ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกตาล
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 11 มิ.ย. 2008
ตอบ: 30
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2008, 12:04 pm |
  |
ดิฉันอยากจะขอคำแนะนำค่ะ ว่าดิฉันควรจะปฏิบัติตนอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ดี
ดิฉันได้รู้จักกับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นคนดี เนื่องจากเค้ามีจิตใจใฝ่ในธรรมมะ และมีความหวังดีที่จะนำธรรมมะนั้นมาเผยแพร่ให้ดิฉันด้วย ซึ่งดิฉันมีความเข้าใจและสนใจในทางธรรมมากขึ้นก็เพราะเค้านี่แหละค่ะ
แต่ตัวเค้ามีข้อเสียอยู่ในเรื่องความเจ้าชู้นี่แหละค่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างดิฉันกับเค้าถ้าบุคคลภายนอกมองก็จะต้องคิดว่าเป็นแฟนกัน แต่สำหรับเค้าเค้าจะบอกกับคนอื่นเสมอว่าดิฉันคือน้องสาว อย่าพูดถึงคำว่ารักเลยค่ะ แม้แต่คำว่าชอบเค้าก็ไม่เคยพูดให้ได้ยิน แต่การกระทำก็คือคนเป็นแฟนกัน และบอกดิฉันเสมอว่าอย่ามีความยึดติด อย่าคาดหวังกับอนาคต อย่ารักมากเพราะจะเสียใจมาก ซึ่งดิฉันก็คิดว่าสิ่งที่เค้าพูดนั้นถูกต้อง ดิฉันอายุ 23 ซึ่งห่างจากเค้า 9 ปี ในชีวิตของเค้าเจอผู้หญิงมาเยอะ และตอนนี้ก็ยังเป็นแบบนั้นอยู่ ดิฉันรู้ว่าเค้าไม่ได้มีดิฉันแค่คนเดียว แต่แค่ให้เวลากับดิฉันมากที่สุดเท่านั้นเอง ดิฉันนึกไม่ออกเลยค่ะว่าเรื่องของดิฉันจะจบอย่างไร..
ส่วนข้อดีของเค้าคือ เป็นคนธรรมะธรรมโม ชอบวิปัสสนา มักจะหาเรื่องธรรมมะหรือวิธีทำบุญต่างๆ มาบอกดิฉันเสมอ เวลาเราอยู่ด้วยกันเรื่องที่เราคุยด้วยกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องธรรมมะ ซึ่งดิฉันก็คิดว่าเป็นสิ่งดี แต่มันขัดกับพฤติกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิตของเขา เช่น เค้าชอบเที่ยวผับฟังเพลง(แต่ไม่ทานเหล้านะค่ะ) ชอบมองสาวๆ เพื่อเช็คเรตติ้งตัวเอง (ซึ่งอันนั้เขาบอกดิฉันเองว่าถ้าเค้าเจอคนที่ถูกใจเค้าก็จะกำหนดว่าเห็นหนอ)
ดิฉันอยากถามว่า
- คนที่เข้าใจในธรรมมะมากอย่างเขา ทำไมยังมีความคิดเจ้าชู้อยู่ในตัว.. ซึ่งดิฉันทราบว่าเค้าก็เข้าใจดี
- ดิฉันเคยใช้หลักอัตตา คือไม่พยามยามยึดติดกับรูป ก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ค่ะ
- ดิฉันเริ่มเป็นทุกข์ค่ะ เมื่อรู้ว่าเขาไม่ได้มีแค่ดิฉันเพียงคนเดียว ซึ่งดิฉันรู้ความรู้สึกตัวเองนะค่ะ แต่ควบคุมให้มันนิ่งไม่ได้
- ดิฉันกลัวว่าตัวเองจะรักเค้าไปกว่านี้ มีวิธีไหนมั้ยค่ะที่จะควบคุมความรู้สึกนี้ได้ เพราะดิฉันกลัวว่าวันใดวันหนึ่งที่เค้าจากดิฉันไป ดิฉันจะทำใจไม่ได้
- ถ้าดิฉันอุทิศบุญกุศล ให้เทวดาที่ปกปักรักษาตัวเค้าอยู่ จะมีผลให้เค้าลดความเจ้าชู้ในตัวเค้าลงมั้ยค่ะ เพราะดิฉันอยากให้เค้าลดกิเลสส่วนนี้ลง ซึ่งมันก็จะดีแก่ตัวเค้าและใครหลายคน
- ดิฉันเข้าข่ายความมีอัตตาสูงมั้ยค่ะ ที่มีความคิดว่าอยากให้เค้ายอมรับซะทีว่าเราเป็นแฟนกัน และอยากให้เค้ารู้ถึงความปราถนาดีที่ดิฉันมีให้เค้า
ดิฉันขขอบคุณไว้ล่วงหน้านะค่ะสำหรับถึงท่านที่เสียเวลาอ่านและทุกท่านที่ให้คำแนะนำ |
|
|
|
   |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2008, 12:17 pm |
  |
มีผู้ใหญ่เคยสอนให้สติเราเสมอๆ ว่า
มีอยู่อย่างน้อย ๓ เรื่องที่ไม่เข้าใครออกใครคือ
๑) กามราคะ ไม่เข้าใครออกใคร
๒) เงิน ไม่เข้าใครออกใคร
๓) อำนาจ ไม่เข้าใครออกใคร
ขอให้คุณค่อยพิจารณาดูให้ดีๆ นะค่ะว่า
คำกล่าวข้างต้นมีความจริงอยู่มากน้อยเพียงใด
อย่าว่าแต่ ฆราวาส เลย เรื่อง เจ้าชู้ น่ะ
แม้คนที่ได้สละตนออกจากเรื่องทางโลกแล้ว
ในเพศ สมณะ ยังมีเรื่องแบบนี้ให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ
ครั้งพุทธกาล ก็เคยปรากฏว่า
แม่ (ภิกษุณี) กับ ลูกชาย (ภิกษุ) เสพสังวาสกัน
ผู้ที่จะตัดเรื่อง กามราคะ ได้
ต้องเป็น พระอนาคามี เป็นอย่างน้อยค่ะ
คุณอย่าพยายามมากจนเกินไปเลยค่ะ เรื่องจะไปเปลี่ยนตัวเขาไม่ให้เจ้าชู้
เพราะหากทำไม่ได้ ตัวคุณเองนั่นแหละ จะเป็นทุกข์ ทุกข์มากเสียด้วย
ทุกอย่างในโลกนี้ ไม่แน่นอน
คุณควรตั้งใจศึกษาธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรม
ให้มาก ให้บ่อย ให้ต่อเนื่อง จนเป็นอุปนิสัยนะค่ะ |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2008, 12:31 pm |
  |
ตัณหาไม่มีคำว่าแม่หรือลูก
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี มีมารดาและบุตร ๒ คน มารดาเป็นภิกษุณี ลูกชายเป็นภิกษุทั้งสองใกล้ชิดกัน คลุกคลีกันอยากเห็นกันเนืองๆ เมื่อเห็นกันเนืองๆจึงเกิดราคะแล้วเสพเมถุนกัน พระพุทธองค์ทรงทราบจึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย โฆษบุรุษนั้นคิดหรือว่า มารดาจะไม่กำหนัดในบุตร หรือบุตรจะไม่กำหนัดในมารดา
ภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็นรูปอย่างอื่น แม้รูปเดียวซึ่งจะเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด รักใคร่ มัวเมา และทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปแห่งหญิงเลย
สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในรูปหญิง เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจรูปหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืน นั่ง นอน นอนหลับ หัวเราะ พูด ขับร้อง ร้องไห้ บวมขึ้น ตายแล้วก็ดี ย่อมครอบงำจิตของบุรุษได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใดๆ พึงกล่าวโดยชอบว่าบ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่าเป็นบ่วงแห่งมารโดยชอบได้
บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษที่กัดตายก็ดี ก็ยังไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาตัวต่อตัวด้วยหญิงเลย พวกหญิงชอบผูกพันชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ การนุ่งห่มลับล่อ และการพูดจาอ่อนหวาน หญิงมิใช่ผูกพันชายเพียงเท่านี้ แม้บวมขึ้น ตายไปแล้วก็ยังผูกพันชายได้
กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ย่อมปรากฏในหญิง ผู้ไม่กำหนดรู้กาม ย่อมเกิดในภพน้อยใหญ่ ส่วนผู้กำหนดรู้กาม ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ย่อมข้ามฝั่งสงสารได้
มาตุปุตติกสูตร ๒๒/๖๘ |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
11 มิ.ย.2008, 12:35 pm |
  |
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
๕. มาตุปุตติกสูตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุ
และภิกษุณี เข้าจำพรรษา ในพระนครสาวัตถี คนทั้งสองนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆ
แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ
เพราะการเห็นกันเนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น
จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีการวิสาสะ
คุ้นเคยกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำ
ให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณีเข้าจำพรรษาในพระนครสาวัตถี
นี้ คนสองคนนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆ แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้
บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกันเนืองๆ
แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน
เมื่อมีความคลุกคลีกันจึงมีการวิสาสะกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้น
มีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร
ก็หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่ง
ความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น
พัวพัน ในรูปหญิง เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจรูปหญิงย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเสียงอื่นแม้เสียงเดียว ... กลิ่นอื่นแม้กลิ่นเดียว ... รสอื่นแม้รสเดียว ...
โผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง
แห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การ
บรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนโผฏฐัพพะ แห่งหญิงนี้เลย สัตว์
ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในโผฏฐัพพะแห่งหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอด
กาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี นอนหลับ
แล้วก็ดี หัวเราะก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี
ย่อมครอบงำจิตของบุรุษได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใดๆ พึงกล่าวโดยชอบว่า
บ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่า เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร โดยชอบได้ ฯ
บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษ
ที่กัดตายก็ดี ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อสองด้วยมาตุคามเลย
พวกหญิงย่อมผูกพันชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ การนุ่งห่ม
ลับล่อ และการพูดอ่อนหวานมาตุคามนี้ มิใช่ผูกพันเพียงเท่านี้ แม้
บวมขึ้น ตายไปแล้ว ก็ยังผูกพันชายได้ กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง
กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปหญิง
เหล่าชนผู้ถูกห้วงกามพัด ไม่กำหนดรู้กาม มุ่งคติในกาลและภพน้อย
ภพใหญ่ในสงสาร ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้กามไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ
เที่ยวไป ชนเหล่านั้นบรรลุถึงความสิ้นอาสวะ ย่อมข้ามฝั่งสงสารในโลกได้ ฯ
จบสูตรที่ ๕ |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
tiptie
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 11 ก.ค. 2007
ตอบ: 19
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
12 มิ.ย.2008, 6:14 pm |
  |
เรื่องแบบนี้ ตอบยากนะค่ะ แต่ก็พอจะเข้าใจได้ อันที่จริงอย่างใครหลายคนว่า เราห้ามเค้าเราเปลี่ยนความคิดเขาไม่ได้ เราก็เปลี่ยนที่ตัวเราเองดีกว่า ค่อยๆ ทำๆ ค่อยๆ ฝึกไป อย่าไปคิดที่จะห้ามหรือหยุดความคิดความรู้สึกตัวเองเลยค่ะ ดูไป ยากหน่อย แต่สักวันถ้าทำให้ถึงที่ จะรู้สึกเบาสบาย ถึงควบคุมได้ไม่หมด แต่เราจะ ไม่รู้สึกทุรนทุรายเท่าที่เราเป็นในววันนี้ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ทรมานตัวเองเปล่าค่ะ คงอีกสักพักที่คุณต้องจมอยู่กับอารมณ์นี้ เราต่างคนต่างมีกรรมมา ปัจจุบันอยู่ที่เราเลือกทำกรรมเองค่ะขอเอาใจช่วยนะค่ะ ขอให้คุณหลุดพ้นจากความรู้สึกนี้ได้ไว นะค่ะ คนเราไม่จมอยู่กับรู้สึกใดได้นานหรอกค่ะ อาจใช้เวลาหน่อย ต้องเข้มแข็งนะค่ะ |
|
_________________ กรรมดี กรรมชั่ว อยู่ที่ตัวสร้าง...การกระทำมีผลตามมาเสมอ.... |
|
   |
 |
bank
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 13 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1
|
ตอบเมื่อ:
13 มิ.ย.2008, 2:56 am |
  |
ฮ่าๆ สับสนหนอครับ ผมก็เคยรู้สึกประมาณนี้ตอนฝึกใหม่ๆ
Levelเรายังไม่สูงเท่าไหร่ เลยยังนำหลักธรรม มาใช้ไม่ค่อยเก่ง ผลคือ ยิ่งคิดยิ่ง งง ยิ่ง งง ยิ่งสับสน
วิธีแก้ง่ายๆครับ แค่"เลิกคิด"ทำหัวให้ว่างๆ
แล้วค่อยคิดตอนที่รู้สึกว่าใจนิ่ง สบาย ไม่เครียด แล้วจะหาคำตอบไดด้วยตัวเอง เองครับ
รักเค้าได้ครับแต่อย่าหวัง รักโดยไม่หวังผลตอบแทนก็ไม่ทุกข์ครับ
ไม่ต้องการให้เค้าเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น
รักเค้าอย่างที่เค้าเปน
ทำดีไปเรื่อยๆ แบบทำด้วยใจ แต่ไม่ได้หวัง
ฝึกสมาธิเยอะๆ จะทำให้เรามีตัวตรวจจับความรู้สึกหวังนี้ได้ ตอนนี้เครื่องตรวจจับคุณต้องการการอัฟเดทให้ไวในการตรวจความรู้สึกตัวเองมากขึ้นครับ
ธรรมะคือธรรมชาติ อย่าไปฝืนธรรมชาติเพราะผลคือสิ่งที่คุณรู้สึกอยู่นี่ไงครับ
แล้วก็จงทำดี จงทำดี จงทำดี
ทำดี ดี
ทำชั่ว ชั่ว
อย่าไปทำดีโดยหวังว่าจะได้ดี แล้วอย่าไปหวังว่าคนทำชั่วจะได้ชั่วครับ
ที่แหละครับที่บอก ว่า อย่าคิด แค่ หัวว่างๆ=จิตว่าง
จิตว่าง+คิด=ปัญญา
อารมณ์+คิด=ชีวิต งง
งง+งง=โคด งง ครับ
โชคดีนะครับ
ธรรมะสวัสดี |
|
|
|
  |
 |
ลูกตาล
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 11 มิ.ย. 2008
ตอบ: 30
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
16 มิ.ย.2008, 7:41 am |
  |
|
   |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 มิ.ย.2008, 8:45 pm |
  |
ความรักก็เป็นองค์ธรรมหนึ่งที่มีทั้ง คุณอนันต์ และโทษมหันต์
มีผู้รู้ได้เคยกล่าวเอาไว้ดังนี้ว่า
ด้านคุณอนันต์ : เป็นการใช้ความรักให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยการ
๑. ใช้ความรักพัฒนาจิตใจให้ประเสริฐ
๒. ใช้ความรักสร้างบารมี
๓. ใช้ความรักสร้างความอบอุ่น ความสัมพันธ์
๔. ใช้ความรักสถาปนาความสร้างสรรค์และความรับผิดชอบ
๕. ใช้ความรักเป็นอาวุธต่อสู้อารมณ์ร้ายอื่นๆ
๖. ใช้ความรักอันสะอาดเหนี่ยวนำจิตใจอื่นให้คล้อยตาม
เพื่อการพัฒนาร่วมกัน
ด้านโทษมหันต์ : เป็นภัยจากความรัก
เกิดขึ้นจากเหตุ ๕ ประการดังนี้
๑. การปรุงความหวังลมๆ แล้งๆ
๒. การมองโลกในด้านเดียว
๓. ความประมาท
๔. ความหลง
๕. การต้องพึ่งพิงทางใจไร้อิสรจิต
๖. ยามผิดหวังเกิดปฏิกิริยารุนแรง จนชีวิตต้องเสียศูนย์
๗. โศกนาฏกรรมแห่งชีวิตที่ไร้ปัญญา
การสำรวจดูว่าทั้ง ๒ ฝ่าย มีความรักซึ่งกันและกัน
บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตอยู่เป็น "คู่" กันนั้น
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าควรพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้เป็นสำคัญว่า
ทั้ง ๒ ฝ่าย มีการเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
และปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตาทั้งกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม
ทั้งต่อหน้าและลับหลังอย่างจริงใจ หรือไม่
เพราะในความจริง
คนที่ (ดูเหมือน) มีใจใฝ่ธรรม กับ คนที่มีธรรมนำชีวิต....ยังต่างกัน
คนที่มีใจใฝ่ธรรม
แม้ด้วยใจปรารถนาจะใฝ่ธรรม
และวาจาจะบอกว่าตนเองใฝ่ธรรม
แต่หากไม่นำธรรม มาปฏิบัติ ให้ได้ในชีวิตจริง
ก็ยังไม่นับว่าเป็นคนมีธรรมนำชีวิต....อย่างแท้จริง
ในกรณีนี้ขอให้คุณลูกตาลพิจารณาดูนะคะ
ลองอ่านเพิ่มเติม : เหตุแห่งความรัก :
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14832  |
|
|
|
    |
 |
ลูกตาล
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 11 มิ.ย. 2008
ตอบ: 30
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ
|
ตอบเมื่อ:
25 มิ.ย.2008, 11:11 am |
  |
|
   |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
23 ส.ค. 2008, 10:55 pm |
  |
 |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|