ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ก้อง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 1:03 pm |
  |
ผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ตัวเองมีสติอยู่กับการทำงานมากๆ เพราะบางทีผมก็ทำงานพลาดบ้าง เหมือนรู้สึกว่าใจไม่อยู่กับตัว ผมอยากทำงานดีเรียนหนังสือเก่ง ผมขอความอนุเคราะห์ด้วยเถอะครับถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยแนะนำผมที  |
|
|
|
|
 |
มะลิวัณย์
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 20 ก.ย. 2004
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 3:52 pm |
  |
เวลาทำงานคุณต้องตั้งสติให้มั่น ไม่หวั่นไหวกับสิ่งรอบข้าง และที่สำคัญเมื่องานเสร็จแล้วควรจะต้องตรวจทาน เสียเวลาสักเล้กน้อย แต่จะทำให้งานที่ได้ออกมาดีน่ะ หากคิดว่าจิตใจไม่อยู่กับใจ ให้ละงานแล้วตั้งสมาธิตัดสิ่งรบกวนให้ออกไปจากใจให้หมด แรกๆอาจจะทำยากแต่ถ้าทำได้แล้วจะดีขึ้นค่ะ |
|
|
|
   |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 7:11 pm |
  |
คุณก้อง เวลารู้ตัวเหมือนใจไม่อยู่กับตัว
ก็กลับมาตั้งใจเรียนและทำงานไปซิค่ะ
รู้ตัวว่าเผลอใจบ่อยๆ
เวลาที่รู้ตัวแล้วกลับมาตั้งใจเรียน
สะสมไป ก็เรียนเก่งเองหล่ะค่ะ
อ๊ะ เผลออีกแล้ว ขออนุญาต กลับไปตั้งใจทั้งเรียนและทำงานก่อนน๊ะค่ะ
จาได้ เก่งๆ
สวัสดีค่ะ  |
|
|
|
    |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 7:13 pm |
  |
แง ๆๆ คู่มือดำเนินชีวิต โพสท์แล้ว อ่านไม่รู้เรื่องเลย
|
|
|
|
    |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 7:17 pm |
  |
ถ้าอ่านไม่ชัด ตรง รูป น๊ะค่ะ
เอาเมาส์ คลิ้กไปที่รูปค่ะ
แล้วถึงจะอ่านได้
แฮะๆ เด๊ว เก็บเศษหน้าก่อน แตกหมดแร่ะ
|
|
|
|
    |
 |
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305
|
ตอบเมื่อ:
29 ก.ย. 2004, 10:35 pm |
  |
คนที่หมดความฟุ้งซ่านแล้วในโลก มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นครับผม พระอนาคามีท่านก็ยังละความฟุ้งซ่านไม่ได้ครับ จะให้มีสติอยู่กับงานก็ต้องฝึกไปเรื่อย ๆ ครับ ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พัก เหมือนเด็กบ้านยาง พัก มากไปหรือเปล่าก็ไม่รู้ มันเลยฟุ้งไม่หยุดไม่หย่อน ฐ๊วฆ ฐ๊วฆ
 |
|
|
|
  |
 |
หมาขี้เรื้อน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ย. 2004, 1:06 am |
  |
ขออาราธนาคำสอนของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย มาให้อ่านครับ ซึ่งองค์ท่านได้ปรารภเกี่ยวกับสมาธิในการเรียนไว้ดังนี้ครับ ผิดถูกประการใดขอท่านผู้รู้ทุกท่านได้โปรดให้อภัยด้วยครับ ด้วยปัญญาของกระผมยังน้อย
ด้วยความเคารพเทอดทูลองค์ท่านครับ
นักเรียน นักศึกษา ทำสมาธิในการเรียน
