Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พระเหลือ อีกหนึ่งความน่าสนใจ ณ วัดใหญ่ เมืองสองแคว
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
วัดและศาสนสถาน
ผู้ตั้ง
ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993
ตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2007, 5:09 pm
พระเหลือ อีกหนึ่งความน่าสนใจ ณ วัดใหญ่ เมืองสองแคว
หากพูดถึงเมืองสองแคว จังหวัดพิษณุโลกแล้ว สิ่งหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนหลายๆ คนมักจะนึกถึง รวมทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองสองแควนี้ก็คือ
พระพุทธชินราช
พระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐาน ณ
พระวิหารใหญ่ (พระวิหารหลวง) ด้านทิศตะวันตก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่
นั่นเอง
พระพุทธชินราช ถือเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับยกย่องว่ามีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย
พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพญาลิไทย กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงสมัยสุโขทัย หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ.1900 ในครั้งนั้นได้มีพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกันอีก 2 องค์ คือ
พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา (พระศาสดา) ซึ่งอีกสององค์นั้น ขณะนี้ได้ประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ส่วนที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร แห่งนี้เป็นองค์จำลอง
ตำนานการสร้างพระพุทธชินราชนี้ก็น่าสนใจมากทีเดียว เพราะเมื่อได้กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้งสามองค์แล้ว ปรากฏว่า พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดามีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันทั้งองค์ แต่พระพุทธชินราชนั้นทองแล่นไม่ติดเต็มพระองค์ จึงได้มีการหล่อขึ้นใหม่อีกถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ยังคงเททองไม่สำเร็จอยู่นั่นเอง จนในครั้งหลังสุดนั้น ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งที่ไม่มีผู้ใดทราบชื่อและที่มา เข้ามาช่วยปั้นหุ่นและเททองทั้งกลางวันกลางคืนจนเสร็จลง คราวนี้น้ำทองที่เทหล่อก็แล่นเต็มตลอดทั่วทั้งองค์ และเมื่อแกะพิมพ์ออกมาก็พบว่าองค์พระนั้นงดงามสมบูรณ์ไม่มีที่ติ ราวกับเทวดามาช่วยสร้าง ส่วนตาปะขาวที่มาช่วยเททองนั้นก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลายคนเชื่อกันว่าตาปะขาวคนนั้นน่าจะเป็นเทพยดาที่แปลงกายมาเพื่อช่วยหล่อพระพุทธชินราชขึ้น ทำให้ชาวบ้านร่ำลือกันไปต่างๆ นานา จนความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธชินราชมีมากขึ้น
แต่นอกจากพระพุทธรูปทั้งสามองค์ที่กล่าวมานี้แล้ว หากใครที่เคยไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร มาก่อน คงจะสังเกตเห็นว่า ด้านหน้าพระวิหารใหญ่พระพุทธชินราชนั้น จะมีพระวิหารหลังเล็กๆ อีกหลังหนึ่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ต้นใหญ่ พระวิหารที่ว่านั้นมีขนาดเล็กจริงๆ ขนาดที่ว่าบางคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นศาลพระภูมิได้ แต่ที่แท้จริงแล้ว พระวิหารหลังน้อยนั้นเป็นพระวิหารของ
พระเหลือ
นามว่า
พระวิหารพระเหลือ
นั่นเอง
พระเหลือ และพระสาวกอีกสององค์ยืนอยู่ด้านข้าง
เหตุที่พระพุทธรูปในพระวิหารน้อยได้ชื่อว่า
พระเหลือ
ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อครั้งที่หล่อพระพุทธรูปสำคัญทั้งสามองค์อันได้แก่
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
แล้ว
ก็ยังคงมีเศษทองสัมฤทธิ์หลงเหลืออยู่ พระยาลิไทจึงมีรับสั่งให้ช่างนำเศษทองนั้นมาหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้างเพียง 1 ศอกเศษ และเรียกท่านว่า พระเหลือ หรือ หลวงพ่อเหลือ ถึงกระนั้นเศษทองก็ยังเหลืออยู่อีก จึงได้หล่อพระสาวกขึ้นมาอีกสององค์ยืนอยู่ด้านข้างของพระเหลือ
ส่วนอิฐที่ใช้ก่อเตาสำหรับหลอมทองที่หล่อพระพุทธรูปนั้น ได้นำมารวมกันแล้วก่อเป็นฐานชุกชีสูง 3 ศอกตรงตำแหน่งที่หล่อพระพุทธชินราช พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชีนั้น แสดงว่าเป็นมหาโพธิ์สถานของพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาทั้งสามองค์ จึงเรียกว่า ต้นโพธิ์สามเส้า และได้สร้างพระวิหารเล็กๆ ขึ้นมาระหว่างต้นมหาโพธิ์นั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระเหลือและพระสาวก จึงเรียกชื่อว่า พระวิหารพระเหลือ หรือ พระวิหารหลวงพ่อเหลือ กันต่อมา
เมื่อพูดถึงเรื่องชื่อ จริงๆ แล้วพระเหลือเองก็มีชื่ออย่างเป็นทางการฟังดูไพเราะว่า
พระเสสันตปฏิมากร
ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานตั้งชื่อให้ แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมเรียกองค์พระว่าพระเหลืออยู่เช่นเดิม แต่ก็ด้วยชื่อขององค์พระนั่นเองที่ทำให้ผู้คนมักนิยมไปบูชาสักการะขอพรจากท่าน ด้วยเชื่อว่าจะทำให้มีเงินมีทองเหลือใช้เหมือนอย่างชื่อของท่านบ้าง
สำหรับผู้ที่ไปเที่ยวชมวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร นอกจากจะได้มานมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือแล้ว ก็อย่าลืมไปชม
พระวิหารพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางแปลกๆ ที่ไม่มีที่ไหนเหมือน รวมทั้ง
พระอัฏฐารส (พระยืน)
พระพุทธรูปสูง 18 ศอก ที่อยู่บริเวณเนิน
พระวิหารเก้าห้อง
ก็ล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ท่านใดที่ต้องการจะมาชมรวมทั้งนมัสการพระพุทธรูปเหล่านี้ก็สามารถไปสัมผัสในความงามได้ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร แห่งเมืองสองแคว จ.พิษณุโลก
พระวิหารพระเหลือ หรือ พระวิหารหลวงพ่อเหลือ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่
อันเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธชินราชและพระเหลือ
รวมถึงพระพุทธรูปน่าสนใจอีกมาก เปิดตั้งแต่เวลา 06.30-18.00 น. ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ริมถนนพุทธบูชา ต.ในเมือง อ.เมือง ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ท่านใดที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่, หลวงพ่อใหญ่ และพระพุทธรูปอื่นๆ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลก สามารถสอบถามได้ที่ ททท. ภาคเหนือ เขต 3 โทรศัพท์ 0-5525-2742-3, 0-5525-9414
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2548 06:17 น.
พระเหลือ หรือ หลวงพ่อเหลือ หรือ พระเสสันตปฏิมากร
พระประธานในพระวิหารพระเหลือ หรือพระวิหารหลวงพ่อเหลือ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19715
พระพุทธชินราช พระประธานในพระวิหารใหญ่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19299
~ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=24657
_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
วัดและศาสนสถาน
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th