Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในพระไตรปิฎก มีกล่าวไว้หรือไม่ อย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม ในพระไตรปิฎก มีกล่าวไว้หรือไม่ อย่างไร
ข้าพเจ้าเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อพระอรหันต์ บรรลุนิพพานแล้ว รู้จักการพ้นทุกข์แล้ว และพ้นทุกข์สิ้นเชิงแล้ว ร่างกายและจิตใจยังคงอยู่ ยังไม่มรณภาพนั้น พระพุทธเจ้าท่านได้ทรงสั่งสอนอะไรเพิ่มเติม ต่อพระอรหันต์ เพื่อให้ให้จิต ยังดำรงค์อยู่กับนิพพาน (หาดูได้จากพระไตรปิฎกได้ ที่ใด อย่างไร) ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2007, 9:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแนะนำนะครับ ให้หาหนังสือมิลินทปัญหามาอ่านจะเข้าใจได้ลึกซึ้งมากที่สุดเท่าที่ปัญญาของคุณจะเข้าถึงได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ควรหากัลยาณมิตรครับคือพระอาจารย์องค์ใดองค์หนึ่ง
 


แก้ไขล่าสุดโดย RARM เมื่อ 11 ก.ค.2008, 4:18 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2007, 1:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นิพพานถึงได้ 4 รูปแบบด้วยกันครับ คือ

1.สุกขวิปัสสโก เป็นนิพพานชนิดที่ว่ายังหยาบมากอยู่ คือยังรักษานิพพานให้คงอยู่ไม่ได้ดั่งใจ บางคนถึงครั้งเดียวก็ลืมไปอีกนาน ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต

2.ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นนิพพานชนิดที่ว่าหยาบน้อย ละเอียดกว่าสุกขวิปัสสโก รักษานิพพานได้ดีขึ้น คือบางครั้งเพียงอ่านสำนวนธรรมแบบปฏิสัมภิทา ก็สามารถเรียกใจกลับได้เลย ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต แต่มีความเข้าใจในสำนวนธรรมแบบปฏิสัมภิทา

3.เตวิชโช นิพพานลักษณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนครับ แต่คงละเอียดกว่าแบบที่ 1 และ 2 ญาณนี้ได้จักษุทิพ ระลึกชาติได้ ถึงได้ยากกว่าแบบที่ 2 ( ยังไม่เคยเจอเองกับตา ได้ยินมาอีกที )

4.อภิญญา อันนี้สูงสุดครับ มีความเป็นทิพย์แห่งจิตพร้อมหมด ปฏิสัมภิทาญาณก็แจ้ง เตวิชโชก็แจ้ง ญาณอันนี้สามารถดับขันธ์ปรินิพพานได้ แต่เป็นข้อยากที่สุดแห่งการฝึกฝน ไม่รู้ว่าต้องบำเพ็ญบารมีบุญมาสักกี่แสนชาติ ถึงจะสำเร็จ ( ยังไม่เคยเห็นเองกับตา ได้ยินมาอีกที )

สาธุ เชื่อไม่เชื่อก็ลองพิจารณาเองนะครับ เพราะนี่เป็นเพียงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ไม่มีประสงค์ร้าย ไม่หวังผลโประโยชน์อื่นใด เป็นแต่เพียงข้อมูลทางธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2007, 1:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่งรู้ว่ามีพระภิกษุอยู่ด้วย ขอกราบสวัสดี ครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
akegato
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2007, 2:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอโทษนะครับ ที่กล่าวมาในความเห็นข้างบนนั้น คงจะคลาดเคลื่อนนะครับ

ที่เคยได้ยินมาน่าจะเป็นว่า

การเป็นพระอริยะเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ สามารถเป็นได้แบ่งตามลักษณะการปฎิบัติได้ 4 ประเภท

1. สุกขวิปัสสโก ท่านแปลว่า บรรลุมรรคผลได้อย่างแบบง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ง่าย ยากมากแบบสุกขวิปัสสโก นี่เวลาเจริญสมาธิตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำอยู่ตามปกติ เป็นการทำจิตให้เป็นสมาธิเข้าถึงฌานสมาธิ แล้วก็ตัดกิเลส ไม่สามารถจะเห็นผี เห็นนรก เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ได้ คือไม่มีทิพจักขุญาณ
2. เตวิชโช มีความสามารถพิเศษอยู่ ๒ อย่าง คือว่า มีทิพจักขุญาณด้วย สามารถระลึกชาติด้วย และก็
3. ฉฬภิญโญ (อภิญญาหก) แสดงฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์
4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสาม และอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า

ซึ่งหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี) ท่านได้เคยเทศน์ไว้นะครับ ผม copy มาให้อ่าน

และปฎิสัมภิทัปปัตโต หรือ ปฎิสัมภิทาญาณ จะเป็นได้ก็ต่อเมื่อเป็นพระอริยเจ้า ขั้นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นพระอรหันต์ที่มีความฉลาดมากครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เสกสรรค์
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2007
ตอบ: 22
ที่อยู่ (จังหวัด): นครพนม

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2007, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้ม พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ใน ปัจฉิมโอวาท ก่อนที่จะปรินิพาน ที่มอบไว้แด่ พระสาวกทั้งหลาย
มีหลักสำคัญอยู่เรื่องเดียว คือ ให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองอ่านจากลิงค์นี้ดูค่ะทุกท่าน ยิ้ม

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13819 สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2007, 11:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอกราบขอบพระคุณ ท่านกุหลาบสีชา

เหมือนเปิดโลกของข้าพเจ้า ให้สว่างไสว

จะไม่ขอลืมเลือนคำสอนเช่นนี้
.....................................................................
โดยขอสรุปย่อ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น คือ

1.เมื่อนิพพานแล้ว ยังคงต้องดำรงค์ เสาหลักปักให้มั่น ในการทำให้ "จิตว่างจากกิเลสทั้งปวง"
ตลอดไป จนกว่าสิ้นชีวิตไป (จิตว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ)
2.เมื่อนิพพานแล้ว จะไม่ทำกิเลส 9 สิ่งนี้ อีกต่อไป คือ
สี่สิ่งแรก คือ ศีลทั้ง4(ขั้นพระสงฆ์)
สิ่งที่หก คือ ไม่สะสมบริโภคกาม
อีก สี่สิ่ง สุดท้าย คือ ไม่ลำเอียงด้วยว่า โลภะ โทสะ โมหะ และ กลัว
9 = 414
.......................................................................
หมายเหตุ ศีลทั้ง4(ขั้นพระสงฆ์) ข้าพเจ้าให้ความหมายว่า ศีล4ข้อแรกนั้นแล โดยศีลข้อ3 เปลี่ยนเป็นไม่เสพเมถุน ซึ่งศีลข้อ 1 ถึง 4 ให้ถืออย่างเคร่งครัดตามแบบอย่างพระสงฆ์
.......................................................................
ซึ่งการ ไม่ทำกิเลส 9 สิ่งนั้น หมายถึง การไม่ทำผิดในศีล 227 ข้อ
กล่าวอีกความหมายหนึ่งคือ พยายามจัดกลุ่ม ในศีล227 ข้อ ให้เป็นกิเลส 9 สิ่งข้อ
.......................................................................
การอธิบายเช่นนี้ เพื่อชี้ให้ทราบถึง ทรัพย์หรือมรดก ที่ได้รับแล้ว จากพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ เป็นข้อห้าม นำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อง่ายต่อการอ้างอิงกิเลส 9 สิ่ง ง่ายต่อความเข้าใจต่อข้าพเจ้าและผู้อื่น

ว่า มีของ อยู่ติดกายแล้ว ไม่ทราบว่า มีแล้ว จึงใช้ไม่เป็น (เหมือนมีข้าวสารอยู่ในมือแล้ว แต่ไม่ทราบว่า ข้าวสารต่อไปเป็นข้าวสวย ได้อย่างไร)
........................................................................

โดยคำย่อรวมทั้งสิ้น คือ "ดำรงค์ไว้ซึ่งจิตว่างจากกิเลส" หรือ "ดำรงค์ไว้ซึ่งนิพพาน"

.........................................................................
ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นว่า การจำเพียงแต่คำย่อ เวลาล่วงเลยผ่านไปนานหลายเดือน ผู้อื่นได้รับฟัง จะไม่เข้าใจความหมายขยาย ดังนั้น จึงควรจำทั้งคำย่อ และ คำขยายความ เพื่อสร้างสมบูรณ์ สร้างความเข้าใจ ต่อคำย่อที่ตนเองจำได้
........................................................................
ขอท่านกุหลาบสีชา ให้คะแนน ความเข้าใจต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด ว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่

ขอขอบคุณมาล่วงหน้า ครับ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 2:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวว่า
ยินดีที่ได้สนทนาธรรมกับ ท่าน Bad&Good นะคะ ยิ้ม

แต่ต้องขอออกตัวไว้ ๒ ประเด็น ก่อนว่า

๑. หากจะขอขอบคุณข้าพเจ้าด้วยการกล่าวว่า

เป็นคำสอนที่ไม่ขอลืมเลือน นั้น

ข้าพเจ้าเองก็มิบังอาจหาญกล้ารับไว้ได้เลยค่ะ

เพราะทุกถ้อยคำที่ข้าพเจ้าเขียนไป
ล้วนเป็นพุทธวจนะของพระพุทธองค์
ที่ได้รับการถ่ายทอดและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฏกมานานแล้ว


ส่วนข้าพเจ้าเองก็เป็นเพียงผู้นำสารที่มีอยู่แล้วมาเผยแผ่ในนี้
ด้วยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่กัลยาณมิตรและผู้สนใจเท่านั้นค่ะ


๒. ข้าพเจ้ามิอาจให้คะแนนต่อความเข้าใจของท่านได้
เพราะข้าพเจ้าเป็นเพียง "น้ำครึ่งแก้ว" ที่ยังใคร่รู้ ใคร่ศึกษา
และใคร่ปฏิบัติ ธรรม ในระดับหนึ่งเท่านั้น
ยังมิอาจกล่าวได้ว่า รู้แจ้งแทงตลอดได้เลย

เมื่อเป็นเช่นนั้น
ข้าพเจ้าจึงมิอาจรู้ได้ว่า คะแนนเต็มแห่งความเข้าใจ
ควรเป็น ๑๐ หรือ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ ฯลฯ
และเมื่อข้าพเจ้ายังไม่อาจรู้คะแนนเต็มส่วน
แล้วข้าพเจ้าจะบังอาจรู้ได้อย่างไรว่า
ท่านควรได้รับคะแนนจากคะแนนเต็มส่วนนั้นเท่าใด...จริงมั้ยคะ

แต่....
ข้าพเจ้าเชื่อว่าทั้งท่านและข้าพเจ้า

เราสามารถแลกเปลี่ยนทัศนะ หรือ ความเห็น
ที่มีต่อเรื่องดังกล่าวได้


โดยอาศัยกรอบแห่งภาษา หรือ "บัญญัติ"
(ซึ่งยังจำเป็นอยู่เหมือนกัน..ขณะนี้ เพราะยังต้องสื่อสารเพื่อให้เข้าใจ)
ประกอบกับบริบทอื่นๆที่ควรนำมาพิจารณา
บนพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจา
และปราศจากโมหะคติใดใด...ได้

ข้าพเจ้าเชื่อเช่นนั้น

และขอชื่นชมท่าน
ที่มีวิธีอธิบายความเข้าใจของตนเองในเรื่องเชิงสังเคราะห์ (แยกแยะ)
และวิเคราะห์ (มองแบบบูรณาการ) ได้เยี่ยมยอดมากนะคะ สู้ สู้

การสังเคราะห์

1.เมื่อนิพพานแล้ว ยังคงต้องดำรงค์ เสาหลักปักให้มั่น ในการทำให้ "จิตว่างจากกิเลสทั้งปวง"
ตลอดไป จนกว่าสิ้นชีวิตไป (จิตว่างจาก โลภะ โทสะ โมหะ)
2.เมื่อนิพพานแล้ว จะไม่ทำกิเลส 9 สิ่งนี้ อีกต่อไป คือ
สี่สิ่งแรก คือ ศีลทั้ง4(ขั้นพระสงฆ์)
สิ่งที่หก คือ ไม่สะสมบริโภคกาม
อีก สี่สิ่ง สุดท้าย คือ ไม่ลำเอียงด้วยว่า โลภะ โทสะ โมหะ และ กลัว
9 = 414


การวิเคราะห์

ซึ่งการ ไม่ทำกิเลส 9 สิ่งนั้น หมายถึง การไม่ทำผิดในศีล 227 ข้อ
กล่าวอีกความหมายหนึ่งคือ พยายามจัดกลุ่ม ในศีล227 ข้อ ให้เป็นกิเลส 9 สิ่งข้อ


อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่า

ศีลทุกระดับ ไม่ว่าหยาบ กลาง ละเอียด (๕,๘ หรือ ๑๐ ,๒๒๗)
ล้วนเป็นไปเพื่อป้องกัน การไม่กระทำบาปทั้งปวง

และเป็นไปเพื่อส่งเสริม สนับสนุน
การยังกุศลให้ถึงพร้อม และการชำระจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ
ด้วยกันทั้งสิ้น


ขึ้นอยู่กับบุคคลผู้นั้นอยู่ในฐานะใด เช่นฆราวาส หรือ บรรพชิต
และพร้อมที่จะ ลด ละได้มากน้อยเพียงใด

เช่นเดียวกันกับที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เรื่อง

สิ่ง ๙ ประการที่พระอรหันต์ไม่ควรล่วง
ไม่ควร กับ ไม่เป็นไปได้

(อภพฺโพ = ความหมายตามรูปศัพท์เดิมต้องแปลว่า ไม่ควร
แต่หากแปลเช่นนี้ จะไม่เกิดความชัดเจน ผู้แปลและเรียบเรียงพระไตรปิฏกท่านจึงใช้คำว่า
ไม่เป็นไปได้แทน เพื่อความหมายที่แจ่มชัดกว่า)


ฉะนั้น ตรงนี้เองข้าพเจ้ามองว่า
คือมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับของการตีความตาม"นัยยะ"แตกต่างกันไป
และทำให้เกิดเหตุแห่งความสงสัยของท่านขึ้น ใช่หรือไม่คะ

ไม่ควร กับ ไม่เป็นไปได้

แต่....ในเมื่อพิจารณาว่า
พระอรหันต์ท่านเป็นผู้สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุให้ไว้ในภพแล้ว
หรือ ว่างจากกิเลสแล้วไซร้

ฉะนั้นจึง ไม่เป็นไปได้

หรือแปลภาษาชาวบ้านเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น คือ เป็นไปไม่ได้
ที่จะก้าวล่วงฐานะ ทั้ง ๙ ประการดังกล่าว

ส่วน ๔ ข้อหลัง คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกลัว
เมื่อเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ปิดบัง "ปัญญา" เมื่อนั้น

แต่พระอรหันต์ท่านบรรลุ โลกุตตรธรรม สูงสุดแล้ว
เป็นการดับกิเลส หลุดพ้นอย่างสมบูรณ์สิ้นเชิง
เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาทางธรรมอันสูงสุดแล้ว


ฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลอันสมควรแท้...ที่

ไม่เป็นไปได้ที่ท่านจะถึงความละเอียงเพราะรัก

ไม่เป็นได้ที่จะถึงความละเอียงเพราะชัง

ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะหลง

และไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะกลัว


เพราะสังโยชน์ ๑๐ ถูกละทิ้งไปอย่างเด็ดขาดแล้ว

เฉกเช่น ข้าวสารที่ผ่านกระบวนการหุงต้มด้วยน้ำ
และความร้อนจนเดือดแล้วฉันใด
ย่อมแปรสภาพเป็นข้าวสวยหอมกรุ่น
และไม่มีวันแปรสภาพกลับคืนสู่ความเป็นข้าวสารดังเดิม
ฉันใดก็ฉันนั้น...(ต่างหาก) ค่ะ
ยิ้มเห็นฟัน

ความเห็นของข้าพเจ้าก็มีดังที่กล่าวมานี้ค่ะ

ซึ่งหากยังไม่ถูกต้อง หรือถูกใจท่าน Bad & Good
หรือผู้รู้ (กว่า) ท่านอื่นๆ
ข้าพเจ้าก็พร้อมน้อมรับฟังในโอกาสต่อไปค่ะยิ้ม

เจริญในธรรมนะคะ ท่าน Bad&Good สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 7:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
.............................
ข้าพเจ้า เหมือนจะเอาเปรียบผู้ใฝ่ธรรมอยู่มาก

เพราะทราบว่าตนเองมีความรู้น้อย จึงต้องพึ่ง "พจนานุกรมมีชีวิต" (หรือ ดิกเคลื่อนที่ ตามภาษาชาวบ้าน) ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจได้เร็วกว่า การเปิดอ่านหนังสือ

พจนานุกกรม นี้คือ ข้าพเจ้า หมายถึง พระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีแล้ว ปฎิบัติชอบแล้ว (หมายถึง พุทธบริษัท คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ เรียงกันได้ 8 บุรุษ ตามคำสวดมนต์) ซึ่งเป็นผู้อธิบาย พุทธธรรม ได้อย่างดีกว่า ง่ายกว่า พระธรรม (ซึ่งเป็นหลักฐานอ้างอิง แต่อธิบายวิธีการเลือกใช้ ตามแต่บุคคล ไม่ได้ง่ายนัก)

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงถือเป็นที่พึ่งอันเกษม ที่ควรนับถือ และศรัทธา
..............................

ยิ่งฟังแล้ว ยิ่งสว่างขึ้น อิ่มใจมากขึ้น แม้นยังไปไม่ถึงฝั่งนิพพาน

.............................
"ภาษา"
เป็นเครื่องกั้น ความเข้าใจกัน อย่างหนึ่ง
ยุคสมัย เมื่อผ่านไปนานหลายทศวรรษ
ความหมายย่อมเปลี่ยนไป จากตีความ คิดเอา ทำเอา เชิงนักภาษาศาสตร์ เชิงนักวิชาการ (คือไม่ยอมปฎิบัติเสียที)
จึงถือว่า ผู้นั้น ยังเสียเวลา เดินวนเวียนไปมา ติดอยู่ในเครื่องกั้นบางอย่าง

("ภาษาต่างประเทศ" จึงเป็นปัญหาอย่างมาก ในการสื่อ เช่นกัน)
...............................................
จนบางครั้ง ผู้ปฎิบัติเดินผ่านเส้นชัยไปแล้ว ก็ยังไม่ทราบว่า ถึงแล้ว ก็เดินย้อนกลับไประหว่างทางอยู่มาก ก็มี
คำถาม ในหัวข้อกระทู้ นี้ จึงได้เกิดขึ้นต่อข้าพเจ้า
บัดนี้ ข้าพเจ้าพอจะเข้าใจได้แล้ว จึงขอนำบันทึกเหล่านี้ ให้ได้จำ เป็น "สัญญา" เพื่อพร้อมที่จะปล่อยวาง ยามเมื่อจบชีวิตนี้ไป
...............................................
"ความเอาชนะกัน โต้คารมณ์กัน เพื่อถือความความเป็นเลิศของตนเอง เป็นใหญ่"
จนลืมคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับคำว่า กิเลส
แม้นไม่ใช่เงินทอง ของมีค่า ก็ทำให้ผู้เป็นเช่นนั้น หลงอยู่กับมันได้ (โมหะ)
..............................................
พุทธธรรม เมื่อถึงขั้นสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นเรื่องของ ธรรมชาติมนุษย์
จำต้องคิดง่าย ๆ ทำง่าย ๆ ในเงื่อนไของค์ความรู้ใหม่ ซึ่งไม่ได้มีอะไรที่เป็นอิทธิฤทธิ์ ปาติหารย์

แต่การจะทำให้เข้าใจแบบนี้ได้ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ พุทธธรรม อย่างมาก เพราะภาษาที่ฟัง ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ทราบเบื้องหลัง คำขยายความเป็นหนังสือหลายเล่ม ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ วิเคราะห์ ปะหนึ่งว่า เรียนจบการศึกษาแล้ว เช่นนั้น
................................................

ท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณอีกครั้ง ขอบคุณ ขอบคุณ ท่านกุหลาบสีชา ที่ได้ให้ความกระจ่าง ถือเป็นภาษา สำนวน ท่วงทำนอง พริ้วเป็นสายน้ำ เย็นตา เย็นใจ
................................................
ข้าพเจ้า ขอจบการแสดงความเห็น ในหัวข้อนี้
สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 12:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แต่พระอรหันต์ท่านบรรลุ โลกุตตรธรรม สูงสุดแล้ว
เป็นการดับกิเลส หลุดพ้นอย่างสมบูรณ์สิ้นเชิง
เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญาทางธรรมอันสูงสุดแล้ว

ฉะนั้น จึงเป็นเหตุผลอันสมควรแท้...ที่

ไม่เป็นไปได้ที่ท่านจะถึงความละเอียงเพราะรัก

ไม่เป็นได้ที่จะถึงความละเอียงเพราะชัง

ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะหลง

และไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะกลัว

เพราะสังโยชน์ ๑๐ ถูกละทิ้งไปอย่างเด็ดขาดแล้ว

เฉกเช่น ข้าวสารที่ผ่านกระบวนการหุงต้มด้วยน้ำ
และความร้อนจนเดือดแล้วฉันใด
ย่อมแปรสภาพเป็นข้าวสวยหอมกรุ่น
และไม่มีวันแปรสภาพกลับคืนสู่ความเป็นข้าวสารดังเดิม
ฉันใดก็ฉันนั้น...(ต่างหาก) ค่ะ

ตามมาอ่าน ชอบมากค่ะ ขอให้เจริญในธรรมค่ะ ซึ้ง สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง