ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
Passa
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 08 ก.ย. 2008
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 6:42 pm |
  |
ได้อ่านมาแว่ว ๆ ครับว่าพระพุทธองค์นั้นทรงบัญญัติห้ามพระภิกษุเขียนคัมภีร์เป็นภาษาสันสกฤต ต้องเขียนเป็นภาษาบาลีเท่านั้น เพื่อให้ชาวบ้านตาดำ ๆ เข้าใจ อยากจะสอบถามหน่อยครับว่านิกายมหายานไปใช้ภาษาสันสกฤตได้อย่างไร มีใครทราบบ้างไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้นจึงใช้ภาษาสันสกฤตซะงั้น เหลือแต่เถรวาทไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังใช้บาลีอยู่ (ก็เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง) เนื่องจากผมสังเกตเห็นจะมีการใช้ Dharma, Dhamma / Nirvana, Nibbhana
ข้อมูลผิดพลาดประการฉะไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ป.ล. ขอข้อบัญญัติในพระไตรปิฎกเรื่องภาษาสันสกฤตด้วยขอรับ (น่าจะอยู่ในอภิธรรมปิฎก)
ขอบพระคุณครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน |
|
  |
 |
เมธี
บัวตูม

เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 7:02 pm |
  |
เพิ่งเคยได้ยินน่ะครับ รอฟังผู้รู้ดีกว่า |
|
|
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 8:05 pm |
  |
ตอนพระไตรปิฏกเกิด พระพุทธเจ้าดับไปแล้ว 3 เดือน
ในที่นั้น เป้นการประชุมสงฆ์โดย
ใครมีอะไรก็พูดในที่ประชุม
เมื่อไม่มีใครค้าน ก็จะท่องสวดจดจำไปพร้อมๆกัน
(ไม่มีการบันทึก)
ดังนั้นที่ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าห้ามใช้ภาษาสันสกฤต จึงไม่มีมูลครับผม
ส่วนการกำเนิดภาษาสันสกฟตในพระไตรปิฏก
ลองอ่านการสังคายนาครั้งที่ 4
และค้นเพิ่มเติมเอา เรื่องการสังคายนา
================
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 1
กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ
การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 2
กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 3
กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ
การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ
พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา
การสังคายนาครั้งที่ 4
กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร
แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ ีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน
การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
ref - http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/tripitok.htm |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
พลับ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 24
ที่อยู่ (จังหวัด): ยโสธร
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 8:14 pm |
  |
สาธุ
 |
|
|
|
   |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 9:43 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 11:28 pm |
  |
ข้อมูลเท่าที่ผมพอทราบ
เกี่ยวกับ การสังคายนาพระไตรปิฎกสี่ครั้งแรก
ลางของการเกิดการแตกศาสนา มันเริ่มตั้งแต่สังคายนาธรรมวินัยครั้งแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน3เดือน ที่พระปุราณะไม่ยอมรับเรื่อง วัตถุ8ประการ แต่แนวคิดใหม่นี้ก็ยังไม่สามารถเป็นแกนนำของพระศาสนาคือ ชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดีย ณ เวลานั้นยังไม่ยอมรับแนวคิดใหม่นี้
ต่อมาก็มายัง การสังคายนาธรรมวินัยครั้งที่สอง(พศ 100) ก็มีเรื่องกลุ่มภิกษุวัชชีประพฤตินอกพระธรรมวินัย และกรณีวัตถุ10ประการ ที่พระสัพพกามีนำหลักธรรมวินัยดั้งเดิม มาแสดงคัดค้านกลุ่มภิกษุวัชชีเหล่านั้น. ตรงจุดนี้ แนวคิดใหม่ก็ยังไม่ได้รับการเห็นด้วยจากชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดียในเวลานั้น
การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สาม(พศ 236 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) เป็นการสังคายนาโดยฝ่ายเถรวาทฝ่ายเดียว เพื่อชำระความสับสนในสมัยนั้น.......
จึงตรงกับที่มีผู้กล่าวสรุปไว้ว่า
นิกายที่ได้รับความนับถือและมีอิทธิพลมากที่สุดในระยะ ๕ ทศวรรษแรกได้แก่ เถรวาท
http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/chapter05_2.php.htm
คราวนี้
ก็ มาถึงจุดสำคัญ
ก็คือ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สี่ (พศ 643 -693)ในประเทศอินเดีย ที่พระเจ้ากษินกะเป็นองค์อุปถัมภ์ เป็นการสังคายนาโดยพระสงฆ์ฝ่ายมหายานแล้ว......
ซึ่งแสดงว่า ณ เวลานี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดียหันไปศรัทธามหายานกันแล้ว
http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/chapter05_3.php.htm
และจาก
ในระหว่างสมัยที่พวกกุษาณะกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในอินเดียภาคเหนือ และพวกอันธระกำลังเสวยอำนาจ ณ อินเดียภาคทักษิณ (ใต้) ราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ในสมัยดังกล่าว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในพุทธศาสนา นั้นคือการถือกำเนิดของลัทธินิกายใหม่ นิกายนี้เรียกตัวเองว่า "มหายาน"
. |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ย. 2008, 11:32 pm |
  |
ผมชอบคำกล่าวนี้ครับ
ถ้าไม่มีมหายาน ก็เป็นที่น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นไปโดยเร็ว ผู้นับถือจะลดน้อยไปทุกที และจะกลายเป็นศาสนาเล็กๆ ไม่แพร่หลายกว้างขวาง
ถ้าไม่มีเถรวาท ก็น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้เตลิดเปิดเปิงไป โดยไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้ง ไม่มีผู้รักษาหลักการที่แท้จริงเอาไว้
เป็นอันว่าทั้งสองนิกายทำหน้าที่อย่างดีอยู่คนละทาง
มหายานสร้างความไพศาล เถรวาทสร้างความมั่นคง
หลวง วิจิตร วาทการ
เถรวาทเน้นการรักษาหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนี ซึ่งทำให้สามารถรักษาพระธรรมวินัยได้ใกล้เคียงครั้งพุทธกาลมากที่สุด.....แต่ก็ทำให้การเผยแผ่ศาสนาไปยังกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างจากหลักการดั้งเดิมของเถรวาทเป็นไปได้ช้า(เมื่อเทียบกับทางมหายาน)
มหายานมีจุดเด่นตรงประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆได้ง่ายกว่า ทำให้เผยแผ่ได้ง่ายกว่า..... แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีโอกาสจะคลาดเคลื่อนออกจากหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนีได้ง่ายกว่าด้วย |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ย. 2008, 7:57 am |
  |
สาธุคับคุณตรงประเด็น
เคยได้ยินหลวงปู่เทสก์กล่าว
ผมจำคำเป๊ะๆไม่ได้นะ
เรื่องแก่น กับกระพี้ ของต้นไม้
ท่านพูดเปรียบเทียบ เรื่องพิธีกรรมทางศาสนา VS แก่นคำสอนศาสนา
กระพี้มันห่อแก่นอยู่ แก่นจึงอยู่ได้
และเพราะมีแก่น กระพี้ถึงอยู่ได้
ชวนให้นึกคำท่านพุทธทาสขึ้นมาอีกว่า "ธรรมะคือหน้าที่"
สิ่งต่างๆล้วนมีหน้าที่ตามธรรมชาติของมัน
หินวางอยู่เฉยๆ มันก็มีหน้าที่ของมัน
แล้วก็ชวนให้นึกถึงเพลงการ์ตูน "Colours of the wind"
ที่ว่า " we are all connected to each other
In a circle, of a hoop that never ends"
 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ย. 2008, 3:02 am |
  |
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพราะอิทธิพลของภาษาที่นิยมใช้ในแต่ละภูมิภาค
และแนวคิดทางปรัชญาของอินเดีย
ที่อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ยังคงอยู่อย่างแข็งแกร่ง
ในช่วงของการสังคายนาครั้งที่ ๔ นะคะ...
พิจารณาจากข้อมูลที่ยกมา....ดังนี้
การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป
ก็คือ การสังคายนาครั้งที่ ที่ ๒ และที่ ๓
ซึ่งทำในอินเดียอันเป็นของฝ่ายเถรวาท
กับอีกครั้งในอินเดียภาคเหนือ
ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงอุปถัมภ์
อันเป็นการสังคายนาผสมรวมเป็น ๔ ครั้ง
แต่ฝ่ายเถรวาทมิได้รับรู้และรับรองเข้าอันดับในการสังคายนาครั้งที่ ๔ นี้
เพราะเป็นการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
ซึ่งแยกออกไปจากเถรวาททำผสมกับฝ่ายมหายาน
เพราะการสืบสายศาสนาแยกกันออกคนละทาง
ทั้งการสืบต่อ สั่งสอน อบรม ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน
ตลอดจนภาษาที่รองรับคัมภีร์ทางศาสนาก็ใช้ต่างกัน
ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต บางครั้งก็ปนปรากฤต
ส่วนฝ่ายเถรวาทก็ใช้ภาษาบาลี
คือ ของเถรวาทหรือศาสนาพุทธ
แบบที่ไทย พม่า ลังกา เขมร ลาวนับถือใช้ภาษาบาลี
ส่วนของฝ่ายมหายานหรือศาสนาพุทธ
แบบที่ญี่ปุ่นและเกาหลีนับถือใช้ภาษาสันสกฤต
ในสมัยที่ตำราภาษาสันสกฤตสาบสูญ
ก็มีเฉพาะคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาจีนและภาษาธิเบตเป็นหลัก
แล้วมีผู้แปลภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง
(คัดลอกบางตอนจาก : การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า ๒๗ และ ๓๐)
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเถรวาท
ก็มิได้มีเพียงเถรวาทกลุ่มที่ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์
อย่างที่ยอมรับนับถือกันในไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา
แต่ยังมีเถรวาทสายอื่นๆ ที่ใช้ภาษาปรากฤต และภาษาสันสกฤต
ที่ใช้กันอยู่ในพระพุทธศาสนนา
เช่น สรรวาสตวาทิน มูลสรรวาสติวาทิน มหีสาสกะ
มาหาสางกิหะ ธรรมคุปตะ ฯลฯ
ในส่วนที่เรียกว่ามหายาน ก็มิได้มีเพียงพวกเดียว
แต่มีหลายกลุ่มหลายพวกแยกส่วนกัน
ตามความคิดทางปรัชญาบ้าง ความเชื่อส่วนอื่นๆบ้าง
ลางครั้งก็เรียกว่าฝ่ายเหนือ
เพราะเจริญทางเหนือของอินเดียไปจนถึงจีนถึงมองโกเลีย
ส่วนเถรวาทบาลีมักเรียกกันว่าฝ่ายใต้
ด้วยเหตุที่มาจากทางใต้ของอินเดีย
(คัดลอกบางตอนจาก: บทนำ โพธิสัตวจรรยา : มรรคาเพื่อมหาชน โดย ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า ๑-๒)
 |
|
|
|
    |
 |
|