Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอน้อบน้อม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.......... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 9:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...........ทูรํ คมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ............

...........เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสญฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.......

ผู้ใดจักสำรวมระวังจิต ที่ท่องไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำ

คือกายนี้ เป็นที่อาศัย ผู้นั้นจะพ้นบ่วงแห่งมาร.





 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 10:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

>>ธรรมชาติ รู้ อย่างหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตนเราเขา มีขื่อเรียก ได้หลายชื่อ มี จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ วิญญาณํ มนํ

>>เรียกตามหน้าที ที่จิตไปรับรุ้อารมณ์ทางทวาร 6

>>ท่านเปรียบการรับรุ้นั้น เหมือน แม่ทัพนายกอง ถ้าทำหน้าทีในสนามรบก้เรียกอีกอย่าง พออยุ่บ้านกะครอบครัวก็เรีอกอีกอย่าง ฯลฯ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากเวบ บุดเปจ



ขอเน้นว่า การเจริญสตินั้น ต้องๆ ต้องมีคำบริกรรมตามกัมมัฏฐานที่เรา ถนัด

(สติปัฏฐานจะเกิดได้ต้องมีการภาวนา)

จะภาวนาว่า....



พุทโธ ธัมโม สังโฆ ฯลฯ (ท่องในใจ)

>>แต่ที่รู้กันโดยทั่วไปได้แก่ พอง-หนอ ยุบ-หนอ พุท-โธ



บริกรรมเพิ่ยงเท่านี้ก็เป็นสมถะทั้งสอง จนกว่า จะถึง อุทยพพยญาณ

อุทย+วย+ญาน= ปัญญาเห็นการเกิด และการดับไปของนาม-รูป
 
มาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..สาธุ.. ...



.. ..
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

และการทำทีให้สติปัฏฐานเกิด ต้องบริกรรมภาวนา ให้ครบทุกข้อในขณะ นั้นๆ เดี๋ยวนั้น (ไม่ใช่ทำทีละอย่าง ทำทีละข้อ)



>>ตัวอย่าง เช่น เราบริกรรมด้วยวิธีใดตามถนัด ตามจริตของตน บริกรรมไป 100 หน 1000 หน ทำมาก ๆ

>>จะยกพอง-ยุบเป็นตัวอย่าง อย่างอื่น ๆ ก็ทำลักษณะนี้



>>เดินจงกรม 15 นาทีแล้ว (เดินจงกรมจะกล่าวตอนต่อไป)



>>กำหนดบริกรรมรูปนั่ง นั่งขัดสมาธิวางมือไว้บนตัก มือไหนทับมือไหน ไม่สำคัญตามสะดวก (หรือจะนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ท่านั่งท่าดังกล่าวไปถนัด) เลือกเอาท่าที่นั่งทนที่สุด และถูกสุขลักษณะที่สุด



มีต่อ









 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 6:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

>>เมื่อจัดท่านั่งได้เหมาะแล้ว หลับตาลงเบาๆ ถ้าพุท-โธ เอาสติมาแบบพุท-โธ



ถ้าพอง-ยุบ เอาสติมาจับที่อาการท้องพอง ท้องยุบ เป็นหลัก



>>หายใจเข้าท้องพองบริกรรมว่า พอง.......(สุดพอง) หนอ ท้องยุบลง เอาสติตามยุบไป ภาวนาในใจว่า ยุบ......(สุดยุบ) หนอ ทำไปเรื่อยๆ



>>ขณะกำลังบริกรรมพอง-หนอ ยุบ-หนอ อยุ่นั้น เกิดฟุ่งซ่านขึ้นมา ปล่อยอารมณ์คือพอง-ยุบก่อน



>เปลี่ยนมาเอาความฟุ่งซ่านเป็นอารมณ์บริกรรมแทน ว่า ฟุ้งซ่านหนอๆ ๆ ๆ ทำไปจนมันหาย ถ้าไม่หายเดี๋ยวนั้น พอจาง ๆ ลง ก็ปล่อย ไปเกาะ อารมณ์หลัก คือพอง-ยุบ ภาวนาไปตามเดิม พอง-หนอ ยุบ-หนอ ไปเรือยๆ (เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีความฟุ่งซ่าน (ธรรมะ) เป็นอารมณ์ตอนนั้น)



มีต่อ

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

......บริกรรมพอง-หนอ ยุบ-หนอ ไปเรือย ๆเหมือนก่อน



>>เกิดปวดขาขึ้นมา รู้ตัว ละจากอารมณ์หลัก (พองยุบ) ก่อนไปเกาะอาการปวดเป็นอารมณ์ภาวนาต่อ ว่า ปวดหนอ ๆ ๆ ๆ จนหายไปหรือจางลง กลับไปที่เก่า คือพอง-ยุบ ภาวนาในใจว่า พอง-หนอ ยุบ-หนอ ต่อไปเหมือนก่อน (เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน = มีทุกขเวทนาเป็นอารมณ์)



>ภาวนาอารมณ์หลักต่อไป พอง-หนอ ยุบ-หนอ ๆ ๆ ไปเรือยๆ



.>ความคิดมันแว๊บไปนอกอารมณ์หลัก รู้ตัว ว่า คิด บริกรรมภาวนาว่า คิดหนอๆ ๆ ความคิดจาง หรือหายไป กลับมาที่เดิม พอง-หนอ ยุบ-หนอ ต่อไป

(เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน= มีความคิด (จิต) เป็นอารมณ์)



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 7:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บริกรรมภาวนาต่อไป



พองหนอ-ยุบ-หนอ ไปเรือยๆ เอาความรู้สึกตัว เกาะไว้ กะท้องพอง ท้องยุบ (เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน= มีกายเป็นอารมณ์ )



เป็นอันว่า ขณะที่นั่งบริกรรมนี่ จะกี่นาทีก็ตาม ภาวนา (เจริญ) สติปัฏฐนเกิดได้ครบ

.....อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นจำเพาะหน้า พระโยคีฉวยเอาอารมณ์นั้นๆ มาบริกรรม ทำไป 100 หน 1000 หน เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี



>>ขนาดนี้ก็ยังเป็นสมถะไม่ว่า จะใช้วิธีใด ๆ



......พระโยคีทำไปเนือง ๆ เมือองค์ธรรม 5 คือ อินทรีย์ 5 ได้แก่ 1 สัทธินทรีย์ 2 วิริยินทรีย์ 3 สตินทรีย์ 4 สมาธินทรีย์ 5 ปัญญินทรีย์ แก่กล้าขึ้นตามลำดับก็....



หมายเหตุ......การดูตามดูรู้ทันกาย มีอิริยาบท 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

อิริยาบทย่อย ๆ ไม่ว่าจะคู้แขน เข้า เหยี่ยดออก เคลือนไหวกายไปที่ใดๆ เป็นกายานุปัสสนาหมด



มีต่อ

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 7:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ทีทำแบบพุท-โธ ก็ใช้ภาวนาสติปัฏฐานได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่จุดกำหนดรู้ลมเท่านั้นต่างกัน



.....กัมมัฏฐานมี 2 คือ

........1 สมถกัมมัฏฐาน

........2 วิปัสสนากัมมัฏฐาน



ถามว่า จะรู้ได้อย่างไร ว่าตรงไหน เป็นสมถะ ตรงไหนเป็นวิปัสสนา

รู้ได้

มีต่อ



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 7:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....รู้ได้เมือถึง อุทยัพพยญาน

อุทย= เกิด

วย= ความเสื่อม

ญาน= ปัญญา (เกิดจากภาวนา = ภาวนามยปัญญา)

= อุทยัพพยญาน ปัญญาซึ่งเห็นการเกิดดับของนาม-รูป



ถ้าไม่เห็นก็เป็นสมถะ

ไม่ว่าจะทำหรือบริกรรมด้วยอุบายใดๆ

มีต่อ
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 8:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำกัมมัฏฐานนั้น

ต้องประกอบด้วยการเดินจงกรม



จงกรม= คือ เดินกลับไปกลับมา

เช่นเดินสุดที่แล้วก็ค่อยๆหมุนตัวกลับมาทางเดิม

เดินกลับไปกลับอย่างนี้แหละเรียกว่าจงกรม



.>>การเดินจงกรมที่สมบูรณ์ต้องผูกสติไว้กับตัว ไว้กับการเคลื่อนไหว กายด้วย ไว้กับขาทีก้าวออกไป



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มี.ค.2005, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

......เดินจงกรม



เราได้สถานที่แล้ว เช่นในห้องนอน ฯลฯ เป็นต้น



ยืนเก็บมือไขว่หลังหรือเอามาประสานกันไว้ข้างหน้าก้อได้

ยืนตรงๆ ใช้ความรู้สึกดูรูปยืน ภาวนาในใจว่า ยืนหนอ ๆๆๆ สำรวจดูให้เห็นรูปยืน คิดจะออกเดินภาวนาที่ความรู้สึก รู้หนอ ๆ จะก้าวขาไหนรู้ เช่นขาซ้าย ก็ซ้าย- ย่าง-หนอ ...ซ้าย (ยก ขึ้น).....ย่าง....(ก้าวเดิน)....หนอ ....(ถึงพื้น) เหมือนเดินปกติ ขวา ย่าง หนอ ก็ทำแบบขาซ้าย ผู้สติให้เกาะอยู่กะขาซ้าย ขาขวา ทุกย่างก้าว.



.....

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 8:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

..........การเดินจงกรม



จงกรม = คือการเดินกลับไปกลับมา

....เดินอย่างผูกความรู้สึกไว้การเดินนั้น ๆ อิริยาบท 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และอิริยาบทย่อย ได้แก่การเคลื่อนไหวกายต่าง ๆ



.....อานิสงส์ (ผล) การเดินจงกรม มี 5 อย่าง (ค้นดูเองในเวบที่เกี่ยวกะศาสนาน่าจะมี)

....แต่บอกให้อย่าง 1 คือ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อาพาธน้อย...



.....เมือได้พี้นที่เดิน เช่นในห้องหรือมุมไหน ๆ ของบ้านก็ได้

.....เก็บมือโดยไขว่ไว้ข้างหลัง หรือ ประสานไว้ข้างหน้าก็ได้ เอาความรู้สึกดูอาการยืนนั้น ภาวนาในใจว่า ยืนหนอๆๆ คิด อยากเดินก็ภาวนาว่า รู้หนอๆๆๆ จะก้าวขาไหนอออก ก็ รู้หนอๆๆ





.....
 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 1:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





....ต่อการเดินจงกรม



จงกรม = คือการเดินกลับไปกลับมา



>...เดินโดยผูกความารู้สึกไว้กับอาการเดินนั้น ๆ

อานิสงส์การเดิน จงกรม มี 5 อย่าง



>(มีอะไรบ้างหาดูเองตามเวบที่เกี่ยวกะศาสนาโดยทั่วไป)

>บอกให้อย่าง 1 คือ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อาพาธน้อย ฯลฯ

...เมื่อได้พื้นที่ในบ้านนั่นแหละพอสควร ยืนตัวตรง เก็บมือโดยไขว่มือไว้ข้างหลังหรือ ประสานไว้หน้าก็ได้ บริกรรมในใจว่า ยืนหนอๆๆๆ คิดเดินจะเอาขาข้างใดออกก่อน ก็ว่า รู้หนอ ๆๆ ก่อนจึงค่อยเดิน

>ซ้าย ย่าง หนอ (ซ้าย เอาสติไว้ทีขา ซ้าย, ย่าง กำลังก้าวไป หนอ วางถึงพื้น เกินตามปกตินั่นแหละ )

