Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตส่งนอก, จิตส่งใน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยอธิบายลักษณะของ “จิตส่งนอก” “จิตส่งใน” ให้กระจ่างหน่อยครับ จะมีอาการอย่างไรครับ

ขอบพระคุณมากครับ สาธุ
 
yaroo
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 8:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตส่งนอก และ จิตส่งใน

จิตส่งนอก คืออาการที่จิตออกไปยึดกับสภาวะภายนอก

จิตส่งใน คืออาการที่จิตเข้าไปยึดกับสภาวะที่อยู่ภายใน

ทั้งจิตส่งนอก หรือ จิตส่งใน ล้วนแต่เป็น "ความหลง" โดยผู้ปฏิบัติ หลง ไปยึดกับสิ่งภายนอก หรือ ภายใน จนลืม "ตัวเอง" ยกตัวอย่าง เช่น

จิตส่งนอก เมื่อเห็นสาวงามเดินผ่านเข้ามา จิตก็ส่งสัญญาณให้รู้ว่า เธอสวยนะ เธอน่ารักนะ เธอ....... (ลืมตัวเองว่า กำลังทำอะไรอยู่)

จิตส่งใน เมื่อรู้ลึกเข้าไปถึงจุดๆ หนึ่ง แล้วดื่มด่ำกับสภาวะที่เป็นไป (จนลืมตัวเองว่า กำลังทำอะไรอยู่)

สภาวะของการที่ลืมตัวเองว่า กำลังทำอะไรอยู่นั้น เป็นสภาวะที่กำลังหลงไปกับอารมณ์ที่ปรุงแต่ง (สังขารขันธ์) เป็นอาการของการขาดสติ เป็นอาการของจิตที่ไหลออกไป หรือ เข้าไป ยึดสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น

ต้องแก้ไขหรือไม่ -- ไม่ต้องแก้ เพียงแต่รู้สึกตัวว่ากำลังส่งจิตออกนอก หรือกำลังส่งจิตเข้าใน ก็คืนมาสู่อาการของการมีสติแล้ว จากจุดนั้นก็ดำเนินภาวนาต่อไปได้เลยครับ
 
wayo
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2004, 10:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ กับความคิดเห็นที่ 1 ค่ะ

ชัดเจนแล้ว อิ..อิ..
 
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2004, 8:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สะพานแมว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2004, 7:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลงไปกับสภาวะภายนอกและภายใน จนไม่มี "เรา" อยู่ในโลกเลยนั่นเอง กลายเป็นผู้เล่นไปเสียเอง แทนที่จะเป็นคนดู
 
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2004, 11:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์

ผู้เขียน - เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ดูลย์ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แต่ควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่ อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์ (หมายถึงทำให้เกิดเวทนา) หรือก็คือ ไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะทุกๆ ความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่ง ซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนา หรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆ ความคิดที่ปรุงแต่ง อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งนั้นๆ

จิตไม่ส่งออกนอก ในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอก เพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์ หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง

อย่าส่งจิตออกนอก ในอีกความหมายหนึ่งคือ จิตหรือสติอยู่กับกายไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่น กายานุปัสสนา (การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา แต่ไม่ใช่หมายถึง จิตส่งใน หรือจิตส่องกายหรือจิตที่เกิดในฌานหรือสมาธิ) จึงจักถูกต้อง อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา (เห็นเวทนา)….. จิตตานุปัสสนา (จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนา หรือธรรมะวิจยะ (การพิจารณาธรรม) ก็ได้ อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจําวันนั่นเอง

การพิจารณาธรรม ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์ จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิ คือจิตไม่ส่งออกนอก แต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง

หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์ ๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา…. อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา…. อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์ นั่นเอง


ธรรมข้อคิดบางประการของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม"
บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม นิคมานนท์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
amai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2004, 3:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger

ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2004, 5:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตส่งออกนอกหรือส่งเข้าใน เป็นภาษาที่ต้องการแสดงให้เห็นว่า จิตกำลังคิดนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ส่วนที่พูดว่าจิตส่งเข้าภายในก็เป็นภาษาที่ต้องการแสดงว่าคิดพิจารณาร่างกายภายในหรือการมีสมาธิใช่หรือไม่ครับ ถ้าใช้ภาษาของพระพุทธเจ้าก็จะพูดว่า ขณะนั้นเรามีสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือมีปรมัตถบัญญัติเป็นอารมณ์ครับ
 
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2004, 8:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประมาณนั้นอ่ะคับ

เป็นเรื่องของภาษาที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เข้าใจง่าย
ที่นักปฏิบัติดูจิตใช้สื่อสารเป็นที่เข้าใจกัน

เมื่อเกิดผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย นึกคิดทางใจ
เราก้อมักจะปรุงแต่งไปเป็นบัญญัติ มีบัญญัติเป็นอารมณ์

หากเรารู้เท่าทันการปรุงแต่ง
รู้ว่าทุกอย่างเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละสภาพ
ที่เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย กระทำกิจนั้นๆ แล้วดับ
จึงมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ คือมีของจริงเป็นอารมณ์
เป็นเพียง รูป-นาม ที่เกิดดับ (รูป จิต เจตสิก)

แต่การรู้ปรมัตถ์
ต้องเป็นการประจักษ์แจ้งจริงๆ เป็นปัจจุบันขณะ
ด้วยสติสัมปชัญญะซึ่งประกอบด้วยปัญญา (ภาวนามัย)
ไม่ใช่การนึกคิดเอาด้วยสัญญา-สังขาร

ยิ้มเห็นฟัน เดฟ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อิทธิกร
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 28 ส.ค. 2008
ตอบ: 137
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่รู้ดิ
 

_________________
ชีวิตที่รู้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 1:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามสะดวกแล้วกัน ไม่มีความเห็น สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 11:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ิจิตส่งออกนอก หมายถึง การที่ เราเอาใจไปนึกเรื่องราวต่างๆ เช่น ตาไปกระทบแล้วเอาจิตไปผูกพันกับสิ่งนั้นเป็นเรื่องเป้็นราว

ตามธรรมดา เราลอง มองอะไรสักอย่างหนี่งสิ แล้วหันไปที่อื่น เมื่อหันไปแล้ว ภาพเดิมที่เคยปรากฎในอายตนะของเราก็เปลี่ยนไป นั่นหมายความว่าภาพเดิมดับไป

เสียงก็เหมือนกัน เมื่อเราได้ยินเสียง ปั๊บ เมื่อไปฟังอย่างอื่นหรือต้นกำเนิดเสียงดับลง ก็เท่ากับ มันดับไป แล้วอะไรที่ฝังอยู่ในใจคน ก็ได้แก่ สัญญา สังขาร เวทนา ที่ยังติดอยู่ในใจ เมื่อเราตั้งสติให้ดีเราจะเห็น ความคงอยู่ของ สังขาร เวทนา สัญญา ในหัวเราเอง นั่นแหละ เรียกว่าไม่เท่าทันต่อจิตตน และ ส่งจิตออกนอก

ทีนี้ เมื่อการหลงไป ไม่ทัน มันก็ตามเรื่องราวไป อย่างเช่น ในหัวไม่พอใจคนนั้นคนนี้ มันก็ตามเรื่องราวไป แต่การจะให้จิตมองกลับเข้าใน ก็คือ มองว่า จิตใจเรามีอะไรเกิดดับ เห็นสภาวะที่ไม่มีอยู่จริงใน ใจไหม ลองทบทวนในสิ่งที่ผมพูดให้ดี แล้วจะพบธรรมเอง
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โปเต้
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2008
ตอบ: 76
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 7:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
อนุโมทนาค่ะ คุณ yaroo พูดได้กระจ่างจริงๆ
 

_________________
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง