Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความยุติธรรม (อาจารย์วศิน อินทสระ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2008, 1:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความยุติธรรม

เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและต้องการความยุติธรรม
ความยุติธรรมคืออะไร อันนี้ตอบยาก
ความยุติธรรมกับความเสมอภาค ไม่เหมือนกัน

ความยุติธรรม ต้องให้คนได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับ
ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้รางวัล
ถ้าเขาควรได้รับโทษ ก็ให้ได้รับโทษ
นี่เรียกว่าความยุติธรรม

ความยุติธรรมจริงๆ นั้นคืออะไร
ส่วนมากใครที่ได้รับผลประโยชน์ คนนั้นก็ว่ายุติธรรม
คนเสียประโยชน์เขาก็ว่าไม่ยุติธรรม
ถ้าอย่างนั้น ความยุติธรรมจริงๆ คืออะไร
บอกไปนิดหนึ่งแล้วว่า ในภาคปฏิบัติ ต้องให้เขาได้รับสิ่งที่ควรได้รับ
ถ้าเขาควรได้รับรางวัลก็ให้เขารับรางวัล
ถ้าเขาควรได้รับโทษ ต้องให้เขาได้รับโทษ

บางคนบอกว่าความยุติธรรมจริงๆ ไม่มี หรือมี
แต่ไม่รู้อะไร ความยุติธรรมเป็นสากล เป็นจริงในตัวเอง
หรือว่าไม่เป็นสากล ไม่เป็นจริงในตัวเอง
หรือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ มันเป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครเป็นคนตัดสิน

มนุษย์เราโดยปกติ โดยทั่วไปมีอคติ เข้าข้างตัวเองบ้าง
เข้าข้างพวกพ้องของตัวเองบ้าง ทั้งยังเกลียดชังผู้อื่นและพวกอื่น

อคตินี่แหละทำให้เสียความยุติธรรม
ฉันทาคติพอใจลำเอียงเพราะพอใจบ้าง
โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบบ้าง
โมหาคติ ลำเอียงเพราะไม่รู้เรื่องรู้ราว แต่ก็กระทำไปตามที่ไม่รู้เรื่อง
โมหาคติ ตามตัวแปลว่าลำเอียงเพราะหลง
หลงเข้าใจผิด คือไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่รู้มันเป็นอย่างไร
แล้วก็ทำไปเหมือนกับรู้ ภยา คติ ลำเอียงเพราะความกลัว

ถ้ามีอคติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่างนี้ ความยุติธรรมหายไป หาได้ยาก

เรื่องที่มนุษย์ตัดสินว่าผิด ถูก ดี หรือชั่ว แน่นอนคือไม่แน่นอน
หรือว่าไม่แน่นอนเสมอไป เชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้
ความรู้สึกว่าพวกเราหรือพวกเขา มันจะมาเป็นกำแพงกั้นความยุติธรรม
คือปิดบังดวงปัญญา ทำให้ผู้รู้ทำอะไรอย่างคนโง่
และทำให้ผู้มีอำนาจลงโทษคนที่ไม่ผิด
ทำให้อาจารย์ทำร้ายลูกศิษย์ เช่น อาจารย์ขององคุลิมาล
ยืมมือคนอื่นประทุษร้าย เพราะโมหาคติ และภยาคติของตน
ทำให้อาจารย์ผู้สอนธรรม กลายเป็นผู้ไร้เสียซึ่งความยุติธรรม

ความโง่เขลาเบาปัญญาเพราะอคติ
ตามที่กล่าวนี้ทำให้ผู้ครองนคร กลายเป็นฆาตกร
ตัวอย่างเช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล
ในสมัยพุทธกาลวางแผนฆ่าพันธุลเสนาบดี พร้อมด้วยบุตรจำนวนมาก
ผู้ไม่มีความผิดเลยแม้แต่น้อยนี้เรื่องยาว ยกมาพอเห็นตัวอย่าง

ความยุติธรรมตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดหรือว่าเชื่อถือได้ที่สุด
เช่น การประพฤติผิดต่อธรรมชาติของร่างกายภายนอก
ก็ได้รับผลตอบแทนมา เช่น กินของเผ็ดเข้าไป มันก็ร้อนกระเพาะ
กินของเปรี้ยวจัด มันก็แสบกระเพาะ มันเป็นความยุติธรรมสากล

ความยุติธรรมนี้อยู่ที่ใด พูดถึงความยุติธรรมประดิษฐ์นะครับก็อยู่ที่คน
ถ้าเป็นความยุติธรรมที่คนตั้งขึ้น มันก็อยู่ที่คน
ถ้าคนมีธรรม ความยุติธรรมก็มี
ถ้าคนไม่มีธรรม ความยุติธรรมก็ไม่มี
เราขอความเป็นธรรมจากคนไม่มีธรรม เขาจะเอาที่ไหนให้
เพราะว่าเขาไม่มีธรรม เหมือนกับเราไปคั้นเม็ดทรายเพื่อจะเอาน้ำมัน
เม็ดทรายมันไม่มีน้ำมัน เราไปคั้นให้ตาย น้ำมันมันก็ไม่ออกมา
เราไปรีดเขาโคเพื่อจะได้น้ำนมโค ก็เหนื่อยแรงเปล่า เพราะที่เขามันไม่มี

เพราะฉะนั้น ความยุติธรรม มันก็อยู่ที่คน
ถ้าคนมีธรรม ฉะนั้นถ้าเราต้องการความยุติธรรม
เราก็ต้องพยายามฝึกให้คนมีธรรม
ถ้าคนไม่มีธรรม มันก็ไม่ยุติธรรม จะเอาที่ไหนมาให้

ปัญหาหนึ่งว่า ถ้าความยุติธรรมมาเผชิญหน้ากับเมตตากรุณา
ถ้ามันสอดคล้องกันไปได้ ไม่ขัดแย้งกัน
มีความยุติธรรมด้วย ไม่เสียเมตตากรุณาด้วย
ได้เมตตากรุณาด้วย ได้ความยุติธรรมด้วย อย่างนั้นก็ดี ไม่มีปัญหา

แต่ถ้าเกิดขัดแย้งกันขึ้นระหว่างเมตตากรุณา
กับความยุติธรรมเราจะเอาอะไรไว้และทิ้งอะไรไป
เช่น ถ้าเผื่อประพฤติเมตตากรุณา ก็จะเสียความยุติธรรม
ถ้าดำรงอยู่ในความยุติธรรม ก็จะเสียเมตตากรุณา
ต้องยอมขาดเมตตากรุณา จะเอาอะไรไว้จะทิ้งอะไรไป เช่น

ครูกับนักเรียน ถ้าบอกข้อสอบกับนักเรียนบางคน
เมตตากรุณากับนักเรียนคนนั้น กลัวเขาจะสอบตก
แล้วเขาจะลำบาก ก็บอกข้อสอบเขาไป หรือตรวจข้อสอบให้เขาได้คะแนนดี
ทั้งที่เขาทำไม่ได้ อย่างนี้แม้จะสำรวจใจแล้ว
ว่ามีเมตตากรุณา แต่ว่ามันเสียความยุติธรรม

ท่านผู้รู้ท่านให้เอาอะไรไว้ก่อน เพราะเหตุไร
ในกรณีที่คุณธรรม 2 อย่าง มาเผชิญหน้ากันและขัดแย้งกัน
จำเป็นต้องทิ้งอย่างหนึ่งเอาไว้อย่างหนึ่ง
ดูตัวอย่างเปาบุ้นจิ้นเป็นตัวอย่างที่ดี
ท่านต้องดำรงรักษาความยุติธรรมเอาไว้
ดูเหมือนจะขาดเมตตากรุณา แต่ความจริงก็ไม่ใช่อย่างนั้น
ต้องดำรงความยุติธรรมเอาไว้
เพราะว่าความยุติธรรมเป็นหน้าที่โดยตรงของคนทุกคน

เมตตากรุณา เป็นคุณธรรมเหมือนกัน
แต่เมื่อมาพร้อมกันเป็นหน้าที่โดยอ้อม
แต่ถ้าทำได้ เราประพฤติความยุติธรรม โดยไม่ให้เสียความเมตตากรุณา
แต่ถ้าประพฤติความเมตตากรุณาอย่าให้เสียความยุติธรรม
ถ้าให้เสียความยุติธรรมแล้ว มันจะเสียไปหมดหลายอย่าง

ที่จริงเราสามารถจะผดุงความยุติธรรมไว้ได้ ด้วยเมตตากรุณานั่นเอง
เช่น เราลงโทษคนเพื่อรักษาความยุติธรรม
แล้วก็เป็นการเมตตากรุณาบุคคลผู้นั้นไปด้วย เพื่อไม่ให้เขาทำผิดยิ่งไปกว่านั้น

อันนี้ขอให้ทำความเข้าใจให้ดี

ในปรัชญากรีก มีนักปราชญ์คนหนึ่งของกรีกชื่อ ยูไทโฟ
เป็นเพื่อนของโสเครติส ฟ้องบิดาของตนในฐานะที่ฆ่าคนใช้ในบ้านตาย
โดยการมัดแล้วผลักลงคู คนนี้ก็จมน้ำตายอยู่ในคูนั้นเอง

คนใช้คนนี้ทะเลาะกับเพื่อนคนใช้ด้วยกัน แล้วฆ่าเพื่อนตาย
เจ้าของบ้านรู้เข้าก็เลยจับมัดแล้วก็ผลักลงคู
ไม่เอาใจใส่ ไม่ดูแล คนนี้ก็เลยตาย

ยูไทโฟไปศาลเพื่อฟ้อง ก็ไปเจอโสเครติส โสเครติส
ถูกข้อหาว่าทำเด็กหนุ่มให้เสีย ด้วยคำสอนที่ล้ำหน้าเกินไป
เขาคุยกันระหว่างยูไทโฟกับยูเครติส เรื่องความยุติธรรม
ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ สุทธิธรรม อสุทธิธรรม อะไรบริสุทธิ์ อะไรไม่บริสุทธิ์

ในกรณีของยูไทโฟนี้ ถามว่าเขาควรทำหรือไม่ควรทำ
เขาอ้างว่าเขาทำเพื่อรักษาความยุติธรรม
ไม่ให้บิดาเขาฆ่าคนตายโดยไม่มีความผิด
ท่านผู้ฟังก็ลองเอาไปคิดดูเป็นอาหารสมอง ทำนองนั้นจะช่วยหรือจะฟ้อง
มันเป็นปัญหาที่ขัดแย้งกัน ระหว่างเมตตากรุณา
ความกตัญญูกตเวที กับความยุติธรรม เมื่อมันมาเผชิญหน้ากันเข้า

สำหรับเรื่องความยุติธรรมนี้เป็นสิ่งจำเป็น
ถ้าเราจะรักษาสัจจะ ก็ต้องรักษาสัจจะที่เป็นประโยชน์ และยุติธรรม
ที่นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า สจฺเจ อตเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา
ท่านสัตบุรุษกล่าวว่า สัตบุรุษทั้งหลายดำรงอยู่ในสัจจะที่เป็นประโยชน์
และเป็นธรรมคือยุติธรรม
แม้จะเป็นความจริง แต่ความจริงนั้นต้องเป็นประโยชน์และยุติธรรม
จึงจะพูดได้หรือทำได้ รักษาได้

ทุกคนชอบความยุติธรรม
แต่ว่าน้อยคนนักที่จะดำรงอยู่ในความยุติธรรมโดยสม่ำเสมอ
โดยถูกต้อง เพราะว่าใจมันไม่เป็นธรรม


คัดลอกจาก...หนังสือ คติชีวิต (อาจารย์วศิน อินทสระ)
ที่มา...เรือนธรรม


http://www.ruendham.com

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"กฏแห่งกรรมนั้น" สุดยอดความยุติธรรม

สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 1:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงกับคุณ I am

กฏแห่งกรรมนั้น คือกฏความยุติธรรม
ที่ปราศจากความลำเอียง และเที่ยงตรงนัก


โมทนาสาธุด้วยนะคะคุณลูกโป่ง สาธุ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง