Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ดับทุกข์แบบย่อๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ท่านจันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

>สำหรับผู้มีศรัทธาแต่ไม่มีเวลาไปสำนักไหน ๆ
ครั้นจะทำแบบพิศดารก็มากเกินไป ไม่ค่อยมีเวลา ต้องทำงานด้วย ดูแลครอบครัวด้วย

>นิพพง นิพพาน ยังไม่อยากไป แต่ต้องการพ้นทุกข์ทางอารมณ์ปัจจุบันนี้..
มีบ้างไหม ? ทำไงดี ?

เคยได้ยินเขาพูดกันว่า การปฏิบัติกัมมัฏฐานได้บุญมาก อยากได้บุญกะเค้าบ้าง
ต้องการเสพความสุขนั้นบ้าง...
มีบ้างไหม เอาแบบทำย่อๆ น่า..

>...มีอยู่จ้า... มีอย่างเดียวเอง
รักษาเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น อาจพ้นจากทุกข์ เสพสุขได้

ดังพระคาถาธรรมบท ที่พระพุทธเจ้าแนะนำภิกษุรูปหนึ่งว่า

สุทุสทะสัง สุนิปุณัง ยัตถะกามะนิปาตินัง
จิตตัง รักเขถะ จิตตัง คุตตัง สุขาวะหัง

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะ) จิตที่คุ้มครอง
ไว้ได้แล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้.

คุ้มครองยังไง ?

>นึกถึงตอนเราเลี้ยงลูกกำลังซนกำลังคลาน กำลังหัดเดิน....พอนึกออก แต่... ยังน้อยไป ให้นึกถึงเรา...

ฝึกลิง เลี้ยงลิง เพราะจิตใจมันซนเหมือนลิง.. มันไม่หยุดนิ่ง
หรือยิ่งกว่าลิง เพราะลิงมองเห็นตัว..แต่จิต (ความคิด) มันมองไม่เห็นตัว ไม่มี รูปร่าง
มันเป็นนามธรรม..แต่..
เอาคาถานี้ไปเลย....ไปคุ้มครองมันดู ไปฝึกมันดู

>ไม่รู้ล่ะ... คิดเรื่องราวต่างๆ อะไรขึ้นมา ก็คิดหนอๆๆ อย่างเดียวเลย ไม่ สะบายใจมาก หรือ น้อยก็แล้วแต่ คิดหนอๆๆ

เอาสติสัมปัญญะ (ความรู้สึกตัว) มาไว้ที่ความคิดนั้น
แล้วก็ภาวนาในใจไปว่า คิดหนอๆๆ ย้ำๆ ให้มันหายไปเลยดูมัน ลองดูถี มันจะหายไปไหม

>มันทนไม่ได้หรอก หายไปดับไปแน่ๆ มันทนไม่ได้
แต่เดี๋ยวอาจมาอีก ก็เอาแบบเดิมอีก...เอาอีก คิดหนอๆๆ อีก
แค่นี้เอง ที่พระพุทธเจ้าบอกให้อุกกัณฐิตภิกษุรักษา คือรักษาจิต.

....เหตุที่มันดับหรือหายไป

มีเหตุมีผลอยู่...ดังนี้

ภาวนาว่า คิดหนอ ๆๆ เพียงเท่านี้ ได้เจริญคุณธรรม 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แล้ว
เท่ากะว่าเราตัดวัฏฏะวงจรของความคิดแล้ว (ลองขีดเป็นรูปวงกลมดู) วงกลมๆ
เปรียบเหมือนความคิดขณะหนึ่งๆ (สมมุติเรา..ไม่สะบายใจเรื่องสามี..ฯลฯ)

เมื่อเราภาวนาว่า คิดหนอ ๆ คุณธรรม 5 ดังกล่าว เกิดขึ้นตามสมควรทำหน้าของเค้าแล้วดังนี้...

>>รู้ตัวว่ากำลัง คิด สติ (สติสัมปชัญญะ) เกิดแล้ว ภาวนาว่า คิดๆๆๆๆๆๆๆๆ วิริยะ เกิดแล้ว (ขยันภาวนา คือวิริยะ)

...ท่องในใจว่า คิดหนอ ๆ ซ้ำๆ ย้ำๆ สมาธิ เกิดแล้ว เมื่อสมาธิเกิดปัญญาก็เกิดตามมา (ปํญญาจะ รู้ความจริงตามสมควรแก่การปฏิบัตินี้)
เพราะปัญญาจะทำหน้าที่ได้ต้องมีจิตตั้งมั่นก่อน (ให้มันสงบก่อนถึงจึงจะคิดอะไรๆ ออก)

องค์ธรรมสำคัญ คือ ศรัทธา... หากเราไม่เชื่อก็ไม่ภาวนา ไม่ลอง ไม่พิสูจน์ อะไรทั้งนั้น ฯลฯ
องค์ธรรม ต่างๆ ก็ไม่เกิด (เพราะตนไม่เชื่อว่า หายได้ จึงไม่ทำตามนี้)

ฉะนั้นท่านจึงเรียงศรัทธาไว้ต้น

หน้าที่ของธรรมะดังกล่าว 5 ตัว

1 ศรัทธา = ความเชื่อ (พิสูจน์ก่อนจึงค่อยเชื่อ)
2 วิริยะ = ความเพียรขยัน
3 สติ = นึกได้.... (สติ เกิดคู่ กับสัมปชัญญะ=รู้ตัว=นึกได้รู้ตัว)
4 สมาธิ = ตั้งใจมั่น (แน่วแน่คิดหนอๆ)
5 ปัญญา=รู้ทั่ว

...นี่เหตุปัจจัยว่า ทำไมความทุกข์ไม่สบายใจจึงหายไป
เพียงว่า คิดหนอๆๆๆ องค์ธรรม 5 เกิดขึ้นทำหน้าที่ ตัดวัฏฏะ (กิเลสวัฏฏ์) ได้แล้ว
 
วราภรณ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 12:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....หนูสนใจธรรมะคำสอนของศาสดา มีเหตุมีผล หนูอ่านหนังสือมากๆ พระไตรปีฏกก็
อ่าน จำได้ก็เอาไปคุยกันว่า คำสอนข้อนี้ คาถานี้มาจากเล่มที่เท่าไรหน้าไหน ตอบได้
หมด

ที่ไหนมีบวชชีพราหมณ์ หนูก็ไป ทำไมหนูไม่พ้นทุกสะทีค่ะ ตอนหนูอ่านหนังสือธรรมะ ก็
หลายเล่ม พระไตรปีฏกก็อ่าน นี่จะไปเรียนอภิธรรมอีก
แต่หนูต้องร้องไห้ตอนเอ็น ฯ ไม่ติด

นี่จะเป็นทุกข์อีกแล้ว แฟน เปลี่ยนไป ทำไงดีค่ะ หรือจะต้องท่องพระไตรปีฏกให้จบ 45
เล่มซะก่อน ถึงจะพ้นทุกข์ได้ ใคร ก็ได้ตอบทีนะคะ
 
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สุทุสทะสัง สุนิปุณัง ยัตถะกามะนิปาตินัง
จิตตัง รักเขถะ จิตตัง คุตตัง สุขาวะหัง
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะ) จิตที่คุ้มครอง
ไว้ได้แล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้.

สาธุ สาธุ สาธุ
 
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 4:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แค่การอ่านตำรา หรือท่องพระไตรปิฏก
ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์หรอกค่ะ
เพราะความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ก็ไม่ต่างจากวิชาทางโลกทั่วไป
ที่เรียนเท่าไหร่ก็ไม่มีวันสิ้นสุด

การปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานต่างหาก
ที่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ให้ความรู้ที่เกิดขึ้น
เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นมาเอง

เพียงแต่ว่าถ้าชอบอ่านหนังสือธรรมะ ก็ดีค่ะ
มันเหมือนเป็นการปักจิตใจของตัวเรา
ให้เกาะเกี่ยวอยู่กับคุณความดี เป็นการทำบุญอย่างนึงด้วย

แฟนเปลี่ยนไป ก็ไม่ต้องทำยังไง
เพราะแค่ตัวเราเอง เรื่องบางเรื่อง เรายังเปลี่ยนไม่ค่อยได้เลย
ไฉนเลย จะไป เอาอะไรกับ คนอื่น

