|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
บุญยงค์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มี.ค.2005, 1:06 am |
  |
|
|
 |
ยงค์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มี.ค.2005, 1:43 am |
  |
เอ--------- ป็นอริยสัจตรงไหนหว่าาาาาา |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มี.ค.2005, 5:40 am |
  |
ขออธิบายอย่างนี้นะ
1 อ้างจากธรรมจักกัปวัตนสูตร
พระพุทธเจ้าทรงสอนปัญจวัคคีย์ให้รู้จักทางสายกลาง ทางสายกลางที่ว่าก็คือ ไม่ใช่เป็นทางที่ปฏิบัติด้วยวิธีการทรมานตนอย่างเช่นพวกฤๅษีสมัยนั้นพากันทรมานตน เพื่อทำให้ร่างกายมีความเป็นทุกข์ และมิใช่ทางที่ประกอบด้วยการบำเรอความสุขทางกามให้แก่ตนเอง
ทั้งสองทางนั้นถือว่าเป็นทางสุดโต่ง ส่วนทางสายกลางนั้นหมายความว่า ทางที่จะต้องปฏิบัติตามอริยมรรคที่มี องค์แปด (สังเกตให้ดีนะ ว่าทางปฏิบัติที่ทรงสอน คืออริยมรรคมีองค์แปด แล้วการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปดนี่จะไปเข้าอริยสัจจ์ได้อย่างไร ตามที่สงสัย จะอิบายอริยมรรค ที่มีองค์แปดให้เข้าในอริยสัจจ์ให้ดู ขอให้ติดตามต่อไป
|
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มี.ค.2005, 5:53 am |
  |
2. อ้างความหมายของสัมมาทิฏฐิ
เมื่อปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด ก็ต้องปฏิบัติตาม "สัมมาทิฏฐิ" สัมมาทิฏฐิที่แปลว่าความเห็นชอบคืออะไร เห็นอย่างไรจึงเรียกว่าเห็นชอบ
ในสติปัฏฐานสี่ว่า สัมมาทิฏฐิ คือความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์
ความรู้ในมรรคข้อแรกที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐินั้น เป็นการรู้ในอริยสัจจ์สี่นั่นเอง ดังนั้นการปฏิบัติจึงต้องศึกษาให้รู้อริยสัจจ์สี่เสียก่อนจึงนำไปปฏิบัติ เมื่อเป็นดังนี้ก็ไม่ต้องสงสัยว่าการปฏิบัติเป็นอริสัจจ์สี่ได้อย่างไร
อันแรกปฏิบัติตามหลักทางสายกลางเข้าไปยังมรรคก่อน และมรรคคือสัมมาทิฏฐินั้นก็ไปรู้ตัวอริยสัจจ์สี่ ซึ่งรวมทั้งรู้ในอริยมรรคนั่นเองด้วย
อาจมีคำถามว่าในการปฏิบัติ เช่นบริกรรมบ้าง เจริญสติด้วยการระลึกรู้สมหายใจเข้าออก จะเป็นอริสัจจ์สี่ได้ยังไง จะว่าต่อไป |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
07 มี.ค.2005, 6:08 am |
  |
ในการปฏิบัติตามสติปัฏฐานสี่ ที่เจริญสติใน กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น การเจริญสตินั้น
ถือว่าเป็น "สัมมาสติ" ในมรรคแปด
ผลจากการเจริญสตินั้นทำให้มีสมาธิเรียกว่า"สัมมาสมาธิ"
การอบรมสมาธิทำให้เกิดปัญญายิ่งขึ้น เพื่อจะเห็นอริยสัจจ์ในระดับที่ชัดเจนมากขึ้น เรียกว่า"สัมมาทิฏฐิ"อีกครั้งหนึ่ง
ในการเจริญสมาธิ ต้องใช้ความเพียรเพื่อให้เกิดสมาธิ คือต้องสำรวมอินทรีย์ที่เรียกว่า"สังวรศีล" คือดำริไม่พยาบาท ดำริออกจากกาม ดำริไม่เบียดเบียน"คือ "สัมมาสังกัปปะ"ในอริยมรรค
ถ้าจะว่าไปก็ยาวไปเรื่อยๆถึงมรรคทั้งหมด
เนื่องจากไม่มีเวลาจึงสรุปว่า ในเรื่องของทุกข์ สมุหทัย นิโรธที่ไม่กลาวถึงนั้น ก็ให้เอาจากสัมมาทิฏฐิที่เห็นว่า เป็นการเห็นในอริยสัจจ์สี่นั้น เป็นการเห็นอริยสัจจ์สี่ไปแต่ในละระดับ จนเกิดวิปัสสนาญาณเห็นไตรลักษณ์ก็ถือว่าเป็นการเห็นทุกข์ (แม้จะเห็นอนิจจัง หรืออนัตตา ก็ถือว่าเห็นทุกข์ด้วย เพราะเมื่อเห็นสิ่งหนึ่งย่อมเข้าใจในสิ่งหนึ่ง ถือว่าเห็นไตรลักษณ์ไปทั้งหมดด้วย)
ดังนั้นปัญญาที่จะเกิดในวิปัสสนาญาณทั้งหมดจึงครอบคลุมในอริยสัจจ์สี่ นี่เรียกว่าการปฏิบัติดำเนินไปตามอริยสัจจ์สี่ |
|
|
|
|
 |
ยิ้ม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 มี.ค.2005, 6:17 am |
  |
|
|
 |
ppj
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
08 มี.ค.2005, 12:14 pm |
  |
อริยะสัจ คือความจริงอันประเสริฐ อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ในการร่วมวงสนธนา อย่าเชื่อใครโดยไม่ไตร่ตรองนะ  |
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
08 มี.ค.2005, 8:26 pm |
  |
|
    |
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 มี.ค.2005, 11:29 pm |
  |
เจริญอริยสัจจ์สี่ตามในธัมมจักกัปวัตนสูตร ดังนี้ก็ได้
(รอบ3 อาการ 12) ดูบทสวดมนต์ประกอบ
1 เจริญในทุกข์อริยสัจจ์ ด้วยปริญญากิจ
รอบที่ 1 สัจจญาณ อาการ 1
รอบที่ 2 กิจจญาณ อาการ 2
รอบที่ 3 กตญาณ อาการ 3
2 เจริญในสมุทัยอริยสัจจ์ ด้วย ปหานกิจ
รอบที่ 1 สัจจญาณ อาการ 4
รอบที่ 2 กิจจญาณ อาการ 5
รอบที่ 3 กตญาณ อาการ 6
3 เจริญในนิโรธอริยสัจจ์ ด้วย สัจฉิกิจ
รอบที่ 1 สัจจญาณ อาการ 7
รอบที่ 2 กิจจญาณ อาการ 8
รอบที่ 3 กตญาณ อาการ 9
4 เจริญในนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรค) ด้วยภาวนากิจ
รอบที่ 1 สัจจญาณ อาการ 10
รอบที่ 2 กิจจญาณ อาการ 11
รอบที่ 3 กตญาณ อาการ 12
หมายเหตุ สัจจญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ กิจจญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้กิจในอริยสัจ กตญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจจ์
รอบสามอาการ 12 หรือญาณ 12 ในธรรมจักกัปวัตนสูตรเป็นดังนี้ |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มี.ค.2005, 4:45 am |
  |
หมายเหตุตามความเห็นที่ 8 ได้กล่าวถึงอาการ 12 จึงได้ยกบทสวดมนต์ในธัมจักกัปวัตนสูตรมา และแยกให้เห็นอาการ 12 ที่อยู่ในบทสวดมนต์ใชดเจนว่าเป็นการปฏิบัติตามอริสัจจ์สี่ ที่เป็นการปฏิบัติตรงตามนั้นอย่างแท้จริง
อาการ 1
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
อาการ 2
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ
อาการ 3
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ
อาการ 4
อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ
อาการ 5
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ
อาการ 6
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะ*นันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ..Amine) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ
อาการ 7
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ
อาการ 8
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ
อาการ 9
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
อาการ 10
อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ
อาการ 11
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ
อาการ 12
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ
จบอาการ 12 หรือ ญาณ 12
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )
|
|
|
|
|
 |
บุญยงค์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 มี.ค.2005, 9:50 pm |
  |
สาธุ สาธุ สาธุ ขอขอบคุณอนุโมทนาทุกท่านครับที่ได้ให้ความกระจ่าง |
|
|
|
|
 |
โอ่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
18 มี.ค.2005, 3:15 pm |
  |
การพิจารณาธรรมตาม"ธัมมจักกัปวัตนสูตร" นี้เมื่อพิจารณาแล้ว ไม่ได้พิจารณาตามลำดับของอาการ 1 ถึง 12 ตามที่ได้เรียงลำดับอาการ 1 ถึง 12 ไว้ดังข้างต้น
แต่พิจารณาตามลำดับตามรอบ 3 รอบ คือ
รอบที่ 1 พิจารณา 4 อาการ คือพิจารณา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค
รอบที่ 2 พิจารณา 4 อาการ พิจารณาในทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
รอบที่ 3 พิจารณา 4 อาการ พิจารณา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เช่นเดียวกัน
ในรอบหนึ่งจะพิจารณาในกิจของอริยสัจจ์สี่ตามกิจของญาณ หรือพิจารณาดังนี้
รอบที่ 1 พิจารณา อาการ 1,อาการ4,อาการ7,และอาการ 10
รอบที่ 2 พิจารณา อาการ2,อาการ5,อาการ8,และอาการ11
รอบที่ 3 พิจารณา อาการ 3 อาการ 6,อาการ 9 และอาการ 12
เพราะฉะนั้นอาจเรียงอาการใหม่ตามรอบก็สามารถจะทำได้ แต่ไม่เป็นไปตามลำดับในบทสวดมนต์ของธัมมจักกัปวัตนสูตร แต่ให้เข้าใจว่าการพิจารณาให้เรียงตามรอบตามควาเห็นที่ 11 นี้ |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |