ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 1:10 pm |
  |
หรือถามใหม่ มีทางอ้อม ทางเนิ่นช้าหรือไม่ |
|
|
|
   |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 2:49 pm |
  |
ถามอะไรกันแน่ ถามให้ชัดๆครับ |
|
|
|
|
 |
TU
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 3:26 pm |
  |
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 5:10 pm |
  |
วิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธนั้น
มีอยู่ทางเดียว คือ "มรรค" แปลว่า "ทาง" ในมรรคนั้นก็มีวิธีการอันเป็นข้อปฏิบัติอยู่ 8 อย่าง
ยังมีวิธีปฏิบัติเพื่อการบรรลุถึงจุดหมายสูงสุงอีกอย่างหนึ่งก็คือ "สติปัฏฐานสี่"
แต่ สติปัฏฐานสี่ ก็ยังเป็นข้อปฏิบัติที่อยู่ในวงของมรรคเน้นเกี่ยวกับ "สัมมาสติ"
เร็ว หรือช้า นั้นมีปัจจัยหลายอย่าง
ช้าเพราะไม่ปฏิบัติตามมรรค คือปฏิบัติตรงกันข้ามกับ อันเป็นฝ่ายมิจฉา มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงตามหลักคำสอนเป็นต้น เมื่อมีความคิดเห็นที่ตรง ไม่ลงรอย กับหลักคำสอนทางศาสนา การปฏิบัติตนก็จะเป็นไปในฝ่ายมิจฉา สร้างบาปอกุศล สั่งสมกรรมชั่วให้กับตัวเอง
แม้ว่าผู้นั้จะปฏิบัติตามหลักคำสอน ตามมรรค ถูกทาง แต่ยังขาดสติปัญญา ความอดทน ความเพียร ความต่อเนื่อง ก็จะทำให้ผู้นั้นก้าวเดินในทางธรรมอย่างเนิ่นช้าได้
การปฏิบัตินั้นไม่มีทางลัด มีอยู่ทางเดียว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังกล่าวแล้วข้างบนนะครับ
 |
|
|
|
    |
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 6:53 pm |
  |
>>อยากไปนิพพาน (หรืออยาก ๆ ให้ญานนั้นญานนี้เกิด) เป็นตัณหาตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า ภวตัณหา (อยากมีอยากเป็น)
... การปฏิบัติทางใจนี้ จะเร่งให้ได้ไม่ได้ เน้นจะเร่งให้ได้ไม่ได้ ยิ่งเร่งยิ่งทุรนทุราย กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่านหงุดหงิดไม่ได้ดังใจอยาก ฯลฯ
>พระมหาบุรุษ (พุทธะ) บำเพ็ญอยุ่ 6 ปี จึงสำเร็จ เราเป็นใคร.....
>ต้องทำตามปกติ (คุณมี กู ๆ ต้องเอาให้ได้ เร่ง ๆ ถามหน่อย จะเร่งไปไหน)
>อ่านเรื่อง...พระอานนท์เป็นตัวอย่าง ท่านก็เร่ง ๆ ทำเพื่อให้บรรลุธรรม เพื่อให้ทันทำสังคายนาครั้งแรก
>กลับไม่ได้ .... นึกว่า ตนเองไม่มีวาสนา จึงพัก เอนตัวลงนอน หัวยังไม่ถึงหมอน เท้าพ้นจากพื้น ก็สำร็จพระอรหัตตผลในขณะนั้น
>คุณขับรถอยุ่บนท้องถนน กำลังขับรถ ก็ขับรถ อย่าไปกำหนดอารมณ์ เพียงรู้ตัวกำลังขับรถอยุ่ ใจไม่ฟุ้งซ่าน ให้อยุ่กะการขับรถ คุณมีความจริงจังมาก ...มากเกินไปด้วยซ้ำ...
>หากต้องการจะกำหนดอารมณ์ ที่....ใช้อยู่ ก็กลับบ้านกลับช่องอยุ่ในห้องให้เรียบร้อยก่อน
>มีเริ่องเล่าให้ฟัง....
.. มีพระนักปฏิรูปหนึ่ง ออกบิณฑบาตแต่เช้า ด้วยว่า ท่านมีอารมณ์กัมมัฏฐานเป็นอาจิณ กำหนดอารมณ์ไปเรือย ๆ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ฯลฯ โดยไม่รู้ตัวว่า กำลังเดินข้ามถนน ...........
>ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ฯลฯ รถวิ่งว่าด้วยความเร็ว เบรคไม่ทัน เดี่ยวนี้ไม่รู้ไปเกิดหรือยัง
****ให้แง่คิดว่า วิธีทำที่เราเห็นว่า เหมาะแก่จริตเรา ใช้วิธีนั้นเกาะวิธีนั้นไป หยุดสะทีการฟังนั้นที คนนี้ที ยิ่งมากหมอ มากโรค มากอารมณ์ เดี๋ยวก็เป็น.............หรอก
..คุณกำลังตกอยุ่ในอำนาจของความอยากอย่างแรง ถึงหาทางลัด มันไม่ใช่ทางมอร์เตอร์เวย์ น่ะ |
|
|
|
|
 |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 9:45 pm |
  |
ผมเคยได้ยินเรื่องที่คนภาวนา หนอๆแล้วเกิดอุบัติเหตุเหมือนกันครับ
คือการภาวนาหนอๆ โดยเฉพาะการเดินจงกรมแบบหุ่นยนต์ ยกย่างเหยียบ ที่ช้าเกินไปแบบฝืนธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นสัญญา ตึดเหนียวแน่น ซึ่งในชีวิตประจำวันมันไม่ใช่อย่างนั้น
บางคนภาวนาแค่วันละ 1 ชั่วโมง ที่เหลือปล่อยจิต ปล่อยใจไปตามกิเลสทั้งวันไม่ตามดู มันเลย แบบนี้ใช้ไม่ได้ |
|
|
|
   |
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 9:27 am |
  |
1) สติสามัญ - คือ ผู้ที่ยังไม่เสียสติ สติสามัญนี้ มันระลึกได้ในขอบเขตของมัน ยังระลึกรู้ นาม-รูป ไม่ได้
2) สติปัฏฐาน - นี้ต้องภาวนาให้เจริญขึ้น ไม่ได้ไปเอามาจากไหน ๆ หรอก ก็เจริญต่อยอดจากสติสามัญนั่นแหละ ให้พัฒนาเป็นสติปัฏฐาน ....
>
>(รู้ไว้บ้างก็ดีจะได้ไม่เตลิด นอกจากสติปัฏฐานไม่เกิดแล้ว กันเสียสติสามัญ)
>เช่น...
..ธรรมซึ่งเป็นอินทรีย์ คือ
1 สัทธินทรีย์ = สัทธา+อินทรีย์
2 วีริยันทรีย์ = วิริยะ+อินทรีย์
3 สตินทรีย์ = สติ+อินทรีย์
4 สมาธินทรีย์ = สมาธิ+ทรีย์
5 ปัญญินทรีย์ = ปัญญา+อินทรีย์
>
อินทรีย์= ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ๆ
เช่น วิริยะ = ความเพียร เค้าก็เป็นใหญ่ในหน้าที่ของเค้า คือ เพียรขยัน ไม่เป็นใหญ่ในความเชื่อ ความเชื่อเป็นหน้าที่ของสัทธาเค้า ฯลฯ
>
>ผู้มีปัญญาดี ต้องเจริญภาวนา องค์ธรรมนี้แหละให้เจริญขึ้น จนกลายเป็นพละ (มีกำลังขึ้นมาทำหน้าที่ของตน ๆ ให้แข็งขันแข็งแรงขึ้น)
> ก็อินทรีย์ นั้นแหละพอเจริญมาก ๆ ขึ้น ก็เปลี่ยนเป็นพละธรรม (เป็นโพธิปักขิยธรรมตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน) เช่น
1 สัทธาพละ= สัทธา+พละ
2 วิริยพละ=วิริยะ+พละ
3 สติพละ=สติ+พละ
4 สมาธิพละ=สมาธิ+พละ
5 ปัญญาพละ=ปัญญาพละ
จะเห็นว่า ไม่มีตัวเรา หรือ นาย ก. นาย ข. เลย ฯลฯ มันเป็นหน้าที่ขององค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งสิ้น ฯลฯ
>ผู้มีปัญญาดี ต้องคอยดูอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหนึ่ง ๆ แล้วเจริญองค์ธรรมนั้นๆ ให้เจริญด้วยการบริกรรม รูป-นาม ให้ทัน (ไม่ใช่ไปเดินทำตามท้องถนน หรือไปเดินอวดใครว่า ฉันกำลังทำกัมมัฏฐาน ต้องมีที่ทำ มีทีเจริญ เช่น ในห้องที่บ้าน ฯลฯ ทีอยุ่อาศัย)
>และการเดินก็เดินเหมือนเดินปกติ ไม่ใช่ปั้นแต่งเดิน เช่นเดินเอาเท้าต่อ ๆ กัน โดยเดินเอาซ่นเท้า ต่อกะปลายนิ้วเท้า อย่างนี้มันผิดปกติ ฯลฯ
>ถ้าเราตามทันจริง ๆ วิ่งจงกรมก็ได้ไม่แปลก
>..ไปติดไปยึดในรูปแบบสะแข็งแรง ฯลฯ
ความ หมายของคำว่า จงกรม
จงกรม = ก็คือ การเดินกลับไปกลับมา (หรือวิ่งไปวิ่งมา)
บาลีเป็น จงกม
อาจสงสัยอีกว่า ทำไมต้องเดินกลับไปกลับมาด้วยล่ะ
>
ตอบว่า เพราะสุดพื้นที่ ที่พักที่อาศัย จึงต้องกลับ
ถ้าไม่กลับหนอ ไม่รู้จะไปถึงไหนกันล่ะหนอ
..ผู้ปฏิบัติส่วนหนึ่งไปติดไปยึดในรูปแบบ....
>เหมือนที่พูดกัน ฉันไม่ยึดไม่ติดในอะไร ๆ แล้ว เพราะทุก ๆ สิ่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
...รอดแล้ว เรา....ไม่ยึดไม่ติดมันแล้ว เพราะมันเป็นไตรลักษณ์..นั่นก็ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ๆ ๆ ฯลฯ
>ที่ไหนได้.....
>อ้ า ว ! ! ไปยึดไปติด ...ในคำว่า ไม่ยึดไม่ติด สะอีก...
 |
|
|
|
|
 |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 11:08 am |
  |
การปฎิบัติเนิ่นช้าน่ะมีแน่นอน
บางคนเน้นสมถะ ไป 20-30 ปี ไปไม่ถึงไหน ได้แต่ฌาณไปไกล
ครูบาอาจารย์บางคนจะให้เน้นแต่ความสงบ นิ่งๆเข้าไว้ กดข่มกิเลสเข้าไปๆ
ขนาดพระพุทธเจ้าเคยทุ่มเทปฎิบัติกดข่มกิเลสมาก่อน บารมีธรรมข้ามภพข้ามชาติมากก็มาก ก็ยังละไม่ได้เลย
|
|
|
|
   |
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 12:31 pm |
  |
การบริกรรม การภาวนา หรือ การกำหนดอารมณ์ (3 ศัทพ์นี้เหมือนกันโดยความหมายคือ บริกรรมอาการนั้น ๆในใจ)
> หรือจะเรียกด้วยกันว่า บริกรรมภาวนา ........
>การเข้าใจว่า การบริกรรม ว่าเป็นสมถะ .....
การไม่บริกรรม คือ การตามดูเฉย ๆ เป็นวิปัสสนา
ช่วยตอบทีว่า วิปัสสนา ๆ รากศัพท์มาอย่างไร มุ่งหมายอะไร
ปฏิบัติถึงตรงไหน เป็นสมถะ
สมถะรู้เห็นอะไร
ปฏิบัติถึงตรงไหนเป็น วิปัสสนา
วิปัสสนา รู้, เห็นอะไร
มีอาการอย่างไรจึงเรียกว่า วิปัสสนา ๆ
|
|
|
|
|
 |
เขม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 2:42 pm |
  |
หลักมีว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
>ไม่ผ่าน ศีล คงไม่ถึง สมาธิ ถ้าไม่ผ่านสมาธิ คงไม่ถึง ปัญญา มันเกิดเป็นขั้น ๆ
ดูก่อนผู้เห็นภัยสังสารวัฏฏ์ทั้งหลาย พวกเธอ จึงยังสมาธิให้เกิด เพราะผู้มีใจตั้งมั่น (สมาธิ) ย่อมรู้ตามความเป็นจริง
นี่ตามตัวหนังสือว่าไว้อย่างนี้
|
|
|
|
|
 |
ธัมมิกชน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 2:44 pm |
  |
ธรรมเป็นเครืองเนิ่นช้า คือ วิจิกิจฉา
ความไม่ปักใจลงไปได้ว่า มันคืออะไร |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 2:45 pm |
  |
ตกลงไม่ทราบจะสรุปยังไงกันแน่นะครับ
ขอแสดงความเห็นสั้นๆแบบไม่ขยายความครับ
การปฏิบัตินั้นมีสองแบบ คือ
1 ปฏิบัติถูกวิธี
2ปฏิบัติผิดวิธี
และยังมีการปฏิบัติอีกสองอย่างใหญ่ๆ คือ
1 ปฏิบัติแบบมีความเพียรมาก
2ปฏิบัแบบมีความเพียรน้อย
|
|
|
|
|
 |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 3:21 pm |
  |
ขอเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ที่เคารพท่านนึงมาอธิบายครับ
==================================================================
การพยายามเข้าไปแทรกแซงการรู้สภาวธรรมจะก่อให้เกิดความหลงผิดหนักยิ่งขึ้น เช่นเมื่อกิเลสคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้น ด้วยการบริกรรมว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" ไม่นานความฟุ้งซ่านก็จะดับไปได้ (เพราะการบริกรรมไปยับยั้งความคิดอันเป็นต้นตอของความฟุ้งซ่าน) ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความสำคัญผิดว่า กิเลสเป็นสิ่งที่บังคับควบคุมได้ (เป็นอัตตา) หรือจิตนี้เป็นตัวตนของเราที่สั่งได้ตามใจชอบ(เป็นอัตตา) ยิ่งปฏิบัติยิ่งชำนาญในการเพ่งจ้องหรือบริกรรมแก้กิเลส ความหลงผิดก็ยิ่งพอกพูนก่อให้เกิดมานะอัตตามากกว่าเก่าเสียอีก รวมทั้งไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงว่า ธรรมใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับธรรมนั้นก็ดับ กลายเป็นว่าเราดับธรรมนั้นได้ตามใจชอบเพราะเราฝึก "วิปัสสนา" จนเก่งแล้ว
===================================================================
|
|
|
|
   |
 |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 3:31 pm |
  |
อีกอันนึงครับ
==================================================================
สรุปแล้ว สตินี้แหละยิ่งเกิดบ่อยยิ่งดี นอกจากการเจริญสติแล้วไม่ใช่ทางหรืออริยมรรคที่แท้จริง คำสอนใดที่มุ่งปรุงแต่ง (กุศล) เพื่อแก้ความปรุงแต่ง (อกุศล) คำสอนนั้นเป็นไปเพื่อความเนิ่นช้า (แต่อาจจำเป็นในเบื้องต้นสำหรับบางคน) คำสอนใดให้เจริญสติรู้ทันความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล)จนพ้นจากความปรุงแต่ง(ทั้งกุศลและอกุศล) คำสอนนั้นเป็นทาง(มรรค)ตัดตรงเข้าถึงความพ้นทุกข์สิ้นเชิง(นิโรธ/นิพพาน)
ครูบาอาจารย์พระป่าทั้งหลายซึ่งเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของผู้เขียน เช่น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย และหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ เป็นต้น ท่านก็เน้นนักหนาให้ผู้เขียนเจริญสติคือรู้ไว้ บางท่านยกหัวใจคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ มาสอนผู้เขียนว่า หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า "ทำสมาธิ (ความสงบ) มากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน สิ่งสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ จะเดินจงกรมก็ต้องเดินด้วยความมีสติ นั่งสมาธิก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ ทำสิ่งใดก็ต้องทำด้วยความมีสติ เพราะเมื่อใดมีสติเมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นขาดความเพียร" ==================================================================== |
|
|
|
   |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
20 มี.ค.2005, 6:36 pm |
  |
อนุโมทนาสาธุครับคุณตุ่น
ผมรู้นะว่าที่คุณตุ่นยกมาเป็นข้อเขียนของหลวงพ่อรูปใด
|
|
|
|
    |
 |
เปลวเทียน
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2004
ตอบ: 20
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 2:12 am |
  |
แสดงว่าคุณตัวตุ่นรู้อะไรดีๆ มาใช่มั๊ย นำมา post เพื่อเป็นวิทยาทาน
บ้างซิครับ อนุโมทนาครับ  |
|
|
|
  |
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 2:39 am |
  |
|
|
 |
ตามมาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 12:59 pm |
  |
วิปัสสนึก นั่งนึกว่า มัน คือ วิปัสสนา
วิปัสสคิด คิดว่า เราไปถึงนิพพานแล้ว
จะปฏิบัติด้วยวิธีใด อย่างไร ถ้ายังไม่เห็นการเกิดการดับ ของรูป-นาม ขันธ์ 5
หรือเห็นความคิดแต่ละขณะ ๆ ดับลง แล้วก็เกิดขึ้นอีกตามเหตุปัจจัย อันนั้น ยังอีกไกล
นัก ยังไม่เข้าทาง ถึงจะคิดว่าทาง มันก็เพียง วิปัสสคิด วิปัสสนึกไปเท่านั้น ไม่ใช่ของ
จริง สิ่งที่วิปัสสคิดเห็น วิปัสสนึกเอา มันไม่ใช่ของจริง แต่มันเห็นจริง แต่มันเป็นสัญญา
ลวงตา
ชาวพุทธผู้ค้นคว้า อ่านหนังสือ ก็รู้ว่า นาม-รูป เป็น ไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
รู้กันมานาน ฯลฯ
แล้วมองเห็นหรือยัง.......
|
|
|
|
|
 |
ตัวตุ่น
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 2:17 pm |
  |
ต่อไปนี้เป็นนิยายเชิงเปรียบเทียบ ไม่ได้อ้างอิงใครนะครับ
มีอยู่คนนึง ถูกสอนให้ทำสมถะ ทำความสงบอย่างเดียว....
พอจะถามอาจารย์ ก็บอกว่า ไม่ใช่นึก ไม่ใช่คิด ปฎิบัติไป ก็ทำๆๆๆๆ 5ปี ...10ปี
ก็ไม่ค่อยได้ไปไหน (ได้แต่ฌาณ) พอจะถาม ก็ได้คำตอบอีกว่า มันไม่ใช่คิด ไม่ใช่นึก ปฎิบัติด้วยตัวเองเท่านั้น...ไม่ต้องถาม ไม่ต้องเถียง..
ก็ปฎิบัติไปอีก ...ผ่านไป 15ปี.... 20ปี ก็ไม่ค่อยได้อะไร (ได้แต่นิมิต ได้แต่ฌาณ) ก็จะถามอีก ก็ได้คำตอบเหมือนเดิม อย่าคิด...อย่านึก อย่าอะไรทั้งสิ้น ทำต่อไป....ทำต่อไป...
อย่างนี้เรียกว่าเนิ่นช้าหรือไม่? พอถามอาจารย์แบบนี้ อาจารย์บอกว่า ก็พระพุทธเจ้ายังตั้งไม่รุ้กี่ชาติ เราเป็นใคร? ทำต่อไป....ก็ทำไปๆ ผ่านไป 20ปี...25ปี...ทำไปๆ....
ขอให้โชคดี....จบแล้วครับ |
|
|
|
   |
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 มี.ค.2005, 3:54 pm |
  |
ผมขอแสดงความคิดเห็นบ้างก็แล้วกันนะครับ
1. อย่ากังวลเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติ ถ้าเราไม่ได้ทำผิดศีลครับ เพราะศีลคือ มีเตอร์วัดความเป็นมนุษย์ ตราบใดที่เรายังมีศีล ก็รับประกันได้ว่า เราจะยังเกิดเป็นมนุษย์อยู่ เมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์ เราก็มีโอกาส เราจะปฏิบัติได้ช้าหรือเร็วไปบ้าง ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราพลาดพลั้งไปเกิดเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ นั่นต่างหากถึงต้องมากลุ้มใจว่า นอกจากเนิ่นช้าแล้วยังเป็นทุกข์ในภพภูมินั้นๆ อีกด้วย
2. อ้าวแล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่า เราจะมีศีลไปตลอด เผื่อบางชาติเกิดมาลืมล่ะจะทำยังไง รีบหาทางไปให้เร็วๆ น่ะดีแล้ว ก็ตอบสั้นๆ ว่า ถ้าเจอทางที่จะไปให้เร็วๆ ได้อย่างแท้จริง ก็ให้ไปได้เลย ดีครับ แต่ถ้ากังวลว่า ทางนั้นแท้จริง หรือเนิ่นช้า เช่น สมถะหรือวิปัสสนา ก็ให้อธิษฐานถึงเป้าหมายสูงสุดในชีวิตให้ดี และอธิษฐานล้อมคอบไว้ว่า ขอให้เกิดไปทุกชาติ ให้ได้รู้กติกาของชีวิตไปทุกชาติๆ เป็นสัมมาทิฐิไปทุกชาติๆ อย่าทำผิดศีลไปทุกชาติๆ จนกว่าจะถึงนิพพาน อะไรก็ว่าไป เพราะการอธิษฐานเปรียบเสมือนหางเสือควบคุมทิศทาง ที่จะทำให้เรือชีวิตแล่นไปถึงจุดหมายจนได้
ตัวอย่างเหตุการณ์จริง พระเทวทัต ถึงแม้ตกนรกอยู่ แต่ด้วยคำอธิษฐานของท่านว่า ขอบรรลุธรรม ทำให้ท่านสร้างบารมีมาครบ 2 อสงไขยกัปแล้ว (แต่เนื่องจากท่านไม่อธิษฐานล้อมคอกให้ดี เอาแต่เป้าหมายสูงสุดอย่างเดียว ชาตินี้ถึงพลาดลงนรก) ดังนั้น เมื่อพ้นนรกมาเมื่อไหร่ท่านจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตครับ ขนาดเขาอยู่ในนรกเขายังจะบรรลุธรรมในอนาคตได้เลย เราเป็นมนุษย์อยู่ ถ้ารักษาศีลดีแล้ว จะไปกลัวอะไร ช้านิดช้าหน่อยจะเป็นไรไปครับ อย่าผิดศีลก็แล้วกัน
|
|
|
|
|
 |
|