อื่นไม่
-- เป็นเพียงข้อคิดเห็นค่ะ แล้วแต่ว่าใครจะเห็นอย่างไร ดิฉันเคารพข้อคิดเห็นของทุกคน |
|
_________________ ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 9:25 pm |
  |
ตรงไปตรงมาครับ
ไม่เห็นต้องคิดมากเลยครับพี่ๆทุกท่าน
บาปแหงๆๆๆ...........ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นทั้ง กาย วาจา ใจ บาปชัวร์
ถามหน่อยเถอะครับพี่ๆ....อาจารย์ทุกท่าน
ขณะฆ่าหรือทำร้ายกัน....จิตเป็นกุศลหรอครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 11:25 pm |
  |
คามินธรรม พิมพ์ว่า: |
ก็ทำไมพระพุทธเจ้า ถึงต้องได้รับ
"...ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก
ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป....."
ถ้า... พระพุทธเจ้าไม่บาป ... จากการฆ่าเขาในสนามรบ
แต่ทำไมต้องรับผลในนรก ทำไมผลยังเหลือมาไหม้เท้าล่ะคับ
คิดให้ดีนะคับ
ว่าบาปบุญที่ทำอยู่ มันมีผลกระทบหรือไม่ (กรรม-มีผลของกรรมเสมอ)
|
ผมขออนุญาตตอบแทนคุณยุติธรรมนะครับ เพราะคุณยุติธรรมนานๆจะเข้ามาสักที ความจริงไม่เห็น
จะต้องถาม เพราะกรรมที่พระพุทธเจ้าทำมีจิตเจตนาเป็นอกุศล ไม่ใช่ฆ่าโดยจิตเป็นกุศล เช่น ฆ่า
โดยเมตตา กรุณา มันเป็นการฆ่าจากความโกรธ เกลียด เคลียดแล้น ความโลภ หรือความหลง
ผมว่าคุณควรแยกแยะให้ออก
แต่ในกรณีพระเวสสันดร ท่านยกลูกเมียให้คนอื่น เป็นมหากุศล เพราะจิตท่านเสียสละ เมตตา
กรุณา ในขณะที่ถ้าคนอื่นทำเช่นนั้น ก็บาป เพราะส่วนใหญ่ทำเพราะความเห็นแก่ตัว โลภ
ชัดหรือยังครับ เรื่องเดียวกัน สามารถเป็นทั้งบุญหรือบาปก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจตนาในจิตว่าเป็นกุศล
หรืออกุศลตอนที่ทำกรรมนั้น |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 11:42 pm |
  |
walaiporn พิมพ์ว่า: |
เอ ... อ่านแล้วก็งงๆ แล้ว ศิล ๕ ศิลข้อที่ ๑ มีไว้ทำอะไรหรือคะ
-- บางทีการฆ่า เกิดเนื่องจากการป้องกันตัว เช่นในกรณีที่มีโจรขึ้นบ้าน เจ้าของบ้านยิงขโมยตาย เพราะเขาป้องกันตัวเอง ถ้าถามว่าบาปไหม ..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า " บาป "
-- เหมือนอย่างเรากำลังเดิน เราเดินเหยียบมดตาย หรือเรากำลังนั่งดูทีวีอยู่ รู้สึกคันๆแขน เอามือไปลูบ ปรากฏว่ากลายเป็นว่าลูบไปโดนยุง มันคงหนีไม่ทันตัวเต่งเลย เห็นตอนมันตายติดมือมา ถ้าถามว่า " บาป " ไหม..
-- ถ้าตอบตามหลักของคำที่ขึ้นชื่อว่า " ฆ่า " ขอตอบว่า "บาป "ค่ะ
-- ทั้งสองกรณี ถึงไม่ได้มีเจตนาที่จะฆ่าก็ตาม แต่ถ้าว่าตามหลักของการกระทำคือ ฆ่า ถือว่า บาปค่ะ
-- ส่วนกรรม (การกระทำ) วิบากกรรม (ผลของการกระทำ) อันนี้ผู้ใดกระทำก็รับผลของการกระทำนั้นเอง หาใช่ผู้อื่นไม่
-- เป็นเพียงข้อคิดเห็นค่ะ แล้วแต่ว่าใครจะเห็นอย่างไร ดิฉันเคารพข้อคิดเห็นของทุกคน |
นั่นแหละครับ ที่ผมเขียนตอบคุณคามินธรรม ไปว่า
เรื่องเดียวกัน สามารถเป็นทั้งบุญหรือบาปก็ได้ ขึ้นอยู่กับเจตนาในจิตว่าเป็นกุศล หรืออกุศลตอนที่ทำกรรมนั้น
ศีล 5 เป็นบาป เพราะครอบคลุมกรณีส่วนใหญ่ เช่น 95% แต่กรณีส่วนน้อยเช่น 5% เป็นบุญใหญ่
เช่น พระเวสสันดร หรือเมียยอดรักที่ไม่ให้ใช้เครื่องยื้อชีวิตยอดรัก
การฆ่ายุง ฆ่ามด ถ้าไม่เจตนา มันก็เป็นเวร ถ้าเจตนามันก็เป็นกรรมเบา ทั้งเวรและกรรมเบา
เป็นสิ่งที่ให้ผลเมื่อไม่มีกรรมใหญ่ๆให้ผลแล้ว อาจจะให้ผลในชาติที่ 100,000 แล้วต่อมาในชาติที่
1 ล้านอีกที แต่ทว่าในชาติที่ 2-ชาติที่ 99,999 คุณก็สร้างกรรมดีกรรมชั่วใหญ่ๆอีก ท้ายที่สุดทั้งเวร
และกรรมเบา มันก็ไม่ส่งผลสักที เพราะคุณนิพพานไปในชาติที่ 100 ล้านแล้ว |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 11:59 pm |
  |
ฌาณ พิมพ์ว่า: |
ขณะฆ่าหรือทำร้ายกัน....จิตเป็นกุศลหรอครับ  |
ผมยกตัวอย่างผมเลย ของจริงนะครับ ไม่ใช่อิงนิยาย
เมื่อ 2 ปีก่อน ผมนั่งบนโถส้วมอยู่ มีแมลงสาบตัวเล็กๆตัวหนึ่ง พุ่งเข้ามาชนขาผม ผมก็ยกหลบ
แมลงสาบตัวนั้นก็ไป พอผมวางขาลง แมลงสาบตัวนั้นก็เข้ามาชนผมอีก ผมก็ยกหลบอีก แล้วก็
วางขาลงใหม่ แมลงสาบก็มาชนอีก คราวนี้ผมไม่หลบ กำหนดจิตดูว่ามันต้องการอะไรกันแน่
ทันทีทันใดนั้น ผมก็รู้ในจิตเลยว่า แมลงสาบตัวนั้นทนทรมานเกิดแล้วตายเป็นแมลงสาบแบบนั้นนับ
ครั้งไม่ถ้วนแล้ว มันต้องการให้ผมช่วยมัน ผมเลยกระทืบมันตาย พอมันตาย มันก็เกิดมาเป็นแมลงสาบอีก
แล้วมันในชาติใหม่ ก็ทำเหมือนเดิมอีก ผมเลยรู้ว่า ผมไม่ได้นึกคิดขึ้นมาเองแล้ว ผมรู้ในจิตจริงๆ
และสื่อสารทางจิตกับแมลงสาบตัวนั้นได้ ผมก็กระทืบแมลงสาบตัวนั้นตายใหม่
แต่คราวนี้ ผมไปนั่งกรรมฐานแผ่เมตตาให้วิญญาณแมลงสาบตัวนั้น มันเลยมาหาผมเพื่อขอบคุณ
เพราะมันพ้นกรรมจากการเป็นแมลงสาบแล้ว |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 12:22 am |
  |
คุณฌาณครับ
เรื่องแมลงสาบผมยังไม่จบนะ มีภาคสอง หลังจากนั้นอีกเดือนหนึ่ง ก็มีแมลงสาบ 3 ตัวหนีจาก
ยาฆ่าปลวกมาหลบในห้องน้ำผม ผมก็ให้มันอยู่ไป 1 สัปดาห์ ไม่มีปัญหาอะไร ต่างคนต่างอยู่
วันนึงผมจะลองดูว่า ผมสื่อสารกับแมลงสาบได้จริงไหม ผมเลยกำหนดจิตดูวา แมลงสาบ 3
ตัวนี้เป็นใคร ทำไมมารับกรรมเป็นแมลงสาบแบบนี้
ปรากฏผมรู้เองในจิตว่า พวกมันเป็นทหารนาซี เคยรมแก๊ซชาวยิวตาย จึงต้องเกิดมาใช้กรรม
ต้องโดนยาแก๊ซรมจนตาย แล้วมันใช้กรรมแบบนี้มานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว
ผมสงสารพวกมัน เลยเอายาฆ่าแมลงสาบฉีดฆ่าพวกมันให้ตายเลย 2 ตัว ตายคาที่ อีกตัวไม่ตาย
นอนหงายหลัง ดิ้นกระแด่วๆอยู่ ผมเลยใช้กระดาษคลุมดันไว้ แล้วก็กระทืบซ้ำ
หลังจากนั้น ผมก็ไปนั่งกรรมฐานแผ่เมตตา อุทิศกุศลจากกรรมฐานของผมให้พวกมัน รวมทั้ง
แมลงสาบที่เคยตายจากยาฆ่าปลวกในบ้านผม
ตกดึก พอผมเคล้มหลับไป แต่ยังมีสติอยู่ วิญญาณแมลงสาบเหล่านั้นก็มาหาผมเพื่อขอบคุณ
พวกมันรวมตัวกันเป็นแผ่นบางๆ
ผมยังมีเรื่องเล่าอีกเยอะ ที่สำคัญผมลองดูว่า อาการแพ้ทางผิวหนังของผมเกิดจากเหล่าวิญญานหรือเปล่า
ผมก็เลยนั่งกรรมฐานแผ่เมตตา อุทิศกุศลจากกรรมฐานของผมให้บรรดาเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้ผมแพ้ทาง
ผิวหนัง ก็เหมือนเดิม เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้นมาหาผม เป็นวิญญาณปลวกเป็นล้านๆตัว แสดงให้ผม
รู้ว่าอาการแพ้ทางผิวหนังของผมเกิดจากพวกมัน โดยมันคลานเข้าไปในปากของผม ในตอนนั้นผม
ไม่ได้ฝัน มีสติอยู่ตลอดเวลา เพราะผมนอนกรรมฐาน
เรื่องนี้ไม่ใช่คิดไปเอง หลังจากนั้นผมไม่มีอาการแพ้ทางผิวหนังอีกเลยจนกระทั่งถึงตอนนี้ |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 12:27 am |
  |
อ.พลศักดิ์ ครับ
อย่าเผลอไปฆ่าคนนะครับ
เดี๋ยวติดคุกครับ
แซวเล่นนะอาจารย์
โผล่มาทุกที ดึกทุกที |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 5:28 pm |
  |
นำเสนอ ถึงแม้ไม่ค่อยตรงกับกระทู้สักเท่าไหร่
แต่แสดงให้เห็นว่ากรรมที่ไม่ส่งผลมีเหตุปัจจัยอะไรบ้าง
อโหสิกรรม หมายถึง กรรมที่ได้กระทำไปแล้วทั้งส่วนดีหรือไม่ดีก็ตาม ไม่มีโอกาสที่จะให้ผลแก่ผู้กระทำกรรมนั้นเลย มี ๓ ประการ คือ
๔.๑ กรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล
๔.๒ กรรมที่ทำในปัจจุบันไม่มีผล
๔.๓ กรรมที่ถูกตัดหมดไม่ให้ผล
๔.๑ กรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ในขณะที่ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายบาป ทำให้ต้องถูกแผ่นดินสูบ หรือทำกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ที่จะทำให้ได้เลื่อนฐานะเป็นเศรษฐีในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ากรรมเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะส่งผลได้ด้วยประการใดประการหนึ่งก็ตาม กรรมที่กระทำนั้นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป เช่น พระเทวทัตทำอกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรมทั้ง โลหิตตุปบาท และสังฆเภท แต่สังฆเภทเป็นกรรมที่มีกำลังเหนือกว่าจึงส่งผลนำลงอเวจีมหานรก ส่วนโลหิตตุปบาทก็ไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรมไป
ดังนั้น กรรมที่ทำไปหลาย ๆ อย่าง ทั้งทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาตินี้ อุปปัชชเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาติที่ ๒ หรือ อปราปริยเวทนียกรรม ที่จะให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปถึงนิพพาน ถ้าไม่มีโอกาสส่งผลแล้ว ชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม ทั้งนั้น
๔.๒ กรรมที่ทำในปัจจุบันไม่มีผล คือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีผล เช่น การกระทำของพระอรหันต์ผู้ซึ่งสิ้นกิเลสแล้ว กรรมที่กระทำอยู่เป็นเพียงกิริยาจิต อันไม่เป็นบุญไม่เป็นบาปแต่อย่างใด สักแต่ว่ากระทำเท่านั้น จึงชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม
๔.๓ กรรมที่ถูกตัดหมด ได้แก่ ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเกิดอีก กรรม ทั้งหมดที่ได้กระทำไว้แต่ชาติก่อนตั้งแต่ครั้งไหน ๆ จึงถูกยกเลิกหมดเป็น อโหสิกรรม ไป
ในสมัยที่พระบรมศาสดาอุบัติขึ้นในโลก มีกาลเทวิลดาบสผู้ได้ฌานสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ซึ่งปกติจะไปพักผ่อนอิริยาบถในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ข่าวจากเทวดาว่า พระบรมศาสดาอุบัติเกิดขึ้นในมนุษยโลก ทวยเทพทั้งหลายต่างยินดีปรีดากันทั่วไป กาลเทวิลดาบสจึงได้รีบลงมากราบพระบาทของกุมารซึ่งเป็นพระบรมศาสดา
ปรากฏว่า พระยุคลบาทของพระราชกุมาร กลับขึ้นไปประดิษฐานบนชฎาแห่งกาลเทวิลดาบสนั้น ยังความมหัศจรรย์ จึงได้หัวเราะพร้อมกับร้องไห้น้ำตาไหลออกมา เมื่อพระสุทโธทนะพระราชบิดาถามถึงอาการที่ปรากฏ กาลเทวิลดาบสจึงได้กราบทูลให้ทราบว่า ที่ดีใจเพราะว่า กุมารนี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และที่ร้องไห้ก็เนื่องจากว่า อายุของตนนั้นเหลือน้อยพร้อมทั้งเป็นผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ สามารถที่จะระลึกชาติถอยหลังและรู้อนาคตไปได้ ๔๐ มหากัป ซึ่งตัวเองก็จะต้องไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ซึ่งมีอายุถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป จึงหมดโอกาสที่จะได้รับฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือกุมารน้อยผู้นี้
เรื่องนางกุณฑล ซึ่งในวัยเด็กนั้นเป็นหญิงสาวสวยงาม เป็นลูกเศรษฐีอยู่บนปราสาทชั้นที่ ๗ ด้วยอำนาจของอกุศลกรรมส่งผล ทำให้หลงรักนักโทษที่กำลังจะถูกประหาร จึงให้บิดาไปให้สินบนเพชฌฆาต เพื่อปล่อยตัวนักโทษ และให้มาแต่งงานเป็นสามีนาง โจรไม่มีจิตรักใคร่ในนางแต่อย่างใด เมื่อได้โอกาสก็ลวงนางไปบนยอดเขา เพื่อที่จะปลดทรัพย์ และผลักให้ตกเขาตาย นางผู้มีความฉลาดก็สามารถอาศัยกลอุบาย ทำให้สามีเชื่อและผลักสามีตกเขาตาย
ต่อมา นางได้ระเหเร่ร่อนเข้าไปศึกษากับปริพาชกแห่งหนึ่ง ประกอบกับนางเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดมีปัญญาไว สามารถที่จะตอบปัญหาได้คล่องแคล่ว จนไม่มีใครสามารถเทียบได้ นางได้ท้าทายไปยังสำนักต่าง ๆ ให้ออกมาโต้วาทีกัน จนกระทั่งวันหนึ่งได้ไปโต้วาทีกับพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นางไม่สามารถจะตอบปัญหาของพระสารีบุตรได้ จึงยอมบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ และต่อมาก็ดับขันธปรินิพพาน
การสำเร็จเป็นพระอรหันต์ย่อมตัดอกุศลกรรมทั้งปวงที่กระทำไว้ เช่น การฆ่าโจรผู้เป็นสามีซึ่งกรรมไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรมฝ่ายอกุศล
สรุปกรรมและผลของกรรม
กฎแห่งกรรม ก็คือ การทำบาป การทำบุญ การทำฌาน และการทำอรูปฌาน จัดไว้เป็นหมวดที่ ๑ ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดผลตามมาอีก ๓ หมวด ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือ หมวดธรรมที่ว่าด้วย หน้าที่ของกรรม ๔ ประการ (กิจจตุกะ) หมวดธรรมที่ว่าด้วย ลำดับการให้ผลของกรรม ๔ ประการ (ปากทานปริยายจตุกะ) และหมวดธรรมที่ว่าด้วย เวลาแห่งการให้ผลของกรรม ๔ ประการ (ปากกาลจตุกะ) ดูแผนผังประกอบหน้าแรก
http://www.buddhism-online.org/Section07B_13.htm |
|
|
|
   |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:10 pm |
  |
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:12 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
ข้อความของคุณkokorado
อย่างไร การรบราฆ่าฟันของกษัตริย์และทหารนั้น หากมีเจตนาร้าย คือโลภ โกรธ หลง เป็นฐานแล้วย่อมบาปหนักแน่นอน
ทหารเป็นแสนเป็นล้านคน คุณไปรู้ใจทหารได้อย่างไรว่า เขา โลภ โกรธ หลง เขารบตามหน้าที่
นายทหารสั่งให้ยิง เขาก็ยิง เขาไม่ได้ไปโลภ โกรธ หลง อะไรสักหน่อย |
หลง สิครับ หลงว่าการฆ่าเป็นบุญ สรรเสริญการฆ่า (ยินดีที่ฆ่าฝ่ายตรงข้ามได้) ถ้างั้นคนก็ไม่ต้องใช้ปัญญากันสิครับ ใครสั่งให้ยิงก็ยิ่ง
แล้วนายทหารเป็นใครครับ ทำไมต้องเชื่อ(สั่งให้ฆ่าคน) ทำไมไม่เชื่อพระพุทธเจ้า(เมตตาแก้ปัญหา) ล่ะครับ
บุญส่วนบุญบาปส่วนบาปสิครับ ว่ามะ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:14 pm |
  |
ทำบาปด้วยความจำเป็น
ปัญหา บางครั้งบางคราว คนเราจำต้องทำความชั่ว เพราะความจำเป็น เช่น กระทำเพราะเห็นแก่มารดาบิดาผู้มีอุปการคุณ เป็นต้น ในกรณีเช่นนั้น จะจัดว่าเป็นบาปหรือไม่ ?
พระสารีบุตรตอบ .....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่าผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย
.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา.... เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกร และคนรับใช้...... เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์....... เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต....... เพราะเหตุแห่งแขก..... เพราะเหตุแห่งปุพพเปตชน...... เพราะเหตุแห่งเทวดา..... เพราะเหตุแห่งพระราชา...... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย...... เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย
นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก......เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม...... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย....... ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่าผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม..... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย
.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม....... เพราะเหตุแห่งบิดามารดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน
.....ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่ฯ
ธนัญชานิสูตร ม. ม. (๖๗๖-๖๘๖)
ตบ. ๑๓ : ๖๒๕-๖๒๙ ตท.๑๓ : ๕๐๙-๕๑๓
ตอ. MLS. II : ๓๗๓-๓๗๕ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:15 pm |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณkokorado ครับ
" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนเราเป็นนายทหารราบ ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรม
นั้นเราถูกไฟไหม้ อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟยังมาไหม้ผิวหนัง
ที่เท้าของเราอีก(เท้าอักเสบเพราะโดนสะเก็ดหิน) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป"
ต้องแยกให้ชัดครับ ตอนนั้นพระพุทธเจ้าเมามันในการฆ่า สนุกที่ได้ฆ่า เป็นการรบแบบเผชิญหน้า
ไม่เหมือนกับสมัยนี้ นั่งนอนหลบ แล้วยิงปืนไปข้างหน้าเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น |
ยิงปืนก็เมามันได้ครับ บ่ใช่ยิงปืนฉีดน้ำเด้อ
พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าท่านมีเจตนาอย่างไรด้วยครับ ท่านอาจจะมีเมตตาในการฆ่าก็ได้นาท่าน
ตัวอย่างนี้เป็นโฆษะก็ได้ครับ ถ้าคุณคิดว่าอย่างนั้น |
|
|
|
    |
 |
|