Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สาเหตุของปัญหาในทัศนะของพระพุทธศาสนา : มมร.
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 10 พ.ค.2008, 3:51 pm
ส า เ ห ตุ ข อ ง ปั ญ ห า ใ น ทั ศ น ะ ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
ดร.สุเทพ สุวีรางกูร
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
เพื่อความเข้าใจสาเหตุแห่งปัญหาสังคมได้ง่ายขึ้น
จึงขอแสดงทัศนะของพระพุทธศาสนาเอาไว้ในที่นี้
เพื่อช่วยในการพิจารณาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาต่างๆ ทั้งหลาย
พระพุทธศาสนามีว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ ยังไม่รู้อะไร
ไม่รู้เหตุและผล ไม่รู้ว่าอะไรดีหรือชั่ว อะไรถูกหรือผิด
เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
ไม่รู้จะประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายในสังคมได้ถูกต้องอย่างไร
เพราะยังไม่มีการศึกษาเรียนรู้มีประสบการณ์ทางสังคม
การใช้ชีวิตทางสังคมสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย
ก็ติดขัดคับข้องก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อนสับสนวุ่นวาย
ฉะนั้น
ความไม่รู้จริง (อวิชชา)
จึงเป็นรากเหง้าลึกของปัญหาทั้งหลาย
เมื่อไม่มีการศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนอบรมพัฒนาตนเอง
ก็จะไม่รู้เข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ไม่สามารถรู้เข้าใจเหตุผลบาปบุญคุณโทษ
ไม่รู้จะปฏิบัติตนต่อสิ่งทั้งหลายอย่างไร
กลายเป็นผู้โง่เขลาอยากผิดหลงผิดทำผิด
มีแต่ความกระหายอยากต้องการเป็นแรงขับ
ในการกระทำแสดงพฤติกรรมต่างๆ ทั้งหลาย
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาความกระหายอยากต้องการ
ไม่มีเหตุผลถูกต้องชอบธรรมไม่มีการควบคุมไม่มีความอดทนอดกลั้น
ไม่แตกต่างไปจากสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย
เป็นอยู่เป็นไปด้วยสัญชาตญาณและความอยากต้องการที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
ในความหมายนี้ ตัณหาที่ปราศจากปัญญา
ก็จะเป็นตัวกำหนดช่วยเพิ่มแต่ทุกข์ก่อแต่ปัญหา
ชีวิตที่ดีไม่มีปัญหานั้น
มนุษย์ต้องมีการศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนอบรมพัฒนาตนเอง
ให้มีปัญญาอย่างแท้จริง ปัญญาที่รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด
รู้ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
แล้วประพฤติปฏิบัติสอดคล้องสัมพันธ์
กับปรากฏการณ์ทางสังคมตามความเป็นจริง
ก็จะแก้และดับปัญหาชีวิตทางสังคมได้ ตรงนี้ชัดเจน
พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตหรือตนเองให้เกิดปัญญา
ในสังคมมนุษย์ทั้งหลาย คนที่ประเสริฐสุดคือคนที่ฝึกฝนอมรมตนดีแล้ว
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า จะพัฒนาประเทศชาติ
ให้พัฒนาที่คน จะพัฒนาคน ให้พัฒนาที่จิตใจ
จะพัฒนาอะไรๆ ต้องพัฒนาตนเองก่อน
คนที่พัฒนาตนเองถึงที่สุดแล้ว จะมีความรู้ มีความสามารถ
มีคุณธรรม รู้จักทำงานประกอบอาชีพ
รู้จักวิธีดำเนินชีวิตให้คงอยู่เป็นไป มีชีวิตที่ดีงามประเสริฐไร้ปัญหา
สาเหตุที่ทำให้ชีวิตทางสังคมมีปัญหาโดยตรง
ก็คือความกระหายอยาก (ตัณหา) ในชีวิตทางสังคม
ต้องประสบพบกับความหิวกระหายอยากต้องการ
พบกับสิ่งที่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ
หรือมีอารมณ์ความรู้สึกเฉยๆ อยู่ตลอดเวลา
เมื่อหิวกระหายอยากต้องการเกิดขึ้นมา ก็แสวงหาเสพบริโภค
หากได้รับการตอบสนองพอเพียง ก็พึงพอใจสุขสบายใจไร้ปัญหา
หากไม่ได้รับการตอบสนองเพียงพอ
ก็จะกระวนกระวายเดือดร้อนเป็นปัญหา
บางคนรู้เข้าใจจัดการควบคุมได้ ในขณะที่บางคนทำไม่ได้
เลยปล่อยตัวและใจเป็นไปตามอำนาจความกระหายอยาก
ก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและสังคม
ตัณหา คือความกระหายอยาก มีอยู่
๓
ประการ (ตัณหา ๓) คือ
๑. ความอยากในกาม (กามตัณหา)
เป็นความกระหายอยากต้องการกามคุณเพื่อตอบสนองประสาทสัมผัสทั้งห้า
กระหายอยากได้อารมณ์ที่พึงพอใจชอบใจมาเสพปรนเปรอตน
เป็นความกระหายอยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้องทางกาย
ที่น่าพึงพอใจชอบใจ รวมไปถึงกระหายอยากในตำแหน่งอำนาจ
ชื่อเสียงเกียรติยศ คำยกย่องสรรเสริญ เป็นต้น
เป็นความกระหายอยากต้องการเสพบริโภคตามกิเลสตัณหา
ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอไร้เหตุผลถูกต้องชอบธรรม
เป็นภาวะกระวนกระวายเร่าร้อนหลงใหลมัวเมาในเสพบริโภค
แม้ประสบพบกับปัญหาชีวิตทางสังคม
ก็ไม่รู้เข้าใจในโทษภัยอันตรายที่เกิดขึ้นตามมา
๒. ความอยากให้คงอยู่อย่างนั้น (ภวตัณหา)
อยากต้องการให้คงอยู่ตลอดไป กระหายอยากได้นั่นได้นี่ เป็นโน้นเป็นนี่
อยากได้ตำแหน่งอำนาจ เมื่อได้แล้วมีแล้วในสิ่งที่ตนรักชอบพอใจ
อยากต้องการให้มีอยู่ คงอยู่ เป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ตลอดไป
ไม่ต้องการให้มีการผันผวนเปลี่ยนแปลงสูญหายไป
เป็นการยึดติดในตัวตนในวัตถุเกินไป
ไม่ยอมรับเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
เมื่อมีความยึดติดรักชอบพึงพอใจ
ก็พยายามปกป้องรักษาคุ้มครองให้คงอยู่อย่างนั้นตลอดไป
ไม่ยอมให้พลัดพรากจากกันไป
เมื่อต้องการอยากให้มีอยู่คงอยู่ตลอดไป
แต่กลับไม่คงอยู่อย่างนั้นต่อไป
จึงตกอยู่ในภาวะผิดหวังเสียใจกระวนกระวายเร่าร้อนทุกข์ใจเป็นปัญหา
๓. ความอยากให้หายพ้นไป (วิภวตัณหา)
อยากต้องการให้ดับสูญหายไป สิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายทั้งปวง
สิ่งที่ตนเกลียดไม่รักชอบพึงพอใจ ขอจงให้ดับสูญหายไป
เมื่อประสบปัญหาชีวิตทางสังคม ก็ต้องการให้มันหายไปโดยเร็ว
ในบางครั้ง ถึงกับฆ่าคนอื่นหรือตัวเอง เพื่อแก้ปัญหาชีวิตทางสังคม
ตายไปแล้วปัญหาทุกอย่างก็จะจบไป
เมื่อต้องการอยากให้พินาศสูญหายไป
แต่กลับคงอยู่อย่างนั้นต่อไป คิดแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ไม่เข้าใจกระบวนการชีวิตและกระบวนการเหตุปัจจัย
จึงผิดหวังเสียใจกระวนกระวายเดือดร้อนประสบพบกับปัญหาชีวิตทางสังคม
(องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต, ๒๕๓๘ : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒, ข้อที่ ๓๗๗, หน้าที่ ๔๙๔)
หากวิเคราะห์พิจารณาให้ซึ้ง
ถึงความกระหายอยากไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ
ความกระหายอยากเหล่านี้
เป็นลักษณะอยากผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมไร้เหตุผล
เป็นฝ่ายต่ำตามอารมณ์ไม่สามารถอดทนอดกลั้นยับยั้งได้
ไม่อยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม
ไม่คำนึงถึงคุณค่าความหมายประโยชน์ในการเสพบริโภค
ทำลายคุณภาพชีวิตก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและสังคม
เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันริษยาเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนฆ่าทำลายกัน
เป็นแรงกระตุ้นจูงใจผลักดันให้กระทำผิด
ให้ชีวิตดำเนินไปในทางที่ผิดมีปัญหา
คนส่วนใหญ่ขาดการคิดพิจารณากระบวนการความอยากในชีวิตทางสังคม
ไม่สนใจกระบวนการเหตุผลหรือถูกผิด
จึงต้องประสบพบกับความทุกข์มากกว่าความสุข
หรือความผิดหวังมากกว่าความสมหวัง
พระพุทธศาสนาชี้เหตุแห่งปัญหาโดยตรง
ไปที่ความกระหายอยากต้องการ
ความทะยานอยากไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอไร้เหตุผล (ตัณหา)
เป็นสาเหตุของปัญหาทั้งหลาย
เพราะเป็นแรงกระตุ้นจูงใจโดยตรงในการผลักดันขับเคลื่อน
ให้มนุษย์กระทำแสดงพฤติกรรมต่างๆ ทั้งหลาย
และทรงชี้เหตุแห่งปัญหาโดยอ้อมไปที่ความไม่รู้จริงสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย
ตามความเป็นจริง (อวิชชา) เป็นรากเหง้าลึกของเหตุแห่งปัญหา
อวิชชาเป็นกิเลสที่ละเอียดมาก ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของปัญหา
คนเกิดมาในโลกนี้ไม่รู้ไม่เข้าใจอะไร
ไม่มีความกระหายอยากต้องการ ดำเนินชีวิตเป็นไปธรรมดา
ยังไม่มีการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ทั้งหลาย
ก็ยังไม่มีปัญหาอะไรในชีวิตทางสังคม
ต่อเมื่อใดไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย
แล้วมีความกระหายอยากต้องการ
มีแรงกระตุ้นจูงใจให้กระทำแสดงพฤติกรรม
ก็จะเกิดปัญหาตามมาทันที
ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน
ความไม่รู้จริงเปรียบดังอาการเมาสิ่งเสพติดเมายาบ้าหรือเมาเหล้า
ความกระหายอยากต้องการเปรียบเหมือนคนเมาไปฆ่าทำลายคนอื่น
เกิดความเสียหายทางร่างกายและทรัพย์สินขึ้นมา
การฆ่าทำลายเป็นการก่อปัญหาสร้างความเดือดร้อน
และเป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
(ที่มา :
http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1045&Itemid=148
)
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 12 พ.ค.2008, 2:24 pm
สาธุจ้า...คุณกุหลาบสีชา
ธรรมะสวัสดีค่ะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th