> ขวา ย่าง หนอ ก็ลักษณ์เดียวกัน เดินไปสุดที่แล้ว คิด หยุด ก็รู้หนอๆ ๆ ก่อน หยุดเดิน ภาวนารูปยืน เหมือนทีผ่านมา หมุนตัวกลับหลัง ช้า ๆ

> ภาวนาว่า กลับหนอ ๆ หมุน ตัวไปภาวนาไป กลับหนอ ๆ ตรงทางเดินแล้ว ก็ภาวนาเหมือนเดินมาถึงจุดนี้ ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ ไปสุดทีก็ปฏิบัติเหมือนเดิม เดินกลับไปกลับมาอย่างนี้ เรียกว่า เดินจงกรม

> เมือเดินครบเวลาทีกะไว้แล้ว เช่น 15 นาที จึงนั่งบริกรรมภาวนา เหมือนวิธีดังกล่าวมาแล้ว



มีต่อ

























 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ.

....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิด (เพราะ) ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว

(สมาธิ) ย่อมรู้ตามความเป็นจริง.

> มีสมาธิมี 2 อย่างคือ

>1 ขณิกสมาธิ

>2 อัปนาสมาธิ



>อัปปนาสมาธินั้น ท่านว่า เป็นสมาธิทีลึก มีตัวอย่างเช่น ฤาษี เข้าอัปปนาสมาธิ นี้แล้ว ขับเกวียนผ่าน 500 เล่มก็ไม่ได้ยิน



>แต่สมาธิที่กำลังเจริญนี้เป็นขณิกสมาธิ เพือให้เป็นบาทของวิปัสสนา เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว จะรู้ความจริงไม่ได้ดังพุทธภาษิตนั้น เพราะในองค์ธรรมะ 5 ซึ่งเป็นองค์ธรรม ของโพธิปักขิยธรรม 37 ก็มีสมาธิอยู่ด้วย เป็นสมาธิตัวนี้ ดู องค์ธรรม 5 มี สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรมะ 5 นี้ พละก็ก็ได้ เป็น อินทรีย์



.....อย่าได้กลัวว่าทำอย่างนี้ (บริกรรมภาวนา) แล้วจะเป็นการทำสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนา

>กล่าวไว้ต้นๆ แล้วว่า จะทำโดยวิธีใดก็ตาม ถ้าไปไม่ถึง อุทยพพยญาน แล้วก็เป็นสมถะหมด

>หรือทำแบบว่า นั่งดูเฉย ๆ ไม่บริกรรมอย่างใด (โดยเข้าใจว่าเป็นวิปัสสนา) ถ้ายังไม่ อุทยพพยญาน ก็ไม่เป็นวิปัสสนา



มีต่อ

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 2:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....ขออภัยที่ทำให้สับสน เรื่องเดินจงกรมเพราะความไม่รู้...เอง



หน้า1 โพสถึงหน้า 10 พิมพ์โพสใหม่ ไม่เห็นต่อ 11 นึกว่า ไม่ขึ้นให้เรา จึงไปตั้งกระทู้ใหม่เป็น....2

กลับมาสังเกตอีกที่....เห็นหน้า 2 พอตามไปดูไปขึ้นให้เราอยุ่นั่น

เป็นอันว่า เดินจงกรม ก็เป็นอย่างที่ขึ้นไว้ ความเห็นและจะได้ไปต่อไป คงจะต่อตรงนี้เลยไม่ไป.....2 แล้ว จะได้อยุ่เป็นกลุ่มเดียวกัน....



 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 2:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.....ควรรุ้จักเวทนา 3 นิวรณ์ 5 ด้วย เพราะผู้ทำกัมมัฏฐานต้องพบแน่ ๆ เมื่อกำลังผจญกะมัน....จะได้ไม่ตกใจ

..และแก้ได้ด้วยตนเอง

>เมื่อกำลังนั่งก็ดี เดินก็ตาม เวทนา 3 อย่างใดอย่างหนึ่งเกิด ต้องบริกรรมทันทีที่รู้ตัว

เวทนา 3 คือ 1 สุขเวทนา 2 ทุกขเวทนา 3 อุเบกขาเวทนา

รู้สึกว่า สุขสบายเกิดขึ้น บริกรรมในว่า สุข หนอ ๆ ๆ 3-4 ครั้ง แล้วกลับไปที่อารมณ์หลักตามที่กล่าวมมาแล้ว

> ทุกข์ / เฉย ๆ ก็เช่นกัน ทำตามแบบสุขเวทนา ฯลฯ บริกรรมตามความรู้สึก



...นิวรณ์ 5 มี คือ

1 กามฉันทนิวรณ์ 2 พยาปาทนิวรณ์ 3 ถีนมิทธนิวรณ์ 4 อุทธัจจะกุกกุจนิวรณ์ 5 วิจิกิจฉานิวรณ์

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้นหรือเครืองขัดขวางจิตไม่ให้ถึงคุณธรรม







 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 2:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กามฉันทะ= ยินดีพอใจในอิฏฐารมณ์

กาม ตัวนี้ มีความหมายกว้างกว่า ....ที่คิด รวมไปถึงความกำนัดยินดี ในอารมณ์ 6 ที่ผ่านมาด้วย มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์ (ความตรึกทางใจ)

>นั่งบริกรรมไป 100 หน พันหน เห็นอะไรแว็บ ขึ้น ต้องบริกรรมว่า เห็นหนอ ๆ ๆ

> ได้ยินเสียงที่มากระทบหู จิตไปเกาะกะเสียงนั้น บริกรรมว่า เสียงหนอ ๆ ๆ ได้กลิ่น อะไร ก็กลิ่นหนอ ๆ ๆ หอม ก็ หอมหนอๆๆ เหม็น ก็ เหม็นหนอ ๆ ๆ

อย่างนี้เป็นตัวอย่าง



ในขณะที่กำลังบริกรรมอยุ่นั้น โพธิปักขิยธรรม ก็เกิดตามสมควรแก่การบริกรรม (การบริกรรมเท่าเจริญสติทุกครั้ง)

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

>ผู้เจริญด้วยวิธี พุท-โธ หรือด้วยวิธีใดก็ตาม ถ้าปรารถนาให้ สติปัฏฐานเกิดทุกข้อ (ครบ) ต้องทำแบบทีกล่าวนี้

> หากทำมุ่งไปอย่างเดียวก็เป็นสมถะแน่ ๆ

...ทำให้มาก เป็นวัน ๆ ละ หลาย ๆ ช.ม. เป็นเดือน ๆ แล้ว องค์ธรรมเป็นเครื่องแทงตลอด หรือองค์ธรรมเป็นเหตุรู้ จะรวมตัวกันเป็นหนึ่ง ผู้....จะก้าวเข้าสู่วิปัสสนาญาน.

>วิปัสสนาญาน = ปัญญาเห็นการเกิด- ดับของนามรูป

> วิ+ปสฺส+ยุ= อน

 
จันทโชต
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2005, 6:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

....เมือปฏิบัติตามที่บอกมา (สังเกตตนเอง) ว่าหลงลืมน้อยลงแล้ว บริกรรมต่าง ๆ ได้ชัดเจนพอประมาณแล้ว ขยับการนั่งและเดินขึ้นไปอีก 5 นาที เป็น 20 นาที คือ เดินภาวนา 20 นาที นั่งบริกรรมภาวนา 20 นาที



>>เท่ากับ เพื่ม อินทรีย์ เพืมพละธรรม



>>เป็นการปรับอินทรีย์ด้วย

ปรับอินทรีย์คือองค์ธรรมซึ่งเป็นอินทรีย์ 5 ที่กล่าวมาแล้ว ให้เท่าๆ กันมีวิธี



สัทธินทรีย์ + ปัญญินทรีย์ วิริยินทรีย์ + สมาธินทรีย์ สตินทรีย์ เจริญมากเท่าไรยิ่งดี



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง