|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
TU
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2004, 10:29 am |
  |
ครั้นเมื่อ พระมหากัสสปะ
ถวายบังคมบาทพระบรมศพพระพุทธเจ้าแล้ว
เพลิงสวรรค์ก็บันดาลลุกโชติช่วงขึ้นเอง
วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๖
ตรงกับวันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ นี้ เป็น
............วันอัฏฐมีบูชา............
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
หลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน
คือหลังจาก วันวิสาขบูชา แล้ว ๘ วัน
ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง
ซึ่งเกี่ยวเนื่องต่อจาก วันวิสาขบูชา
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่ชาวพุทธต้องสูญเสีย
พระพุทธสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสักการะอย่างสูงยิ่ง
เราชาวพุทธควรใช้วันนี้เป็นวันแสดงธรรมสังเวช อัปปมาทธรรม
(ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาทมัวเมาในอารมณ์ทั้งปวง)
ทำจิตใจให้สงบน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณอันหาประมาณมิได้
ให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศลด้วยเถิด
เชิญประเทียบทะนานทองผ่องพิลาส
บริสุทธิ์สะอาดรัศมี
รองพระธาตุองค์พุทธบดี
ประดิษฐานสู่ที่อันสมควร
เจ็ดราตรีหลังพิธีถวายพระเพลิง
กำหนดการเถลิงพระเกียรติ์หวน
จึ่งพรั่งพร้อมพุทธบริษัททั่วทั้งมวล
ร่วมขบวนทักษิณาบูชาคุณ
เพื่อรำลึกพระมหากรุณา
รินหลั่งธารปัญญาเพื่ออุดหนุน
ให้เวไนยได้เสริมสร้างเส้นทางบุญ
ละพิษอันวายวุ่นวัฏฏะภัย
อัฏฐมีบูชาคราครั้งนี้
ขออัญเชิญกุศลศรีเลิศสมัย
กราบบูชาพระคุณแห่งจอมไตร
พระผู้ให้สันติสุขปลุกชีพชน
ประพันธ์โดย พี่ดอกแก้ว
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
นอกจากนี้แล้ว วันนี้ยังเป็น...วันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา
พระพุทธมารดา สิ้นพระชนม์ หลังประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ
และเป็น...วันคล้ายวันที่พระพุทธองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข
ณ พระแท่นวัชรอาสน์ หรือโพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ตลอด ๗ วัน หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อีกด้วย
ประวัติความเป็นมา วันอัฏฐมีบูชา
http://www.dhammajak.net/budday/atthamee.php
วันอัฏฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
พระมหากัสสปะ ประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42337
มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=86&t=53927
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน : เมืองกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=44811
ดอกมณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์ ที่ไม่มีในโลกมนุษย์
และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า
เช่น ประสูติ, ตรัสรู้, ปลงอายุสังขาร, ดับขันธปรินิพพาน,
วันจาตุรงคสันนิบาต, วันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร
และวันที่เสด็จลงจากเทวโลก หรือผู้มีฤทธิ์บางท่านแผลงฤทธิ์ เป็นต้น
ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ ดอกมณฑารพ ตกลงมาจากเทวโลก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=19556
เหตุการณ์ต่อเนื่องจาก วันอัฏฐมีบูชา
โทณพราหมณ์ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน
แล้วมอบให้ผู้ครองนครทั้ง ๘ นำไปสักการบูชาที่บ้านเมืองของตน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=48446
สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332
มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา คนท้องถิ่นเรียกว่า รามภาร์-กา-ดีลา หรือรัมภาร์สถูป
สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ใน วันอัฏฐมีบูชา ซึ่งตรงกับวันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ หรือ เดือน ๗
(ปีที่มีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน) หลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน
คือหลังจาก วันวิสาขบูชา แล้ว ๘ วันนั่นเอง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42337 |
|
_________________ ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา |
|
    |
 |
TU
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2004, 8:09 pm |
  |
ร่วมพิธี “อัฏฐมีบูชา” ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
หลังจากได้เล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานในวันสงกรานต์ที่ผ่านมากันถ้วนหน้าแล้ว ก็มาถึงวันสำคัญยิ่งของผู้นับถือพระพุทธศาสนา นั่นก็คือ “วันวิสาขบูชา” ที่แม้แต่องค์การสหประชาชาติยังยกย่องและประกาศให้เป็นวันสำคัญสากลโลก สำหรับในประเทศไทยได้มีประเพณีหนึ่งอันเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักหรือแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชนนัก นั่นก็คือประเพณีวันอัฏฐมีบูชา
“วันอัฏฐมีบูชา” นั้น ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เจ้ามัลลกษัตริย์ ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธองค์เป็นเวลา 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 8 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้อัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง วันนี้เองจึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา”
ความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า ในบ้านเรานั้นพบว่าเคยมีมานานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด โดยสถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
พระอธิการวรกูล ธมฺมทินโน เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง กล่าวว่า วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อบต.ไผ่ล้อม สภาวัฒนธรรมตำบลทุ่งยั้ง อำเภอและจังหวัด จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา และงานอัฏฐมีบูชา (ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าจำลอง) ประจำปี 2550 เพื่อสืบสานงานประเพณีที่มีมานานกว่า 40 ปี ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-8 มิถุนายน 2550 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
ในวันวิสาขบูชามีพิธีเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุ และในวันสุดท้ายมีพิธีการแสดงสมมติขั้นตอนการถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ตามขั้นตอนในพิธีที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติตามลำดับ คือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือวันวิสาขบูชา จะมีการสร้างพระพุทธเจ้าจำลองสานด้วยไม้ไผ่ บรรจุในโลงแก้วจำลอง แล้วอัญเชิญไว้ที่ศาลาการเปรียญเพื่อประกอบพิธีทำบุญ ถวายสังฆทาน และสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่วันแรกไปจนถึงวันแรม 8 ค่ำ ปีนี้ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน เรียกวันอัฏฐมีบูชา หมายถึงการบูชาพระพุทธเจ้าในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
ณ เมืองทุ่งยั้งนี้ จะได้รับการสมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งจะถูกตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของพระพุทธเจ้าในพระอิริยาบถ “ไสยาสน์” ด้วยไม้ไผ่สาน พอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกระดาษ ห่มพระวรกายด้วยจีวรสีเหลือง ยาว 9 ศอก ประดิษฐานอยู่ภายใต้พระเมรุมาศที่สร้างขึ้นอย่างสวยงาม สีแดงสลับเหลือง ด้วยฝีมือช่างอาวุโสชาวเมืองลับแล
พิธีการสำคัญจะเริ่มขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ในช่วงกลางวันจะมีพิธีสงฆ์การทำบุญตักบาตร พิธีการถวายสลากภัต การสวดพระอภิธรรม เมื่อถึงเวลาค่ำประมาณ 20.00 น. จะเริ่มพิธีการจำลองถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการแสดงแสงสีเสียงอย่างยิ่งใหญ่สวยงาม บรรดาชาวเมืองทุ่งยั้งจะได้รับการสมมติว่าเป็นชาวเมืองกุสินาราในสมัยพุทธกาล ต่างถือดอกไม้ธูปเทียนเข้าร่วมพิธี ภายในงานจะมีโฆษกบรรยายพุทธประวัติในช่วงที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีผู้แสดงเป็นพราหมณ์ เทวดา ตั้งขบวนมาถวายความเคารพ พร้อมอุบาสกอุบาสิกา
และที่ขาดไม่ได้ ก็คือ “พระมหากัสสปะ” ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยไว้ว่า หากพระอริยกัสสปะยังไม่มาถวายความเคารพพระบรมศพ พระเพลิงก็จะไม่ไหม้เลย ดังนั้น เมื่อพระสงฆ์ผู้สมมติเป็นพระมหากัสสปะมาเคารพพระบรมศพจำลองแล้ว พระบรมศพจำลองจะเกิดไฟลุกท่วมขึ้นทันที พลุหลายหลากสีจะถูกจุดทะยานขึ้นเต็มท้องฟ้าอย่างงดงาม ขณะที่เพลิงซึ่งไหม้พระสรีระจำลองของพระพุทธเจ้ามอดลงทีละน้อย...ก็เป็นอันเสร็จพิธี
ผู้ชมที่ไปร่วมงานจะเห็นเหตุอัศจรรย์หลายอย่างที่เกิดขึ้นในครั้งพุทธกาล ซึ่งได้จำลองมาให้ชมในครั้งนี้ด้วย จนเสร็จสิ้นพิธีแล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในพระบรมธาตุ ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่อยู่ใกล้กับบริเวณจัดงาน ด้วยเทคนิคแสงสีเสียงประกอบ ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชาก่อนการถวายพระเพลิง นับได้ว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน
ในงานจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมแก่เยาวชน การแข่งขันตอบปัญหาทางพุทธศาสนา การประกวดโต๊ะหมู่บูชา การประกวดวาดภาพวันวิสาขบูชา การทำบุญตักบาตร พิธีถวายพระอภิธรรม และพิธีการจำลองการถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ซึ่งเป็นในลักษณะการแสดงประกอบแสง สี เสียง อย่างยิ่งใหญ่งดงามตระการตา
สอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลตำบลทุ่งยั้ง โทร. 0-5541-4979, 0-5541-4978, สำนักงาน ททท. ภาคเหนือเขต 3 (พิษณุโลก) โทร. 0-5525-2742-3
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 33
วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6035
.................................................................. |
|
|
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
05 มิ.ย.2004, 9:21 pm |
  |
วัดป่างิ้วจัดงาน “วันอัฏฐมีบูชา”
พระสงฆ์ 400 รูป ร่วมจำลองถวายพระเพลิง
พระครูวิเชียรปัญญา เจ้าอาวาสวัดป่างิ้ว ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 7-8 มิถุนายน 2550 นี้ วัดป่างิ้ว ได้จัดงานวันอัฏฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
“วันอัฏฐมีบูชา” ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระบรมพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องสูญเสียพระบรมพุทธสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดาซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันที่แสดงธรรมสังเวช ระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
ในการจัดงานมีพระสงฆ์รวมพิธีจำนวนมากกว่า 400 รูป จำลองเหตุการณ์ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า ผสมผสานกับจารีตประเพณีพื้นบ้าน มีการแห่ขบวนเครื่องสักการะมาถวาย ซึ่งประชาชนในพื้นที่และต่างจังหวัดที่ศรัทธาทางวัดมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยขบวนแห่เครื่องสักการะการจัดงานวันอัฏฐมีบูชา ประจำปี 2550 ได้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน พร้อมกันนี้ สถาบันการศึกษา ได้ให้ความสำคัญแจ้งความประสงค์มาร่วมงาน เพื่อให้เยาวชนนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้เข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากยิ่งขึ้นด้วย
สำหรับการจัดงาน วันที่ 7 มิถุนายน 2550 เวลา 17.39 นาฬิกา พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สมโภชน้ำศักดิ์สิทธิ์, เวลา 18.19 นาฬิกา พระมหานาค สวดพระคาถาพุทธาภิเษกสมโภช และในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 เวลา 10.00 นาฬิกา พระราชาคณะจำนวน 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาหลวง, เวลา 13.00 นาฬิกา ทอดผ้าป่ามหากุศล 2,555 กอง และเวลา 14.00 นาฬิกา ประกอบพิธิอัฏฐมีบูชา
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 33
วันที่ 07 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6034
.................................................................. |
|
|
|
    |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2007, 9:16 pm |
  |
9 ขบวนพุทธประวัติตระการตา สืบสานประเพณี “วันอัฏฐมีบูชา”
ณ วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง (วันอัฏฐมีบูชา) หรือชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่าประเพณีเผาศพพระพุทธเจ้าจำลอง ซึ่งพุทธศาสนิกชน ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จัดสืบทอดกันมา 100 ปีแล้ว เพื่อมุ่งหวังให้เป็นเครื่องเตือนสติพุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ อันเป็นหลักแหล่งการประพฤติปฏิบัติที่เกื้อกูลขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งเพื่อรักษาประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ดีงามให้คงอยู่กับชุมชนท้องถิ่นสืบไป
การจัดงาน “วันอัฏฐมีบูชา” จัดหลังงานวันวิสาขบูชา 8 วัน หรือตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 โดยในปี พ.ศ.2549 กำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคมนี้ ซึ่งได้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา อาทิ การถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ การแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง การกระทำทักษิณาวรรต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
การจัดขบวนแห่จำลองเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิและวิถีชีวิตไทย ที่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่กระทำผิดศีลจะได้รับกรรมตอบสนองในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นความทุกข์ทรมานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อต้องการย้ำเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงานได้เกิดสติคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ และมีความเกรงกลัวที่จะกระทำบาป
นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการแสดงมหรสพ การละเล่นและการจุดพลุตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
พิธีกรรมของการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า จะเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าของวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม ชาวบ้านช่วยกันตักบาตรและถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่ วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จนกระทั่งถึงช่วงบ่ายมีการจำลองพิธีอัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าไปยังพระเมรุมาศ โดยพราหมณ์ เทวดา นางฟ้า พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน จากศาลาการเปรียญเดินทักษิณาวรรตพระเมรุมาศ 3 รอบ
ต่อจากนั้นจึงได้อัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าประดิษฐานยังแท่นพระเมรุมาศ (จำลอง) ซึ่งพระเมรุมาศ เป็นลักษณะสี่เสาทรงสูงแบบโบราณ ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยการแทงหยวก ประดับด้วยผ้าแพรพรรณ และจัดโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านหน้าของพระเมรุมาศ เพื่อให้พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชน และผู้เลื่อมใสศรัทธาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สักการบูชาพระบรมศพ
เวลา 14.00 น. จะมีขบวนแห่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิ และวิถีชีวิตไทย จากหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 9 ขบวน เคลื่อนจากหมู่บ้านมายังวัดใหม่สุคนธาราม ขบวนที่ 1 การแสดงรำลึกประวัติศาสตร์ตอนสมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ขบวนที่ 2 พุทธประวัติตอนประสูติ ขบวนที่ 3 พุทธประวัติตอน นายขมังธนูได้รับว่าจ้างจากพระเทวทัต ให้ไปปลงพระชนม์พระพุทธองค์ ตอนที่ 4 พุทธประวัติตอนโสตถิยะเกิดความเลื่อมใส ถวายฟ่อนหญ้าคา พระองค์ทรงรับและใช้ปูลาดใต้ร่มโพธิบัลลังก์
ขบวนที่ 5 พุทธประวัติตอนเสด็จออกบรรพชา โดยมีนายฉันนะ เป็นผู้ผูกม้ากัณฐกะให้ใช้ในการเดินทาง ขบวนที่ 6 พุทธประวัติตอนพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระวรกาย ขบวนที่ 7 พุทธประวัติตอนเทวดาแสดงนิรมิตพิณบรรเลงถวาย ขบวนที่ 8 และ 9 พุทธประวัติตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส และตอนบำเพ็ญทุกรกิริยา
เมื่อขบวนแห่ถึงวัดแล้ว เวลาประมาณ 17.00 น. จะเริ่มพิธีสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อยู่บริเวณพิธีจะร่วมกันสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ เมื่อสวดจบแล้วประธานฝ่ายสงฆ์และประธานฝ่ายฆราวาส นำดอกบัวและธูปเทียนไปถวายหน้าพระบรมศพ ต่อจากนั้นผู้มาร่วมพิธีจะทยอยนำดอกบัว ธูปเทียนไปถวายหน้าพระบรมศพ และชาวบ้านในแต่ละขบวนจะเดินออกบริเวณพิธีเพื่อไปจุดพลุตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชา ถือเป็นเสร็จพิธี
โดยในช่วงกลางคืนจะมีมหรสพพื้นบ้าน ดนตรีไทย และการละเล่นที่ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านส่งมาร่วมแสดง ซึ่งนับเป็นงานบุญประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่สืบไป
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 30
คอลัมน์ สดจากหน้าพระ โดย อนุชา ทรงศิริ
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5649
.................................................................. |
|
|
|
  |
 |
webmaster
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769
|
ตอบเมื่อ:
27 พ.ค.2008, 5:28 pm |
  |
วันอัฏฐมีบูชา
วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า
วันอัฏฐมีบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวเนื่องต่อจากวันวิสาขบูชา แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ไม่ทราบถึงความเป็นมา
วันอัฏฐมีบูชา ตามพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระเจ้ามัลละผู้เป็นกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธองค์เป็นเวลา 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 8 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง วันนี้เองจึงเรียกว่า วันอัฏฐมีบูชา
สำหรับความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล ในบ้านเรานั้นพบว่าเคยมีมานานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด สถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดีคือ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 5 กิโลเมตร บนเส้นทางถนนสายบรมอาสน์ อุตรดิตถ์-ศรีสัชนาลัย สุโขทัย มีการจัดงานอัฏฐมีบูชาขึ้นเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องมายาวนานกว่า 50 ปี สำหรับในปีนี้ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ในบรรยากาศแห่งพุทธธรรม ระหว่างวันที่ 19-27 พฤษภาคม 2551
เมืองทุ่งยั้งแห่งนี้ สมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของพระพุทธเจ้า ในพระอิริยาบถไสยาสน์ด้วยไม้ไผ่สาน พอกด้วยปูนปลาสเตอร์ผสมกระดาษ ห่มพระวรกายด้วยจีวรสีเหลือง ยาว 9 ศอก ประดิษฐานอยู่ภายใต้พระเมรุมาศ ที่สร้างขึ้นอย่างสวยงาม จากฝีมือช่างอาวุโสชาวเมืองลับแล ประดิษฐานไว้ในโลงแก้วจำลอง นำขึ้นไว้บนศาลาการเปรียญ ตรงกับวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา
ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จนถึงวันแรม 7 ค่ำ เดือน 6 จะนำพระบรมศพจำลองมาบำเพ็ญกุศลบนศาลาการเปรียญ ชาวบ้านทุ่งยั้งร่วมกันจัดงานบุญครั้งใหญ่ มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารพระ ฟังธรรมเทศนาทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ พ่อค้า ประชาชนร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลตลอดทั้ง 8 วัน 8 คืน
เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า มีพระเจ้ามัลละเป็นองค์ประธาน ท่ามกลางความโศกเศร้าของพุทธศาสนิกชน ภิกษุสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวการปรินิพพาน ต่างก็เดินทางมาถวายความเคารพพระบรมศพ รวมถึงเหล่าพระอินทร์ พระพรหม เทพยดา นางฟ้าจากสวรรค์ ตลอดจนสามัญชน มีโอกาสถวายความเคารพพระบรมศพเช่นเดียวกัน
จุดสำคัญของงานคือ เหตุอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า 2 ประการ ประการแรก เมื่อพระเจ้ามัลละได้พระราชทานเพลิงให้ทิศาปาโมกข์ไปจุดถวายพระเพลิงทั้ง 4 ทิศ ปรากฏว่า จุดเท่าไหร่ไฟก็ไม่ติด พระอนุรุทเถระ ประธานฝ่ายบรรพชิตกล่าวว่า ถ้าพระอริยกัสสปยังมาไม่ถึงและยังไม่ได้มากราบบังคมเบื้องพระยุคลบาท พระเพลิงจะไม่ติด และเหตุอัศจรรย์ที่สองนั่นคือ ภายหลังที่พระอริยกัสสปนำพาพระภิกษุเข้าเฝ้าถวายความเคารพพระบรมศพ ขณะก้มลงกราบที่เบื้องพระยุคลบาท พระเตโชธาตุของพระองค์ก็แตกขึ้นเอง เผาผลาญพระบรมศพจนหมดสิ้น โดยมิได้มีใครจุดถวาย
นางสายรุ้ง ธาดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า งานประเพณีอัฏฐมีบูชา ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแห่งนี้ เป็นงานประเพณีทางศาสนาที่ชาวบ้านได้ริเริ่มจัดกันมานานหลายปี และเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ก่อนที่จะมีหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้ามาให้การส่งเสริม เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นงานประเพณีทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ที่เราควรอนุรักษ์ให้อยู่นานๆ เพราะหาดูได้ยากมาก ในงานจะมีการแสดงแสงเสียงอย่างยิ่งใหญ่สวยงาม โดยเฉพาะในช่วงที่พระมหากัสสปะมาเคารพพระบรมศพ พระบรมศพจำลองจะเกิดไฟลุกท่วมขึ้นทันที พลุหลายหลากสีจะจุดทะยานขึ้นเต็มท้องฟ้าอย่างงดงาม ขณะที่เพลิงซึ่งไหม้พระสรีระจำลองของพระพุทธเจ้ามอดลงทีละน้อย
ใกล้ถึงวันวิสาขบูชาแล้ว ต้องการรำลึกถึงพระพุทธคุณแบบลึกซึ้ง อย่าลืมไปชมงานประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า หนึ่งเดียวในโลกที่อุตรดิตถ์
หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน หน้า 24
คอลัมน์ รู้ก่อนเที่ยว โดย สมภพ สินพิพัฒน์ฤดี
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6379
.................................................................. |
|
_________________ ธรรมจักรดอทเน็ต |
|
   |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
08 มิ.ย.2012, 2:28 pm |
  |
|
    |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |