ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
04 ส.ค. 2008, 12:35 pm |
  |
กระผมขออนุญาตินำความลับของฟ้ามาเป็นกระทู้ก่อนครับ รอมานานเห็นเงียบๆไป.....ความลับของฟ้าคืออะไรใน ๕ สายนี้
อ้างอิงจาก: |
มี
1. พุทโธ
2. ดูจิต
3. พอง-ยุบ ฯลฯ
4. คิดแยกแยะรูป-นาม เช่น ทำความรู้สึก ว่าทางตาเห็นรูป
ว่า ทำในใจว่า เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม ฯลฯ
5. ท่องชื่อพระเจ้าหรือศาสดาของศานาต่างๆ ...ของ อ. พลศักดิ์ |
กระผมไม่คิดจะล่วงเกินใดๆต่อแนวทางดังกล่าวครับ แต่อยากทราบว่า
ความลับของแต่ละวิธี...ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นนั้นเป็นอย่างไร
กราบอนุโมทนาอาจารย์และพี่ๆทุกท่านครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
04 ส.ค. 2008, 1:01 pm |
  |
- เหมือนกันหมด ถ้าไม่นับข้อ 5
ค่อยๆศึกษาไปให้ทั่วๆ สำคัญคือต้องลงมือปฏิบัติ
อย่าเร่งร้อน เหมือนต่อ jigzaw เย้นๆ หวานๆ
- ส่วนความลับของฟ้า ต้องถามผู้กำกับหนังจีนนะคับ
พี่รู้จักแต่ฟ้าเหลือง 555 |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ส.ค. 2008, 1:06 pm |
  |
ไหนๆคุณฌานก็ถามหาความลับของฟ้าแล้ว
มีอีกที่ใช้กันอยู่ตามเว็บธรรมะ
หากมีผู้ใช้คำบริกรรมทั้งหมดดังกล่าว คุยกันเถอะครับ
ชำระทิฐิและอัตตา ไม่พึงคิดหรือมองว่าทะเลาะกัน
ต่อจาก 5 ข้อดังนี้
-นะมะพะธะ
-เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ
-ภาวนา พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
- นโม 3 จบ
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ อิติปิโส 3 จบ
แล้วท่อง ว่า สมฺปฏิจฺฉามิ
-นับลมหายใจ
-สัมมา อะระหัง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 8:37 am |
  |
อาจารย์ครับ เห็นด้วยไหมครับว่าพวกใช้คำบริกรรมน่าจัดอยู่แนวเดียวกัน
เป็นหนึ่งกลุ่ม  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 10:20 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
อาจารย์ครับ เห็นด้วยไหมครับว่าพวกใช้คำบริกรรมน่าจัดอยู่แนวเดียวกัน
เป็นหนึ่งกลุ่ม |
ถามได้ตรงใจคิดพอกะว่าจะโพสต์เปิดประเด็นนี้แหละ
คำบริกรรมทั้งหมดรวมทั้งที่คุณพลศักดิ์กล่าวนั้นด้วย แต่ไม่ต้องยาวถึง
ขนาดนั้นก็ได้
รวมผู้สวดมนต์อื่นๆด้วย คำบริกรรมภาวนาเหล่านั้น ล้วนเหนี่ยวนำให้
จิตเกิดสมาธิได้เร็วด้วยกันทั้งสิ้น
แต่ที่เกิดปัญหาหรือเกิดคำถามขึ้นมากมาย นั่นก็คือเมื่อนามธรรมรวมๆ
เป็นกลุ่ม- (เรียกงี้บ้างเพื่อจะได้งง) เพราะสมาธิ อรรถกถาท่าน
เปรียบเหมือนน้ำที่ผสมแป้ง ทำให้แป้งรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
สมาธิเกิดก็รวมสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้เป็นกลุ่มไม่ฟุ้ง
กระจาย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 11:11 am |
  |
การภาวนา จะใช้คำไหนก็ได้
แต่ต้องไม่ใช่คำที่ทำให้ขุ่นมัว เช่น "หิวโว๊ย" ไม่ได้
่ต้องใช้คำกลางๆ ไม่ส่อไปในทางคิดอกุศล หรือชวนให้คิด
เช่นถ้าเราภาวนาว่า .."โดเรมอน" ในนิมิตก็อาจจะมีโดเรมอน
คำว่า พุทโธ ลงตัวที่สุดแล้ว
เพราะคำว่าพุทธโธ ยังไม่มีภาพที่ชัดเจน จึงไม่เป้นการล่อลวงจิตให้คิด
หรือถ้าจะมีภาพ คำว่าพุทโธก็ให้ภาพที่ดี
พุืธโธ ทำให้คนเห็นพระพุทธรูปบ้าง ซึ่งเห็นแล้วเป็นไปในทางดี
สรุปแล้ว
การใช้คำไหนดี ไม่ใช่ประเด็นต้องคิด เสียเวลา ไร้สาระ
ใช้พุทโธน่ะ ดีแล้ว
|
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 1:50 pm |
  |
ขอยืมห้อง (กระทู้) คุณฌานสนทนาแลกเปลี่ยนธรรมปฏิบัติกับคุณ
guest คุณคามิน และคุณโปเต้หน่อยนะครับ คุณจะร่วมแจมด้วยก็
ได้  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 1:52 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน
เพราะ สภาวะธรรมใน สติปัฏฐาน ๔ รวดเร็วมาก
สติแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ตามรู้ได้ไม่ทัน
ต้องเป็นสติที่มีกำลังในระดับหนึ่ง
ตัวอย่าง การตั้งสติตัวอย่าง ๑
ที่ควรยกขึ้นพิจารณา คือ อานาปานสติสูตร
หากพิจารณาให้ถ่องแท้ จะเห็นกระบวนการในการสร้างสติ
ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
Guest : 05 สิงหาคม 2008, 9:07 |
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 1:53 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
อ้างอิงจาก:
การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน
ฯลฯ
ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
guest: 05 สิงหาคม 2008, 9:07 am
ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
คงไม่มั่งครับ คุณ guest
ที่นี่ =>
http://larndham.net/index.php?showforum=14
ก็สอนสติปัฏฐา มีกระดานสติปัฏฐาน
นำสติปัฏฐานขึ้นอ้างอิงทุกครั้ง กล่าวถึงมรรค 8 บ่อยๆ
กรัชกาย : 05 สิงหาคม 2008, 10:42 am |
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 1:53 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
มนุษย์เกิดมามีกายมีใจทุกคน ไม่งั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสทางพ้นทุกข์
เช่น พุทธพจน์
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อข้ามพ้นความโศก และความร่ำไรรำพัน เพื่อความดับไปแห่งทุกข์
และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ
สติปัฏฐาน 4
สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ
หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง
หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)
2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)
3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)
4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)
พระพุทธเจ้าสอนตรงๆ มาที่ตัวคน แต่เราอาจมองไกลเกินไป หรือ
ปฏิบัติพลาดกระมัง
กรัชกาย : 05 สิงหาคม 2008, 10:48 am |
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 1:54 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ลมหายใจอยู่ที่กายครับ
ไม่ได้อยู่ไกลจากกายจากใจเลยครับ
ขอ คุณกรัชกาย โปรดทำความเข้าใจในอานาปานสติสูตรก่อนครับ
เพราะ ผู้ที่จะถึงมรรคถึงผลได้ ต้องเดินผ่าน สติปัฏฐาน ๔ นี้ทั้งนั้นครับ ข้ามสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้เลยครับ
แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร
ผมจึงเรียนคุณกรัชกายว่า ตัวอย่าง ๑ ที่ จะตั้งสติ
เพื่อไปยังสติปัฏฐาน ๔ ได้
ควรศึกษา "อานาปานสติสูตร"
เมื่อเข้าใจ "อานาปานสติสูตร" ดีแล้ว
"วิธีการตั้งสติ" แบบอื่น ๆ ก็ถือเป็น "ปริยาย"
Guest : 05 สิงหาคม 2008, 11:03 am |
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 2:05 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
เพราะ ผู้ที่จะถึงมรรคถึงผลได้ ต้องเดินผ่าน สติปัฏฐาน ๔ นี้ทั้งนั้นครับ
ข้ามสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้เลยครับ
แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร |
แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร
สงสัยเราจะเข้าใจ คำว่า สติปัฏฐาน ไม่ตรงกันเสียกระมังครับ คุณ guest
เพื่อความเข้าใจตรงกัน เอาเป็นว่า ตอนนี้ทำความเข้าใจประเด็นนี้ให้
ตรงกันก่อน ขอคำอธิบาย สติปัฏฐาน จากคุณ guest คร่าวๆครับ
สติปัฏฐานในความเข้าใจของคุณ เป็นไงครับ  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 6:44 pm |
  |
ตั้งสติอยู่กับลมหายใจเรียก "อานาปานสติ"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์" |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 7:02 pm |
  |
ขออนุญาต คุณฌาณ ใช้พื้นที่ครับ
เพราะเดี๋ยวเรื่องของ
อานาปานสติ
พุทโธ
พองยุบ
แยกแยะรูปนาม
ท่องชื่อศาสดา ของ อ.พลศักดิ์
จะรวมเป็นเรื่องเดียวกันครับ
คุณกรัชกายเลือก ห้องกระทู้ ได้เหมาะสมจริง ๆ ครับ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 7:09 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
ตั้งสติอยู่กับลมหายใจเรียก "อานาปานสติ" |
ขอทราบรายละเอียดการปฏิบัติ อานาปานสติ ที่คุณปฏิบัติหน่อยครับ
คุณปฏิบัติอานาปานสติอย่างไร ดูลมเข้าออกเฉยๆหรือเสริมคำภาวนา
ด้วย
สมมุติเวทนาเกิดคุณปฏิบัติต่อเวทนานั้นอย่างไร
ความคิดแวบออกนอกลมหายใจ คุณปฏิบัติต่อความคิดนั้นอย่างไร
สมมุติเกิดสงสัย เป็นต้นขึ้น คุณปฏิบัติต่อธัมมารมณ์นั้นอย่างไร
ขณะที่คุณกำลังอานาปานะอยู่ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 9:53 pm |
  |
คุณปฏิบัติอานาปานสติอย่างไร ดูลมเข้าออกเฉยๆหรือเสริมคำภาวนาด้วย
ผมดูลมหายใจเข้าออกพร้อมบริกรรมพุทโธ และเคยปฏิบัติกรรมฐานอื่นด้วย ได้แก่ กายคตาสติ พรหมวิหาร ๔ พุทโธ เพ่งกสิณ เช่น อาโป วาโย
สมมุติเวทนาเกิดคุณปฏิบัติต่อเวทนานั้นอย่างไร
ตามแต่เหตุการณ์จะมาสัมผัส เช่น
ดูลมหายใจต่อไป เมื่อจิตสงบพอสมควรเวทนาก็จะรู้สึกเพียงลาง ๆ
หรือบางครั้งเวทนาดับเพราะไม่รู้สึกว่ามีตัวตน เพราะจิตสงบมากขึ้น
หรือเพ่งที่เวทนาจะเห็นว่า เวทนา จิต กาย แยกเป็น ๓ ส่วน ต่างอันต่างอยู่
หรือ "ปัญญาอบรมสมาธิ" เช่น พิจารณาว่าถ้าเวทนากับจิตเป็นอันเดียวกัน แล้วคนตายทำไมถึงไม่มีเวทนา แสดงว่าเวทนากับจิตต่างอันต่างอยู่ต่างอันต่างจริง พิจารณาทำนองนี้ "แต่ต้องเป็นปัจจุบัน ณ ธรรม" จะปรากฎ ๒ ลักษณะคือ ๑.ความรู้สึกว่าตัวตนหายไปเวทนากายก็หายไปด้วย ๒.เวทนา จิต กาย แยกเป็น ๓ ส่วน ต่างอันต่างอยู่
ความคิดแวบออกนอกลมหายใจ คุณปฏิบัติต่อความคิดนั้นอย่างไร
ความคิดแวบออกแสดงว่าเผลอสติ ให้กลับมาที่ลมหายใจ
สมมุติเกิดสงสัย เป็นต้นขึ้น คุณปฏิบัติต่อธัมมารมณ์นั้นอย่างไร
ความสงสัยเป็นวิจิกิจฉา เป็นกิเลส และเผลอสติ ไม่ต้องสนใจให้กลับมาที่ลมหายใจ หรืออาจใช้อุบายธรรมเพื่อแก้ความสงสัย
และที่สำคัญอานาปานสติ มีความพิเศษอยู่อย่าง คือ
ในขณะดูลมหายใจ สามารถ
พิจารณากายก็ได้
พิจารณาเวทนาก็ได้
พิจารณาธรรมก็ได้
พิจารณจิตก็ได้
ซึ่งต่างจากกรรมฐานอื่น ทำพร้อมกันไม่ได้ เช่น บริกรรม พุทโธ
เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ "สติธรรม" จะเด่นชัดขึ้นเรื่อย จนรู้ว่า "อ๋อ สติธรรม ที่ท่านว่าเป็นอย่างนี้"
เมื่อสติธรรมเด่นชัดขึ้น สติตัวนี้จะมีกำลังพอที่จะรู้ทัน กาย เวทนา จิต ธรรม และมีกำลังมากขึ้นเรื่อยตามการเจริญสติ เรียก "สตินทรีย์"
และจะทำให้จิตรู้จักอาการ ขันธ์ ๕ ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นความสัมผัสสัมพันธ์ระหว่าง ขันธ์ ๕ กับ อายตนะ ๑๒ เป็นไปเพื่อถอดถอนสักกายทิฎฐิ
ธรรมของพระพุทธองค์สอนให้เรามีสติปัญญา พลิกสันเป็นคม พลิกคมเป็นสัน หลากหลายพลิกผันตามสถานการณ์ ร้อยสันพันคม สวากขาตธรรมสอนเช่นนี้ครับ |
|
|
|
  |
 |
guest
บัวบาน

เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 10:40 pm |
  |
ผมขอถามกลับนะครับ
๑.กลุ่มแรก
ท่านบริกรรมพุทโธ เพื่ออะไร
ท่านพองยุบ เพื่ออะไร
ท่านกำหนดดูลมหายใจ เพื่ออะไร
ท่านท่องชื่อศาสดาศาสนาต่าง ๆ เพื่ออะไร
๒.กลุ่มสอง
ท่านดูจิตเพื่ออะไร ท่านเริ่มปฏิบัติด้วยการดูจิตเลยหรือเปล่า หรือเริ่มกรรมฐานอื่นก่อน พอเริ่มจิตสงบแล้วค่อยดูจิต
ท่านปฏิบัติเริ่มแรก ท่านแยกรูปนามได้ทันทีที่เริ่มปฏิบัติเลยหรือเปล่า หรือเริ่มจากกรรมฐานอื่นก่อน
การปฏิบัติธรรม มีหลากหลายครับ ตามแต่จริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ
เป้าหมายสำคัญคือ จะทำอย่างไรจึงจะได้สติธรรมเป็น ธรรมสมบัติ สำหรับตน
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องครบ องค์ ๕ ถึงจะได้มรรคได้ผลครับ |
|
|
|
  |
 |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542
|
ตอบเมื่อ:
05 ส.ค. 2008, 11:38 pm |
  |
ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้ อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พระเจ้า(พระพุทธเจ้า)
ก็คือพวกเราจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด |
|
|
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 1:11 am |
  |
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า: |
ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้ อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พระเจ้า(พระพุทธเจ้า)
ก็คือพวกเราจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด |
ผมเห็นด้วยนะคุณพลศักดิ์ เมื่อตัดคำว่า พระพุทธเจ้า/พระเจ้า ออกไป เป็น
เป็น .....
ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้
อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป
เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พวกเราก็คือจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด
เพราะถ้าไม่ตัดคำว่า พระเจ้า/พระพุทธเจ้า ออกไป
ผมก็ยังสงสัยว่า จะมีพระพุทธเจ้าทำไม
ก็ในเมื่อเราเราคือ พระพุทธเจ้า/พระเจ้า เสียเองซะแล้ว
แต่เอาล่ะ ผมเข้าใจคุณพลศักดิ์ ถ้าใครสนใจแนวคิดของคุณพลศักดิ์
ก็หาอ่านได้จากข้อเขียนของคุณพลศักดิ์
เขาอธิบายไว้ละเอียดดีแล้ว ... |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 7:24 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน
เพราะ สภาวะธรรมใน สติปัฏฐาน ๔ รวดเร็วมาก
สติแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ตามรู้ได้ไม่ทัน
ต้องเป็นสติที่มีกำลังในระดับหนึ่ง |
ที่ว่า => ตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
คุณต้องสื่อถึงอะไร จึงกล่าวอย่างนั้น
สติที่คุณตั้ง กับสติในสติปัฏฐาน (หรือ สติในที่อื่นๆ มีสัมมาสติเป็น
ต้น) มิใช่สาระสาระเดียวกันดอกหรือ
เพราะฉะนั้น ช่วยขยายขข้อความนี้=> ตั้งสติ ที่สติ
ปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว เห็นจะเป็นไปได้ยาก
ให้เชื่อมถึงวิธีที่คุณปฏิบัติ (อานาปานะ) ที่กล่าวด้วยครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|