ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
13 ส.ค. 2008, 11:47 pm |
  |
คุณเมธี เขียนว่า :
รบกวนตั้งกระทู้ใหม่(หากคุณพลศักดิ์ยังอยากถกปัญหานี้อยู่) แล้วยกความคิดเห็นนี้มาด้วยครับ ผมมีหลายเหตุผลที่จะแย้งได้ครับ
แต่คืนนี้ง่วงแล้วครับ
................................................................................................................
ผมจึงต้องตั้งกระทู้แยกออกมาจากกระทู้ยอดรัก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาคือกรรม
อาจจะ95%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก และ ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนใหญ่ทำด้วยจิตอกุศลเห็นแก่ตัว จึงเป็น บาป
แต่พึงเข้าใจว่า ส่วนน้อยในจำนวนนั้น เช่น
5%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนน้อยเหล่านี้ทำด้วยจิตกุศล ไม่เห็นแก่ตัว กล้าผิดศีล 5 เสียสละให้ผู้อื่น กรณีนี้จึงเป็นกุศลใหญ่
- ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต
ตัวอย่าง เช่น
1.พระญี่ปุ่นยอมควักตาตัวเอง และนั่งกรรมฐาน 30 วัน โดยไม่กินอะไรเพื่อชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรของชาวญี่ปุ่น
2. เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ยอดรักจึงตาย
3. พ่อแม่ฉีดยาฆ่ายุงเพื่อป้องกันคนในบ้านไม่ให้ถูกยุงกัด
- ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น
1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร
- ผู้ที่เป็นชู้
ตัวอย่าง เช่น
แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ
- ผู้ที่โกหก
ตัวอย่าง เช่น
หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า ตำรวจมา ตำรวจมา คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน
- ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:41 am |
  |
จากหน้า 4 หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ แสนบุราณ
อธิบายหลักมหากรุณาในนิกายมหายานว่า:
" พระโพธิสัตว์อาจจะทำลายชีวิตสัตว์อื่นด้วยความกรุณาเสียก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์เห็นคนบางคนทำ
ความชั่ว ถึงจะสั่งสอนตักเตือนอย่างไร คนชั่วนั้นก็ไม่เชื่อฟัง ไม่กลับตัวกลับใจ ยังทำความชั่วเรื่อยไป
พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้เขาทำกรรมชั่วหนักขึ้นๆ จนไม่อาจจะพบทางสว่างได้ พระโพธิสัตว์
จึงตั้งมหากรุณาจิตปลงชีวิตสัตว์เสียก็ได้ " |
|
|
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 8:57 am |
  |
ผมคัดลอกมาฝากบ้างครับ เรื่องที่คุณโพสไว้เดี๋ยวว่างๆจะมาไขให้ครับ
ทำบาปด้วยความจำเป็น
ปัญหา บางครั้งบางคราว คนเราจำต้องทำความชั่ว เพราะความจำเป็น เช่น กระทำเพราะเห็นแก่มารดาบิดาผู้มีอุปการคุณ เป็นต้น ในกรณีเช่นนั้น จะจัดว่าเป็นบาปหรือไม่ ?
พระสารีบุตรตอบ .....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่าผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย
.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา.... เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกร และคนรับใช้...... เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์....... เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต....... เพราะเหตุแห่งแขก..... เพราะเหตุแห่งปุพพเปตชน...... เพราะเหตุแห่งเทวดา..... เพราะเหตุแห่งพระราชา...... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย...... เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย
นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก......เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม...... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย....... ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่าผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม..... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย
.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม....... เพราะเหตุแห่งบิดามารดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน
.....ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่ฯ
ธนัญชานิสูตร ม. ม. (๖๗๖-๖๘๖)
ตบ. ๑๓ : ๖๒๕-๖๒๙ ตท.๑๓ : ๕๐๙-๕๑๓
ตอ. MLS. II : ๓๗๓-๓๗๕ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 9:09 am |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
จากหน้า 4 หนังสือพระพุทธศาสนามหายาน ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ แสนบุราณ
อธิบายหลักมหากรุณาในนิกายมหายานว่า:
" พระโพธิสัตว์อาจจะทำลายชีวิตสัตว์อื่นด้วยความกรุณาเสียก็ได้ เช่น พระโพธิสัตว์เห็นคนบางคนทำ
ความชั่ว ถึงจะสั่งสอนตักเตือนอย่างไร คนชั่วนั้นก็ไม่เชื่อฟัง ไม่กลับตัวกลับใจ ยังทำความชั่วเรื่อยไป
พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้เขาทำกรรมชั่วหนักขึ้นๆ จนไม่อาจจะพบทางสว่างได้ พระโพธิสัตว์
จึงตั้งมหากรุณาจิตปลงชีวิตสัตว์เสียก็ได้ " |
ที่คุณพลศักดิ์ยกความเห็นทางฝ่ายมหายานมา
ผมว่าคุยยังไงก็ไม่จบครับ เพราะ มหายาน กับ เถรวาท มีส่วนที่ไม่เห็นพ้องกันอยู่
ถ้าคุณพลศักดิ์ นับถือทางนิกายมหายาน ผมก็ขอบายครับ ตอบไปก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ความหมายของพระโพธิสัตว์ฝ่ายเถรวาท คือผู้ที่ประพฤติตนเพื่อที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต (ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่ได้บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม แต่ในอนาคตจะได้) ซึ่งจะได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ(ประมาณนี้นะครับ ผมไม่แน่ใจเท่าไร รอผู้รู้มาตอบ)
ถ้าคุณจะให้ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ผมก็ขออนุญาตไม่เห็นด้วยนะครับ เพราะผมเชื่อทางเถรวาท (เชื่อด้วยเหตุและผลนะครับ) ทางมหายานผมไม่ขอกล่าวอะไรมาก เรื่องของความเชื่อห้ามกันไม่ได้ |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 9:32 am |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
คุณเมธี เขียนว่า :
รบกวนตั้งกระทู้ใหม่(หากคุณพลศักดิ์ยังอยากถกปัญหานี้อยู่) แล้วยกความคิดเห็นนี้มาด้วยครับ ผมมีหลายเหตุผลที่จะแย้งได้ครับ
แต่คืนนี้ง่วงแล้วครับ
................................................................................................................
ผมจึงต้องตั้งกระทู้แยกออกมาจากกระทู้ยอดรัก
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาคือกรรม
อาจจะ95%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก และ ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนใหญ่ทำด้วยจิตอกุศลเห็นแก่ตัว จึงเป็น บาป
แต่พึงเข้าใจว่า ส่วนน้อยในจำนวนนั้น เช่น
5%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนน้อยเหล่านี้ทำด้วยจิตกุศล ไม่เห็นแก่ตัว กล้าผิดศีล 5 เสียสละให้ผู้อื่น กรณีนี้จึงเป็นกุศลใหญ่
- ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต
ตัวอย่าง เช่น
1.พระญี่ปุ่นยอมควักตาตัวเอง และนั่งกรรมฐาน 30 วัน โดยไม่กินอะไรเพื่อชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรของชาวญี่ปุ่น
2. เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ยอดรักจึงตาย
3. พ่อแม่ฉีดยาฆ่ายุงเพื่อป้องกันคนในบ้านไม่ให้ถูกยุงกัด
- ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น
1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร
- ผู้ที่เป็นชู้
ตัวอย่าง เช่น
แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ
- ผู้ที่โกหก
ตัวอย่าง เช่น
หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า ตำรวจมา ตำรวจมา คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน
- ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด |
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาคือกรรม ----> เห็นด้วยครับ
อาจจะ95%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก และ ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนใหญ่ทำด้วยจิตอกุศลเห็นแก่ตัว จึงเป็น บาป
แต่พึงเข้าใจว่า ส่วนน้อยในจำนวนนั้น เช่น
5%ของผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต ผู้ที่ขโมย เป็นชู้ ผู้ที่โกหก ผู้ที่ดื่มสุรา ส่วนน้อยเหล่านี้ทำด้วยจิตกุศล ไม่เห็นแก่ตัว กล้าผิดศีล 5 เสียสละให้ผู้อื่น กรณีนี้จึงเป็นกุศลใหญ่ ---> เหมือนเดิมครับ ขอเสริมว่า ทำผิดศีลอย่างไรก็เป็นบาป เพียงแต่ว่าด้วยจิตที่เป็นกุศล ย่อมได้รับส่วนบุญด้วย
ได้ทั้งสองมากน้อยขึ้นกับ จิตกุศล อกุศล กิเลส ความพยายาม และอื่นๆ
- ผู้ที่ฆ่าสัตว์ชีวิต
ตัวอย่าง เช่น
1.พระญี่ปุ่นยอมควักตาตัวเอง และนั่งกรรมฐาน 30 วัน โดยไม่กินอะไรเพื่อชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรของชาวญี่ปุ่น --->
ประเด็นแรก ไม่ได้มีการฆ่าเกิดขึ้นครับ
ประเด็นที่สอง พระญี่ปุ่น มีเจตนาเป็นกุศล มีเมตตาและกรุณา แต่การกระทำนั้นเป็นการสุดโต่ง ทำให้ตนเองเดือนร้อน ซึ่งอาจไม่ได้ประโยชน์อะไรมากไปกว่า ความเสียสละครับ (แต่ก็น่ายกย่องเรื่องความเด็ดเดี่ยว)
2. เมียยอดรักไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ยอดรักจึงตาย ---->
ให้เกียติผู้เสียชีวิตและ ญาติ ไม่ขอตอบครับ ประเด็นนี้ ที่ย้ายกระทู้ก็เพราะเรื่องนี้
3. พ่อแม่ฉีดยาฆ่ายุงเพื่อป้องกันคนในบ้านไม่ให้ถูกยุงกัด --->
ฆ่าสัตว์อย่างไรก็เป็นบาปครับ ถึงแม้จะปกป้องลูกก็เถอะ ปัญญาชนทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญ กรณีนี้ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะป้องกันไม่ให้ยุงกัด
ไม่ว่าจะเป็น ใช้สมุนไพร กางมุ้ง เอาพัดลมเป่าไล่ โหย มากมาย
- ผู้ที่ลักทรัพย์ช่วยคนอื่น
ตัวอย่าง เช่น
1. โรบินฮู๊ด 2. แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร
โรบินฮู๊ด แยก สองประเด็นครับ ปล้นทรัพย์ ช่วยคนจน ปล้นทรัพย์เป็นบาป เพราะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ถึงแม้จะเป็นคนไม่ดีก็เถอะ ถามว่าโรบินฮู๊ด ยืนยันได้หรือไม่คนนั้นคนดี คนนั้นไม่ดี ทางที่ถูกคนไม่ดีควรได้รับกรรมของตนเอง โรบินฮู๊ดไม่ควรไปสร้างกรรรมต่อเนื่อง
แต่การช่วยเหลือคนจนย่อมได้กุศลแน่นอน ของที่บริจาคมิใช่ของบริสุทธิ์ คนที่บริจาคได้ทรัพย์มาก็ไม่บริสุทธ์ บุญที่เกิดย่อมไม่เต็มที่
แม่ที่ขโมยนมมาเลี้ยงบุตร กรณีนี้น่าสงสารนะครับ แต่ว่า ก็ยังไม่ใช่เหตุที่ควรขโมยอยู่ดี เหตุที่ควรทำผิดศีลไม่มีในโลกนะครับ ผมถามว่าญาติพี่น้องไม่มีหรือครับ ขอความช่วยเหลือจากใครๆไม่ได้เลยหรือครับ แม้แต่ร้านค้าที่เข้าไปขโมย ของานเขาทำและกับนมไม่ได้เลยหรือครับ มีวิธีอีกมากมายที่ไม่ต้องขโมยครับ
- ผู้ที่เป็นชู้
ตัวอย่าง เช่น
แม่ชีที่ถอดจิตได้ เล่าให้ฟังว่า พระยายมราชตัดสินให้หญิงคนหนึ่งขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึง หลังจากพบว่าผู้หญิงคนนั้นนอกใจสามี ไปขายตัวเอาเงินมาจ่ายค่าเทอมลูก และเลี้ยงผัวที่พิการ
ตัวอย่างนี้ผมเคยตอบไปแล้วนะครับ แล้วก็ถามคุณพลศักดิ์กลับแล้วด้วยว่า พระยายมราช(ถ้ามี) ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินว่าพิการแค่ไหน ลูกต้องเรียนค่าเทอมแพงมั้ย แล้วหนทางอื่นไม่มีแล้วเหรอ ทำงานด้วยวิธีอื่นไม่ได้แล้วเหรอ อย่างนี้ไม่เรียกว่าเห็นแก่ตัว(และครอบครัว) จนลืมสังคม ลืมศีลธรรมเหรอครับ
- ผู้ที่โกหก
ตัวอย่าง เช่น
หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า ตำรวจมา ตำรวจมา คนร้ายที่รุมกระทืบคนอื่นจึงหนีไป คนนั้นเลยรอดตายจากการโดนยำตีน
หลวงพี่เท่งช่วยเหลือคน น่านับถือครับ
องค์แห่งการผิดศีลมีอยู่ เรื่องเป็นเท็จ จิตคิดจะพูด พูดออกไป มีคนเชื่อคำเท็จนั้น ถ้าครบก็ผิดศีล ผลกรรมของศีลข้อนี้ในกรณีนี้อาจไม่รุนแรง
บุญที่เมตตาช่วยเหลือคนนั้นได้เต็มเปี่ยมครับ แต่ผลกรรมก็มีแน่นอน
ถ้าคนที่โดนหลอก มารู้ตอนหลังว่าหลวงพี่เท่งโกหก ย่อมโกรธแค้นแน่นอน และเป็นการจองเวรไปได้
- ผู้ที่ดื่มสุราเมรัย
พระอรหันต์จี้กงเป็นตัวอย่างClassic ที่สุด[/quote]
ตัวอย่างนี้ผมไม่ทราบครับ รบกวนช่วยอธิบายด้วยว่า ท่านดื่มเพื่ออะไร
ถ้าดื่มเป็นยาพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามนะครับ แต่ถามว่าท่านดื่มน่ะ ดื่มเพื่ออะไร แล้วเป็นกุศลอย่างไร
อีกอย่างครับพระอรหันต์จี้กงเป็นความเชื่อทางมหายานครับ ทางเถรวาทไม่มี ผมไม่อยากคอมเม้นท์อะไรมาก เพราะกระทบความเชื่อบุคคลอื่นอีกมาก |
|
|
|
    |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 9:33 am |
  |
|
    |
 |
kritsadakorn
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 17 ก.ค. 2008
ตอบ: 12
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 11:18 am |
  |
ท่าน ตั้งคำถาม ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ได้ตั้งคำถาม เพื่อความรู้จริง การตอบคำถามนี้ จะตอบยาก เพราะ เกี่ยวกับกรรม ซึ่งเกินกว่ามนุษย์ธรรมดาจะตอบได้ถูก เป็นอจินไตย ไม่ควรไปคิด ควรคิดถึงปัจจุบันมากกว่า ถึงจะมาถามเรื่องนี้ ซึ่งได้คำตอบไป ก็ไม่ให้ทำใจท่านทั้งหลายสงบหรอก |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:38 pm |
  |
อกุศลกรรม ได้แก่ การทำบาป ๓ ทาง คือ
๑. ทางกาย เรียกว่า กายกรรม
๒. ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม
๓. ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
ตามธรรมดาคนเรานั้น จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมีความตั้งใจเกิดขึ้นก่อน ด้วยเหตุนี้เอง การกระทำต่าง ๆ ทั้งหลายนั้น จึงมี ความตั้งใจ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา (เจตสิก) เป็นผู้นำอยู่เสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจตนานี้แหละ ชื่อว่า กรรม
ถ้า เจตนา ประกอบใน กุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจที่จะทำความดี มีการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา
ถ้า เจตนา ประกอบใน อกุศลจิต ก็เป็นการตั้งใจในการทำความชั่ว มี อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น
http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm |
|
แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 ส.ค. 2008, 12:43 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:39 pm |
  |
อกุศลกรรมบท ๑๐
๑. ปาณาติบาต คือ การ ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน คือ การ ลักทรัพย์ เรียกว่า อกุศลกายกรรม ๓
๓. กามเมสุมิจฉาจาร คือ การ ผิดในกาม
๔. มุสาวาท คือ การ การพูดเท็จ เรียกว่า อกุศลวจีกรรม ๔
๕. ปิสุณวาจา คือ การ พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา คือ การ พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ คือ การ พูดเพ้อเจ้อ
๘. อภิชฌา คือ การ เพ่งเล็งทรัพย์ผผู้อื่น
๙. พยาบาท คือ การ การปองร้าย เรียกว่า อกุศลมโนกรรม ๓
๑๐. มิจฉาทิฎฐิ คือ การ ความเห็นผิด
http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm |
|
แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 ส.ค. 2008, 12:43 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 12:41 pm |
  |
ความพยายามในการฆ่า ทำได้ ๖ ประการ คือ
๑. ฆ่าด้วยตนเอง
๒. ใช้คนอื่นฆ่า
๓. ปล่อยอาวุธ ขว้าง ปา
๔. ใช้อาวุธปืน มีด ขุดหลุมพราง
๕. ใช้อาคมคุณไสยศาสตร์
๖. ใช้ฤทธิ์
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ แล้วนั้น จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผล ของการทำบาป คือการฆ่าสัตว์ส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า การให้ผลในปฏิสนธิกาล จะได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อชดใช้กรรม
การทำบาปที่ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ บาปนั้น
จะตามให้ผลใน ปวัตติกาล คือขณะมีชีวิตอยู่ จะทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม ได้ประสบพบเห็นหรือได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำให้มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อายุสั้น ถูกฆ่า หรือ ฆ่าตัวตาย รูปไม่งาม ไม่มีบริวาร เป็นต้น
http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm |
|
|
|
   |
 |
|