…ขณะนี้นักเรียนทั้งหลายกำลังเรียน ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะได้พลังของสมาธิ พลังของสติ เพื่อสนับสนุนการศึกษา หลวงตาจะสอนวิธีทำสมาธิในห้องเรียน… สมมติว่าขณะนี้หลวงตาเป็นครูสอนพวกเธอทั้งหลาย ให้พวกเธอทั้งหลายเพ่งสายตามาที่หลวงตา ส่งใจมาที่หลวงตาแล้วก็สังเกตดูให้ดีว่าหลวงตาทำ อะไรบ้าง หลวงตายกมือ หนูก็รู้ เขียนหนังสือให้ หนูรู้ พูดอะไรให้หนูตั้งใจฟัง ถ้าสังเกตจนกระทั่งกระ พริบหูกระพริบตาได้ยิ่งดี เวลาเข้าห้องเรียนให้เพ่งสายตาไปที่ตัวครู ส่งใจไปที่ตัวครู อย่าเอาใจไปอื่น เพียงแค่นี้ วิธีการทำสมาธิในห้องเรียน ถ้าพวกหนู ๆ จำเอาไปแล้วปฏิบัติตาม จะได้สมาธิตั้งแต่เป็น นักเรียนเล็ก ๆ ชั้นอนุบาล ในตอนแรกนี่ การควบคุมสายตาและจิตไปไว้ที่ตัวครูนี่อาจจะลำบากหน่อย แต่ต้องพยายามฝึก ฝึกจนคล่องตัวชำนิชำนาญ ภายหลังแม้เราจะไม่ตั้งใจ พอเห็นใครเดินผ่านหน้ามันจะ จ้องเอา ๆ พอมาเข้าห้องเรียนแล้วพอครูเดินเข้ามาในห้อง สายตามันจะจ้องปั๊บ ใจมันก็จะจดจ่ออยู่ตรงนั้น หนูลองคิดดูซิว่า การที่มองที่ครู และเอาใจใส่ตัวครูนี่ เราเรียนหนังสือเราจะเข้าใจดีไหม ลองคิดดู
ทีนี้เมื่อฝึกจนคล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว สายตามันยังจ้องอยู่ที่ตัวครู แต่ใจจะมาอยู่ที่ตัวเราเอง มาตอนนี้ครูท่านสอนอะไร พอท่านพูดจบประโยคนั้น ใจของเรารู้ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปท่านพูดอะไร เวลาไปสอบ อ่านคำถามจบ ใจของเราจะวูบวาบแล้วคำตอบมันจะผุดขึ้น
อันนี้เป็นสูตรทำสมาธิที่หลวงพ่อทำได้ผลมาแล้ว
หลวงพ่อทำสมาธิในการเรียนสมัยเป็นเณร
…อาจารย์องค์นั้นชื่ออาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ ลูกศิษย์ต้นของหลวงปู่มั่น เห็นหลวงพ่อถือ หนังสือเดินท่องไปท่องมาแบบเดินจงกรม ท่านก็ทักว่า
“เณร ถ้าจะเรียนก็ตั้งใจเรียน จะปฏิบัติก็ตั้งใจปฏิบัติจับปลาสองมือมันไม่สำเร็จหรอก” ที่นี้เราก็อุตริคิดขึ้นมาว่า
“เอ๊…หลักของการเพ่งกสิณนี่ ปฐวีกสิณ เพ่งดิน อาโป เพ่งน้ำ วาโย เพ่งลม เตโช เพ่งไฟ อากาศ เพ่งอากาศ วิญญาณ เพ่งวิญญาณ ในตัวครูนี่มีกสิณครบทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ เราจะเอาตัวครูเป็นเป้าหมายของจิต ของอารมณ์ เอาตัวครูเป็นอารมณ์ของจิต เป็นที่ตั้งของสติ เอามันที่ตรงนี้แหละ”
การเรียนคือการปฏิบัติธรรม
วิชาความรู้ที่นักศึกษาเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี่มันเป็นสิ่งที่เราสามารถรู้ด้วยจิตใจ สิ่งใดที่เรา สามารถรู้ด้วยจิตใจ สิ่งนั้นคือสภาวธรรม สภาวธรรมอันนี้มันทำให้เราดีใจเสียใจเพราะมัน เราท่อง หนังสือไม่ได้เราเกิดเสียใจน้อยใจตัวเอง หนังสือที่เราท่องนั่นคือสภาวธรรม เราจำไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่มัน ไม่เป็นไปตามความปรารถนา มันเข้าในหลักอนัตตา บางทีอยู่ดี ๆ เกิดเจ็บไข้ เราไปวิทยาลัยของเราไม่ได้ มันก็ส่อถึงอนัตตา อนิจจัง ทุกขังนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาฝึกสติสัมปชัญญะของเรานี้ให้มันรู้ พร้อมอยู่กับปัจจุบัน มันเป็นการปฏิบัติธรรม เดิน เรารู้ ยืน เรารู้ นั่ง เรารู้ นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เรารู้ เอาตัวรู้คือสติตัวเดียวเท่านั้น แม้ในขณะที่เราเรียนหนังสืออยู่ เราตั้งใจจดจ่อต่อการ เรียนในปัจจุบันนั้น นั่นก็เป็นการปฏิบัติสมาธิ
ทีนี้ความรู้ ความเห็น ที่เราจะพึงทำความเข้าใจ มันอยู่ที่ตรงไหน มันอยู่ที่กายกับใจของเรานี่ ทำอย่างไรกายของเราจึงจะมีสุขภาพอนามัยเข้มแข็ง ทำอย่างไรจิตใจของเราจึงจะปลอดโปร่ง เมี่อมี ปัญหาขึ้นมาทำอย่างไรเราจึงจะมีสติปัญญาแก้ไขปัญหาหัวใจของเราได้ นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ที่เราจำเป็นต้อง เรียนให้มันรู้
ทำสมาธิในการเรียนได้ผลอย่างไร
นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาในทุนที่หลวงพ่อส่งไปเรียนเอง ตอนแรกเขาไม่อยาก จะไปเรียน เพราะเขาคิดว่ามันสมองของเขาไม่สามารถจะเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ หลวงพ่อก็เคี่ยวเข็นให้เขาไป ในเมื่อเขารับปากว่าจะไปเรียน หลวงพ่อก็บอกว่า “หนูไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องฝึกสมาธิ ด้วย” เขาก็เถียงว่า “จะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วต้องให้ทำสมาธิ เอาเวลาที่ไหนไปเรียน” มันเกิดมีปัญหาขึ้นมาอย่างนี้ หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำว่าการฝึกสมาธิแบบนี้ไม่ขัดต่อการศึกษา หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำเบื้องต้นว่า “เมื่อเวลาหนูเข้าไปอยู่ในห้องเรียน ให้กำหนดจิตให้มีสติรู้อยู่ที่จิตของตัวเอง ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่งที่จะต้องเพ่งมองก็เพ่งมองไปที่จุดนั้น เช่น กระดานดำ เป็นต้น เมื่ออาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียน ให้เอาความรู้สึกและสายตาทั้งหมดไปรวมอยู่ที่ตัวอาจารย์ ให้มีสติรู้อยู่ที่ ตัวอาจารย์เพียงอย่างเดียวอย่าส่งใจไปอื่น”
…เขาใช้เวลาเรียนเพียง ๔ ปีก็จะจบแล้ว ทีแรกเขาคิดว่าเขาอาจจะเรียนถึง ๖ ปีกว่าจะเอาให้จบได้ แต่มันก็ผิดคาดทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยน ความรู้สึกว่ามันสมองไม่ดีมันเปลี่ยนเป็นดีขึ้นมาหมด ก็เป็นอันว่าเขาสามารถฝึกสมาธิ ให้จิตมีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาที่เขาเรียน อยู่ในปัจจุบันได้
…ถ้านักศึกษาพยายามฝึกสมาธิแบบนี้ ผลพลอยได้จากการฝึก ความเคารพ ความเอาใจใส่ ความกตัญญูกตเวที ความรู้สึกซึ้งในพระคุณของครูบาอาจารย์ มันจะฝังลึกลงสู่จิตใจ เราจะกลายเป็น คนกตัญญูกตเวที ไม่อาจลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็มีแต่ความเคารพบูชาในครู อาจารย์ ลูกศิษย์ที่มีความเคารพในครูอาจารย์ การเรียน ทำให้เรียนได้ดีเกินกว่าที่เราคาดคิด
|
|
|
|
|
 |
|