Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทางดำเนินของจิตเป็นอย่างไรครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2004, 7:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

- ในการปฏิบัติธรรมแนวทางดำเนินของจิตเป็นอย่างไรครับ
- ทำไมผมจึงพบเจอแต่บางครั้งสุข บางครั้งทุกข์ บางครั้งอยากร้องให้
- บางครั้งท้อใจ บางครั้งอยากเลิกปฏิบัติ บางครั้งเบื่อ
- บางครั้งศรัทธาเต็มเปี่ยม บางครั้งศรัทธาถดถอย
- บางครั้งไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลก
- ทำไมการปฏิบัติของผมถึงได้วนเวียนอยู่แค่นี้ครับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
หรือว่ายังปฏิบัติยังไม่ถึง ปฏิบัติยังไม่พอ

- รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2004, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มันเป็นอาการของจิตค่ะ เป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ว่าจิตเป็นอย่างไร
ไปยึดสิ่งใดอยู่ ถ้าเรามีสติสัมปะชัญญะอยู่ สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก็จะกลาย
เป็นสิ่งที่ถูกเรารู้ และมีผู้รู้อยู่ต่างหาก จิตก็จะเห็นอารมณ์ต่างๆ ชัดเจนขึ้น
และจิตก็จะไม่คลุกไปกับอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น จนกระทั่งถอดถอนตัวเอง
ออกมาในที่สุด

สิ่งสำคัญคือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด เรามี "สติสัมปะชัญญะ" ที่จะรู้ทันหรือไม่ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ผิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2004, 8:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"สติสัมปะชัญญะ" ก็มีบ้างเผลอบ้างครับ
- อาการของจิต ไม่ใช่จิต ใช่ใหมครับ แล้วผมควรปฏิบัติต่อไปอย่างไรครับ


- ขอบพระคุณมากครับ
 
สุรวัฒน์
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 14 มิ.ย. 2004
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2004, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำไม.....

ในความรู้สึกของนักภาวนาที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาระยะหนึ่ง
ทำไม...เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่ง เป็นเพียงปรากฏการณือย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมา
พอเกิดขึ้นก็เพียงรับรู้มันด้วยความเป็นกลางพร้อมๆ กับเห็นว่า
มันก็เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับไปเป็นธรรมดา
หากเห็นมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นดับไปเห็นธรรมดาแล้ว
และยอมรับความจริงต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นแล้ว
ก็เท่ากับเราได้เดินมาถูกทางแห่งความพ้นทุกข์แล้ว
คำว่า ทำไม....ก็จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น

แต่ถ้ายังไม่อาจยอมรับความจริงของชีวิต หรือของปรากฏการณ์ต่างๆ
ที่วนเวียนกันมาปรากฏให้รับรู้ละก็

คำว่า ทำไม....ก็จะวนเวียนมาทำให้เราต้องทุกข์อยู่ร่ำไป

คุณผินต้องมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น
ด้วยจิตใจที่เห็นสิ่งเหล่านั้นมีความเกิดขึ้น-ดับไปเป็นธรรมดา
ไม่อยากให้เกิดก็ไม่ได้ เกิดแล้วอยากให้ดับตามใจปรารถนาก็ไม่ได้
หากเพียรจนรับรู้ปรากฏการ์ต่างๆ ได้อย่างนี้ละก็
คุณผินก็จะประจักษ์แจ้งได้ว่า สิ่งที่เคยทุกข์ก็จะทุกข์น้อยลงครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2004, 11:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุค่ะ อ.สุรวัฒน์

เรื่องสติสัมปะชัญญะ เป็นเรื่องที่ดูๆ ทีแรก เราก็นึกว่าไม่สำคัญเท่าใด
นึกว่าเราก็มีอยู่ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องลึกซึ้งอย่างยิ่ง
ทางดำเนินของจิตนั้น ต้องตามรู้ด้วยจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ มีสติสัมปะชัญญะ

เป็นพี่เลี้ยงไปตลอดทางดำเนิน ถ้าเผลอสติฯ เมื่อใด เราก็ตกไปสู่โลกอีกโลกนึงที่น่ากลัวอย่างยิ่ง แต่เรามักไม่รู้ โลกที่เราเหม่อ เผลอ อยู่ ถ้าตายไป ก็มีหวังว่าจะตกไปสู่ภพภูมิที่ไม่พึงประสงค์แน่ (โมหะครอบอยู่ ก็ตกไปสู่ภพของเดรัชฉาน) สังเกตได้ว่า พวกสัตว์ เป็นพวกที่ส่วนมากไม่มีสติฯ คือมีชีวิตหากินไปวันๆ เดินไปมาทั่วไป หิวก็กิน เหนื่อยก็นอน ถ้าเราไม่มีสติฯ เราก็คล้ายกัน

อยากจะเชิญชวนพวกเราให้สนใจในเรื่องการมีสติสัมปะชัญญะให้มากๆ ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ผิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2004, 7:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณคุณ satima และ อ.สุรวัฒน์ มากครับ



 
น้ำใส
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2004, 10:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน









เช้าวันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเช้าเสด็จออกบิณฑบาต สามเณรราหุล

ถือบาตรตามเสด็จ พระพุทธองค์ทรงในโอวาทว่า

รูปทั้งปวง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เธอพึงเห็นด้วยปัญญาว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จึงจักไม่ครอบงำจิตได้

อนึ่ง เธอจงภาวนาธรรมอีก ๖ อย่างคือ.













พระเมฆิยะ เห็นป่ามะม่วงริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งน่ารื่นรมย์ ชอบใจที่

จะบำเพ็ญเพียรสำหรับตน จึงเข้าไปทูลขออนุญาตจากพระบรมศาสดา

พระพุทธองค์ทรงตรัสยับยั้งอยู่ถึง ๓ ครั้ง พระเมฆิยะก็ไม่ฟัง

เมื่อพระเมฆิยะเข้าไปในป่ามะม่วงนั้นแล้วเกิด อกุศลวิตก ๓ คือ

กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ครอบงำจนไม่สามารถอยู่ได้

จึงกลับไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถามถึงสาเหตุที่ไม่สามารถบำเพ็ญเพียรได้

พระบรมศาสดาทรงประทานโอวาทว่า.













 
Anatta
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2004
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2004, 12:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

- ทำไมการปฏิบัติของผมถึงได้วนเวียนอยู่แค่นี้ครับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย หรือว่ายังปฏิบัติยังไม่ถึง ปฏิบัติยังไม่พอ ก็เปลี่ยนเป็นอนิจจังให้เห็นแล้วค่ะ

"บางครั้งสุข บางครั้งทุกข์ บางครั้งอยากร้องให้ บางครั้งท้อใจ บางครั้งอยากเลิกปฏิบัติ บางครั้งเบื่อ" เขาก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วเพียงแต่ให้เรามีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัวรู้สึกอาการที่จิตแสดงออก สักวันก็เห็นความจริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Satami
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2004, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่อ่านมาก็น่าฟังจัง ... นอกจากมีสติ สัมปชัญญะแล้ว ก็อย่าลืมหมั่นพิจราณาอยู่เนืองๆ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนด้วยหละ
 
Anatta
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2004
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2004, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ คุณสติมา

หลวงปู่จันทาสั่งว่า...อย่าละเว้นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2004, 9:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อารดา กริชเพชร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2006, 8:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สติสัมปะชัญญะเเปลว่าอะไรคะ
 
กรัชกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2006, 2:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่คุณกำลังประสบอยู่นั่นไงเป็นทางเดินของจิต เป็นธรรมดาของมัน แต่คุณไม่พอใจธรรมชาติของมัน คุณจึงหงุดหงิด เพราะความต้องการคุณสวนทางกับมัน
คุณจึงเป็นทุกข์ไม่สบายใจ

ให้เปลี่ยนมารู้เห็นตามที่เค้ามีตามที่เค้าเป็น โดยไม่มีเรา เข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน
ดูมันแล้วปล่อยมันไป เหมือนนั่งอยู่ริมตลิ่ง มองสายน้ำ รู้เห็นตรงหน้าแล้วให้ผ่านไปๆ
แรกอาจยากหน่อย แต่ฝึกบ่อยๆ ก็ค่อยๆดีขึ้น
 
อ่าง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2006, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้อ่านหนังสือ เรื่อง " โอวาทธรรม ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต " โดยพระหลวงตามหาบัว จึงขอน้อมนำมาฝากบางตอนค่ะ
" นักปฏิบัติจึงควรบำรุงสติ สติควรมีอยู่กับธรรมทุกขั้นภูมิของจิต ไม่ว่าขั้นเริ่มฝึกหัด ไม่ว่าขั้นจิตเป็นสมาธิ ไม่ว่าขั้นเริ่มฝึกหัดทางปัญญา สติมีความจำเป็นกับธรรมทุกขั้นไปตลอดสาย...สมาธิทุกขั้นปัญญาทุกภูมิสติต้องเป็นพี่เลี้ยงให้เป็นไป จะทำงานใดหรือไม่แต่สติไม่ควรให้ขาดไปจากตัวจากใจ ผู้พยายามบำรุงสติไม่ลดละ ไม่ว่ากิเลสหนาแน่นเพียงไรในหัวใจจะต้องเบิกทางให้เดินจนได้ คือ....สมาธิ"
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 3:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่เรียกว่าบำเพ็ญกุศลอย่างสูงสุดนั้น นั่นคือเรามาปฏิบัติที่ใจ เจริญสติปัฏฐาน 4 การเจริญสติปัฏฐาน 4 นี้ต้องการเอาสติมีฐานะดี ในจิตใจให้เข้มแข็ง ต้องประกอบด้วยธรรมสัมมาปฏิบัติในหน้าที่ให้ครบตามกำหนดสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐาน 4 ประการที่เราต้องปฏิบัติกันอยู่ ณ บัดนี้ กรรมฐาน 4 ประการนั้นคือสติปัฏฐาน เอาเฉพาะทางสายเอกเท่านั้น สติอยู่ที่ฐาน เป็นการรองรับให้จิตอยู่ที่ ไม่ให้จิตเพ่นพ่าน ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่ให้จิตไปเครียด ต้องการให้จิตอยู่ที่ ต้องการให้มีการกำหนดจิต คือตั้งสติให้รู้เท่าทันจิต โดยให้เรามีสติปัญญานั้น มีจุดมุ่งหมายอันนั้น แต่การปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ง่าย ทำยากมาก เพราะจิตมันเพ่นพ่านฟุ้งซ่านเสมอ เราจะทำให้จิตอยู่คงที่คงลำบาก แต่โดยวิธีปฏิบัติแล้ว ก็คือว่าให้เราเอาสติไว้ จิตมันจะเพ่นพ่านไปทางไหน มันจะคิดอะไร ก็เอาสติไปคิดตามจิตตลอดไป จิตจะไปฟุ้งซ่านทางดีหรือทางชั่วเราก็ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ตัว แต่เมื่อใช้สติของเราเข้าไปยึดเหนี่ยวจิตให้มันเกิดในเรื่องที่ดี ในเมื่อสติแล้วจะคิดแต่เรื่องดีเสมอไป เรื่องชั่วคงไม่คิด เพราะว่ามีสติเหนี่ยวรั้งจิตใจ นี่ปัญหาตรงนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องให้จิตมันดิ่งที่อยู่เป็นสมาธิ ก็เป็นได้ยาก ก็เนื่องจากจิตนี่เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ท่านต้องคิดอยู่เสมอ มันต้องเผลอเรออยู่ตลอดกาล จิตมันจะเพ่นพ่านไปตามอารมณ์ของเราเสมอ ไม่มีใครที่ยึดเหนี่ยวมันไว้ได้ ห้ามไม่ได้

บังคับจิตนี้บังคับได้ยาก เพราะเราก็รู้ตัวอยู่ด้วยกันทุกคน ว่าจะบังคับเขาได้หรือจิตนี้มันไปตามอารมณ์ของเรา มันชอบกิเลส ชอบความฟุ้งซ่าน ชอบคิดนานาประการ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเรามีสติพอไหม สติพอจะเหนี่ยวรั้งจิตไว้ได้ไหม ถ้าสติเหนี่ยวรั้งจิตไม่ได้ ระลึกไม่ได้แล้ว จิตมันก็เป็นไปตามกำลังของมัน สติมันน้อยไม่พอต่อความรั้ง ไม่มีพลังสมาธิ ก็ไม่สามารถรั้งจิตไว้ได้ ถ้าเราฝึกจิต ฝึกสติให้คุ้นเคยกัน ให้มันอยู่ที่อยู่ทางตลอดรายการ มันจะค่อยๆดีขึ้น สติอยู่ในจิตใจ จิตใจก็ไม่หลง จิตก็เข้าสู่สภาวะสมาธิ ถ้าเราขาดสติ สมาธิก็ไม่มั่นคง เป็นสมาธิของสมถะ ต้องการให้อยู่ในจุดสมาธิ แต่เป็นการขาดสติ ปัญญาจึงไม่เกิด เป็นเรื่องสมถะไปยึดเหนี่ยวอารมณ์ หรือยึดเหนี่ยวบัญญัติมาเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะมาอยู่ในบัญญัติกันมาก แต่ต้องการจะยึดให้มีสติ ให้สติมีอยุ่ในจิต เป็นการเพ่งภาวนา ในเรื่องกายานุปัสสนา เรื่องเวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา ต้องการให้มันอยู่ในจุดนั้น จะเกิดอะไรขึ้นทั้ง 4 ประการนั้น เราก็สติปักลงไป มันจะเกิดเวทนาก็ปักไปที่เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มันเกิดขึ้น แล้วก็ภาวนาคือสมาธิ ภาวนาจิตให้มั่นอยู่กับสติ สติมั่นอยู่ในสมาธิ คำว่ามั่นคือสมถะ มันมีพลังสมาธิมาก มันก็สามารถรั้งเหนี่ยวจิตใจไว้ได้ดีมาก นี่คือฝ่ายกรรมฐานโดยแท้จริง ถ้าขาดกำลังสมาธิมันก็อ่อนไป สำหรับสติปัฏฐาน 4 นะ โดยเฉพาะไม่เอาอื่นมาปน อย่างอื่นมันบอกหลายอย่าง สมาธิทางโลก สมาธิทางธรรมไม่ขอกล่าว ขอรวบรัดตัดมาบรรยายจำเพราะสั้นๆ ที่เราทำขณะนี้

ความจริงมียาวกว่านี้ แต่คิดว่าอ่านแค่นี้คงเข้าใจเหตุที่เกิดนะคะ

อ้างอิง กฏแห่งกรรม-ธรรมปฏิบัติ เล่ม10 หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
 
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2006, 3:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากมีเวลาพอจะมาเพิ่มเติมค่ะ ข้างบนนั่นลองอ่านและทำตามดูนะคะ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง