Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มีปัญหาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิค่ะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อรนุช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 11:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้าพเจ้าได้เริ่มนั่งสมาธิจริง ๆ จัง ๆ ได้ไม่ถึงเดือน เมื่อก่อนทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่ที่ทำปกติคือพยายามมีสติอยู่ตลอดไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามค่ะ มาช่วงก่อนวิสาขบูชา ข้าพเจ้าเริ่มรักษาศีล5 ยังติดข้อ4 เรื่องเพ้อเจ้ออยู่บ้าง สวดมนต์ แผ่เมตตา และนั่งสมาธิก่อนนอนทุกคืน พอหลังจากวันวิสาขบูชา ข้าพเจ้าได้สวดมนต์ไหว้พระ และนั่งสมาธิในช่วงเช้าด้วย ด้วยความคิดที่ว่า จะตั้งใจปฏิบัติให้มากขึ้น แต่พอตั้งใจเท่านั้นแหล่ะค่ะ กลายเป็นว่า สวดมนต์ช่วงเช้า เริ่มมีอาการหาวนอน ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็น พอนั่งสมาธิเมื่อจิตเริ่มสงบกลับกลายเป็นมีอาการเหมือนหลับ ครึ่งหลับครึ่งตื่น พอรู้ตัวก็พยายามสู้กับอาการง่วงทุกครั้ง พอประคับประคองไม่ให้หลับได้บ้าง ไม่ได้บ้างค่ะ แต่พอสวดมนต์ นั่งสมาธิตอนก่อนนอนกลับไม่เคยมีปัญหาอย่างนี้เลย



มีท่านผู้ใดพอจะช่วยแนะนำได้บ้างคะว่าต้องทำยังไง ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
 
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 1:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลานมาถูกทางแล้ว ขอให้ความเพียรอย่าท้อถอย ก่อนทำสมาธิ ถ้าร่างกายได้รับการพักผ่อนเพียงพอ ชำระล้างร่างกายให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับรัดรูปจนเกินไป หาสถานที่ที่เหมาะสมซึ่งไม่เการรบกวนจากภายนอก จิตจะเข้าสู่ความเป็นสมาธิได้ง่าย

ขออนุโมทนา
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2005, 10:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องของถีนมิทธะ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การทำให้มากยิ่งขึ้น ปัญหาเช่นนี้ก็จะหมดไปเอง
 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 7:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาในกุศลจิตของคุณอรนุชค่ะ



สิ่งที่คุณอรนุชทำมาถูกต้องแล้วค่ะ

แต่การหัดทำสมาธิหรือเจริญภาวนานั้น ใหม่ๆ แทบทุกคนก็ต้องเจอแบบนี้ค่ะ

เพราะเหตุว่า กรรมและกิเลสที่เราได้สะสมมานาน มันไม่ยอมให้เราทำความดี

อย่างที่คุณโอ่ เรียกว่า เป็นถีนะมิทธะ ซึ่งเป็นหนึ่งใน นิวรณ์ห้า

นิวรณ์ คือสิ่งที่กางกั้นความดี มีห้าอย่าง



ขอยกคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทศน์รังสี ในพระธรรมเทศนาของท่านเรื่องนิวรณ์นะคะ



กามฉันทะ ความรักใคร่พอใจในกามคุณห้า มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ เมื่อจิตสงบแล้วไม่ต้องเกี่ยวข้องกันกับสิ่งเหล่านี้ ๑



พยาบาท จิตคิดปองร้ายอยากให้ได้ตามความปรารถนาของตน ไม่ว่ากามนั้นจะอยู่

ในสภาพเช่นไร และอาการอย่างไร โดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบเลย

เปรียบเหมือนคนคิดจะทำลายคนอื่น โดยเขาไม่ทันรู้ตัวเลย ฉะนั้น ๑



ถีนะมิทธะ จิตเมื่อคิดฉะนั้นแล้วก็หมกมุ่นอยู่แต่ในอารมณ์นั้น

และไม่กล้าบอกแก่ ใคร จนกระทั่งซึมเซ่อและxxxงไปหมด ๑



อุทธัจจะกุกกุจจะ จิตที่ฟุ้งซ่านส่งไปในอารมณ์ของกามนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ๑



วิจิกิจฉา จิตที่ลังเล ไม่แน่ใจว่ากามนั้นจะสำเร็จลงได้เมื่อใดหนอ ๑



ตัวสมาธิเองก็คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น และมีความสงบระงับทำให้ปราศจากนิวรณ์

เมื่อก่อนจะถึงจุดนี้ได้ เราต้องฝ่ากระแสเหมือนปลาที่ว่ายทวนน้ำ

ถ้าเป็นสมาธิเมื่อใด สิ่งเหล่านี้ก็จะหายไป มันเป็นทางก้ำกึ่งของการไปสู่สมาธิ

คือจิตเริ่มจะมีสมาธิจริงๆ แล้ว นิวรณ์ก็เลยเริ่มปรากฏตัวให้คุณรู้จักค่ะ



ตรงนี้คงต้องอาศัยศรัทธาความเพียรฝ่าไปค่ะ

คิดตรงที่ว่าใครๆ เขาก็ผ่านด่านนี้กันมาทั้งนั้นแล้ว เขาทำได้ เราก็ทำได้เช่นกันค่ะ

ให้กำลังคุณอรนุช ให้ผ่านนิวรณ์ไปได้นะคะ



เอาลิงค์ไปอ่านเพิ่มเติมนะคะ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_18.htm

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 8:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การแก้ง่วง แก้ทุกข์ และแก้ฟุ้ง



ในการปฏิบัติธรรม สิ่งที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านจะต้องประสบแน่นอนก่อนที่จะเข้าถึงธรรม เข้าถึงความว่าง จิตว่าง ก็คือ

1. ความง่วงจนถึงที่สุด

2. ความฟุ้งจนถึงที่สุด

3. ความทุกข์ เจ็บป่วยร่างกาย จนถึงที่สุด

เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถเอาชนะอารมณ์ทั้งสามอย่างนี้ได้เมื่อไร จิตก็เข้าถึงความว่างเมื่อนั้น แต่ถ้าหากไม่สามารถเอาชนะอารมณ์ทั้งสามนี้ได้ ก็จะทำให้ตกอยู่ในอารมณ์ทั้งสามนาน การปฏิบัติกรรมฐานก็ไม่เจริญก้าวหน้า และอาจจะเลิกปฏิบัติไปในที่สุด เพราะฉะนั้นก็ควรแก้ไขดังนี้



วิธีแก้ง่วง



นับว่าเป็นศัตรูตัวสำคัญมากในการปฏิบัติ เพราะตัดทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญา ทำให้ตกอยู่ในความหนักหน่วง ฟังธรรมไม่เข้าใจ ไม่เห็นสภาวะกายใจ สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความง่วงอยู่เสมอ คือบ่อยๆแก้ไม่หาย หรือหายไม่ขาด ความเพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ง่วง แต่ทำความเพียรแล้วเกิดความง่วง ก็ควรปฏิบัติดังนี้ คือ



1. สังเกตดูการบริโภคอาหารว่า การบริโภคอาหารนั้นมากน้อยเพียงใด

2. สังเกตดูการทำความเพียรนั้น ผู้ปฏิบัติบังคับจิตมากเกินไปหรือไม่

3. สังเกตดูว่าจิตนั้นคิดหรือไม่ ถ้าจิตสงบมาก ก็ทำให้เกิดความง่วงมากได้ เพราะจิตนั้นไม่นึกคิด วิตก จึงว่างงาน ทำให้เกิดความง่วง

เมื่อผู้ปฏิบัติสังเกตดู ว่าความง่วงเกิดจากอะไร ก็ควรแก้ไขที่จุดนั้น

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 8:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ถ้าความง่วงเกิดจากการบริโภคมาก



ให้ลดการบริโภคน้อยลง เพื่อลดการเมาอาหาร ข้อสังเกตอีกข้องหนึ่งเรื่องการบริโภคอาหารก็คือ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มนั้นผู้ปฏิบัติส่วนมากมักจะไม่สามารถทำสมาธิได้ หรือทำได้ก็น้อยมาก เพราะหลังอาหารใหม่ๆ กายจะหนักและทำให้จิตหนักตามไปด้วย จิตจะไม่ปลอดโปร่ง แต่อย่าบริโภคน้อยจนถึงกับเกิดความทุกข์ ทำความเพียรไม่ได้ เพราะหมดแรง หxxxำลังที่จะทำความเพียร ควรบริโภคแต่พอดีกับความต้องการของตนเอง



2. การทำความเพียรบังคับจิตมากเกินไป



ทำให้จิตเกิดอาการเพลีย ผู้ปฏิบัติก็จะต้องลดหย่อนการทำความเพียร ลดการบังคับจิตลง อย่าให้ตึงเกินไป (การบังคับจิตมากจะมีผล 2 อย่าง คือทำให้ฟุ้ง เพราะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และถ้าไม่ฟุ้งก็ง่วง เพราะจิตเกิดความอ่อนเพลีย) ควรทำจิตให้สบาย ทำอะไรที่สบายไว้ก่อน อย่าพึ่งร้อนใจ ควรมองสิ่งที่อยู่รอบตัว มองอากาศที่สดใส หรือมองสิ่งที่มีสีเขียว เช่นต้นไม้ใบหญ้า เพื่อให้จิตเกิดความสดใส กระเตื้องตื่นตัว ความง่วงประเภทนี้ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ที่ชอบบริกรรม จึงทำให้เกิดความง่วง ควรเลิกบริกรรม หันมาประคองจิตอยู่ที่กายหยาบแทน โดยทำความรู้สึกไปตลอดตัว หรือครั้งแรกจะทำความรู้สึกไว้ที่สะโพกที่สัมผัสกับพื้นก่อนก็ได้ ถ้ายืนก็ทำความรู้สึกที่ฝ่าเท้า ไม่ต้องบริกรรม ทำใจใหสบายไว้ก่อน ทำความรู้สึกที่กายหยาบ ความง่วงก็จะบรรเทาลง



3. ความง่วงเกิดจากความสงบของจิต



คือ จิตเริ่มจะหยุดคิดนึกปรุงแต่ง แต่ขาดสติทำให้จิตลงภวังค์อยู่เสมอ ทำให้จิตไม่รับรู้อยู่ที่กายหยาบ และไม่รู้สภาวะธรรม ให้ผู้ปฏิบัติยกจิตขึ้นตั้งไว้ที่ท้ายทอย หรือที่หน้าผากอยู่เสมออย่าเอาจิตไว้ที่ต่ำ เช่น ที่ท้อง เป็นต้น จะต้องยกจิตไว้ให้สูงอยู่เสมอ เพื่อให้จิตผ่องใสและเกิดปัญญา ควรหางานให้จิตทำอยู่เสมอ เช่น การพิจารณาธรรม สร้างวงจรจิตหรือหัดรวบรวมจิตให้เป็นเอกด้วยการกำหนดจิตไว้ที่ใจ ให้เกิดความร้อนเกิดพลังงานหรือหัดปั้นอากาศให้เป็นรูป ด้วยการอัดลมหายใจไว้ในอก แล้วค่อยๆระบายออกพร้อมกับปล่อยความง่วงออกไปด้วย จนกว่าจะรู้สึกโล่งที่อกแล้ว จากนั้นก็ให้เลื่อนจิตไปตามหน้าผาก ตามท้ายทอยหรือทำให้จิตเต็มหน้า ทำความรู้สึกอยู่ที่หน้าอย่าปล่อยให้จิตหลบอยู่ภายใน ความง่วงก็จะหายไปเอง



นอกจากนี้ยังมีความง่วงที่เกิดจากความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะไม่เห็นผลของการปฏิบัติ ทำให้เกิดความเกียจคร้าน เป็นผลให้เกิดความง่วงนอนในที่สุด ควรแก้ไขด้วยการหากัลยาณมิตรที่มีความเพียรมาก และเป็นที่วางใจของผู้ปฏิบัติ คือ ยอมให้กัลยาณมิตรผู้นี้ว่ากล่าว ตักเตือนได้ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติไม่สามารถบังคับตนเองได้ ก็ควรให้ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าช่วยบังคับ และวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาค้นคว้าปฏิปทาของพระสาวกหรือพระปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เพื่อจะทำให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติ



ที่มา... http://www.buildboard.com/viewforum.php?forum=6324&start=0&fx=2&id=795
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 8:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.buildboard.com/viewforum.php?forum=6324&start=0&fx=2&id=795
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
มารศาสนา
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2005
ตอบ: 18

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 10:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณอรนุชด้วยคน



ตั้งใจแต่อย่าบังคับตัวจนเกินไป

เตรียมตัวเตรียมใจก่อนลงมือทำ

ฝืนจิตจะทำให้ผิดทาง

สมาธิใช้แค่นั้งปิดตา

สวดภาวนาใช้แค่เอ่ยคำ



ไฟแรงย่อม มอดอับไว



จงหาความหมายในคำที่ได้อ่านไปเป็นคำตอบที่คนเองเท่านั้นที่เข้าใจ



มารศสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 11:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ โดยเฉพาะคุณปุ๋ย ที่แนะนำได้ครอบคลุม ไปจนถึงขั้นตอนของการรับประทานอาหารเลย ว่ามีผลการทำสมาธิ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เลยว่า ให้พระภิกษุ (หรือผู้ปฏิบัติธรรม) รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นข้อหนึ่งในความสำเร็จของการปฏิบัติธรรม

 
อรนุช
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2005, 11:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณทุกคำแนะนำที่ทุกท่านได้สละเวลามาช่วยตอบคำถามของข้าพเจ้าค่ะ ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเคยสงสัยคิดนึกเอาเองอยู่บ้างว่า พอข้าพเจ้าตั้งใจปฏิบัติธรรมมากขึ้น เหมือนมีเหตุการณ์ในทางโลกบางอย่างมาลองใจหลังจากวันที่ข้าพเจ้าตั้งใจเพียงไม่กี่วัน และทุกเหตุการณ์มาได้จังหวะที่จะทำให้ข้าพเจ้าไขว้เขวได้ง่าย แต่เมื่อผ่านเหตุการณ์ครั้งแรกมาได้ ข้าพเจ้าคิดถึงคำว่า มารผจญ ที่เคยได้ยินขึ้นมา มารในที่นี้คงมาจากตัวของข้าพเจ้าเองก็ได้ หรืออาจมาจากกรรมเก่าของข้าพเจ้าเองก็ได้ ที่ได้มาสร้างอุปสรรคต่าง ๆ ทดสอบตัวข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ากรอกแบบฟอร์มว่า ศาสนาพุทธ แต่แทบไม่มีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนา อย่างคำว่านิวรณ์5 ที่เคยได้ยินก็เพิ่งรู้ว่าคืออะไร สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้มีเพียงเท่าที่ข้าพเจ้าได้พิมพ์ไว้ในช่วงคำถามค่ะ วันนี้ได้ความเบาใจในหนทางที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติผ่านมา และจะปฏิบัติต่อไปค่ะ

ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ
 
คิ้วง่ะ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2005, 11:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วมันเกี่ยวอะไรกะ..หู...งง
 
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2005, 1:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุๆๆ...
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง