ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 ก.ย. 2008, 12:11 am |
  |
พระธรรมที่ว่าทันสมัยอยู่เสมอหรือเป็นอกาลิโกนั้น คืออย่างไร ?
อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
• พระธรรมที่ว่าทันสมัยอยู่เสมอ หรือเป็นอกาลิโกนั้น คือ อย่างไร
เมื่อพระธรรมเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
มิใช่เรื่องราวที่ประดิษฐ์คิดขึ้น
ความจริงจึงไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
ขอยกตัวอย่างในทางโลก
เช่น เมื่อทำให้อุณหภูมิของน้ำถึงร้อยองศาเซลเซียส
น้ำนั้นก็เป็นน้ำเดือด
เมื่อลดอุณหภูมิลงถึงศูนย์องศา
น้ำนั้นก็กลายเป็นน้ำแข็ง
ผู้ทำจะเป็นประธานาธิบดี
หรือเป็นคนธรรมดา ซึ่งอ่านหนังสือไม่ออก
ถ้าทำถูกต้อง ให้น้ำมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำตามกำหนดนั้นได้
ก็ทำให้น้ำเดือดและน้ำแข็งก็เหมือนกันหมด ไม่เลือกชั้นวรณะ
• ตัวอย่างในทางธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ความทะยานอยากทำให้เกิดทุกข์
ใครก็ตามพยายามลดความทะยานอยากลงมาเท่าใด
ก็มีทุกข์น้อยลงเท่านั้น
มีความทะยานอยากมากเท่าใด
ก็มีความทุกข์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ความจริงนี้ย่อมไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
หรือข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
คุณธรรมที่ทำที่พึ่งให้แก่ตนที่เรียกว่า นาถกรณธรรม นั้นมีอยู่ ๑๐ ข้อ
ขอให้เราพิจารณาเพียง ๔ ข้อ ว่าเพียงเท่านี้ก็เหลือกินเหลือใช้
ในการพึ่งตนเองช่วยตัวเอง จริงหรือไม่ คือ
๑. เป็นผู้ประพฤติดี (ศีล)
๒. มีความรู้ดี (พาหุสัจจะ)
๓. มีความสามารถในกิจการต่างๆ ดี (กิงกรณีเยสุทักขตา)
๔. มีจิตใจสูง (ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ในธรรม ไม่เอียงไปทางธรรม)
ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ อีก ๖ ข้อนั้นก็สำคัญเช่นกัน คือ
๑. คบเพื่อนที่ดี (กัลยาณมิตตตา)
๒. รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น (โสวจัสสตา)
ไม่ดื้อร้นถือแต่ความเห็นของตนเป็นใหญ่
๓. ขยันหมั่นเพียร (วิริยะ)
๔. ยินดีเฉพาะของๆตน ไม่คิดล่วงเกินของผู้อื่น (สันโดษ)
๕. เฉลียว (สติ)
๖. ฉลาด (ปัญญา)
เพียง ๔ ข้อข้างต้น ก็เหลือกินเหลือใช้ ดังกล่าวแล้ว
ถ้าใครมีครบ ๑๐ ข้อ โดยเพิ่ม ๖ ข้อเข้าไปด้วย
จะพึ่งตัวเองไม่ได้ช่วยตัวเองไม่ได้
เป็นไปได้หรือไม่ โปรดพิจารณาดู
• ตัวอย่างในด้านการปกครอง (รัฐศาสตร์)
ในสมัยพุทธกาลการปกครองมีเพียง ๒ ระบบ
คือ คณาธิปไตย (Oligarchy) คณะบุคคลเป็นใหญ่
เช่น คณะมัลลกษัตริย์ ปกครองแคว้นมัลละ ทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ
คณะกษัตริย์ลิจฉวี ปกครองแคว้นอลัชชี
และคณะบุคคลผู้ปกครองเหล่านี้
มีจำกัดเฉพาะวรรณะกษัตริย์
จึงจัดเป็น อภิชนาธิปไตย (คนชั้นสูงเป็นใหญ่ หรือ Aristocracy)
อีกระบบหนึ่งคือ สมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy)
คือพระมหากษัตริย์ทรงปกครองใช้พระราชอำนาจโดยเด็ดขาด
เช่น การปกครองในแคว้นมคธ แคว้นโกศล
แต่ในการปกครองคณะสงฆ์
เมื่อมีผู้มาบวชมากขึ้นแล้ว
พระพุทธเจ้ากลับทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมทั้งปวง
ไม่เลียนแบบใครเลย
เป็นตัวอย่าง ประชาธิปไตยมาก่อนประเทศกรีก
และเป็นเวลาล่วงมาถึง ๒,๕๐๐ ปีเศษแล้ว
ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
พยายามนำเอาระบบประชาธิปไตยมาใช้
หรือพยายามดำเนินการต่างๆ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นความทันสมัย
(ที่มา : คำถามคำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๒
โดย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ, พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๒,
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, หน้า ๗๐)
รวมคำสอน “อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=49286 |
|
|
|
    |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
08 ก.ย. 2008, 2:25 pm |
  |
โมทนาด้วยค่ะ ท่านกุหลาบสีชา  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ย. 2008, 7:54 pm |
  |
 |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
|