ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
คนที่เคยหลงผิด
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 3:48 am |
  |
ขอความอนุเคราะห์ตอบคำถามให้หน่อยค่ะ คือว่าดิฉันมีลูกพี่ลูกน้อง เป็นน้องสาวคนหนึ่งเขาท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วเขาไม่มีปัญญาเลี้ยงลูกเพราะเขายังเด็กอยู่ เขาตัดสินใจทำแท้ง แต่ดิฉันก็บอกเขานะค่ะว่าถ้าคลอดมาแล้วจะช่วยเลี้ยง แต่สภาพภาวะปัจจุบันสถานภาพทางครอบครัวก็ลำบากอยู่ค่ะ เขาเลยตัดสินใจทำแท้ง ดิฉันก็ไม่อยากให้เขาทำอย่างนั้นนะค่ะ แต่เมื่อคิดดูแล้วถ้าเด็กออกมาไม่มีปัญญาเลี้ยงแน่ ๆ ตอนนั้นเด็กอายุครรภ์แค่ 2-3 เดือนอยู่ค่ะ น้องดิฉันเขาว่าเด็กยังไม่เป็นตัวยังเป็นก้อนเลือดอยู่ เขาเลยตัดสินใจแท้งลูกค่ะ โดยวิธีการกินยาขับเลือดออกมา แต่เรื่องนี้น้องดิฉันมาปรึกษาดิฉันนะค่ะ ดิฉันได้รับรู้เรื่อง ดิฉันไม่รู้ว่าเขาจะแท้งลูกจริง ดิฉันรู้ข่าวอีกที น้องของดิฉันก็อยู่โรงพยาบาลแล้ว เพราะตกเลือด ดิฉันไม่ได้มีความคิดให้เขาทำอย่างงั้นเลยนะค่ะ ดิฉันอย่างทราบว่าดิฉันจะบาปมากไหมค่ะ ที่ได้มารับรู้เรื่องราวแบบนี้ ดิฉันไม่อยากเป็นคนบาปค่ะ มีวิธีอะไรบ้างค่ะที่จะช่วยชดใช้กรรมที่ดิฉันได้ร่วมรับรู้มันได้ค่ะ ดิฉันไม่สบายใจมากเลยค่ะ ที่เรื่องมันจบอย่างนี้ ดิฉันเสียใจมากค่ะ เสียใจจริง ๆ |
|
|
|
|
 |
อสรี
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 8:03 am |
  |
คุณว่า พระหรือแม่ชีหรือพ่อแม่ เพื่อน ที่มีผู้คนไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ท่านเหล่านั้นได้ยินได้ฟัง และให้ความเห็นในทางที่ไม่เห็นด้วยที่จะไปทำแท้งนั้น บาปหรือไม่...
|
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 4:08 pm |
  |
กรณีที่ 1 ถ้าเขามาปรึกษาเรา และเราไม่ได้แนะนำให้เขาทำแท้ง ถ้าเขาไม่เชื่อ ยังคงไปทำแท้ง เราย่อมไม่บาปครับ
กรณีที่ 2 ถ้าเขาแอบทำแท้งโดยไม่บอกเราก่อน แต่พอทำแท้งแล้ว มาบอกให้เรารับรู้ภายหลัง กรณีนี้ แบ่งได้เป็น 2 ทาง ขึ้นกับพฤติกรรมของเราครับ
ถ้าเราคิดและบอกว่า ทำไมทำแบบนี้ ทำไมไม่ยอมปรึกษาพี่ก่อน เราไม่ยินดีในการทำแท้งของเขา เราย่อมไม่บาปครับ
ถ้าเราคิดตรงข้ามว่า ดีเหมือนกัน รายได้ก็ยังไม่พอ ฆ่าเด็กซะได้ ก็ลดภาระไปอีกหน่อย ถ้าคิดอย่างนี้ เขาเรียกว่า อนุโมทนาบาป ย่อมได้บาปครับ |
|
|
|
|
 |
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.ค.2005, 11:08 pm |
  |
บาปหรือไม่ขึ้นอยู่กับใจเราครับ
ตอนนี้คุณกำลังได้รับผลบาปอยู่ครับ เพราะคุณไม่สบายใจ แต่บาปที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลไม่นานหรอกครับจะค่อยๆ จางไป เพราะคุณไม่ได้เป็นผู้ก่อขึ้น ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เด็กก็จะสบายใจขึ้นครับ |
|
|
|
|
 |
แอนนี่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2005, 4:14 am |
  |
การที่ท่านรู้สึกเช่นนี้ เราจะบอกว่าบาปหรือไม่แนะนำเป็นข้อๆค่ะ
1. จิตไม่สงบเพราะรู้เห็น ถามว่าการรู้เห็ฯนี้ท่านได้แนะนำเขาอย่างไร ชี้เห็นการผิดศีลหรือไม่ ถ้าทำแล้วก็ถือว่าท่านชี้แนะทางบุญ ยังไม่ต้องพิจารณาว่าเขาจะเลือกปฏิบัติเช่นไร
2.รู้ว่าเขาจะทำ แล้ว ให้พิจารณาว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองเราห้ามกรรมของใครไม่ได้ เช่นเขาปวดท้อง เราปวดเหมือนเขาไหม
3. มีความจำเป็น อันนี้ไม่ได้สอนให้ใครทำบาปนะ แต่จะแนะนำ หลักของธรรมมะ ในธรรมชาติ ของมนุษย์ เมื่อเรารู้อยู๋แล้วว่าเราไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูเขาได้อย่างดี เมื่อเขาเกิด เราก้อยุติการเกิดคือ ถ้าคนที่จะมาเกิดเราไม่สามารถเลี้ยงได้แต่ปล่อยให้เกิดปัญหาสังคม ทอดทิ้ง เลี้ยงดูไม่ดีก่อปํญหาให้สังคม ก็ลองพิจารณาดูว่าท่านทำถูกแล้วไหม
4.บาปกรรม ทุกอย่าง เป็นกรรมทั้งสิ้น คือ เราทำแท้ง รู้ว่าเขาทำแท้ง ไม่ห้ามหรือส่งเสริม หรือ เราปล่อยให้เกิดเป็นปัญหาสังคม ทอดทิ้ง นี่ก็คือกรรม ไม่ใช่บาปกรรม
ลองใช้ พิจารณาดู นะคะ |
|
|
|
|
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2005, 9:55 am |
  |
ศีล ๕ ข้อ ในหัวข้อที่ ๑ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ
๑. *ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
------------------------------------------------------
* อรรถกถาบางแห่งใช้ว่า ปรปาโณ คือสัตว์อื่นที่มีชีวิต มิได้หมายถึงตัวเอง เพราะฉะนั้นการฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ของศีลข้อนี้ ถ้าครบองค์ ๕ ศีลข้อ ๑ ก็ขาด ถ้าไม่ครบ ๕ ข้อ ศีลไม่ขาด แต่ก็เศร้าหมอง
โทษของศีลข้อ ๑ นี้ อย่างหนักทำให้ไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน อย่างเบาทำให้อายุสั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ถึงกระนั้นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ก็หนักเบาต่างกันด้วยร่างกายของสัตว์ ๑ ด้วยคุณของสัตว์ ๑ ด้วยเจตนา ๑ และด้วยความพยายาม ๑ กล่าวคือ
ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ โทษก็มาก ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก โทษก็น้อย ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณมาก โทษก็หนักมาก ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณน้อย โทษก็น้อยลดหลั่นกันลงไป ถ้าเจตนา คือความจงใจแรง โทษก็แรง ถ้าเจตนาคือ ความจงใจอ่อน โทษก็น้อย ความพยายามมากโทษก็มาก ความพยายามน้อยโทษก็น้อย
แต่อย่าได้คิดว่าเมื่อท่านฆ่าสัตว์เล็ก ทั้งมีคุณน้อย มีความจงใจอ่อน และมีความพยายามน้อย โทษก็น้อย คงจะไม่น่ากลัว อย่าลืมว่า บาปอกุศลนั้นถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรทำ เพราะเมื่อสำเร็จเป็นกรรมแล้ว ย่อมพาไปอบายได้เช่นเดียวกับโทษหนักเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาจไปอยู่ในอบายชั่วระยะเวลาอันสั้น ไม่ยาวนานเหมือนโทษหนัก เพราะฉะนั้นจึงควรสังวรระวังไม่ประมาทแม้โทษเพียงเล็กน้อย
ใน อรรถกถาวัมมิกสูตร มัช.มูล. เล่าถึงพวกโจรที่ฆ่าอุบาสกที่เป็นพระอนาคามีว่าทำให้ตาบอดทันที เพราะผู้ถูกฆ่าเป็นสัตว์ใหญ่ มีคุณธรรมสูง เจตนาของโจรก็แรง ผลจึงเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ยังไม่ต้องกล่าวถึงโทษที่จะเกิดในอนาคตว่าจะร้ายแรงแค่ไหน
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html |
|
|
|
   |
 |
|