แฟนก็คนนี่ค่ะ ไม่ใช่ทีวี จะได้กดรีโมทเปลี่ยนช่องโน้นช่องนี้
กลับไปกลับมาได้ตามใจเรา

ยังไงก็คุณก็ปฏิบัติธรรมอยู่ ไม่นานก็พ้นทุกข์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ท่านจันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระศาสดาตรัสแก่ ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ (ภิกษุ) รูปหนึง ว่า เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้ บุคคลรักษาได้ยาก เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์อะไรๆ อย่างอื่น ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก ดังนี้แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า

ทุนนิคคะหัสสะ ลหุโน ยัตถะ กามนิปาติโน
จิตตัสสะ ทมโถ สาธุ จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง

การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว (เกิดดับเร็ว)
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (ต้องการ) เป็นความดี
จิตที่ฝึกแล้ว นำความสุขมาให้.

ลหุโน=ลหุ= เร็ว
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2005, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ amai ตอบได้ดีมากเลยครับทำให้ผู้ถามเข้าใจได้ง่ายๆ ผมขอตอบคุณวราภรณ์เสริมเพิ่มเติมคุณ amai อีกสักหน่อยนะครับ พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติครับ ลำพังแค่การอ่านหนังสือธรรมะแล้วจะพ้นทุกข์นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เหมือนกับเราว่าเราว่ายน้ำไม่เป็น เราอยากว่ายน้ำเป็น เราเลยไปซื้อตำราว่ายน้ำมาอ่าน เราตั้งใจอ่านจนท่องได้ทั้งเล่มเลย แล้วเราก็กระโดดลงไปในน้ำ ผลก็คือ... จมแน่นอน

ใช่แล้วครับ เราต้องนำสิ่งที่เราอ่านมาลองปฏิบัติ เช่น ตำราว่ายน้ำบอกว่า ให้วาดมือซ้ายออกไปข้างหน้า พร้อมกับใช้เท้าตีน้ำ .... เราก็ต้องลองนำมาทำตามดู

เหมือนกับตำราทางพระพุทธศาสนาเช่นกัน พระพุทธศาสนา สอนเรื่อง คุณธรรมแห่งความสำเร็จ อิทธิบาท 4 คือ เต็มใจทำ แข็งใจพากเพียรทำ ตั้งใจทำ เข้าใจทำ ถ้าใครทำตามนี้ประสบความสำเร็จ เราได้นำมาปฏิบัติหรือเปล่า เราอยากเอ็นทร้านซ์สำเร็จ เราเต็มใจอ่านหนังสือหรือเปล่า เราพากเพียรแข็งใจอ่านหนังสือหรือเปล่า เราตั้งใจอ่านหรือเปล่า หรืออ่านไปเหม่อลอยไป เราอ่านแล้วเข้าใจหรือเปล่า วัดได้โดยทำแบบฝึกหัดดุ ทำถูกมั้ย ฯลฯ นี่คือการนำธรรมะมาปฏิบัติ ให้พ้นทุกข์เบื้องต้น คือ สอบติด จนถึงธรรมะเพื่อการพ้นทุกข์ทั้งปวง เราก็ลองศึกษาปฏิบัติดูครับ

หรืออีกอย่าง แฟนเปลี่ยนไป พระพุทธเจ้า ท่านก็สอนธรรมะของการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานตตา เราทำครบหรือเปล่า

ทาน คือ มีน้ำใจต่อกัน ปิยวาจา คือ พูดดีๆ ต่อกัน เราพูดจาให้เขาผิดหูหรือเปล่า อัตถจริยา คือ ร่วมแรงร่วมใจกัน มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน ไม่ใช่ เขามีปัญหามา เราก็บอก เรื่องของคุณ อย่าพูดมาก รำคาญ ฉันจะดูหนัง อย่างนี้ก็ไม่รักษาน้ำใจกัน หรือ เราดีเสมอต้นเสมอปลายหรือเปล่า หรือ ชอบทำตัวเป็นเจ้าของเขาตลอดเวลา

ถ้าศึกษาธรรมะแล้วนำมาปฏิบัติ ก็จะแก้ทุกข์ได้ครับ มีคนใช้ธรรมะแก้ทุกข์ แล้วพ้นทุกข์ไป นับกันไม่ไหว มา 2500 กว่าปีแล้วครับ
 
เขม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 มี.ค.2005, 1:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก้มดูที่ความรุ้สึก ของตัว แล้วจะเห็นต้นตอของธรรมะ ดูใจดูความคิด คิด ดีไม่ดี และทีเป็นอัพยากต (เป็นกลางๆ )
 
เขมิกา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 มี.ค.2005, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...พระไตรปีฏก 45 เล่ม ถ้าจำไมผิด มี 84000 พระธรรมขันธ์ (หัวข้อ) เหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่มีประโยชน์ในทิฏฐธรรม (คือปัจจุบันเร่งด่วน) มีเพียง 37 คือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

...ทำให้รวมกันเป็นหนึ่ง ก็ได้ใบไม้กำมือเดียวที่พระองค์ตรัสไว้
...นักค้นคว้า หรือนักเรียนธรรมะ รุ้กันทั่ว
...แต่น่าจะบกพร่องตรงวิธีทำให้เข้าถึงโพธิปักขิยธรรมนี่กระมั่งที่ยาก
หรือใครมีความเห็นอย่างไร ต่อที่ค่ะ
 
ท่านจันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 มี.ค.2005, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...พุทธวิธิ มีอยู่ 40 วิธี ที่เรียกกันว่า กัมมัฏฐาน 40 ที่มีหลายวิธีก็เพื่อให้เลือกสรรเอาให้เหมาะแก่วาสนาบารมีของแต่ละคน

ถึงจะมีมากมายหลายวิธีอย่างนั้น จุดประสงค์เดียวคือเพื่อฝึกให้จิตมันหยุดผล่าน หยุดฟุ้งซ่าน ดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสแก่องคุลิมาลว่า เราน่ะหยุดแล้ว แต่ท่านซิยังไม่หยุด

เวลามีปัญหาอะไร หรือมีอะไรมากระทบแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ท่านว่า ต้องหยุดผล่านสะก่อน เมื่อมันหยุดแล้ว มีทางออกคิดออกเอง

คาถาหรือโซ่ ที่ใช้ผูกจิต มีอยู่ 2 คำเอง เรียกว่า บริกรรมภาวนา 2 คำเองไม่ยาก แต่ต้องย้ำบ่อยๆ
เช่นเวลามันคิดฟุ่งซ่าน หงุ่นหง่าน หงุดหงิดไม่ได้ดังใจต้องการ ฯลฯ ไม่อยู่กะงานที่ทำ หรือมันเร่าร้อนทุรนทุราย ฯลฯ

กระดุกคอมันด้วยโซ่ คือบริกรรมว่า คิดหนอๆ ๆ ท่อง ย้ำ ๆ แค่เนี้ย คิดหนอ ๆ แค่นี้เอง
เอาความรู้สึกตัวไว้ที่ความคิดนั้น คิดหนอๆ กลุ้มหนอๆ ฯลฯ

มันทนอยู่ไม่ได้หรอก เพราะในการบริกรรมว่าคิดหนอ ๆ มันมีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ (สติเป็นเครื่องกั้นกระแส อกุศลไว้ได้ รู้ตามตำราแล้วต้องเอามาใช้ให้ได้)

แต่เดี๋ยวอาจมาอีกน่ะ ถ้าความทุกข์นั้นอาการหนัก เอาแบบเดิมอีก...คิดหนอๆๆ อีก
มีอยู่เท่านี้เอง ที่พระพุทธเจ้าบอกให้อุกกัณฐิตภิกษุรักษาคือ รักษาจิต...ฝึกจิต (จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง)

***เหตุของความสุขและความทุกข์ทั้งหมดอยู่ตรงนี้.

ที่..หายไปดับไปมันมีเหตุปัจจัย...ดังนี้
ภาวนาว่า คิดหนอๆ เจริญคุณธรรม คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แล้ว
เท่ากับว่า เราได้ตัดวัฏฏะวงจรของความคิดแล้ว (ลองวาดรูปวงกลมดู) วงกลมๆ

เปรียบเหมือนความคิดขณะหนึ่งๆ (สมมุติว่าเรา..ไม่สะบายใจเรื่องสามี...เรื่องแฟน...วิตกเรื่องการเรียน รู้ว่ามันไม่ดีแต่ก็ห้ามไม่ได้)

เมื่อ...ภาวนาว่า คิดหนอ ๆ คุณธรรม 5 ดังกล่าว เกิดขึ้นทำหน้าที่ของเค้าแล้วดังนี้...

รู้ตัวว่ากำลังคิด สติ (สติสัมปชัญญะ) เกิดแล้ว ภาวนาว่า คิดๆ หนอ วิริยะเกิดแล้ว (วิริยะคือเพียรภาวนา) คิดหนอๆ ซ้ำๆ ย้ำๆ สมาธิ เกิดแล้ว เมื่อสมาธิเกิดปัญญาก็เกิดตามมา (ภาวนามยปัญญา ทำหน้าที่ประหารอกุศลธรรม (ความคิด) )

องค์ธรรม สำคัญ คือ ศรัทธา ถ้าเราไม่เชื่อก็ไม่ภาวนา ไม่ลอง ไม่พิสูจน์ อะไรทั้งนั้น ฯลฯ
องค์ธรรม ต่างๆ ก็ไม่เกิด...........ศรัทธาต้องมี ต้องมาก่อน

1 ศรัทธา = ความเชื่อ (พิสูจน์ก่อนจึงค่อยเชื่อ)

2 วิริยะ = ความเพียรขยัน (เพียรละอกุศลที่เกิดแล้ว คิดหนอๆ)

3 สติ = นึกได้.... (สติ เกิดคุ่กับสัมปชัญญะ=รู้ตัว=นึกได้รู้ตัว รู้สึกตัวเร็ว บริกรรมเร็วตัดได้เร็ว กันอกุศลใหม่ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น)

4 สมาธิ = ตั้งใจมั่น (บริกรรมว่า คิดหนอๆ ย้ำๆ )

5 ปัญญา = รู้ทั่ว (หน้าที่ของปัญญา คือ ฆ่ากิเลสเครื่องหมองใจ (เรื่องที่กำลังคิดนั่น) )

คิดหนอๆ กุศลธรรม ดังกล่าว เกิดขึ้นทำหน้าที่ตัดกิเลสวัฏ ตัดวงจรของความคิดนั้นๆ ได้
เท่านี้ก็พอมองเห็นทางดับทุกข์แล้วทำบ่อยๆ

..............................................................................

.....ทำได้ทุกที่..เช่น

กายบริหาร รำมวยจีน จ๊อกกิ้ง เล่นกีฬา ได้หมด ฯลฯ
สิ่งที่กำลังทำอยู่นั่นใช้เป็นอารมณ์ได้หมดแหละ

วิธี คือผูกจิต ผูกใจ ผูกความคิด ผูกความรู้สึกตัวไว้ กับสิ่งที่เรากำลังทำนั้นๆ ไม่ให้ออกไปจากสิ่งที่เราทำ คือ ห้ามความคิดไม่ให้ออกไปนอกงานที่เรากำลังทำ ฯลฯ

กำลังจ๊อกกิ้ง ก็ผูกความรู้สึกไว้ กับร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ผูกไว้กับเท้า (ขา) ที่ก้าววิ่งไป เป็นต้น.....อย่างนี้ไม่ต้องใช้บริกรรมอะไรก็ได้ เพียงแต่ดูการเคลื่อนไหว

หมายเหตุ หากความคิดมันแว๊บออกไป ต้องทุบมัน (ความคิด) ด้วยว่า คิดหนอๆ
 
Kon Thai
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 มี.ค.2005, 1:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

amai ครับ ในโลกนี้ความไม่เที่ยงเป็นเหตุแห่งทุกข์
การให้อภัยกันเป็นสิ่งที่ดีครับ อย่าผูกเวรก่อกรรมทั้งชาตินี้ ภพนี้และ
ขอให้ผลบุญรักษา จิตจึงเป็นสุข คนเรายังตัดกิเลสไม่ขาด
บางเวลาอาจรู้สึกว่าคิดได้ ตัดได้ แต่พอเผลอมันก็มาอีก
หากตัดขาดอย่างแท้จริง มันก็เหมือนตาลยอดด้วนที่ไม่มีวันจะมาหาเราอีก
 
มาเพื่อเตือนสติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจจ์สี่ ... ผู้ไม่รู้จักอริยสัจจ์สี่ ไม่อาจะเป็นอริยบุคคลได้..
เตือนสติผู้อ่านทุกท่านไว้ ...
ไม่ว่าทำอะไรย่อมต้องมีสติ... สติ คือ แก่นธรรม

ผู้แสวงหาสาวก หากใครไม่นับถือผู้นั้นเป็นอาจารย์ คนผู้นั้น จักไม่สอนวิชาให้ ..
เนื่องด้วยเหตุไร

1. มานะว่า ใครก็ไม่รู้เท่าตน ดังนั้น ถ้าไม่นับถือตนก็ไม่สอน
2. ความหวงแหนในวิชา .. ตระหนี่ในวิชชา
3. ตัณหา มักมากในสาวก .. ต้องการการเคารพบูชา

คนเหล่านี้ ไม่อาจ เป็นอริยสาวกได้ ไม่อาจสอนพระนิพพานให้ใครได้...
เนื่องด้วยเหตุไร

1.ผู้สอนยังลุ่มหลงมัวเมา ในโลกธรรมฝ่ายดี คือ หวังในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสุข
ผู้ยังหลงยังมัวเมาอยู่ ยังติดอยู่ในโลก จักทราบทางออกจากโลกที่แท้จริงได้?
ถ้าทราบได้ ทำได้จะติดอยู่ได้อย่างไร?

2.พระพุทธองค์ กล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐสี่ประการนี้ เอง ที่ท่านได้พบใต้ต้นโพธิ์ใหญ่
เพราะอริยสัจจ์สี่นี้ เป็นเหตุ อริยบุคคลเป็นผล

ผู้ใดสอนตรง ต้องสอนนิโรธคามีนิปฏิปทา คือ สอน อริยมรรค มีองค์ 8 ... จะสอนโดยย่อ เป็นศีล สมาธิ ปัญญา โดยไม่สอน แบบเต็ม ไม่ได้ ... เพราะเหตุไร ?

เพราะผู้ที่จะเข้าถึงธรรม ขั้นละเอียด ก็ต้องเข้าใจ ในรายละเอียด ... ผู้สอนธรรมแบบหยาบๆ ... ก็ยังไม่พ้นวิสัยโลกอยู่ดี

...............................

พึงเคารพบุคคล ที่ควรบูชา ... ผู้แอบอ้าง ในพระธรรม .... ไม่พึงเคารพเลย
 
ท่านจันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มี.ค.2005, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

น่าสงสารต่อผู้มีสัทธาเป็นยิ่งนัก

...สัทธา ... แต่ขาดปัญญาเลือกเฟ้นธรรม ใครให้วิธีการอย่างไรมารับเอาเข้ามาปฏิบัติทุกอย่าง

แต่ละอย่างทีรับมา ล้วนแต่ผิดหลักการปฏิบัติทางจิตทั้งสื้น ทำไปทำมาจะกลับเป็นโรคจิต เพราะการปฏิบัติ เพราะมากอารมณ์มากอย่างเกินไป....

...เปรียบเหมือนคนไข้ ซึ่งกินยาหลายขนาน หลายอย่าง ใครว่ายาอะไรดีเอามากินหมด แทนที่จะหายจากโรค กลับเป็นโรคเพราะยา

..วินิจฉัยโรค ว่าต้องตัดยาขนานนั้นๆ ออก เอาขนานเดียวก็พอซึ่งตนกินแล้ว รู้สึกดี คนไข้ไม่ยอม เพราะถือตนว่า กินมามานแล้วเสียดาย ...หมอก็วางอุเบกขาธรรม...

..เป็นอุทาหรณ์เป็นอย่างดีต่อผู้เลื่อมใสทั้งหลาย จะรับข้อปฏิบัติจากใคร ขอให้ดูก่อนว่า ถูกจริตเราไหม ทำแล้ว กิเลสตัวเก่าหมดไหม กิเลสตัวใหม่ เข้ามาไหม

..ถ้ากิเลสเก่า ก็ไม่หาย กิเลสตัวใหม่มาเพียบ หยุดสะเถอะอย่าฝืนทำ
 
เอม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 6:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภาษาบาลี สงสัย
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง