Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ถ้าได้รับรู้เกี่ยวกับการแท้งลูกจะมีบาปกรรมติดตัวไปไหมค่ะ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
คนที่เคยหลงผิด
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2005, 3:48 am
ขอความอนุเคราะห์ตอบคำถามให้หน่อยค่ะ คือว่าดิฉันมีลูกพี่ลูกน้อง เป็นน้องสาวคนหนึ่งเขาท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วเขาไม่มีปัญญาเลี้ยงลูกเพราะเขายังเด็กอยู่ เขาตัดสินใจทำแท้ง แต่ดิฉันก็บอกเขานะค่ะว่าถ้าคลอดมาแล้วจะช่วยเลี้ยง แต่สภาพภาวะปัจจุบันสถานภาพทางครอบครัวก็ลำบากอยู่ค่ะ เขาเลยตัดสินใจทำแท้ง ดิฉันก็ไม่อยากให้เขาทำอย่างนั้นนะค่ะ แต่เมื่อคิดดูแล้วถ้าเด็กออกมาไม่มีปัญญาเลี้ยงแน่ ๆ ตอนนั้นเด็กอายุครรภ์แค่ 2-3 เดือนอยู่ค่ะ น้องดิฉันเขาว่าเด็กยังไม่เป็นตัวยังเป็นก้อนเลือดอยู่ เขาเลยตัดสินใจแท้งลูกค่ะ โดยวิธีการกินยาขับเลือดออกมา แต่เรื่องนี้น้องดิฉันมาปรึกษาดิฉันนะค่ะ ดิฉันได้รับรู้เรื่อง ดิฉันไม่รู้ว่าเขาจะแท้งลูกจริง ดิฉันรู้ข่าวอีกที น้องของดิฉันก็อยู่โรงพยาบาลแล้ว เพราะตกเลือด ดิฉันไม่ได้มีความคิดให้เขาทำอย่างงั้นเลยนะค่ะ ดิฉันอย่างทราบว่าดิฉันจะบาปมากไหมค่ะ ที่ได้มารับรู้เรื่องราวแบบนี้ ดิฉันไม่อยากเป็นคนบาปค่ะ มีวิธีอะไรบ้างค่ะที่จะช่วยชดใช้กรรมที่ดิฉันได้ร่วมรับรู้มันได้ค่ะ ดิฉันไม่สบายใจมากเลยค่ะ ที่เรื่องมันจบอย่างนี้ ดิฉันเสียใจมากค่ะ เสียใจจริง ๆ
อสรี
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2005, 8:03 am
คุณว่า พระหรือแม่ชีหรือพ่อแม่ เพื่อน ที่มีผู้คนไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ท่านเหล่านั้นได้ยินได้ฟัง และให้ความเห็นในทางที่ไม่เห็นด้วยที่จะไปทำแท้งนั้น บาปหรือไม่...
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2005, 4:08 pm
กรณีที่ 1 ถ้าเขามาปรึกษาเรา และเราไม่ได้แนะนำให้เขาทำแท้ง ถ้าเขาไม่เชื่อ ยังคงไปทำแท้ง เราย่อมไม่บาปครับ
กรณีที่ 2 ถ้าเขาแอบทำแท้งโดยไม่บอกเราก่อน แต่พอทำแท้งแล้ว มาบอกให้เรารับรู้ภายหลัง กรณีนี้ แบ่งได้เป็น 2 ทาง ขึ้นกับพฤติกรรมของเราครับ
ถ้าเราคิดและบอกว่า ทำไมทำแบบนี้ ทำไมไม่ยอมปรึกษาพี่ก่อน เราไม่ยินดีในการทำแท้งของเขา เราย่อมไม่บาปครับ
ถ้าเราคิดตรงข้ามว่า ดีเหมือนกัน รายได้ก็ยังไม่พอ ฆ่าเด็กซะได้ ก็ลดภาระไปอีกหน่อย ถ้าคิดอย่างนี้ เขาเรียกว่า อนุโมทนาบาป ย่อมได้บาปครับ
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2005, 11:08 pm
บาปหรือไม่ขึ้นอยู่กับใจเราครับ
ตอนนี้คุณกำลังได้รับผลบาปอยู่ครับ เพราะคุณไม่สบายใจ แต่บาปที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลไม่นานหรอกครับจะค่อยๆ จางไป เพราะคุณไม่ได้เป็นผู้ก่อขึ้น ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เด็กก็จะสบายใจขึ้นครับ
แอนนี่
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2005, 4:14 am
การที่ท่านรู้สึกเช่นนี้ เราจะบอกว่าบาปหรือไม่แนะนำเป็นข้อๆค่ะ
1. จิตไม่สงบเพราะรู้เห็น ถามว่าการรู้เห็ฯนี้ท่านได้แนะนำเขาอย่างไร ชี้เห็นการผิดศีลหรือไม่ ถ้าทำแล้วก็ถือว่าท่านชี้แนะทางบุญ ยังไม่ต้องพิจารณาว่าเขาจะเลือกปฏิบัติเช่นไร
2.รู้ว่าเขาจะทำ แล้ว ให้พิจารณาว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตนเองเราห้ามกรรมของใครไม่ได้ เช่นเขาปวดท้อง เราปวดเหมือนเขาไหม
3. มีความจำเป็น อันนี้ไม่ได้สอนให้ใครทำบาปนะ แต่จะแนะนำ หลักของธรรมมะ ในธรรมชาติ ของมนุษย์ เมื่อเรารู้อยู๋แล้วว่าเราไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูเขาได้อย่างดี เมื่อเขาเกิด เราก้อยุติการเกิดคือ ถ้าคนที่จะมาเกิดเราไม่สามารถเลี้ยงได้แต่ปล่อยให้เกิดปัญหาสังคม ทอดทิ้ง เลี้ยงดูไม่ดีก่อปํญหาให้สังคม ก็ลองพิจารณาดูว่าท่านทำถูกแล้วไหม
4.บาปกรรม ทุกอย่าง เป็นกรรมทั้งสิ้น คือ เราทำแท้ง รู้ว่าเขาทำแท้ง ไม่ห้ามหรือส่งเสริม หรือ เราปล่อยให้เกิดเป็นปัญหาสังคม ทอดทิ้ง นี่ก็คือกรรม ไม่ใช่บาปกรรม
ลองใช้ พิจารณาดู นะคะ
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2005, 9:55 am
ศีล ๕ ข้อ ในหัวข้อที่ ๑ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
ศีลข้อ ๑ มีองค์ ๕ คือ
๑. *ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
------------------------------------------------------
* อรรถกถาบางแห่งใช้ว่า ปรปาโณ คือสัตว์อื่นที่มีชีวิต มิได้หมายถึงตัวเอง เพราะฉะนั้นการฆ่าตัวเองจึงไม่ล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ของศีลข้อนี้ ถ้าครบองค์ ๕ ศีลข้อ ๑ ก็ขาด ถ้าไม่ครบ ๕ ข้อ ศีลไม่ขาด แต่ก็เศร้าหมอง
โทษของศีลข้อ ๑ นี้ อย่างหนักทำให้ไปเกิดในอบาย เป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน อย่างเบาทำให้อายุสั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ถึงกระนั้นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ก็หนักเบาต่างกันด้วยร่างกายของสัตว์ ๑ ด้วยคุณของสัตว์ ๑ ด้วยเจตนา ๑ และด้วยความพยายาม ๑ กล่าวคือ
ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ โทษก็มาก ถ้าฆ่าสัตว์เล็ก โทษก็น้อย ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณมาก โทษก็หนักมาก ถ้าฆ่าสัตว์มีคุณน้อย โทษก็น้อยลดหลั่นกันลงไป ถ้าเจตนา คือความจงใจแรง โทษก็แรง ถ้าเจตนาคือ ความจงใจอ่อน โทษก็น้อย ความพยายามมากโทษก็มาก ความพยายามน้อยโทษก็น้อย
แต่อย่าได้คิดว่าเมื่อท่านฆ่าสัตว์เล็ก ทั้งมีคุณน้อย มีความจงใจอ่อน และมีความพยายามน้อย โทษก็น้อย คงจะไม่น่ากลัว อย่าลืมว่า บาปอกุศลนั้นถึงแม้จะเล็กน้อยก็ไม่ควรทำ เพราะเมื่อสำเร็จเป็นกรรมแล้ว ย่อมพาไปอบายได้เช่นเดียวกับโทษหนักเหมือนกัน เพียงแต่ว่าอาจไปอยู่ในอบายชั่วระยะเวลาอันสั้น ไม่ยาวนานเหมือนโทษหนัก เพราะฉะนั้นจึงควรสังวรระวังไม่ประมาทแม้โทษเพียงเล็กน้อย
ใน อรรถกถาวัมมิกสูตร มัช.มูล. เล่าถึงพวกโจรที่ฆ่าอุบาสกที่เป็นพระอนาคามีว่าทำให้ตาบอดทันที เพราะผู้ถูกฆ่าเป็นสัตว์ใหญ่ มีคุณธรรมสูง เจตนาของโจรก็แรง ผลจึงเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที ยังไม่ต้องกล่าวถึงโทษที่จะเกิดในอนาคตว่าจะร้ายแรงแค่ไหน
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th