ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
สายหมอก
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ม.ค. 2007
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพ
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2007, 10:51 am |
  |
อยากทราบวิธีการดับทุกข์ เมื่อเราผิดหวังทุกเรื่อง พอคร่าวๆ เพื่อนำมาใช้ค่ะ  |
|
_________________ การให้ธรรมะเป็นทานนั้น ผู้ให้ย่อมเป็นสุข |
|
  |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
29 ม.ค. 2007, 3:57 pm |
  |
กราบสวัสดี คุณสายหมอก
คนเราไม่ผิดหวังก็สมหวัง แต่ทำไมถึงกล่าวว่าความผิดหวังเป็นความทุกข์ ทั้งที่ความรู้สึกผิดหวังก็เช่นเดียวกับความรู้สึกสมหวัง ไม่ว่าอารมณ์ ความรู้สึกใด เกิดขึ้นได้ ก็ล้วนแล้วแต่สลายไป ไม่มีอารมณ์ใดตั้งอยู่กับเราได้นานชั่วนิรันดร์ เว้นแต่เราไปยึดกันเองว่ามันมั่นคง วิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงความดับทุกข์ก็ไม่มีอะไรมาก ลองย้อนดูขณะปัจจุบันอารมณ์ ความรู้สึก ฝึกใหม่ๆต้องย้อนดู ตามรู้อย่างมีสติ ไม่ว่าสุข หรือทุกข์ ผิดหวังหรือสมหวัง มันเกิดดับ สลับเปลี่ยน ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลา ทันขณะจิตปัจจุบันเมื่อไหร่ก็เข้าถึงการดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องมาย้อนดูให้เสียเวลา กระทบปั้บอัตโนมัติปุ๊บ ทุกข์สุขใดก็ไม่มีความหมาย รุ่งอรุณยามแสงอาทิตย์จับขอบฟ้าแห่งฤดูหนาว อุ่นไอจับเป็นยวงไหมสายหมอกล่องละลิ่วเรื่อลอยแตะเลี่ยไล่ปฐพี ยามแดดจ้า ณ ดวงอาทิตย์ฉายฉานเต็มท้องนภา อวลมวลหมอกที่บดบังธรรมชาติพันธุ์พฤกษาก็สลายลับจางหายไปกับแสงตะวัน อันใดฤาดำรงอยู่ ล้วนเกิด สลาย ดับไปด้วยกันทั้งสิ้น สายหมอกก็เช่นเดียวกัน
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา
 |
|
|
|
   |
 |
วรา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2007, 10:29 am |
  |
ดับด้วยปัญญา
เหตุเกิดจาก การสร้างความหวัง ผลที่ได้ ผิดหวัง เป็นทุกข์
ดับด้วยปัญญา อย่าได้ไปสร้างความหวัง ไม่เหตุ ไม่มีผล ก็คือไม่มีทุกข์
สิ่งใดเกิดแล้ว ย่อมดับไปเป็นธรรมดา อย่าได้ทวนกระแสธรรมชาติ
เราเห็น รู้สิ่งใด อย่าได้นำมายึดมัน แม้แต่ร่างกายของเรายังไม่ใช่ของเรา
แล้วเราจะไปยึดมั่นอะไรได้อีกละ
จิตที่มันชอบสร้างทุกข์ สร้างสุข ลองฝึกมัน สอนมันด้วยปัญญา แล้วความสุขที่แท้จริง
ย่อมปรากฏขึ้นมาในใจท่านเอง
หากถามว่าเมื่อไรละ คำตอบก็เมื่อนั้น เมื่อท่านได้ลงมือทำนั้นเอง |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ม.ค. 2007, 11:09 am |
  |
ขอบคุณคุณปุ๋ยและคุณวราค่ะ ที่กรุณาช่วยตอบกระทู้ค่ะ  |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 ก.พ.2007, 10:02 am |
  |
อริยสัจ 4 อย่างง่าย
คำสอนหลวงปู่ดุลย์ อตุลโล (ศิษย์หลวงปู่มั่น)
" จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
(อธิบาย : สมุทัย = เหตุให้เกิดทุกข์ , มรรค = วิธีดับทุกข์ , นิโรธ = ความดับไปของทกข์)
วิธีปฏิบัติ : มีสติ-ตามรู้ดูจิตเรา
หมั่นทำตลอดเวลา
อริยสัจ4 จะปรากฏแก่จิต แล้วจะดับทุกข์ได้ใที่สุด
ขออนุโมทนาบุญ ครับ  |
|
|
|
|
 |
แวะมา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
02 ก.พ.2007, 10:03 am |
  |
อริยสัจ 4 อย่างง่าย
คำสอนหลวงปู่ดุลย์ อตุลโล (ศิษย์หลวงปู่มั่น)
" จิตส่งออกนอกคือสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"
(อธิบาย : สมุทัย = เหตุให้เกิดทุกข์ , มรรค = วิธีดับทุกข์ , นิโรธ = ความดับไปของทกข์)
วิธีปฏิบัติ : มีสติ-ตามรู้ดูจิตเรา
หมั่นทำตลอดเวลา
อริยสัจ4 จะปรากฏแก่จิต แล้วจะดับทุกข์ได้ใที่สุด
ขออนุโมทนาบุญ ครับ  |
|
|
|
|
 |
akegato
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
05 ก.พ.2007, 5:14 pm |
  |
เอาเป็นว่าผมขอยกเอาสิ่งที่หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ท่านเทศน์ได้กรุณาเทศน์ไว้ เพื่อให้ญาติโยมปฎิบัติเพื่อให้ความพ้นทุกข์ หรือ ความดับทุกข์ อันเป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงสอนไว้มา สองพันกว่าปีแล้วมาให้อ่านนะครับ
สิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้นั้น สิ่งแรกสำหรับการปฎิบัติธรรมที่ต้องทำ เน้นนะครับว่าต้องทำ คือการรักษาศีล ถ้าเป็นฆาราวาสก็ศีล 5 เป็นอย่างต่ำ
พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเป็นแนวทางไว้ว่า การปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องเดินตามทางนี้คือ
1 ศีล
2 สมาธิ
3 ปัญญา
เพราะการมีศีลจะทำให้จิตเราไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดปัญญาได้ง่าย เมื่อเกิดปัญญาแล้วก็สามาถที่จะรู้และเข้าใจในข้อธรรมต่างๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนได้ง่าย เน้นนะครับ ศีบเป็นคำสั่งของพระพุทธเจ้าที่ให้ศากยบุตรพุทธสาวกหรือพุทธบริษัท ต้องรักษา เพราะศีลแปลว่าปกติ การที่เรารักษาศีลคือการที่เราเป็นคนปกติ
เอาให้เข้าใจง่ายอีกนิด อย่างการฆ่าสัตว์ อยู่ๆมีคนจะมาฆ่าเรา เราจะยินดีให้เค้าฆ่าด้วยความดีใจหรือเปล่า ถ้ามีเราไม่ยินดี สัตว์ก็ไม่ได้ยินดีให้เราฆ่าเหมือนกัน อย่าคิดว่า แค่ตบยุง ฆ่ามด ไม่เป็นไร มดก็หนึ่งชีวิต เราก็หนึ่งชีวิตเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าจะปฎิบัติตนเพื่อความพ้นทุกข์ สิ่งแรกคือรักษาศีล
ส่วนการทรงสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ใน กรรมฐาน 40 และก็มหาสติปัฎฐานสูตร อันนี้แล้วแต่จริตความชอบของตัวบุคคล หรือแล้วแต่ว่า ศึกษากับอาจารย์ท่านไหนก็ตามแต่ความชอบหรือจริตอุปนิสัยของแต่ละคน อย่าถกเถียงกันว่า ปฎิบัติแบบนี้มันช้า แบบนี้ดีกว่า เพราะว่าทีพระพุทธเจ้าท่าทรงสอนไว้มากมายก็เพราะแต่ละคน มีจริตต่างกัน จึงต้องมีอุบายในการทำจิตให้สงบเป็นสมาธิต่างกัน เปรียบไปการทำสมาธิ ก็เพื่อลับอาวุธให้คม เพื่อใช้ในการตัดกิเลส
เมื่อมีสมาธิก็ต้องมีปัญญา พระองค์ท่านก็ทรงบัญญัติวิธีคิดไว้มากมาย จะเป็นวิปัสสนาญาณ 9 ก็ได้ หรือจะพิจารณาใน ไตรลักษณาญาณก็ได้ ซึ่งในการคิดพิจารณา อาจจะยังไม่ได้ลึกซึ้งนักในตอนแรกแต่ก็ค่อยๆทำค่อยๆคิด ก็จะค่อยละสิ่งอันเป็นทุกข์ออกไปได้
สุดท้ายขอสรุปอีกครั้งว่า ทางแห่งความพ้นทุกข์ต้องปฎิบัติตาม
ศีล
สมาธิ
ปัญญา เท่านั้น
ซึ่งเป็น แนวทางการปฎิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ |
|
|
|
  |
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.พ.2007, 12:36 pm |
  |
คิดให้ดี
พูดแด่สิ่งที่ดี
ทำในสิ่งที่ดี(ทาน "ถ้าไม่มีเงินก็คิดเป็นอภัยทานได้ หรือทำด้วยแรงกายก็ได้ " ศีล "คงไม่ต้องอธิบาย" ภาวนา "สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกลม ฟังเทศน์ ฯลฯ"
อย่างที่มีคนบอกไปแล้วไม่เกิน 3 เดือน ขอให้ตั้งใจจริงและทำจริงเท่านั้น |
|
|
|
|
 |
คุมสุขให้อยู่ทุกข์จะหาย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ก.พ.2007, 10:41 am |
  |
ถ้าถามวิธีดับทุกข์ตัวเองคงไม่มีให้หรอก ไม่อย่างงั้นก็คงไม่ได้เห็นทุกข์เลิกค้นคว้าการปฏิบัติธรรมสำหรับตัวเองไปนานแล้ว มีให้แต่วิธีป้องกันเพื่อลดความทุกข์เพราะสังเกตเห็นอยู่บ่อยบ่อย คิดว่าหากเป็นคนเหมือนกันแม้นจะต่างเพศต่างวัยก็น่าจะพอสังเกตเห็นได้เหมือนกัน
ประการแรก สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือเมื่อไรก็ตามที่จิตใจคนเรารู้สึกว่ามีความสุข อบอุ่นเกิดความรู้สึกติดใจอยากอยู่กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นนานนาน เมื่อสิ่งเหล่านั้นจากหายไปเพียงช่วงเวลาเสี้ยววินาที นาที ชั่วโมง เป็นวันหรือแม้นแต่เป็นเดือนเป็นปี มักจะมีความรู้สึกตรงกันข้ามคือความทุกข์และระดับความรุนแรงมักไม่แพ้กับความสุขที่เคยได้รับในครั้งก่อนนั้นเลยแม้นแต่น้อย(ไม่เชื่อลองสังเกตดูเวลาเพลิดเพลินความสุขอะไรก็ตามแม้นแต่ปฏิบัติธรรม) หากดูเผินเผินเราก็จะหลงเข้าใจว่าเกิดจากเหตการณ์ภายนอกที่ต่างกันและมีความรุนแรงทำให้เราทุกข์มาก แต่ดูดีดีเรื่องภายนอกเป็นเรื่องวัตถุส่วนความทุกข์เป็นเรื่องของจิตใจมันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยห่างกันยิ่งกว่าฟ้ากับทะเลเสียอีกเพราะจิตไม่มีก้อนหรือตัวตนอยู่เลย อย่างฟ้ากับทะเลยังเห็นความมีอยู่ของทั้งสองฝ่ายได้บ้าง ผลจากงานวิจัยชีวิตโดยเสี่ยงใช้สุขทุกข์ของตัวเองเป็นหนูทดลองยาสรุปผลได้ว่า การที่เรายิ่งปล่อยให้จิตใจหลงชื่นชมยินดีกับความสุขในชีวิตประจำวันมากเท่าใด ก็ยิ่งผูกมัดจิตใจเข้ากับวัตถุหรือรูปลักษณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกมากเท่านั้น ดังนั้นเมื่อรูปลักษณ์นั้นสลายไปหรือไม่เป็นดังที่จิตเคยได้สัมผัสก็เกิดความรู้สึกที่ตรงกันข้ามคือทุกข์ขึ้นมาแทนที่โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่าง คนเคยรักกันอยู่ใกล้ชิดกันมีความสุขหลงเพลิดเผลิน พอมีเหตการณ์ทำให้ไม่ได้อยู่ด้วยกันอีก ก็ทุกข์หนักยิ่งคิดว่าไม่มีโอกาสใกล้ชิดเช่นเดิมอีกต่อไปแล้วก็ยิ่งทวีคูณมากไปตามความคิด หากถามว่าถ้าเหตการณ์ช่วงที่อยู่ใกล้ชิดกันนั้นไม่เกิด แต่ข้ามมาเกิดเหตการณ์ที่ทำให้ไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดไปอย่างเดียว คนคนเดียวกันจะรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ คำตอบนี้เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าตัวเราเองไปสอนจิตให้ยึดมั่นกับสิ่งภายนอกที่มันไม่ยั่งยืน พอมันเปลี่ยนไปก็ไปโทษสิ่งนอกตัวทั้งที่สิ่งภายนอกทั้งโลกมันก็เปลี่ยนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามวาระของมันตามธรรมชาติหรือที่เราเรียกกฏแห่งกรรมเท่านั้น ลองนำหลักเดียวกันนี้ไปสังเกตเรื่องทุกเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ปัจจุบันหากจำได้ว่าเราเคยรู้สึกสุขกับอะไรก็สังเกตดูตอนที่มันจะเกิดขึ้นอีกจะเห็นธรรมชาติของจิตตัวเองแบบไม่ต้องหาอาจารย์ท่านใดมาช่วยพูดนำให้เลย อย่างเวลาเป็นสุขเพราะกินอาหารอร่อยอร่อยยิ่งเคยมีอร่อยมากมากสุดสุด ก็จะมีวันที่ทุกข์หนักจนทนกินอาหารบางอย่างไม่ได้ทั้งที่ก็ยังไม่เสียหรือยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายเพียงแต่อาจมีรสชาติหรือรูปลักษณ์ต่างไปเท่านั้น หรือเคยสุขกับการขับรถส่วนตัวสะดวกสบายก็จะมีโอกาสเป็นทุกข์ด้วยเรื่องไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นเวียนเข้ามาหา ดังนั้นหากจะดำรงค์ชีวิตด้วยความทุกข์น้อยที่สุดก็ต้องพยายามลดความพึงพอใจกับความสุขที่จะเกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน เมื่อใดจิตอยู่ในควบคุมของสติสุขก็ไม่หลงเพลิดเพลินเหมือนการดิ้นพล่านไปกับเสียงดนตรีแม้นรักจะหวานซึ้งยิ่งไปกว่าหนังรักใดใดในโลกนี้ก็ไม่ลุ่มหลงไปตามความรู้สึกนั้นเมื่อนั้นก็จะไม่มีโอกาสเป็นทุกข์จนชักดิ้นชักงอหรือร้องไห้เพราะความขัดสนรันทดถูกกดขี่บังคับให้อยู่ในสภาพที่อัตคัตยากลำบากด้วยเหตใดใดทั้งปวง
สุขเราหนีไม่ได้ต้องยอมสัมผัสมันในบางจังหวะของช่วงชีวิตแต่สัมผัสอย่างไรคือไม่หลงให้สังเกตเรียนรู้เอาเองขณะที่มันเกิดขึ้น แล้วผลที่ได้รับก็คือเวลาทุกข์จะไม่รู้สึกว่ามันหนักหน่วงถึงกับดึงรั้งชีวิตเราให้ลงต่ำแต่เป็นเพียงความแปรเปลี่ยนไปของรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ชีวิตที่สมดุลย์คือการมีสติให้ได้ตลอดเวลาไม่สุขไม่ทุกข์จะเป็นชีวิตที่มีพลังสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนได้มากที่สุด
ประการที่สอง(ไม่รู้ลืมหรือยังข้างบนที่โม้มายาวยาวนั้นป็นแค่ประการแรก)สังเกตคนเป็นทุกข์หนักหนักทุกคนที่มุ่งเข้าหาธรรมมะเพื่อดับทุกข์ แล้วรู้สึกว่าธรรมมะช่วยไม่ได้ สาเหตก็เพียงเพราะว่าเวลาที่จิตใจปกติเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้จิตเรียนรู้ธรรมแต่คนส่วนใหญ่กลับเพิกเฉยไม่สนใจปฏิบัติมาก่อน มาเริ่มตอนที่จิตอ่อนแอหรือเป็นทุกข์ มันก็เลยเห็นผลได้ช้าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น พึงดำรงค์ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นปฏิบัติธรรมตลอดเวลาเพื่อให้จิตเห็นความจริงได้บ้างจะได้ไม่เกิดความรู้สึกทุกข์มากมากได้ เช่นเดียวกับร่างกายที่หมั่นออกกำลังเพื่อต้านทานโรคภัยเบียดเบียน |
|
|
|
|
 |
ทิพ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.พ.2007, 12:27 pm |
  |
เหตุ คือ ทุกข์ เกิดที่ใจ
ต้องดับที่เหตุ คือที่ ใจ
ทุกอย่างอยู่ที่ ใจ
เช้าตื่น นอน ต้องคิดดี ก่อน สวดมนต์
เย็น ก่อนนอน สวดมนต์ 20.30 น
FM หลวงตา มหาบัว
ใคร ใคร ก็มี ทุกข์ ทั้งนั้น ไม่มีทุกข์ คือ คนที่ ตายแล้ว
พยามยาม ถือ ศีล 5 ให้เคร่งครัด
วันพระ พยายาม ถือ ศีล 8
บุญที่ เราทำมา ทุกครั้ง ขออุทิศ บุญนี้ แด่ คุณ
คุณ ต้องพยายามเป็นผู้ให้
เช่น บริจาคโลหิต เราบริจาค ทุก 3 เดือน
ให้ สิ่งที่เลิศ ย่อมได้ สิ่ง ที่เลิศ |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
03 มี.ค.2007, 2:21 am |
  |
|
|
 |
เพื่อนร่วมโลกเดียวกัน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
03 มี.ค.2007, 1:23 pm |
  |
ไม่อยากเห็น ก็ต้องหลับตา
ไม่อยากผิดหวัง ก็ต้องอย่าหวัง
อยากหรือไม่อยากก็ล้วนเป็นกิเลส
คิดเมื่อไหร่ ไม่สุขก็ทุกข์
ทุกข์หรือสุขอยู่ที่เราคิด
ดับทุกข์เรื่องใด ก็ต้องหยุดคิดเรื่องนั้น |
|
|
|
|
 |
๛ Nirvana ๛
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403
|
ตอบเมื่อ:
03 มี.ค.2007, 11:12 pm |
  |
วิธีการมากมายที่เพื่อนๆธรรม ช่วยแนะนำ มาหวังว่า คงจะช่วยคลายทุกข์คุณสายหมอกได้นะครับ
 |
|
_________________ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน |
|
     |
 |
เจ๊เป็นตุ๊ด
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 29 พ.ย. 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยสอง
|
ตอบเมื่อ:
04 มี.ค.2007, 7:39 pm |
  |
ทุกข์ มีทั้งที่ เอามาเอง กับ คนอื่นเอามาให้
ทุกข์ เพราะ ก่อเอง ยังพอสบาย ครับ แต่ ทุกข์ที่คนอื่นก่อให้นี่ น่ารำคาญ สิ้นดี
ถ้า ทุกข์ เพราะ เอามาเอง ก็อย่าเศร้าเลย เพราะเต็มใจ เข้าไปร้อนเอง ต้องทำใจเข้มแข็ง แก้ไขไปตามการ
แต่ ทุกข์ ที่คนอื่นเอามาให้นี่ เปรียบเหมือนการโยนของร้อนมาให้ โดยเราไม่ต้องการเลย อันนี้ ก้ต้องแก้ไขไปตามเหตุการณ์ ครับ ปัญหาเป็นอย่างไร ตัวเราเป็นอย่างไร วิธีแก้ไขจะเป็นเฉพาะกลุ่มบุคคลไป บอกให้ใช้วิธีเดียวกันกับทุกคนไม่ได้หรอกครับ
แต่หลักวิธี แก้ไข ที่ใช้กันได้ทุกคน ก็คงเป็นหลัก อริยสัจ 4 หรือ หลักการสืบรู้เหตุผลเรื่องราวอย่างถ่องแท้ จนสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้
ทุกข์ของสัตว์ ทุกข์ของมนุษย์ ทุกข์ของเทวดา ทุกข์ของโสดาบัน ทุกข์ของสกิทาคามี ทุกข์ของอนาคามี ก็ ล้วนใช้หลัก อริยสัจ 4 นี้แก้ได้หมด ครับ เพียงแต่ว่า วิธีการแก้ปัญหาของบุคคลแต่ละกลุ่มนั้น แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เขาคนนั้นเป็นคนแบบไหน มีลักษณะอย่างไร สติปัญญาเขาเป็นอย่างไร มีอุปาทานในสิ่งใด อยู่ในสังคมอย่างไร ฐานะความเป็นอยู่เป็นอย่างไร ซึ่งยังมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมาย ที่เป็นปัจัยรวมของคำตอบในการแก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคล
เพราะฉะนั้น รู้ปัญหา รู้จักตน รู้หลักการคิด หนทางแก้ไขปัญหาก็จะออกมาเอง ครับ
อธิบายโดยคร่าว ยังไม่ละอียด ถือเสียว่าอ่านประกอบไว้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์แก้ไขปัญหานะครับ สวัสดี |
|
_________________ ปัญญาอยู่ไหน ที่ไหนมีขายบ้าง |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
23 ส.ค. 2008, 11:06 pm |
  |
จะดับทั้งที เอาให้สนิทเลย มิดีกว่าหรือ โยม สาธุ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|