Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระเทพสิริโสภณ (หลวงพ่อภากร ฐิตธมฺโม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.พ.2007, 11:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทา
พระเทพสิริโสภณ

(หลวงพ่อภากร ฐิตธมฺโม)

วัดวังตะวันตก
ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช



๏ อัตโนประวัติ

สำหรับชาวเมืองนครศรีธรรมราชแล้ว ราชทินนาม “พระเทพสิริโสภณ” ย่อมหมายถึงความเคารพและศรัทธา ด้วยคุณูปการอันสำคัญยิ่ง ในฐานะบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่น ด้านการประยุกต์พุทธธรรมมาปรับใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป จนปรากฏผลงานเกียรติคุณเป็นอเนกประการ

พระเทพสิริโสภณ (หลวงพ่อภากร ฐิตธมฺโม) มีนามเดิมว่า ภากร จารุพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2482 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ครอบครัวประกอบอาชีพชาวสวน มีฐานะปานกลาง

ปัจจุบัน สิริอายุ 69 พรรษา 47 (เมื่อปี พ.ศ.2552) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (มหานิกาย)


๏ การศึกษาเบื้องต้น

ในช่วงวัยเยาว์ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาลวัดคีรีวงศ์ แต่เนื่องด้วยบ้านอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไปศึกษาในระดับชั้นสูง โยมบิดา-มารดาจึงให้บุตรชายลาออกมาช่วยเหลืองานครอบครัวทำสวน


๏ การบรรพชา

ครั้นเจริญวัยได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสมอ ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2497 โดยมีพระครูกาเดิม เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษาที่วัดสมอ 1 พรรษา ก่อนย้ายมาเรียนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรม ที่วัดวังตะวันตก และเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดอินทราวาส และวัดคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง ตามลำดับ

พ.ศ.2500 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ


๏ การอุปสมบท

ต่อมาได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2504 ณ พัทธสีมาวัดสมอ ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โดยมีพระครูวัตตปาโมชช์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูญาณธราภรณ์ วัดโคกโพธิ์สถิตย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระประสาน อนาลโย วัดมหัตตมังคลาราม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตธมฺโม” มีความหมายว่า “ผู้ตั้งอยู่ในธรรม”

ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม กระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2510 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค จากนั้นได้มาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณร ที่วัดมุมป้อม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช สอนเป็นเวลา 2 ปีจึงเดินทางเข้าไปกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จนจบการศึกษาปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต

เมื่อเรียนจบได้มาเป็นครูสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยระยะเวลาหนึ่ง ก่อนเบนเข็มเดินทางกลับมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช มาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคใต้ เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาได้เดินทางไปยังประเทศอินเดีย เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

กระทั่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอินเดีย ได้มาสอนหนังสือที่วัดแจ้งอีกครั้ง เป็นเวลากว่า 1 ปี และย้ายอยู่จำพรรษาที่วัดวังตะวันตก นาน 3 ปี


๏ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก

ในที่สุดเมื่อพระครูกาชาด (ย่อง อินทสุวัณโณ) เจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก (ในขณะนั้น) ได้ละสังขารมรณภาพ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ด้วยความไว้วางใจจากคณะสงฆ์เมืองนครศรีธรรมราช ท่านจึงได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตกสืบต่อไป

ครั้นได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก ท่านได้เริ่มประสานงานกับกรมการศาสนา ให้ทำการย้ายกุฏิทรงไทย ซึ่งเป็นถาวรวัตถุอันทรงคุณค่าและมีความเก่าแก่ถึง 100 ปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช

กุฏิทรงไทยหลังนี้แสดงถึงภูมิปัญญาภูมิธรรมของคนเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อก่อนกุฏิทรงไทยจะอยู่ด้านทิศตะวันตกของหอไตร ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของกุฏิเจ้าอาวาส เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจและย้ำถึงความสามัคคีของคนเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต กุฏิหลังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นจากความศรัทธา ความสามัคคี และความรักที่ชาวบ้านมีต่อพระพุทธศาสนา โดยจะเป็นกุฏิขนาดใหญ่ ข้างในจะเป็นทั้งห้องพักสำหรับพระภิกษุ สามเณร และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ชาวบ้านเรียกว่า “กุฏิสะตอสามัคคี”

นอกจากนี้คุณูปการของท่านได้มีปรากฏมากมายแก่วงการพระพุทธศาสนาและสังคมโดยรวม


๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

พ.ศ.2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลลานสกา ในปีเดียวกัน

พ.ศ.2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช

พ.ศ.2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช


๏ ลำดับสมณศักดิ์

พ.ศ.2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริธรรมคณี

พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปฏิภาณโสภณ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ “พระเทพสิริโสภณ” สร้างความปลาบปลื้มแก่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นยิ่งนัก


๏ งานด้านพัฒนาคนสร้างคน

พระเทพสิริโสภณ (หลวงพ่อภากร ฐิตธมฺโม) เล่าให้ฟังว่า “ที่วัดแห่งนี้เราไม่เน้นในการพัฒนาถาวรวัตถุ สังเกตว่าภายในวัดจะไม่มีอะไรเลย แต่เราจะเน้นพัฒนาคนสร้างคน เมื่อก่อนมีคนมาอาศัยอยู่วัดพระก็ได้สั่งสอนที่เราเรียกกันว่าเด็กวัด แต่ปัจจุบันไม่ค่อยจะมีแล้ว จึงได้หันมาสร้างและสอนเณร เพราะเณรก็เหมือนเด็กวัดในอดีต เราจะเน้นในเรื่องการสอนคนและพัฒนาคนมากกว่าพัฒนาด้านอื่น

นอกจากนี้ วัดได้มีการเน้นเรื่องธรรมะให้กับเยาวชน โดยจะมีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในแต่ละเทศกาลบุญ อย่างวันมาฆบูชา ฯลฯ แต่ละปีจะมีการออกหนังสือไปตามโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัด ให้ส่งเยาวชนมาประกวดสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ วัดจะมีปัจจัยมอบให้เป็นรางวัล เยาวชนจะได้มีสนามในการประชันด้านธรรมะ มีกิจกรรมทำวัตรสวดมนต์แปลแบบวัดสวนโมกข์ จ.สุราษฎร์ธานี ที่กล่าวมาเป็นกิจกรรมของวัดที่ทำประจำทุกปี เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา และให้เยาวชนซึมซับพระพุทธศาสนาไว้ในจิตใจ”

พระเทพสิริโสภณกล่าวในตอนท้ายว่า “อาตมาได้ตั้งใจว่าจะพยายามสร้างคนสร้างเยาวชนให้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาโดยคำสอนคำสวดมนต์ก็จะต้องให้ดูดี โดยพยายามจะให้เป็นวัดต้นแบบ แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลา และพยายามที่จะชักชวนวัดต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียงให้มาทำแบบวัดวังตะวันตก ซึ่งก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่ม”

พระเทพสิริโสภณก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นศักดิ์ศรีแก่ชาวเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดระยะเวลากว่า 47 พรรษาในสมณเพศ ท่านถือเป็นทรัพยากรบุคคลผู้ทรงคุณูปการต่อชาวชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งในด้านการบริหารและด้านวิชาการ ด้วยการให้การศึกษา ตลอดจนเป็นพระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร งดงามด้วยการครองตน ครองคน และครองงาน



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 1 คอลัมน์ มงคลข่าวสด
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5904
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2009, 6:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระทู้ในบอร์ดใหม่

ประวัติและปฏิปทา
พระเทพสิริโสภณ (หลวงพ่อภากร ฐิตธมฺโม)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22307
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง