ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
10 มิ.ย.2008, 12:15 pm |
  |
ขอบคุณครับคุณกุหลาบสีชา ที่แลกเปลี่ยนความคิดกัน
เรื่องที่ว่าต้องทักท้วงคุณสุจิตต์เป็นเรื่องเป็นราวนั้น
ผมว่าผมไม่ต้องการขนาดนั้น
แต่อาจารย์ติช นัช ฮัน นักบวชสายมหายาน
พูดถึงความพอดีของบทบาทเอาไว้ ซึ่งอ่านได้เข้าใจง่ายๆมาก
คนที่กำลังทะเลาะเบาะแว้งกันว่า อาจารย์ใครแน่กว่า จริงกว่า ถูกต้องกว่า
พึงจะรู้ไว้ด้วยว่า ถ้าธรรมะที่พูดถึง ที่ยกมาค้านกันเป็นประเด็นนั้น
ถ้ามันเป็นธรรมะที่แท้ ....... มันจะมี "ความจริง" อันเดียวกัน
โดยไม่ว่าคนที่พูดจะพูดภาษาอะไร ศาสนาไหน อาจารย์ไหน
ถ้ามันคือสัจจะธรรมที่แท้... ย่อมมีความจริงเดียว เป็นที่สุด และเป็นอกาลิโก
ดังปรากฎในคำสอนของอาจารย์สายมหายานท่านนี้
ซึ่งได้แสดง"หลักสายกลาง" ที่ประยุกต์ใช้กับคำว่า"บทบาท"
หรือในภาษาอาจารย์พุทธทาสใช้คำว่า "ธรรมะคือหน้าที่"
อ้างอิงจาก: |
ความรัก หรือ ไมตรี
แง่มุมแรกของเรื่องความรักที่แท้ก็คือการมีไมตรีหรือความตั้งใจและความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเบิกบาน เป็นสุข
ในการสร้างเสริมไมตรีขึ้นนั้น เราจะต้องฝึกการเฝ้าดูและการฟังอย่างตั้งใจ
จะได้รู้ว่า อะไรที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อให้คนอื่นมีความสุข
ถ้าเธอมอบของบางอย่างให้แก่คนรัก ทั้งๆที่เขาไม่ต้องการมัน ก็ไม่นับเป็นไมตรี
เธอจะต้องแลให้เห็นถึงสภาพการณ์จริงๆของคนผู้นั้นด้วย
ไม่เช่นนั้นแล้ว สิ่งที่มอบให้ไป จะทำให้เขาเป็นทุกข์
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนจำนวนมากที่ชอบกินทุเรียน
ถึงขั้นเรียกได้ว่า ติดกันงอมแงมเลยทีเดียว
กลิ่นของมันแรงจัด
บางคนพอกินเสร็จ ถึงกับเอาเปลือกของมันไปวางไว้ใต้เตียงเพื่อสูดกลิ่นต่อ
สำหรับตัวข้าพเจ้าเองไม่ถูกกับกลิ่นทุเรียนเอาเสียเลย
วันหนึ่ง ขณะข้าพเจ้ากำลังสวดมนต์อยู่ในวัดที่เวียดนามนั้น
ได้มีทุเรียนลูกหนึ่งวางถวายอยู่บนหิ้งพระ
ข้าพเจ้าพยายามสวดสัทธรรมปุณฑริกสูตรพร้อมกับเคาะไม้มักฮื้อสั่นระฆังใบใหญ่
แต่ก็ไม่อาจกำหนดจิตจดจ่อไปได้ตลอด
ในที่สุด ต้องเอาระฆังไปคว่ำปิดลูกทุเรียนบนหิ้งเสีย จึงจะสวดมนต์ต่อได้
พอสวดเสร็จ ข้าพเจ้าก็ก้มคำนับพระพุทธรูปแล้วหยิบระฆังออก
ถ้าเธอพูดกับข้าพเจ้าว่า ฉันรักท่านมาก อยากให้ท่านทานทุเรียนดูสักหน่อย
ข้าพเจ้าก็คงจะเป็นทุกข์
เธอรักและอยากให้ข้าพเจ้ามีความสุข ทว่ากลับบังคับให้กินทุเรียน
นั่นเป็นตัวอย่างของความรักที่ปราศจากความเข้าใจ
ความตั้งใจของเธอดี แต่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง |
เรื่องทุเรียนนี้ ผมสรปหลักคิดเอาไว้ และจำได้ขึ้นใจตัวเองเสมอ
นั่นคือ ของที่ดีที่สุดของอีกคนคนหนึ่ง ... อาจไม่ใช่ของที่ดีที่สุดของคนอีกคนหนึ่ง
ดีที่สุดของผม .. จึงควรจะจบ และวางลงไปพร้อมกับทุเรียนนั้น
ดีที่สุดของผม .. จึงควรจะจบลงตรงการที่ผมได้มอบสิ่งดีที่สุดของผมลงตรงหน้าเขา
เรารู้ขอบเขตบทบาทของเรา
รู้หน้าที่ของเรา
รู้ว่าควรจะ "วาง" เมื่อไหร่
เป็นความไม่พอดี ไม่รู้หน้าที่ ..... ถ้า.....
........ผมคิดว่า เขาควรจะต้องหยิบทุเรียนนี้ไป (เพียงเพราะผมคิดว่าดีที่สุด)
.... .ผมเสียใจ เพียงเพราะคิดว่าสิ่งดีๆ(ที่ตัวคิดว่าดีที่สุด)ของผมได้รับการปฏิเสธ
ที่โลกเราวุ่นวาย ไม่เรียบร้อย ไม่สงบ
เพราะมีคนจำพวกที่อยากจะจับยัดทุเรียนใส่ปากคนอื่น
ผมคิดว่าผมไม่อยากทำอย่างนั้นกับคุณสุจิตต์ และคนอ่านกระทู้
ผมไม่อยากตามไปบังคับใครให้กินทุเรียนของผม
เพียงเพราะผมคิดของผมไปเองว่ามันดีจริงๆ
แค่คิดว่าจะเอามาไรมา"วาง"
พูดให้ชัดคือ แค่เรียนรู้เรื่อง"ของ"ที่จะเอามา"วาง" ไม่ให้มันเป็นพิษ
แค่นี้ผมก็เหนื่อยแล้ว |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
12 มิ.ย.2008, 5:43 pm |
  |
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ
กับคำกล่าวของท่านพุทธทาสที่คุณคามินธรรมยกมาว่า
"ธรรมะคือหน้าที่"
ถ้าทุกคนรู้จัก และเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน
ทั้งหน้าที่ของพ่อ แม่ ลูก
หน้าที่ของครูบาอาจารย์ หน้าที่ของนักเรียน
หน้าที่ของรัฐบาล...หน้าที่ของฝ่ายค้าน
หน้ที่ของพุทธศาสนิกชน
หน้าที่ของสื่อมวลชนที่ดี
และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ไม่บกพร่อง หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น
สังคมนี้คงมีสงบสุขอีกเยอะเลย
แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่ควรลืมว่า
"ธรรมะ" หมายถึง"ความถูกต้อง" เช่นเดียวกันค่ะ
อะไรที่ไม่ถูกต้อง นั่นก็คือ ไม่เป็น ธรรม
เพราะไม่เป็น "ความจริง"
แต่อย่างไรก็ตาม
สำหรับมนุษย์ปุถุชนแล้ว
ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน
หากยังมีอคติ และมิจฉาทิฏฐิ ครอบงำอยู่
ไม่มีหลักธรรมคอบค้ำจุน
อะไรไม่ถูกต้อง ก็อาจถูกใจได้บ่อยไป
และอะไรไม่ถูกใจ นั่นอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรมแล้วเช่นกัน
เรื่องทุเรียนที่คุณคามินธรรมยกมา
ก็นับเป็นการอุปมาที่น่าสนใจและอธิบายเรื่องนี้เป็นอย่างดีนะคะ
ใช่ค่ะ
ของที่ดีที่สุดของอีกคนคนหนึ่ง ...
อาจไม่ใช่ของที่ดีที่สุดของคนอีกคนหนึ่ง
เพราะนิยามของคำว่า "ดี" ของแต่ละคนมีมาตรวัดไม่เหมือนกัน
เพราะทุเรียนมีรสอร่อย จึงดี
เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ราคาค่อนข้างสูงหายาก
ปีนึงออกเพียงฤดูเดียว มันจึงดี
สรุปแล้ว "ดี" ของเขา ก็คือ "ความถูกใจ" ใช่หรือไม่
แต่ในขณะเดียวกันบางคนอาจมองว่า
ทุเรียนอุดมไปด้วยสารอาหารเพิ่มน้ำหนักตัวดีแท้
ทานมากแล้วต้องร้อนใน
แถมราคาก็ค่อนข้างสูงตามกลิ่นเฉพาะตัวอีกต่างหาก
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ของทุกอย่างในโลกนี้มี ๒ ด้านเสมอ
ในขณะที่ใช้ประโยชน์จากมันน้อยหรือมากไป
ก็อาจก่อให้โทษได้
ต้อง "พอเหมาะ...พอดี" จึงดีจริง
ประเด็นนั้น จึงอยู่ที่ว่า
คนส่วนใหญ่รู้หรือยังว่า
เมื่อไหร่ จึงพอเหมาะ
เมื่อไหร่จึงพอดี
ต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่
เพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็น "ธรรม" ขึ้นในสังคม
มิใช่เพราะ น้อย ไป หรือมากไปหรอกหรือ
ความอลหม่านวุ่นวาย จึงเกิดขึ้นกับสังคมโลกเช่นทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม...
สำหรับประเด็นเรื่องการทักท้วงคุณสุจิตต์นั้น
โดยหลักการแล้ว มีความเห็นว่า
ผู้ใด หากได้พิจารณาแล้วว่า
สิ่งใดก็ตามที่เราทำไปด้วยเจตนารมย์ที่ดี
ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง
ซึ่งมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการบริโภคสื่อ
และเป็นพุทธศาสนิกชนที่ปรารถนาที่จะช่วยดำรงสืบสาน
และเผยแผ่หลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว
ก็ไม่จำเป็นที่ต้องรู้สึกตะขิดตะขวงใจแต่อย่างใด
แต่ทั้งนี้....
ก็ต้องขึ้นอยู่ "วิธีการ" ในทางปฏิบัติด้วยค่ะ
ว่าจะ "สร้างสรรค์" และเป็นการ "ติเพื่อก่อ" หรือไม่
เพราะในความเป็นจริงแล้ว
เราท่านทั้งหลายล้วนปรารถนาการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
โดยปราศจากทะเลาะเบาแว้งกันมิใช่หรือคะ
คงเป็นดังที่ ท่านติช นัท ฮันส์
(ขอยกวาทะของท่านมากล่าวบ้างนะคะ)
เคยปาฐกาไว้ในการสัมมนาครั้งหนึ่ง
ได้ว่าอย่างจับใจว่า
"มนุษย์เรา ก็เหมือนมือซ้ายกับมือขวา
มีอะไร ก็จะช่วยกัน
ถ้าเจอของหนัก ก็จะช่วยประสานมือกัน
ถ้ามือขวาเจ็บ มือซ้ายก็จะทำหน้าที่แทน
ถ้ามือขวาตอกตะปูพลาดไปโดนมือซ้าย
ไม่เลยที่มือซ้ายจะแค้นเคือง หยิบค้อนมาทุบตีคืนมือขวา
และมือขวาก็ไม่เคยรีรอที่จะทิ้งค้อนลง
แล้วมาประคองมือซ้าย ราวกับปลอบโยน"
อย่างไรก็ตาม ยินดีอย่างยิ่งเช่นกันนะคะ
ที่มีโอกาสได้สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกับคุณคามินธรรมในครั้งนี้ค่ะ  |
|
|
|
    |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2008, 4:06 am |
  |
ยินดีเช่นเดียวกันคับคุณกุหลาบสีชา
รู้สึกยินดี ว่าเราจะคุยกันเป็นเรื่องเป็นราวดีน่ะคับ
เรามาเติมเต็ม แลกเปลี่ยนความคิดบางส่วนกันนะคับ
มีอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่ผมคิดไปอีกแบบหนึ่งและคิดว่าน่าจะถ่ายถอดแลกทรรศนะกันนะคับ
อ้างอิงจาก: |
"ธรรมะ" หมายถึง"ความถูกต้อง" เช่นเดียวกันค่ะ |
แต่ผมกลับคิดอย่างนี้ว่า ธรรมะไม่ได้หมายถึงความถูกต้อง
โดยมีการคิดอย่างนี้คับ
ความถูกต้อง ไม่ใช่สัจจะธรรม
- เพราะในบางสังคม เช่นชนเผ่ามนุษย์กินคน ถือว่าการฆ่ามนุษย์ คือความถูกต้อง
- ในบางเผ่าของอินโด การล่าหัวมนุษย์คือความถูกต้อง เป็นวีรกรรม เป็นความถูกต้อง
- การเปลี่ยนศาสนาในบางประเทศต้องโทษประหาร เป็นความถูกต้อง..ของคนในสังคมนั้นๆ
ความถูกต้อง จึงเป็นของที่ไม่ใช่สัจจะ ไม่ใช่ธรรมะ
เพราะมันเดี๋ยวจริง เดี๋ยวไม่จริง
เดี๋ยวถูกต้อง เดี๋ยวไม่ถูกต้อง
ซึ่งผันแปรไปตามจริต ความเชื่อ ความนิยม ของแต่ละสังคมนั้นๆ
หรือถ้าใช้คำกว้างๆ คงต้องใช้คำว่า ความถูกต้องเป็นไปตามกิเลส
เราจึงเห็นได้ว่า ความถูกต้อง เป็นของที่แปรผันที่สุดประการหนึ่ง
ผิดกับธรรมะ ถ้าเป็นธรรมะจริง ต้องเป็นจริงตลอดเวลา เป็นสากล เป็นอกาลิโก
ทั้งหมดนี้ ผมจึงคิดว่า
คำว่า "ธรรมะ" ไม่ได้หมายถึง "ความถูกต้อง"
ว่าอย่างนั้นนะคับ
รู้สึกว่าอาจารย์พุทธทาสจะพูดเรื่องนี้เอาไว้ละเอียดทีเดียว
จำได้ลางๆ นิดหน่อย อย่างที่ยกมาคับผม |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2008, 5:43 am |
  |
สังขารจิต ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน
ปฏิจจสมุปบาท ยังแล่นอยู่ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2008, 8:13 pm |
  |
นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ได้ปรุงแต่งมิจฉาทิฏฐิ และกำลังทำลายกฏระเบียบกติกาสังคมและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ
http://thai-grassroots.com/index.php?pid=1ga85g132adbe&id=655
รูปที่ 7 รถกองทัพธรรม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
19 มิ.ย.2008, 11:48 pm |
  |
ขอลบออกไป
วจีทุจริตของผมเอง |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 31 ก.ค.2008, 11:07 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 มิ.ย.2008, 4:37 am |
  |
อ้างอิงจาก: |
ขออภัยที่ผมไม่เข้าใจธรรมะที่ยกมานะคับ แม้จะพยามศึกษาเพิ่มแล้ว
ถ้าจะรบกวนกรุณาอธิบายละเอียดขึ้นนิดนึง ว่าเหตุต่างๆ ปัจจัยต่างๆ อะไรมันสัมพันธ์กันยังไง ทำไมจึงสรุปว่าเป็นอย่างนั้น เป้นอย่างนี้
ผมจะได้เข้าใจว่าเรากำลังแลกเปลี่ยนความคิดกันอยู่
จะได้เข้าใจว่าเรากำลังเปิดใจคุยธรรมะกันอยู่
ไม่ใช่เป็นอื่น |
.
.
ธรรมะเมื่อว่าโดยองค์รวมคือความสงบร่วมเย็นของผู้คนทั้งหมดทั้งหล้าในแผ่นดินนี่คือธรรมะหรือธรรมชาติ นั่นแปลว่า ความไม่สงบสุข ฯลฯ ในสังคมมนุษย์ก็ไม่ใช่ธรรมะ อย่างที่แอบอ้างเอาธรรมะไปชักจูงให้คนหลงว่าเป็นธรรมะอย่างที่เห็น นั่นกำลังทำลายธรรม ทำลายความชอบธรรม
ความมั่นคงของชาติ เป็นความมั่นคงของศาสนาด้วยของธรรมด้วย การรักษาชาติ จึงเท่ากับรักษาธรรม รักษาศาสนา รักษาสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สถาบันทั้งสามจึงเปรียบเสมือนรากแก้วของศาสนาและของธรรม เมื่อรากแก้วถูกทำลาย ลำต้น เปลือกกิ่งก้าน ดอกใบ เป็นต้น ของต้นไม้จะอยู่ได้ฤา
สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิกที่ปรุงแต่งความคิดของคนทุกคนให้คิดนึก กระทำ พูดไปต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญ บาป กุศล อกุศล ตลอดจนปรุงแต่งให้ทำลายสถาบันหลักดังกล่าวก็ได้ ปรุงแต่งความ คิด กระทำ การพูด ให้ทางดีงามของสถาบันก็ได้ นี่คือสังขารขันธ์ ซึ่งเป็นนามธรรม
ลิงค์สังขารขันธ์ เพื่อความมั่นคงของธรรม เพื่อความมั่นคงของศาสนา เพื่อความสงบร่มเย็นเป็นธรรมอีกลิงค์หนึ่ง
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6721166/P6721166.html
(ขออภัย IE ที่ใช้มีปัญหา อักษรที่พิมพ์มีซ้ำกัน แก้ไขไม่ได้ ทั้งที่พิมพ์มาจากเวิร์ด) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
20 มิ.ย.2008, 11:02 am |
  |
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
อ้างอิงจาก: |
ขออภัยที่ผมไม่เข้าใจธรรมะที่ยกมานะคับ แม้จะพยามศึกษาเพิ่มแล้ว
ถ้าจะรบกวนกรุณาอธิบายละเอียดขึ้นนิดนึง ว่าเหตุต่างๆ ปัจจัยต่างๆ อะไรมันสัมพันธ์กันยังไง ทำไมจึงสรุปว่าเป็นอย่างนั้น เป้นอย่างนี้
ผมจะได้เข้าใจว่าเรากำลังแลกเปลี่ยนความคิดกันอยู่
จะได้เข้าใจว่าเรากำลังเปิดใจคุยธรรมะกันอยู่
ไม่ใช่เป็นอื่น |
.
.
ธรรมะเมื่อว่าโดยองค์รวมคือความสงบร่วมเย็นของผู้คนทั้งหมดทั้งหล้าในแผ่นดินนี่คือธรรมะหรือธรรมชาติ นั่นแปลว่า ความไม่สงบสุข ฯลฯ ในสังคมมนุษย์ก็ไม่ใช่ธรรมะ อย่างที่แอบอ้างเอาธรรมะไปชักจูงให้คนหลงว่าเป็นธรรมะอย่างที่เห็น นั่นกำลังทำลายธรรม ทำลายความชอบธรรม
ความมั่นคงของชาติ เป็นความมั่นคงของศาสนาด้วยของธรรมด้วย การรักษาชาติ จึงเท่ากับรักษาธรรม รักษาศาสนา รักษาสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สถาบันทั้งสามจึงเปรียบเสมือนรากแก้วของศาสนาและของธรรม เมื่อรากแก้วถูกทำลาย ลำต้น เปลือกกิ่งก้าน ดอกใบ เป็นต้น ของต้นไม้จะอยู่ได้ฤา
สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิกที่ปรุงแต่งความคิดของคนทุกคนให้คิดนึก กระทำ พูดไปต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญ บาป กุศล อกุศล ตลอดจนปรุงแต่งให้ทำลายสถาบันหลักดังกล่าวก็ได้ ปรุงแต่งความ คิด กระทำ การพูด ให้ทางดีงามของสถาบันก็ได้ นี่คือสังขารขันธ์ ซึ่งเป็นนามธรรม
ลิงค์สังขารขันธ์ เพื่อความมั่นคงของธรรม เพื่อความมั่นคงของศาสนา เพื่อความสงบร่มเย็นเป็นธรรมอีกลิงค์หนึ่ง
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6721166/P6721166.html
(ขออภัย IE ที่ใช้มีปัญหา อักษรที่พิมพ์มีซ้ำกัน แก้ไขไม่ได้ ทั้งที่พิมพ์มาจากเวิร์ด) |
ขอบพระคุณมากคับคุณกรัชกาย
ที่ยกมานั้นชวนคิดมากทีเดียว แต่เด๋วขอกลับไปคิดก่อนนะคับ
อยากคุยด้วยกับเรื่องที่ยกมาคับ |
|
_________________ ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
20 มิ.ย.2008, 12:01 pm |
  |
คิดประเด็นนี้อีกครับคุณคามินธรรม
เป็นพระราชปณิธานพุทธสาวกพระนามว่า พระยาตาก
อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน
จารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
21 มิ.ย.2008, 7:54 pm |
  |
สาธุค่า....คุณน้องคามินธรรม
ขอบคุณสำหรับคำสรรเสริญ
แต่ต้องขอออกตัวก่อนว่า
จริงๆ แล้ว....
ตัวเองหาใช่มีใจใหญ่ยิ่งกว่าแม่น้ำ หรือปานมหาสมุทร
หากน้ำใจเปรียบเป็นน้ำ
ก็ขอเป็นเพียง "น้ำครึ่งแก้ว" เท่านั้นค่ะ
และขอขอบคุณสำหรับการยกให้เป็นพี่นะคะ
(ถ้าน้องคามินธรรม ยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่
หรือจบแล้ว และทำงานไม่เกิน ๑๐ ปี
กุหลาบสีชาก็คง (ต้อง )เป็นพี่ในทางโลกแน่นอน
(ปฏิเสธความจริงไม่ได้)
แต่สำหรับอายุในทางธรรม
อยากให้คิดว่าเราเป็น สหายธรรม ที่คุยกันได้เข้าใจ
และยอมรับทั้งในความเหมือนและความต่าง
รวมทั้งสนุกในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
น่าจะเหมาะกว่านะคะ
ประเด็นเรื่อง ธรรมะคือ ความถูกต้อง....นั้น
ขอบอกว่าเข้าใจในความเห็นของน้องคามินธรรม
และจำได้ว่าตัวเองก็เคยถกเถียงอย่างคร่ำเคร่งจริงจัง
กับสหายธรรมท่านอื่นๆ มาแล้วในประเด็นนี้เช่นกัน
จนมีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า
"ธรรมะ" นั้น คือความถูกต้อง
แต่
ความถูกต้อง (อาจ) ไม่ใช่ "ธรรมะ" เสมอไป
แค่พลิก....ความหมายก็เปลี่ยน
เพราะอะไร?
เหตุผลก็เป็นดังเช่นที่น้องคามินธรรมเสนอมา
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง..นะคะ
ใช่แล้วค่ะ ....เพราะความถูกต้องในความบางสังคม
อาจไม่ใช่ความเป็น "ธรรม" ที่เป็นสัจจะ (ultimate truth)
ยกตัวอย่าง เช่น
บางสังคมมีกฏหมาย (Law) ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี (Tradition)
ที่ถือว่าเป็นความถูกต้องทางสังคม ทางโลก
แต่ก็ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม ก็มีให้เห็นมากมาย
เช่น.....
- การสู้วัวกระทิง
ซึ่งถือเป็นเกมกีฬาที่วัดความเป็นบุรุษผู้กล้าของชาวสเปน
แต่ไม่ถูกต้องในทางธรรม
เพราะเป็นการเบียดเบียน
และทำร้ายชีวิตของสัตว์ผู้เป็นเพื่อนทุกข เกิด แก่ เจ็บ ตาย
การตั้งบ่อนคาสิโนอย่างถูกกฏหมายในหลายประเทศ
แต่ในทางธรรมนับเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะเป็นการส่งเสริมให้คนหลงใหลติดพันกับอบายมุข
ความถูกต้อง...ในทางโลก
ไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้องจริงในทางธรรม
เพราะความถูกต้องในทางโลกแปรผันได้
ตามกฏเกณฑ์ บัญญัติ ที่มนุษย์สมมติขึ้นมา
หาใช่ ความถูกต้อง ที่เป็น สัจจะอันสมบูรณ์
ซึ่งก็คือ ธรรมะ อันเป็นธรรมชาติ
ที่จะนำเอากฏเกณฑ์ใดใดมาพิพากษา มาเป็นมาตรวัด
ก็ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ธรรมะ คือ การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ธรรมะคือ กฏแห่งกรรม
ธรรมะ คือ ความเป็นกลาง ความพอดี และความสมดุลย์
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าทุกวันนี้....
บรรดาทั้งนักธรรม และนักปฏิบัติธรรม
ล้วนต่างก็ต้องมาติดข้อง หรือผิดใจกันก็ที่ "โวหาร"
ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังเป็นเพียงสมมติบัญญัติ ด้วยกันทั้งสิ้น
(รวมทั้งตัวเองด้วย...ถึงต้องมานั่งอภิปรายกันอย่างนี้ไงคะ)
อย่างไรก็ตามขอขอบคุณมาก
สำหรับความเห็นที่น้องคามินธรรม
อธิบายมาอย่างกระจ่างชัดเจนและจริงใจเช่นกันนะคะ
อยากให้ได้ลองอ่านบทความต่อไปนี้
เผอิญได้ไปอ่านพบ
เลยพิมพ์มาให้สหายธรรมทั้งหลายได้พิจารณาดู
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมไม่มากก็น้อย
ความเป็นกลาง : ศิยะ ณัญฐสวามี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16298 |
|
|
|
    |
 |
|