Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พระเณรหายไปไหน? (พระไพศาล วิสาโล)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065
ตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 11:49 am
พระเณรหายไปไหน?
โดย พระไพศาล วิสาโล
ขบวนแห่นาคและพิธีอุปสมบท
เป็นภาพที่คุ้นตาคนไทยเมื่อใกล้วันเข้าพรรษา แต่หลายปีหลังมานี้กลับมีให้เห็นน้อยมาก วัดตามเมืองต่างๆ มีพระนวกะมาจำพรรษาน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่วัดใหญ่ๆ ที่ผู้คนนิยมมาบวชในช่วงเข้าพรรษา นอกจากจำนวนพระนวกะจะลดลงแล้ว ยังบวชไม่ครบพรรษาเสียด้วยซ้ำ หลายคนบวชแค่เดือนเดียวก็ขอลาสิกขาแล้ว
สภาพการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่าสิบปีแล้ว แต่เพิ่งเป็นที่สังเกตของคนทั่วไป หมู่บ้านในชนบทเป็นอันมากมีปัญหาว่าหาพระมาจำพรรษาไม่ได้ อันที่จริงนอกพรรษาก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่ไม่มีพระมาอยู่วัด แต่ไม่เป็นปัญหาเท่ากับช่วงเข้าพรรษา เพราะเป็นเทศกาลถือศีลทำบุญของชาวบ้าน หลายแห่งต้องใช้วิธี จ้าง พระมาอยู่ช่วงเข้าพรรษา แต่ก็มักแก้ปัญหาได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่มักอยู่ได้แค่พรรษาเดียว ปีต่อไปก็ต้องหาพระรูปใหม่มาอยู่แทน
จำนวนพระเณรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย (แต่คณะสงฆ์ไทยจะมองเห็นว่าเป็นปัญหาใหญ่หรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) แม้จะถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สำหรับสถาบันที่มีอายุยืนนานนับพันปี ปัญหาดังกล่าวต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยประสบมาก่อนเลยก็ว่าได้ แม้สถิติพระเณรจะเพิ่งมีการจัดทำขึ้นเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมานี้เอง แต่เชื่อว่าในอดีต (ยกเว้นยามบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม) จำนวนพระเณรน่าจะอยู่ในระดับที่หากไม่คงตัวก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น ไม่มีลดลง
จะว่าไปแล้วหากถอยหลังไปแค่ 30-40 ปี ก็จะพบว่าพระเณรเคยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเมื่อปี 2507 มีตัวเลขระบุว่าพระเณรทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 277,770 รูป พอถึงปี 2523 จำนวนพระเณรเพิ่มเป็น 509,150 รูป หรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในเวลา 16 ปี อย่างไรก็ตาม หลังจากปีนั้นมาจำนวนพระเณรก็ลดลงเป็นลำดับ จนถึงปี 2549 จำนวนพระเณรลดเหลือ 313,267 รูป หรือลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ตลอด 26 ปีที่ผ่านมาประชากรไทยโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าเมื่อจำแนกเฉพาะพระอย่างเดียว ตัวเลขเมื่อปี 2549 เมืองไทยยังมีพระถึง 250,437 รูป มากกว่าเมื่อปี 2507 ซึ่งมีภิกษุเพียง 152,510 รูป แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจเป็นภาพลวงตาเมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในจำนวนกว่า 2 แสน 5 หมื่นรูปนี้รวมทั้งพระที่บวชระยะสั้นคือ 7 วันถึง 1 เดือนด้วย มีข้อมูลการวิจัยระบุว่าในช่วงปี 2545-2547 พระเณรที่บวชตั้งแต่ 7 วันถึง 1 เดือน ในกรุงเทพมหานครและราชบุรีมีเกือบร้อยละ 70 ของผู้บวชทั้งหมด หากคนในจังหวัดอื่นๆ มีระยะเวลาการบวชในทำนองเดียวกับคนในสองจังหวัดดังกล่าว ก็หมายความว่าในเมืองไทยปัจจุบันมีพระที่บวชเกินกว่า 1 เดือนขึ้นไปประมาณ 80,000 รูปเท่านั้น หรือเท่ากับ 1 รูปเศษๆ ต่อ 1 หมู่บ้าน และหากคัดพระที่บวชตั้งแต่ 1- 3 เดือนออกไป จะเหลือพระที่ยืนพื้นน้อยกว่านี้มาก อาจไม่ถึง 1 รูป ต่อ 1 หมู่บ้านด้วยซ้ำ
การที่พระมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องนั้นมีหลายสาเหตุ อาทิ
1. จำนวนสามเณรลดลง
อันเป็นผลจากนโยบายการศึกษาภาคบังคับของรัฐ ซึ่งขยายไปจนถึง ม.3 และกำลังจะขยายไปถึง ม.6 อีกทั้งยังสามารถขยายออกไปครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้พ่อแม่ในชนบทนิยมส่งลูกไปโรงเรียนมากกว่าที่จะส่งลูกไปบวชเณร (เพื่อแสวงโอกาสทางการศึกษาอย่างแต่ก่อน) สมัยก่อนพระหนุ่มจำนวนไม่น้อยในชนบทก็มาจากเณรที่บวชแล้วยังไม่สึก อาจจะเพราะต้องการเรียนต่อให้สูงขึ้น หรือเพราะมีศรัทธาปสาทะในพระศาสนาก็ได้
2. การขาดแรงงานในหมู่บ้าน
สมัยก่อนครอบครัวหนึ่งๆ มีลูกหลายคน ใครที่มาบวช (ตามประเพณี) มักจะบวชได้นานอย่างน้อยทั้งพรรษา หรืออาจทั้งปี ไม่เป็นภาระแก่ที่บ้าน เพราะที่บ้านมีแรงงานหลายคน แต่เดี๋ยวนี้คนหนุ่มบวชนานไม่ได้ เพราะครอบครัวหนึ่งมีลูกแค่ 1-2 คน ใครมาบวชก็จะทำให้คนที่เหลือมีงานหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นมักจะบวชแค่ 1 เดือนอย่างมาก (ส่วนใหญ่ก็ 15 วัน) และนิยมบวชฤดูแล้ง ยิ่งการบวชจำพรรษาด้วยแล้ว ยิ่งทำได้ยาก เพราะเป็นฤดูเพาะปลูก ต้องอาศัยแรงงานมาก ครั้นจะไปจ้างคนอื่นมาเป็นแรงงาน ก็ทำได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้แรงงานในหมู่บ้านขาดแคลน เนื่องจากมีลูกกันน้อยลง นี้เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายวางแผนครอบครัวที่ได้ผลมาเกือบ 30 ปี ไม่ใช่แต่จะทำให้พระลดน้อยลง (จนกลายเป็นวัดร้างมากมาย) แต่ยังทำให้โรงเรียนในชนบทหลายแห่งต้องปิด เพราะมีนักเรียนน้อยมาก จนไม่คุ้มที่จะเปิดต่อ
3. ความรู้ ที่ได้จากการบวช ไม่สอดคล้องกับชีวิตของคนปัจจุบัน
สมัยก่อนคนนิยมบวชเรียน
เพราะเขาเห็นว่า คุ้มค่า เป็นประโยชน์แก่ชีวิตฆราวาส
นอกจากทำให้อ่านออกเขียนได้ และรู้วิชาทางโลก หรือวิชาช่างแล้ว สึกไปก็มีคนพร้อมยกลูกสาวให้ (เพราะถือว่าเป็นคนสุก) ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ทางธรรมและบุญกุศลที่ตนเองและพ่อแม่จะได้รับ แต่ปัจจุบันความรู้ที่จำเป็นแก่ชีวิตฆราวาส ผู้คนเห็นว่าสามารถหาจากแหล่งอื่นได้ เช่น โรงเรียน ยิ่งทุกวันนี้สามารถกินอยู่กับหญิงสาวได้โดยไม่ต้องบวช ก็เลยไม่มีความจำเป็นต้องมาบวช การมาบวชจึงมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อคล้อยตามประเพณีเท่านั้น เช่น เพื่อเป็นบุญกุศลให้พ่อแม่ หรือให้พ่อแม่เกาะชายจีวรขึ้นสวรรค์
4. วัดขาดผู้ให้การศึกษาหรือแนะนำสั่งสอน
ไม่เพียงการแนะนำสั่งสอนในทางโลกเท่านั้น แม้แต่การให้การศึกษาในทางธรรม รวมถึงการอบรมกิริยามารยาท เวลานี้วัดส่วนใหญ่โดยเฉพาะในชนบท ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เลย เพราะเจ้าอาวาสหรือพระในวัด ขาดความรู้ความสามารถ ส่วนหนึ่งเพราะเพิ่งมาบวชได้ไม่นาน (เป็นพระจำพวก หลวงตา) ความรู้ทางปริยัติธรรมก็ขาด ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมก็มีน้อยมาก ส่วนความรู้ทางโลกหรือการทำมาหากินก็ไม่ทันหรือสอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ (แม้เป็นหมอสมุนไพร หรือช่างสานกระบุงฝีมือดี แต่คนหนุ่มน้อยคนจะสนใจ) จึงไม่สามารถดึงดูดให้คนหนุ่มเข้าวัดมาบวชได้ ส่วนพ่อแม่ก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะให้ลูกมาบวชนานๆ ลูกบวชตามประเพณีแค่ 15 วันก็พอใจแล้ว ปัญหาดังกล่าวยังทำให้ไม่สามารถดึงผู้บวชให้อยู่ต่อได้นานๆ
เพราะขาดศรัทธาปสาทะหรือไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายในการบวช
5. พระเป็นที่นับถือของชาวบ้านน้อยลง
แม้พระในปัจจุบันจะมีจุดอ่อนด้านความรู้ทางโลก แต่หากมีศีลาจารวัตรน่าศรัทธา ก็ยังสามารถดึงดูดคนให้เข้าวัดได้ อย่างน้อยพ่อแม่ก็อยากให้ลูกมาบวชเพื่อให้หลวงพ่อสั่งสอนในทางวินัยหรือความประพฤติ แต่ความที่เจ้าอาวาสจำนวนไม่น้อยไม่ทำตัวให้น่านับถือ มีชีวิตหรือความรู้สึกนึกคิดไม่ต่างจากฆราวาส ชาวบ้านจึงไม่กระตือรือร้นที่จะส่งลูกมาบวชกับท่าน หลายคนกลับมีเรื่องวิวาทขัดแย้งกับพระหรือเจ้าอาวาสด้วยซ้ำ
6. สองประการหลังมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่พระส่วนใหญ่ขาดการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม
ปัญหานี้โยงไปถึงนโยบายการศึกษาคณะสงฆ์ ที่ปล่อยให้แต่ละวัดจัดการกันเอง โดยคณะสงฆ์ดูแลแต่เรื่องการสอบหรือการวัดผลเท่านั้น อีกทั้งการศึกษาดังกล่าวก็จำกัดแต่ในด้านปริยัติ ขาดด้านปฏิบัติ โดยที่ปริยัติก็เน้นแต่การท่องจำ ไม่พัฒนาความสามารถในการคิดและประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่
7. ระบบการปกครองคณะสงฆ์ไม่เอื้อต่อการศึกษาคณะสงฆ์
กล่าวคือไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาของคณะสงฆ์ แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นมากกว่า เช่น การก่อสร้าง ยิ่งระบบเปิดช่องให้มีการวิ่งเต้นทางสมณศักดิ์ ก็ยิ่งไม่มีแรงจูงใจให้เจ้าอาวาสหรือพระสังฆาธิการทุ่มเทให้กับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม
การขาดแคลนพระ มิได้เป็นปัญหามากเท่ากับคุณภาพของพระที่ตกต่ำลง แม้นว่าพระจะมีจำนวนลดน้อยลงกว่านี้ครึ่งหนึ่ง แต่มีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่เท่าตัว สถาบันสงฆ์และสังคมไทยก็จะดีกว่านี้มาก
ตรงกันข้ามตราบใดที่ที่พระยังขาดคุณภาพดังที่เป็นอยู่ การมีพระจำนวนมากๆ มีแต่จะทำให้คนเสื่อมศรัทธาในคณะสงฆ์ ขณะเดียวกันก็เป็นภาระอย่างมากในการควบคุมดูแลไม่ให้วิปริตจากพระวินัยและทำพระวินัยให้วิปริต ซึ่งในปัจจุบันก็พิสูจน์แล้วว่าคณะสงฆ์ทำได้ยาก
การพัฒนาคุณภาพของพระที่มีอยู่จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ปัจจัยที่สำคัญคือการศึกษา
ซึ่งคณะสงฆ์จะต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังมากกว่านี้ โดยควรร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การศึกษาสงฆ์เป็นไปอย่างทั่วถึง โดยในขั้นแรกอาจใช้วิธีรวมกำลังลงไปเฉพาะจุด เช่น จัดตั้งศูนย์กลางทางการศึกษาในทุกอำเภอทั่วประเทศ จากนั้นจึงค่อยกระจายไปทุกตำบล โดยต้องมีการปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการเสียใหม่ (เช่น เปลี่ยนจากการสอนไปเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้) ครอบคลุมทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ ทั้งทางธรรมและทางโลก
การจัดการศึกษาดังกล่าวไม่ควรเน้นเฉพาะพระที่บวชระยะยาวเท่านั้น หากควรให้ความสำคัญกับพระที่บวชระยะสั้นด้วย เพราะหากท่านเหล่านั้นเข้าใจแก่นแท้ของพระศาสนา อีกทั้งได้รับความสุขสงบเย็นจากการปฏิบัติระหว่างบวช ก็จะมีศรัทธาในชีวิตพรหมจรรย์ และตัดสินใจบวชนานขึ้นจนอาจเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันศาสนทายาทที่มาจากสามเณรมีจำนวนลดลง พระที่บวชระยะสั้นจึงควรได้รับความใส่ใจในฐานะที่มีโอกาสเป็นศาสนทายาทกลุ่มใหม่ที่จะมาทดแทนพระที่สึกหาลาเพศไป
ขณะเดียวกัน
ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์มีบทบาทเชื่อมโยงกับชุมชน
ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ชุมชนกลับมามีความสัมพันธ์อันดีกับวัดและช่วยอุปถัมภ์พระสงฆ์แล้ว หากยังเปิดโอกาสให้ท่านได้ใช้ศักยภาพในทางสร้างสรรค์ ทำให้ท่านเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นพระและมีความมั่นคงในพระศาสนายิ่งขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดียว ท้อแท้ หรือไร้ค่าจนต้องลาสิกขาไป
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการแก้ปัญหาพระขาดแคลนในชนบทซึ่งกำลังเป็นปัญหาทั่วประเทศ ในเบื้องต้นควรให้คณะสงฆ์ในพื้นที่ไม่ว่าระดับอำเภอหรือจังหวัด ปรึกษาหารือร่วมกับชุมชน ทั้งชาวบ้านและ อบต. ว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร อาจจะอาศัยวิธีเวียนพระในอำเภอหรือในจังหวัด ไปประจำในชุมชนที่ขาดแคลน โดยมีการกลั่นกรองพอสมควร และมีกระบวนการอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าท่านจะไปทำงานในชุมชนได้อย่างน้อยก็ในด้านธรรมะ โดยทางชุมชนและ อบต. จะต้องมีส่วนร่วมในการสนับสนุนด้วย เช่น งบประมาณการอบรมพระ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างสำนึกให้ชุมชนมีส่วนรับผิดชอบในการอุปถัมภ์และดูแลพระสงฆ์ให้บำเพ็ญสมณกิจได้ด้วยดี ไม่ผิดเพี้ยนหรือไม่เกิดปัญหาขึ้นมา ทั้งหมดนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางด้วย
มาตรการเหล่านี้หากละเลยไม่ใส่ใจ ก็น่าเป็นห่วงว่าสถานการณ์ของคณะสงฆ์ไทยจะถดถอยลงจนเกินกว่าจะแก้ได้
หมายเหตุ ขอขอบคุณอาจารย์ชาญณรงค์ บุญหนุน สำหรับข้อมูลจากงานวิจัย
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ โดย พระไพศาล วิสาโล
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11096
_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
ตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 5:49 pm
นั่นสินะ? ท่าน สาวิกาน้อย
ธรรมะสวัสดีค่ะ ไม่เจอเสียนาน
_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th