ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 มี.ค.2005, 8:04 pm |
  |
พหู เทวา มนุสสา จ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง.
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ปรารถนาความสวัสดี
ได้คิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดบอกมงคลอย่างสูงสุด
>ต่อไปนี้จะได้นำมงคล 38 ประการ ในมงคลสูตรมาอธิบายให้ผู้สนใจ ได้อ่านได้...รู้ที่มาของคาถามงคลนี้ตามลำดับ.
>จะได้รู้ว่า มีความหมายอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร เมื่อพระท่านสวดจะได้ฟังเข้าใจบ้าง
> ในงานมงคลต่าง ๆ ที่เจ้าภาพนิมนต์พระไปฉันเช้า-เพล พระคุณเจ้าจะขึ้นสวดทุกครั้ง ตอนเจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ พระจะขึ้นว่า อเสวนา จ พาลานัง ฯลฯ
>ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามมงคลสูตรนี้ แล้วมีแต่ความเจริญฝ่าเดียว......
>คาถาทียกขึ้นนำนี้เป็นเหตุเกิด ของมงคล 38 ประการ
|
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 มี.ค.2005, 9:11 pm |
  |
..เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า มี ชาย 3 คน คือ ทิฏฐมงคล (ผู้ถือว่า สิ่งทีเห็นเป็นมงคล) สุตมงคล (ผู้ทีเห็นว่าสิ่งที่ได้ยินเป็นมงคล) มุตมงคล (ผู้เห็นว่าสิ่งที่รู้เป็นมงงคล) เถียงกันเรืองว่า สิ่งที่เป็นมงคลในโลก มันคืออะไร
>นายทิฏฐมงคล เอ่ยขึ้นด้วยความภาคภูมิใจว่า ....ต้องสิ่งที่เห็นด้วยตาสิ เป็นมงคล ...ยกเอาสิ่งที่ตาเห็นรูปสวย ๆ งาม ๆ มาอ้าง...ฯลฯ ว่ามันเป็นมงคล
>ส่วนนายสุตมงคล ค้านว่า ไม่ใช่ สิ่งที่หูได้ยินสิเป็นมงคล เพราะว่า คนเราได้ยินเสียงไพเราะนี่ต้องมีหูนะ ฯลฯ
>นายมุตมงคล ขัดกลางคันว่า ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง ผิดทั้ง 2 คน มันอยุ่ที่ความรุ้สึกน่ะ การที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง มันมีทั้งดีไม่ดีน่ะท่าน ส่วนความรู้สึก (คือการรู้อารมณ์) การรับรู้อารมณ์ต่างหากเป็นมงคล ฯลฯ
ชายที้ง 3 คน เถียงกันไม่มีใครยอมใคร คนทีมาฟัง ที่เห็นกับฝ่ายโน้นบ้างฝ่ายนี้บ้าง ก็ไปเข้าพวกด้วย ตกลงชาย 3 คน...เป็นคนบริวารมีพวกสนับสนุน หนุนหลัง จนเรื่องราวใหญ่ลุกลามไปพรหมโลก ทั้งพรหม เทวดา ก็ตกกันไม่ได้อีก ว่าอะไรเป็นมงคล......
> จนเวลาล่วงเลยถึง 12 ปร เถียงกันเรืองว่าอะไรเป็นมงคลไม่จบ จนครั้งสุดท้าย พระอินทร์พา เหล่าเทวาดาไปเฝ้าพระผุ้มีพระภาคเจ้า พระองค์จึงได้ตรัสมงคลสูตรต่อไป.........นี่คือ เหตุเกิดขึ้นของมงคล 38
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 มี.ค.2005, 10:17 pm |
  |
ต่อไปจะได้เริ่มคาถาที่ 1
....ทำบุญเจ้าภาพจุดเทียนแล้ว....พระคุณเจ้าผู้หัวหน้าเริ่ม...ขึ้นว่า...
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
การไม่เสพคนพาล 1 การเสพบัณฑิต 1 การบูชาผู้ที่ควรบูชา 1
3 ประการนี้เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
|
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 9:32 am |
  |
1 อะเสวะนา จะ พาลานัง = การไม่เสพคบ (เสพ) คนพาล
มีคำอธิบายย่อ ๆ ดังนี้
การไม่คบ ความไม่มีคนพาลนั้นเป็นเพื่อน ความไม่เข้าพวกด้วยคนพาลนั้น ชื่อว่าการไม่เสพ.
ผู้ที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ10 ชื่อว่า พาล
...ลักษณะพาลในนัยที่ 1
..ผู้ประกอบด้วย อกุศลกรรมบถ 10
อกุศลกรรมบถแบ่งออก ทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ทางกาย 3 คือ
1 ฆ่าสัตว์
2 ลักทรัพย์
3 ล่วงละเมิดใน หญิง-ชาย ที่มีผู้รักษาคุ้มครอง
ทางวาจา 4 คือ
1 พูดเท็จ
2 พูดส่อเสียด
3 พูดคำหยาบ
4 พูดเพ้อเจ้อ
ทางใจ3 คือ
1 คิดอยากได้ของผู้อื่น
2 คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
3 เห็นผิดจากคลองธรรม(ขนมธรรมเนียมประเพณี)
..พาลใน นัยที่ 2
ผู้ตัดเสียซึ่งประโยชน์ทั้ง 2 คือ
1 ประโยชน์ในโลกนี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์)
2 ประโยชน์ในโลกหน้า (สัมปรายิกัตถประโยชน์)
..พาล ท่านเปรียบเหมือนปลาเน่า
..ผุ้คบกับคนพาล เปรียบเหมือนใบไม้ห่อปลาเน่า ถึง..ผู้อันวิญญุชนพึงทอดทิ้งและตำหนิ
นี้ลักษณะพาลย่อ ๆ
|
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 9:40 am |
  |
2 ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา = คบปัณฑิต
ลักษณะของบัณฑิต ตรงกันข้ามกับพาล คือ ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10
..แบ่งเป็นทาง กาย 3 วาจา 4 ใจ 3
..ทางกายมี 3 คือ
1. เว้นจากทำสิ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป (ปาณาติปาตา เวรมณี)
2. เว้นจากการหยิบถือเอาสิ่งของทีเจ้าของเขาไปได้ให้ (อทินนาทานา เวรมณี)
3. เว้นจากประพฤติผิดในกาม (เว้นจากการประพฤติล่วง หญิง/ชายซึ่งมีผู้รักษาคุ้มครอง) (กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี)
..ทางวาจา มี 4 อย่าง
1. เว้นจากพูดเท็จ (ฟังความข้างนี้ แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อให้เขาแตกกัน)
2. เว้นจากพูดส่อเสียด(สุปิณาย วาจาย เวรมณี)
3. เว้นจากพูดคำหยาบ (ผุรสาย วาจาย เวรมณี)
4. เว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อ(สัมผัปปลาปา เวรมณี)
..ทางใจมี 3 คือ
1 ไม่อยากได้ของ ของคนอื่น (อนภิชฌา)
2 ไม่อาฆาตพยาบาทผู้อื่น (อพยาบาท)
3 เห็นชอบตามหคองธรรม (สัมมาทิฏฐิ)
..ลักษณะบัณฑิต ย่อ ๆ จบ
..ประโยชน์ในโลกนี้ มี 4 (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์)
1. ถึงพร้อมด้ววยความหมั่นขยันในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต ในการศคึกษาเล่าเรียน ในการทำธุระหน้าที่การงานของตนๆ (อุฏฐานสัมปทา)
2. ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัทย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่นไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตน ไม่ให้เอมเสียไปก็ดี(อารักขสัมปทา)
3. การมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว (กับยาณมิตตตา)
4. เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟื่อยนัก (สมชีวิตา)
ประโยชน์ในโลกหน้า มี 4 (สัมปรายิกัตถประโยชน์)
1. ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว เป็นต้น (สัทธาสัมปทา)
2. ถึงพร้อมด้วยศีล ได้แก่รักษากายวาจาให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ (สีลสัมปทา)
3. ถึงพร้อมด้ยการบริจาคแบ่งปัน เป็น การเฉลี่ยสุขให้แก่ผุ้อื่น (จาคสีมปทา)
4. ถึงพร้อมพร้อมด้วยปัญญา รู้จัก แยกแยะบาป บุญ คุณ สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ (ปัญญาสัมปทา)
>บัณฑิต เปรียบเหมือนกับของหอม มีกฤษณาและมาลา เป็นต้น
>ผู้คบบัณฑิต เปรียบเหมือนใบไม้ที่พันของหอม ดังกล่าว ถึง..ผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
คบพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล (โย หิ ยัง เสวะติ โส ตังคติ-โกวะ.)
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 9:49 am |
  |
3. ปูชา จะ ปูชนียานัง = บูชาผู้ที่ควรบูชา
ผู้ที่ควรบูชา ได้แก่ ผู้มีอุปการคุณก่อน มี มารดา, บิดา, ครู, อาจารย์, เป็นต้น
การบูชา มี 2 อย่าง
1 อามิสบูชา (บูชาด้วยวัตถุสิ่งของมีดอกไม้เป็นต้น)
2 ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติตาม) คือ เชื่อถ้วยฟังคำของท่านเหล่านั้น
สรุปท้ายคาถาว่า...
...คาถาที่ 1 นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ 3 มงคล มีการเสพ ไม่เสพคนพาลเป็นต้นไว้ว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุเจริญด้วยสมบัติมีความสรรเสริญในโลกนี้เป็นอาทิ
....ส่วนอรรถกถากล่าวว่า เป็นประโยชน์เกื้อกูลในโลกนี้ และโลกหน้า ด้วยการไม่เสพคนพาล เสพบัณฑิต และเป็นเหตุแห่งสุขคติและพระนิพพาน.
>เอตัมมังคะละมุตตะมัง = เว้นสิ่งที่ควรเว้น คือ การเสพคนพาล คบแต่บัณฑิต
และบูชาผู้ควรบูชานั่น เป็นอุดมมงคล.
คาถาที1 โดยย่อ จบเพียงเท่านี้.
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 11:21 am |
  |
คาถาที่ 2 มีว่า
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
การอยู่ในประเทศอันสมควร 1 ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน 1 การตั้งตนไว้ชอบ 1
นี่เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
การอยุ่ในประเทศอันสมควร ชื่อว่า ปะฏิรูปะเทสะวาสะ.
สถานที่พำนักอยุ่ของเหล่าชน แห่งใดแห่งหนึ่ง มี หมู่บ้าน เมืองหลวง และชนบทเป็น
ต้น ชื่อว่า ประเทศ.
> ประเทศ อันสมควร คือ ผู้นำใน...นั้น ๆ เป็นผู้มีคุณธรรมน้ำใจ สังคม (ผู้คนในถื่น
นั้นๆ รู้คุณค่าของคนทำดี เป็นต้น) (ปัจจัยภายนอก)
>การตั้งความปรารถนาไว้ ความดำรงไว้ การประกอบไว้ซึ่งตนโดยชอบ ชื่อว่า อัตตะ
สัมมาปะณิธิ. (ปัจจัยภายในคือตนเอง)
>ท่านอธิบายไว้ย่อ ย่อๆ ว่า ประเทศอันสมควร คือ เมื่อ ประชาชนย่อมเที่ยวไป บุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น ย่อมเป็นไป คำสอนของศาสดาย่อมรุ่งเรืองในประเทศใด ประเทศนั้น ชื่อว่า ประเทศอันสมควร
การอาศัยอยุ่ในประเทศอันสมควรนั้น พระองค์ตรัสว่า เป็นมงคล
บุญกิริยาวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ) 10 คือ
1 ทานมัย = บุญสำเร็จด้วยการให้ (ทาน)
2 สีลมัย = บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3 ภาวนามัย = บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา (ฝึกจิต)
4 อปจายนมัย = บุญสำเร็จด้วยประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
5 เวยยาวัจจมัย = บุญสำเร็จด้วยช่วยเหลืองานสาธารณะ
6 ปัตติทานมัย = บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
7 ปัตตานุโมทนามัย = บุญสำเร็จด้วยอนุโมทนาส่วนบุญ
8 ธัมมัสสวนมัย = บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
9 ธัมมเทสนามัย = บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
10 ทิฏฐุชุกัมม์ = ทำความเห็นให้ตรง (ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ)
...มยะ=มัย=สำเร็จ
1. ทาน+มย
2. สีล+มย
3 ภาวนา+มย
4 อปจายน+มย
5 เวยยาวัจจ+มย
6 ปัตติ+ทาน+มย
7 ปัตต+อนุโมทนา+มย
8 ธัมมัสสวนมัย=ธมฺม+สวน+มย
9 ธัมม+เทสนา+มย
10 ทิฏฐุชุกัมม์=ทิฏฐิ+อุชุ+มย
แยกศัพท์ให้แล้ว เทียบคำแปลข้างบน
 |
|
|
|
|
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 2:33 pm |
  |
อธิบายละเอียดดีค่ะ
ขอบคุณค่ะ ที่หาเรื่องดีๆมาโพสท์ |
|
|
|
    |
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 มี.ค.2005, 8:38 pm |
  |
***แก้คำผิดข้างบนด้วย ทิฏฐ+อุชุ+มย ผิด มย แก้เป็นกัมมะเป็น ทิฏฐ+อุชุ+กัมม์
1) ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ
การอยู่ในประเทศอันสมควร
จะกล่าวแต่ย่อๆ พอได้ใจความ
...ได้แก่การอยุ่ในที่.....ที่มีบุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นต้น ดังกล่าว เมื่อพุทธศาสนิกชนดำเนินตามนั้น ก็เป็นปัจจัยให้ได้อนุตตริยะ 6 ฯลฯ
...ในมงคล 38 นี้ จะหยิบยกเอาธรรมะที่เป็นโลกิยะเป็นของชาวบ้านมานำเสนอให้มากที่สุด
เพื่อให้เป็นประโยชน์ตามภฺมิธรรมแก่ฆราวาสวิสัย
>ส่วนผู้ที่ต้องการมากกว่านี้ ให้ไปอ่าน "ขอน้อบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า" เถิด แล้วดำเนินไปตามนั้น ก็ถึงภูมิธรรมที่สุง ๆ ขึ้นไป สาธุ...
2.) ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
ความเป็นผู้ทำบุญไว้ในก่อน
ปุพเพ=ในก่อน
..ท่านหมายเอาผู้ที่สั่งสมบุญญาบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ (ตั้ง..ปรารถนาไว้ เหมือนมหากัปปินะ) เกิดมาในปัจจุบันชาติ พอได้ฟังพระธรรม อ่านพระธรรมก็เข้าใจได้ทันที
....ในทางโลกียะ คือ ผุ้ที่เกิดมามีสมบัติพร้อมมูล ได้แก่ผู้ที่พ่อแม่สั่งสมโลกียสมบัติไว้แล้ว
3) อัตตะสัมมาปณิธิ จะ
การตั้งตนไว้ชอบ
...คือว่า เมื่อตนเกิดมาในวัฒนธรรมใด ศาสนาใด ควรดำรงตน ตั้งตนตามตามวัฒนธรรมนั้น ศาสนานั้น เรียนรู้พื้นฐานของตน (คำสอนทางศาสนา)
..เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
การอยุ่ในประเทศอันสมควรเป็นต้นนี้เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
ย่นย่อกล่าวคาถาที่ 2 จบ.
 |
|
|
|
|
 |
มาดู
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 2:01 am |
  |
...ละเอียดมากค่ะ...
...ต้องอ่านอีกหลายๆครั้งค่ะ...
... |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 1:49 pm |
  |
...คาถาที่ 3
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
ความเป็นพหูสูต 1 ศิลปะ 1 วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 1 วาจาเป็นสภาษิต 1
นั่นเป็นอุดมมงคล.
1) ความเป็นผู้ฟังมาก ขื่อ พาหุสัจจะ
2) ความรู้ในวิชาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ศิลปะ
3) วินัย ที่ตนศึกษา (เรียน) ดีแล้ว
วินัยมี่ 2 อย่าง คือ (1 วินัยของบรรพชิต)
2) วินัยของผู้ครองเรือน ได้แก่การเว้นจาก อกุศลกรรมบถ 10 ดังกล่าวมา ที่คฤหัสถ์ศึกษาดีแล้ว เพราะไม่ต้องเศร้าหมองด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ประการนั้น และเพราะทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณ คือ มรรยาท ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำประโยชน์สุขมาให้ในโลกทั้ง 2 คือโลกนี้ และโลกหน้า.
4) สุภาสิตา จะ ยา วาจา
...วาจาสุภาษิต ประกอบด้วยองค์ 5 คือ
กล่าวตามกาล 1 กล่าวแต่วาจาสัตย์ 1 กล่าววาจาอ่อนหวาน 1 กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์ 1 กล่าวด้วยเมตตาจิต 1
... (ภิกษุ) ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ 5 นี้แลวิญญูชนทั้งหลายติเตียนไม่ได้.
มาในสุภาสิตสูตร
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ความเป็นผู้ฟังมาก เป็นต้นนั่นเป็นมงคลอย่างสูงสุด.
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 2:44 pm |
  |
...อ่านเนื้อ ๆ มากแล้ว เอาน้ำสักแก้ว...แต่จะเล่าย่อ พอได้ใจความ...
เพื่อเสริม สุภาสิตา จะ วาจา นั่น..
ในอดีตกาล (ตามฟอร์ม) ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ เกิดในกำเนิดโค ได้ชื่อว่า นันทิวิสาล ซึ่งเจ้าของรักเหมือนลูก .....
....เมื่อโคนั้นเจริญวัยแล้ว สงสารพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของ จึงพูดว่า "ไปเถิด พราหมณ์ " ไปทำการพนันกะโควินทเศรษฐีว่า โคเราตัวหนึ่งสามารถลากเกวียนซึ่งผูกติดกันได้ 100 เล่ม...
...พราหมณ์เจ้าของก็ไปบอกอย่างนั้น ถึงวันแข่ง จึงเอาอิฐหินปูนทราย บรรทุกเกวียนเต็ม 100 เล่ม ตนขึ้นไปนั่งแล้ว ร้องตวาดว่า เฮ้ยเจ้าโคโกง (ซึ่งความจริงไม่โกง) จงลากไป เจ้าโคโกง จงเข็นไป ดังนี้.
...โคนันทิวิสาล ได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ จึงยืนเฉยไม่ลากไป พราหมณ์จึงแพ้เสียเงินหมดตัว (ไม่รวยเพราะเล่นพนัน)
....กลับบ้าน นอนมือก้ายหน้าผาก แม้แต่ผ้าเช็ดน้ำตาก็ไม่เหลือ โคนันทิวิสาล เห็นเข้าก็สงสาร จึงพูดว่า ไปเถิด ไปพนันใหม่ ด้วยทรัพย์ที่มากกว่าเดิม........
...แต่ขออย่างเดียว อย่าเรียกข้าพเจ้าว่า โคโกง พรามหณ์เจ้าของก็ทำเหมือนเดิม ขึ้นไปนั่งได้ที่แล้วพูดด้วยวาจาไพเราะว่า พ่อมหาจำเริญ จงไป พ่อมหาจำเริญ จงเข็นไป ดังนี้.
...โคนันทิวิสาล ได้ฟังคำอันไพเราะอย่างนั้น จึงลากเกวียนไป ด้วยเรี่ยวแรง ถีงที่สุดทางได้โดยสวัสดี.
...ไม่มีใครชอบคำหยาบคาย แม้สัตว์ ก็ชอบคำไพเราะอ่อนหวานแล
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 6:25 pm |
  |
คาถาที่ 4
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
..การบำรุงมารดาบิดา 1 การสงเคราะห์บุตรและภรรยา 1
การงานไม่อากุล 1 นี่เป็นอุดมมลคล.
ทารัสสะ = ทาระ = ภรรยา
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง = การบำรุงมารดาบิดา
ท่านกล่าวไว้พิศดารมาก แต่ในทีนี้จะนำมากล่าวย่อ ๆ พอได้ความ
หน้าที่ของบุตรซึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อและแม่แล้วมีหน้าที่ ที่ต้องเลี้ยงท่านเป็นการตอบแทน...
การเลี้ยงมี 2 อย่าง
1) เลี้ยงกาย
2) เลี้ยงใจ
...ตามที่กล่าวไว้ในคิหิปฏิบัติ (สิงคาลสูตร) ว่า
1) ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
2) ช่วยเหลือแบ่งเบางานของท่านตามกำลังเรา
3) ดำรงค์สกุลวงค์ (คือไม่ทำให้ชื่อสกุลเสียหาย)
4) ประพฤติตัวทำตนให้เป็นคนควรสืบทรัทย์สมบัติ (ไม่หมกมุ่นอบายมุข)
5) เมื่อท่านสิ้นบุญไปแล้ว ควรทำบุญอุทิศไปให้ท่านตามประเพณี
.....เลี้ยงใจก็คือสามัคคีปรองดองกันในหมู่พี่น้อง...
.....ปุตตะทารัสสะ สังคะโห = การสงเคราะห์บุตรและภริยา
การสงเคาระห์บุตรมี 5 อย่างคือ
1) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
2) ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม
3) ให้การศึกษา
4) หาภรรยา/สามีให้ เมื่อถึงวัยอันสมควร
5) มอบทรัพย์เป็นทุนให้ เมือถึงกาลอันควร
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 6:52 pm |
  |
...ภรรยาอันสามีพึ่งสงเคราะห์ด้วยฐานะ 5
1) ยกย่องให้เกียรติว่าเป็นภรรยา
2) ไม่ดูหมิ่น
3) ไม่นอกใจ
4) มอบความเป็นใหญ่ให้ (งานบ้าน,งานเรือน)
5) ให้เครื่องแต่งตัว....
***ภรรยาเมื่อได้รับการสงเคราะห์จากสามีดังนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยฐานะ 5 คือ
1) จักการงานดี
2) สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีตามสมควร
3) ไม่นอกใจ
4) รักษาทรัพย์ที่สามีหาได้
5) ไม่เกียจคร้านงานที่รับผิดชอบ
อะนากุลา จะ กัมมันตา = การงานที่ไม่อากลู
ตนมีอาชีพอย่างไรก็ขยันหมั่นเพียรในอาชีพนั้น ๆ ทำงานให้สำเร็จไม่คั่งค้าง
เอตัมมังคะละมุตตะมัง. การบำรุงมารดาบิดาเป็นต้นนี้เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
กล่าวย่อ ๆ คาถาที่ 4 จบ
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 11:11 pm |
  |
คาถาที่ 5
ทานัญจะ ธัมมะจริยา จะ ญาตะกานัญยะ สังคโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
การไห้ 1 การประพฤติธรรม 1 การสงเคราะห์หมู่ญาติ 1
การงานที่ไม่มีโทษ 1 นี่เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
ทานัญจะ=การให้
เจตนาเป็นเหตุให้ (จาคเจตนา) ชื่อว่า ทาน=ทานอันเป็นไปทางใจ ท่านประสงค์เอาในคำว่า ทาน ข้อนี้
โดยความ ทาน มี 2 อย่าง คือ
ทานเป็นไปทางใจ 1
ไทยธรรม 1
ทานทางใจ คือ จาคเจตนา มีการให้อภัยเป็นต้น
...ส่วนไทยธรรม มี 10 อย่างที่ท่านกล่าวไว้ แต่จะไม่นำมากล่าวในที่นี้ เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว
แต่จะบอกว่า เรามีวัตถุ 10 อย่าง ๆ ใดอย่างหนึ่งแล้ว ต้องประกอบด้วยองค์ 6
องค์ของผู้ให้ (ทายก) มี 3
องค์ผู้รับ (ปฏิคาหก) มี 3
พระพุทธองค์ตรัสว่า อานิสงค์มาก
..แสดงนิดหน่อยพอเข้าใจ
..องค์ของทายกมี 3
1)ก่อนให้ย่อมมีใจดี (ปุพเพว ทานา สุมโน โหติ)
2)กำลังให้ย่อมมีใจผ่องใส (ททัง จิตตัง ปสาเทติ)
3)ครั้นให้แล้ว ย่อมมีใจชื่นบาน (ทัตวา อัตตะมโน โหติ)
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 5:46 pm |
  |
องค์ของปฏิคาหก (ผู้รับ) มี 3 คือ
ย่อมเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ (ราควินยา วา ปฏิปันนา)
"......................" โทสะ "..............................." โทสะ (โทสวินยา วา ปฏิปันนา)
"......................" โมหะ "..............................." โมหะ (โมหวินยา วา ปฏิปันนา)
ถามว่า ก่อนให้เป็นอาทิย่อมมีใจดีอย่างไร ?
..ทายกคิดว่า พรุ่งนี้...มะรืนนี้ ฯลฯ ปีนี้ ปีหน้า เราจักถวายทาน (บุพพเจตนา)
..กำลังให้ทำให้จิตให้เลื่อมใส (มุญจนเจตนา)
..(อปราปรเจตนา) หลังให้แล้ว..ทายก ระลึกนึกถึงในเวลาต่อๆ ไป ล่วงไปนานเท่าไร จำได้
(ระลักถึงกุศลที่ตนทำบ่อย ๆ)
>พระองค์ตรัสว่า มิใช่ทำได้ง่าย ๆ เพราะจิตของทายกย่อมแปรไปในอำนาจบุคคลเป็นต้นบ้าง เช่นต้องการพระเถระ กลับได้สามเณร ครั้นได้พระเถระ ก็คิดว่า เราไม่รู้จัก ฯลฯ จิตแปรปรวนไปในอำนาจแห่งบุคคล
**ธัมมะจริยา จะ = การประพฤติธรรม
การประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ชื่อว่า การประพฤติธรรม (ธัมมะจริยา)
ท่านกล่าวไว้หลายแห่ง แต่ความหมายเช่นเดียวกัน คือประพฤติกุศลกรรมถ 10 ๆ ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 5:53 pm |
  |
ญาตะกานัญยะ สังคโห= การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
ชนผู้เกี่ยวเนื่องกันข้างฝ่ายมารดาก็ดี ฝ่ายบิกาก็ดี ชื่อว่า ญาติ
การสงเคราะห์มี 2 คือ
1. สงเคราะห์ทางใจ (ให้ข้อคิด)
2 สงเคราะห์ทางกาย (ด้วยวัตถุ)
ท่านกล่าวไว้มากมาย แต่จะสรุป ๆ พอได้ความว่า เมื่อญาติเหล่านั้น ขัดสนควรให้ความสงเคราะห์ตามสมควร
อะนะวัชชานิ กัมมานิ=การงานที่ไม่มีโทษ
การประกอบสัมมาชีพ คือ อาชีพสุจริต ซึ่งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียยประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ฯลฯ
เอตัมมังคะละมุตตะมัง = กัมม์ 4 อย่างมีทานเป็นต้นนี้ เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
ย่นกล่าวคาถาที่ 5 จบ
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 5:53 pm |
  |
ญาตะกานัญยะ สังคโห= การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
ชนผู้เกี่ยวเนื่องกันข้างฝ่ายมารดาก็ดี ฝ่ายบิกาก็ดี ชื่อว่า ญาติ
การสงเคราะห์มี 2 คือ
1. สงเคราะห์ทางใจ (ให้ข้อคิด)
2 สงเคราะห์ทางกาย (ด้วยวัตถุ)
ท่านกล่าวไว้มากมาย แต่จะสรุป ๆ พอได้ความว่า เมื่อญาติเหล่านั้น ขัดสนควรให้ความสงเคราะห์ตามสมควร
อะนะวัชชานิ กัมมานิ=การงานที่ไม่มีโทษ
การประกอบสัมมาชีพ คือ อาชีพสุจริต ซึ่งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียยประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ฯลฯ
เอตัมมังคะละมุตตะมัง = กัมม์ 4 อย่างมีทานเป็นต้นนี้ เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
ย่นกล่าวคาถาที่ 5 จบ
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 5:57 pm |
  |
>คาถาที่ 6
อารตี วิรตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง.
การงดเว้นจากบาป 1 การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา 1
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย 1 นี่เป็นอุดมมงคล.
บาป = คือ กรรมกิเลส 4 อย่าง คือ
1) ฆ่าสัตว์ (ปาณาติปาต)
2) ลักทรัทย์ (อทินนาทาน)
3) ประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฉาจาร)
4) พูดเท็จ (มุสาวาท)
การงดเว้นจากบาปดังกล่าาวนี้
ความไม่ยินดียิ่งด้วยใจ ของผู้เห็นในบาป ชื่อ อารตี.
วิรตี=การเว้น จากบาปทางกายและทางวาจา ชื่อ วิรัติ (เว้น)
วิรัติมี 3 อย่าง คือ
1) สัมปัตตวิรัติ=การเว้นจากบาปของผู้ที่มิได้สมาทานศีลเลย แต่มานึกนึกถึง ชาติ สกุล ฯลฯ ของตนแล้วเว้น
2) สมาทานวิรัติ=การเว้นจากบาปของผู้สมาทานศีล
3) สมุจเฉทวิรัติ=การเว้นจากบาปจากผู้บรรลุอริยมรรค
 |
|
|
|
|
 |
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 มี.ค.2005, 6:04 pm |
  |
>มัชชะปานา จะ สัญญะโม= (สำรวม) เจตนาเครื่องเว้นจากการดื่มน้ำเมา
น้ำเมาเรียกว่า อบายมุข
อบาย=เสื่อม+มุข = ทาง,ปาก
อบายมุช=ทางแห่งความเสื่อม
ดื่มน้ำเมามีโทษ 6
1) เสียทรัพย์
2) ก่อการทะเลาะวิวาท
3) เกิดโรค
4) เสียชื่อเสียง (บัณฑิตติเตียน)
5) ไม่รู้จักอาย
6) ทอนกำลังปัญญา
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ=ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ความประมาทเป็นไฉน ?
..การปล่อยความคิด (จิต) ไป ในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และ ในเบญจกามคุณ ชื่อว่า ความประมาท
..การทำโดยไม่เคารพ ทำไม่ติดต่อ การทำ ๆ หยุด ๆ ประพฤติย่อหย่อน หมดความพอใจ ทอดธุระ ความไม่ตั้งมั่น ไม่ประกอบเนือง ๆ ไม่เสพ ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ในการบำเพ็ญกุศลธรรม ชื่อว่า ความประมาท
***ธรรมะอย่างหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามกับความประมาทนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาท***
..เปรียบเหมือนกิ้งก่า วิ่งไปหน่อยหนึ่งแล้วก็หยุด ไม่วิ่งต่อไปฉันใด ผู้ประมากท็ฉันนั้น ให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนา หน่อยหนึ่งแล้วก็หยุดไม่ทำเรื่อยไปฉะนั้น (ทำๆ หยุดๆทำไม่ติดต่อ)
เอตัมมังคะละมุตตะมัง = การงดเว้นจากบาปเป็นอาทินี่ เป็นมงคลอย่างสูงสุด.
ย่อกล่าวคาถาที่ 6 จบ
 |
|
|
|
|
 |
|