Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความลับของฟ้า....คืออะไรกันแน่ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระผมขออนุญาตินำความลับของฟ้ามาเป็นกระทู้ก่อนครับ รอมานานเห็นเงียบๆไป.....ความลับของฟ้าคืออะไรใน ๕ สายนี้
อ้างอิงจาก:
มี

1. พุทโธ

2. ดูจิต

3. พอง-ยุบ ฯลฯ

4. คิดแยกแยะรูป-นาม เช่น ทำความรู้สึก ว่าทางตาเห็นรูป

ว่า ทำในใจว่า เห็นเป็นรูป รู้เป็นนาม ฯลฯ

5. ท่องชื่อพระเจ้าหรือศาสดาของศานาต่างๆ ...ของ อ. พลศักดิ์


กระผมไม่คิดจะล่วงเกินใดๆต่อแนวทางดังกล่าวครับ แต่อยากทราบว่า
ความลับของแต่ละวิธี...ในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นนั้นเป็นอย่างไร

กราบอนุโมทนาอาจารย์และพี่ๆทุกท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 1:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

- เหมือนกันหมด ถ้าไม่นับข้อ 5
ค่อยๆศึกษาไปให้ทั่วๆ สำคัญคือต้องลงมือปฏิบัติ
อย่าเร่งร้อน เหมือนต่อ jigzaw เย้นๆ หวานๆ

- ส่วนความลับของฟ้า ต้องถามผู้กำกับหนังจีนนะคับ
พี่รู้จักแต่ฟ้าเหลือง 555
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 1:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไหนๆคุณฌานก็ถามหาความลับของฟ้าแล้ว ยิ้มเห็นฟัน

มีอีกที่ใช้กันอยู่ตามเว็บธรรมะ

หากมีผู้ใช้คำบริกรรมทั้งหมดดังกล่าว คุยกันเถอะครับ

ชำระทิฐิและอัตตา ไม่พึงคิดหรือมองว่าทะเลาะกัน ยิ้ม

ต่อจาก 5 ข้อดังนี้


-นะมะพะธะ

-เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ

-ภาวนา พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

- นโม 3 จบ
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ อิติปิโส 3 จบ
แล้วท่อง ว่า สมฺปฏิจฺฉามิ

-นับลมหายใจ

-สัมมา อะระหัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 8:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาจารย์ครับ เห็นด้วยไหมครับว่าพวกใช้คำบริกรรมน่าจัดอยู่แนวเดียวกัน
เป็นหนึ่งกลุ่ม สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 10:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อาจารย์ครับ เห็นด้วยไหมครับว่าพวกใช้คำบริกรรมน่าจัดอยู่แนวเดียวกัน
เป็นหนึ่งกลุ่ม



ถามได้ตรงใจคิดพอกะว่าจะโพสต์เปิดประเด็นนี้แหละ

คำบริกรรมทั้งหมดรวมทั้งที่คุณพลศักดิ์กล่าวนั้นด้วย แต่ไม่ต้องยาวถึง

ขนาดนั้นก็ได้

รวมผู้สวดมนต์อื่นๆด้วย คำบริกรรมภาวนาเหล่านั้น ล้วนเหนี่ยวนำให้

จิตเกิดสมาธิได้เร็วด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ที่เกิดปัญหาหรือเกิดคำถามขึ้นมากมาย นั่นก็คือเมื่อนามธรรมรวมๆ

เป็นกลุ่ม- (เรียกงี้บ้างเพื่อจะได้งง) เพราะสมาธิ อรรถกถาท่าน

เปรียบเหมือนน้ำที่ผสมแป้ง ทำให้แป้งรวมกันเป็นกลุ่มก้อน

สมาธิเกิดก็รวมสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้เป็นกลุ่มไม่ฟุ้ง

กระจาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 11:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การภาวนา จะใช้คำไหนก็ได้
แต่ต้องไม่ใช่คำที่ทำให้ขุ่นมัว เช่น "หิวโว๊ย" ไม่ได้

่ต้องใช้คำกลางๆ ไม่ส่อไปในทางคิดอกุศล หรือชวนให้คิด
เช่นถ้าเราภาวนาว่า .."โดเรมอน" ในนิมิตก็อาจจะมีโดเรมอน


คำว่า พุทโธ ลงตัวที่สุดแล้ว
เพราะคำว่าพุทธโธ ยังไม่มีภาพที่ชัดเจน จึงไม่เป้นการล่อลวงจิตให้คิด

หรือถ้าจะมีภาพ คำว่าพุทโธก็ให้ภาพที่ดี
พุืธโธ ทำให้คนเห็นพระพุทธรูปบ้าง ซึ่งเห็นแล้วเป็นไปในทางดี


สรุปแล้ว
การใช้คำไหนดี ไม่ใช่ประเด็นต้องคิด เสียเวลา ไร้สาระ
ใช้พุทโธน่ะ ดีแล้ว
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยืมห้อง (กระทู้) คุณฌานสนทนาแลกเปลี่ยนธรรมปฏิบัติกับคุณ

guest คุณคามิน และคุณโปเต้หน่อยนะครับ คุณจะร่วมแจมด้วยก็

ได้ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 1:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน

เพราะ สภาวะธรรมใน สติปัฏฐาน ๔ รวดเร็วมาก
สติแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ตามรู้ได้ไม่ทัน
ต้องเป็นสติที่มีกำลังในระดับหนึ่ง

ตัวอย่าง การตั้งสติตัวอย่าง ๑
ที่ควรยกขึ้นพิจารณา คือ อานาปานสติสูตร
หากพิจารณาให้ถ่องแท้ จะเห็นกระบวนการในการสร้างสติ

ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

Guest : 05 สิงหาคม 2008, 9:07
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อ้างอิงจาก:

การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน
ฯลฯ
ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

guest: 05 สิงหาคม 2008, 9:07 am


ผู้มากด้วยอุบายปัญญาอย่าง คุณกรัชกาย น่าจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

คงไม่มั่งครับ คุณ guest

ที่นี่ =>

http://larndham.net/index.php?showforum=14

ก็สอนสติปัฏฐา มีกระดานสติปัฏฐาน

นำสติปัฏฐานขึ้นอ้างอิงทุกครั้ง กล่าวถึงมรรค 8 บ่อยๆ

กรัชกาย : 05 สิงหาคม 2008, 10:42 am
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

มนุษย์เกิดมามีกายมีใจทุกคน ไม่งั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสทางพ้นทุกข์

เช่น พุทธพจน์

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อข้ามพ้นความโศก และความร่ำไรรำพัน เพื่อความดับไปแห่งทุกข์

และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ

สติปัฏฐาน 4”



สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตร ก็คือ

หลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

หัวข้อทั้ง 4 ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ

1) กายานุปัสสนา (การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย)

2) เวทนานุปัสสนา (การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา)

3) จิตตานุปัสสนา (การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต)

4) ธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม)


พระพุทธเจ้าสอนตรงๆ มาที่ตัวคน แต่เราอาจมองไกลเกินไป หรือ

ปฏิบัติพลาดกระมัง

กรัชกาย : 05 สิงหาคม 2008, 10:48 am
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 1:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ลมหายใจอยู่ที่กายครับ
ไม่ได้อยู่ไกลจากกายจากใจเลยครับ

ขอ คุณกรัชกาย โปรดทำความเข้าใจในอานาปานสติสูตรก่อนครับ

เพราะ ผู้ที่จะถึงมรรคถึงผลได้ ต้องเดินผ่าน สติปัฏฐาน ๔ นี้ทั้งนั้นครับ ข้ามสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้เลยครับ

แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร

ผมจึงเรียนคุณกรัชกายว่า ตัวอย่าง ๑ ที่ จะตั้งสติ
เพื่อไปยังสติปัฏฐาน ๔ ได้
ควรศึกษา "อานาปานสติสูตร"
เมื่อเข้าใจ "อานาปานสติสูตร" ดีแล้ว
"วิธีการตั้งสติ" แบบอื่น ๆ ก็ถือเป็น "ปริยาย"

Guest : 05 สิงหาคม 2008, 11:03 am
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 2:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

เพราะ ผู้ที่จะถึงมรรคถึงผลได้ ต้องเดินผ่าน สติปัฏฐาน ๔ นี้ทั้งนั้นครับ

ข้ามสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้เลยครับ

แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร



แต่ก่อนจะถึงสติปัฏฐาน ๔ นี่สิครับ จะต้องทำอย่างไร


สงสัยเราจะเข้าใจ คำว่า สติปัฏฐาน ไม่ตรงกันเสียกระมังครับ คุณ guest

เพื่อความเข้าใจตรงกัน เอาเป็นว่า ตอนนี้ทำความเข้าใจประเด็นนี้ให้

ตรงกันก่อน ขอคำอธิบาย สติปัฏฐาน จากคุณ guest คร่าวๆครับ

สติปัฏฐานในความเข้าใจของคุณ เป็นไงครับ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตั้งสติอยู่กับลมหายใจเรียก "อานาปานสติ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 7:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาต คุณฌาณ ใช้พื้นที่ครับ

เพราะเดี๋ยวเรื่องของ

อานาปานสติ
พุทโธ
พองยุบ
แยกแยะรูปนาม
ท่องชื่อศาสดา ของ อ.พลศักดิ์

จะรวมเป็นเรื่องเดียวกันครับ

คุณกรัชกายเลือก ห้องกระทู้ ได้เหมาะสมจริง ๆ ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตั้งสติอยู่กับลมหายใจเรียก "อานาปานสติ"



ขอทราบรายละเอียดการปฏิบัติ อานาปานสติ ที่คุณปฏิบัติหน่อยครับ

คุณปฏิบัติอานาปานสติอย่างไร ดูลมเข้าออกเฉยๆหรือเสริมคำภาวนา

ด้วย

สมมุติเวทนาเกิดคุณปฏิบัติต่อเวทนานั้นอย่างไร

ความคิดแวบออกนอกลมหายใจ คุณปฏิบัติต่อความคิดนั้นอย่างไร

สมมุติเกิดสงสัย เป็นต้นขึ้น คุณปฏิบัติต่อธัมมารมณ์นั้นอย่างไร

ขณะที่คุณกำลังอานาปานะอยู่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 9:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณปฏิบัติอานาปานสติอย่างไร ดูลมเข้าออกเฉยๆหรือเสริมคำภาวนาด้วย

ผมดูลมหายใจเข้าออกพร้อมบริกรรมพุทโธ และเคยปฏิบัติกรรมฐานอื่นด้วย ได้แก่ กายคตาสติ พรหมวิหาร ๔ พุทโธ เพ่งกสิณ เช่น อาโป วาโย


สมมุติเวทนาเกิดคุณปฏิบัติต่อเวทนานั้นอย่างไร

ตามแต่เหตุการณ์จะมาสัมผัส เช่น
ดูลมหายใจต่อไป เมื่อจิตสงบพอสมควรเวทนาก็จะรู้สึกเพียงลาง ๆ
หรือบางครั้งเวทนาดับเพราะไม่รู้สึกว่ามีตัวตน เพราะจิตสงบมากขึ้น
หรือเพ่งที่เวทนาจะเห็นว่า เวทนา จิต กาย แยกเป็น ๓ ส่วน ต่างอันต่างอยู่
หรือ "ปัญญาอบรมสมาธิ" เช่น พิจารณาว่าถ้าเวทนากับจิตเป็นอันเดียวกัน แล้วคนตายทำไมถึงไม่มีเวทนา แสดงว่าเวทนากับจิตต่างอันต่างอยู่ต่างอันต่างจริง พิจารณาทำนองนี้ "แต่ต้องเป็นปัจจุบัน ณ ธรรม" จะปรากฎ ๒ ลักษณะคือ ๑.ความรู้สึกว่าตัวตนหายไปเวทนากายก็หายไปด้วย ๒.เวทนา จิต กาย แยกเป็น ๓ ส่วน ต่างอันต่างอยู่


ความคิดแวบออกนอกลมหายใจ คุณปฏิบัติต่อความคิดนั้นอย่างไร

ความคิดแวบออกแสดงว่าเผลอสติ ให้กลับมาที่ลมหายใจ

สมมุติเกิดสงสัย เป็นต้นขึ้น คุณปฏิบัติต่อธัมมารมณ์นั้นอย่างไร

ความสงสัยเป็นวิจิกิจฉา เป็นกิเลส และเผลอสติ ไม่ต้องสนใจให้กลับมาที่ลมหายใจ หรืออาจใช้อุบายธรรมเพื่อแก้ความสงสัย


และที่สำคัญอานาปานสติ มีความพิเศษอยู่อย่าง คือ
ในขณะดูลมหายใจ สามารถ
พิจารณากายก็ได้
พิจารณาเวทนาก็ได้
พิจารณาธรรมก็ได้
พิจารณจิตก็ได้
ซึ่งต่างจากกรรมฐานอื่น ทำพร้อมกันไม่ได้ เช่น บริกรรม พุทโธ


เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ "สติธรรม" จะเด่นชัดขึ้นเรื่อย จนรู้ว่า "อ๋อ สติธรรม ที่ท่านว่าเป็นอย่างนี้"

เมื่อสติธรรมเด่นชัดขึ้น สติตัวนี้จะมีกำลังพอที่จะรู้ทัน กาย เวทนา จิต ธรรม และมีกำลังมากขึ้นเรื่อยตามการเจริญสติ เรียก "สตินทรีย์"

และจะทำให้จิตรู้จักอาการ ขันธ์ ๕ ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นความสัมผัสสัมพันธ์ระหว่าง ขันธ์ ๕ กับ อายตนะ ๑๒ เป็นไปเพื่อถอดถอนสักกายทิฎฐิ

ธรรมของพระพุทธองค์สอนให้เรามีสติปัญญา พลิกสันเป็นคม พลิกคมเป็นสัน หลากหลายพลิกผันตามสถานการณ์ ร้อยสันพันคม สวากขาตธรรมสอนเช่นนี้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 10:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอถามกลับนะครับ

๑.กลุ่มแรก

ท่านบริกรรมพุทโธ เพื่ออะไร

ท่านพองยุบ เพื่ออะไร

ท่านกำหนดดูลมหายใจ เพื่ออะไร

ท่านท่องชื่อศาสดาศาสนาต่าง ๆ เพื่ออะไร

๒.กลุ่มสอง

ท่านดูจิตเพื่ออะไร ท่านเริ่มปฏิบัติด้วยการดูจิตเลยหรือเปล่า หรือเริ่มกรรมฐานอื่นก่อน พอเริ่มจิตสงบแล้วค่อยดูจิต

ท่านปฏิบัติเริ่มแรก ท่านแยกรูปนามได้ทันทีที่เริ่มปฏิบัติเลยหรือเปล่า หรือเริ่มจากกรรมฐานอื่นก่อน


การปฏิบัติธรรม มีหลากหลายครับ ตามแต่จริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ

เป้าหมายสำคัญคือ จะทำอย่างไรจึงจะได้สติธรรมเป็น ธรรมสมบัติ สำหรับตน

ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องครบ องค์ ๕ ถึงจะได้มรรคได้ผลครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 11:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้ อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พระเจ้า(พระพุทธเจ้า)
ก็คือพวกเราจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 1:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้ อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พระเจ้า(พระพุทธเจ้า)
ก็คือพวกเราจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด


ผมเห็นด้วยนะคุณพลศักดิ์ เมื่อตัดคำว่า พระพุทธเจ้า/พระเจ้า ออกไป เป็น


เป็น .....

ความลับของฟ้า คือ หยุดคิดปรุงแต่งให้ได้
อวิชชาที่บังตาเราจะหมดไป
เมื่อนั้นเราจะรู้ว่า พวกเราก็คือจิตบริสุทธิ์ทั้งหมด


เพราะถ้าไม่ตัดคำว่า พระเจ้า/พระพุทธเจ้า ออกไป
ผมก็ยังสงสัยว่า จะมีพระพุทธเจ้าทำไม
ก็ในเมื่อเราเราคือ พระพุทธเจ้า/พระเจ้า เสียเอง
ซะแล้ว



แต่เอาล่ะ ผมเข้าใจคุณพลศักดิ์ ถ้าใครสนใจแนวคิดของคุณพลศักดิ์
ก็หาอ่านได้จากข้อเขียนของคุณพลศักดิ์
เขาอธิบายไว้ละเอียดดีแล้ว ...
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 7:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
การตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว
เห็นจะเป็นไปได้ยาก
นอกจากท่านผู้ได้สั่งสมบุญมามากพอแล้วในกาลก่อน

เพราะ สภาวะธรรมใน สติปัฏฐาน ๔ รวดเร็วมาก
สติแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ตามรู้ได้ไม่ทัน
ต้องเป็นสติที่มีกำลังในระดับหนึ่ง



ที่ว่า => ตั้งสติ ที่สติปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว

เห็นจะเป็นไปได้ยาก


คุณต้องสื่อถึงอะไร จึงกล่าวอย่างนั้น

สติที่คุณตั้ง กับสติในสติปัฏฐาน (หรือ สติในที่อื่นๆ มีสัมมาสติเป็น

ต้น) มิใช่สาระสาระเดียวกันดอกหรือ

เพราะฉะนั้น ช่วยขยายขข้อความนี้=> ตั้งสติ ที่สติ

ปัฏฐาน ๔ เลย ทีเดียว เห็นจะเป็นไปได้ยาก



ให้เชื่อมถึงวิธีที่คุณปฏิบัติ (อานาปานะ) ที่กล่าวด้วยครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง