ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
22 เม.ย.2008, 11:19 am |
  |
พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ที่มุ่งตอบปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรเราจะเข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้น เชิงได้ คนทั้งหลายมักมองข้ามเรื่องความพ้นทุกข์ แต่มุ่งความสนใจไปที่การแสวงหาความสุข เพราะไม่รู้ความจริงว่า ร่างกายจิตใจนี้เป็นกองทุกข์แท้ ๆ ไม่มีทางทำให้เกิดความสุขถาวรได้จริง ยิ่งดิ้นรนหาความสุขหรือหนีความทุกข์มากเพียงใด จิตใจก็ยิ่งมีภาระและความทุกข์มากขึ้นเพียงนั้น เพราะไม่ว่าจะดิ้นรนเพียงใด ความสุขที่ได้มาก็ไม่เคยเต็มอิ่ม หรือมิฉะนั้นก็จืดจางไปอย่างรวดเร็วเสมอ ความสุขเสมือนสิ่งที่รอการไขว่ คว้าช่วงชิงอยู่ข้างหน้า เหมือนๆ จะคว้าได้ แต่ก็จะหลุดมือไปรออยู่ข้างหน้าต่อไปอีก เป็นเครื่องยั่วและเร่งเร้าให้เกิดการดิ้นรนอยู่ตลอดเวลาโดยหวังที่จะได้ครอบครองความสุขอันถาวรให้ได้
แท้จริงความสุขที่พวกเราเที่ยวแสวงหานั้นเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไขว่คว้าไม่ถึง เรามักคิดว่า ถ้าได้สิ่งนั้น ถ้ามีสิ่งนี้ ถ้าไม่เจอสิ่งโน้นก็จะมีความสุข เราไปหลงว่าความรู้ ทรัพย์สินเงินทอ ง ครอบครัว ญาติมิตร ชื่อเสียง อำนาจ ความสนุกสนาน สุขภาพ ฯลฯ คือตัวความสุข เราเอาแต่ดิ้นรนแสวงหาความสุขโดยไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง
พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้แสวงหาความสุขชนิดที่เป็นภาพลวงตานั้น แต่สอนให้เรียนรู้ทุกข์ซึ่งเป็นความจริงของชีวิต มีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ตอบปัญหาเรื่องทุกข์ไว้โดยตรง รวมทั้งบอกสาเหตุของความทุกข์ และบอกวิธีปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิงเอาไว้ด้วย ถ้าเราศึกษาเรื่องทุกข์จนเมื่อใดเข้าถึงความพ้นทุกข์ เมื่อนั้นจะได้พบกับความสุขอันเต็มบริบูรณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานี้ทันที
ความทุกข์เกิดจากอะไร
สำหรับบุคคลและสัตว์ทั่วไปแล้วมักรู้สึกว่า ความไม่สมอยากทำให้เกิดทุกข์ เช่นอยากเป็นหนุ่มสาวแล้วต้องแก่ก็ทุกข์ อยากแข็งแรงแล้วต้องเจ็บป่วยก็ทุกข์ อยากเป็นอมตะแล้วต้องตายก็ทุกข์ อยากได้แล้วไม่ได้ก็ทุกข์ ไม่อยากได้แล้วต้องได้ก็ทุกข์ แต่ถ้าปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นจะรู้สึกว่าเป็นสุข
สำหรับผู้ปฏิบัติจะเห็นความจริงได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปว่า ความอยากต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนักทั้งวันทั้งคืนเพื่อจะให้ เรา เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ถ้าปราศจากความอยาก จิตก็ไม่ต้องดิ้นรนกระวนกระวาย มีแต่ความสุขสงบอยู่ในตัวเองเท่านั้น
สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว พบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยาก หรือไม่ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพราะอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากจะให้กายใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้กายใจพ้นทุกข์ถาวร แล้วเกิดความดิ้นรนทางใจ ก่อเป็นความทุกข์มาเผารนจิตใจอยู่แทบตลอดเวลา แม้เมื่อร่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรุงขันธ์ใหม่ขึ้นมาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์ต่อไปอีก ดังนั้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้ความจริงของรูปนามนี้แหละ จึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์อย่างแท้จริง เพราะทำให้เกิดการหยิบฉวยรูปนามอันเป็นก้อนทุกข์ขึ้นมาถือไว้ แล้วเกิดการดิ้นรนทางจิตใจตั้งมากมายเพื่อจะขจัดความทุกข์ออกจากรูปนาม และหาความสุขมาให้รูปนาม ตลอดจนก่อให้เกิดขันธ์ใหม่สืบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงก่อเกิดเป็นความทุกข์ซ้ำซ้อนที่ไม่รู้จักจบสิ้นได้เลย
การเจริญสติคืออะไร
รากเหง้าของความทุกข์ในทัศนะของพระพุทธศาสนา คือความไม่รู้ความจริงของทุกข์ คือรูปนาม/ขันธ์/กายใจ อันเป็นต้นเหตุให้เกิดความอยาก(ตัณหา) ความยึดถือ(อุปาทาน)และความดิ้นรนทางใจ(ภพ)เพื่อจะให้กายใจนี้เที่ยง เป็นสุข และบังคับได้ตามใจปรารถนา ความดิ้นรนนั้นทำให้เกิดความทุกข์ทางใจซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ ง นอกเหนือจากความทุกข์ของรูปนาม/ขันธ์/กายใจที่เป็นทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
หากสามารถรู้เห็นความจริงของรูปนาม/ขันธ์/กายใจได้ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตนของตนที่บังคับได้ จนจิตปล่อยวางความยึดถือกายใจ จิตจะหมดความอยาก ความยึดถือและความดิ้นรนทางใจโดยอัตโนมัติ ความทุกข์ทางใจเพราะความอยาก ความยึดถือและความดิ้นรนก็จะหมดไป จิตจะเป็นอิสระจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์อันเป็นกองทุกข์ และเข้าถึงสันติสุขอันแท้จริงหรือนิพพาน ดังนั้น การจะทำลายรากเหง้าของความทุกข์จึงต้องมีวิชชาหรือปัญญา ทำลายความไม่รู้ความเป็นจริงของรูปนาม/ขันธ์/กายใจ อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ลงไปให้ได้ |
|
|
|
   |
 |
human
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 01 พ.ย. 2006
ตอบ: 41
|
ตอบเมื่อ:
23 เม.ย.2008, 2:21 pm |
  |
แล้วใครละครับที่เป็นคนบอกว่า "ทำไมพุทธศาสนาสอนแต่ "ทุกข์"...มองโลกในแง่ร้ายจัง"  |
|
|
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 เม.ย.2008, 7:48 pm |
  |
|
    |
 |
mammoth19
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2008
ตอบ: 1
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 12:28 am |
  |
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 8:27 am |
  |
เรียนเจ้าของกระทู้
หากได้อ่านข้อคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้ว ก็อย่าคิดว่า ข้าพเจ้าคัดค้าน หรือคิดไปในทางที่ไม่ดี ขอให้ท่านเจ้าของกระทู้ และผู้เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา ให้ถูกต้อง
ศาสนาทุกศาสนา เป็นหลักการที่ถุกสร้างขึ้น เพื่อให้มนุษย์ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ดำรงชีวิต ร่วมกัน อย่างสงบสันติ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เป็นปัจจัย หรือเครื่องช่วย แนะนำ ขัดเกลา อุปนิสัย ของมนุษย์ ผู้มีแต่ความก้าวร้าว ตามสัญชาตญาณของผู้มีพลังและอำนาจ ตามรูปลักษณะสรีระร่างกาย อันได้เปรียบกว่า สัตว์เดรัจฉานอื่นๆ
ศาสนา สอนให้ แนะนำให้ หรือขัดเกลาให้ มนุษย์ รู้จักว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีสภาพจิตใจที่คล้ายคลีงกัน ทุกคนล้วนอยากมีความสุข นั้น หมายถึง การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ซึ่งกันและกัน ตามสมควรต่ออัตภาพ สิ่งที่ทางศาสนาเรียกว่า ความทุกข์นั้น ก็คือ "ความโลภ ความโกรธ ความหลง" อันเกิดจากการได้สัมผัส ทางอายตนะ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันทำให้เกิด รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ
ความโลภ ความโกรธ ความหลง เหล่านั้น ก็ย่อมเกิดจากการกระทำ หรือพฤติกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เกิดจากสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และ อื่นๆ
ดังนั้น ศาสนา จึงสอน จึงแนะนำ จึงขัดเกลา ให้มนุษย์ ได้รู้ว่า ความทุกข์ เกิดจากสิ่งใด และ สิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์นั้น ก็สามารถแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขได้เช่นกัน
ศาสนา ทุกศาสนาจึงสอน จึงแนะนำ จึงขัดเกลา มนุษย์ ให้รู้จักว่า การกระทำ หรือพฤติกรรม หรือการดำรงชีวิต อย่างไร เป็นความทุกข์ อย่างไร เป็นความสุข หรือหนทางให้พ้นจากความทุกข์
สิ่งที่คุณเข้าใจมานั้น ถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวว่า คุณเป็นบุคคลหนึ่ง ที่ทำให้ศาสนาเสื่อมโทรม คุณเป็นคนหนึ่งที่บิดเบือนคำสอนในทางศาสนาก็อาจจะได้
แต่สิ่งที่คุณรู้ คุณเข้าใจมา อาจจะเป็นการรู้เท่าไม่ถึงกาล คือ รู้แต่ไม่ได้พิจารณาถึงหลักการทางศาสนาอย่างถ่องแท้ จึงเข้าใจหลักการทางศาสนาไปในทางที่ผิดๆ
โปรดได้คิดพิจารณา ให้ดี
อนึ่ง จงระลึกไว้เสมอว่า "ศาสนา ไม่ได้สอน ไม่ได้แนะนำ ไม่ได้ขัดเกลา ให้มนุษย์ หลีกหนี สังคม หรือหลบหนีผู้คน แต่ศาสนา สอนให้ แนะนำให้ ขัดเกลาให้ มนุษย์ รู้จักว่า สิ่งใดเป็นความทุกข์ สิ่งใดเป็นความสุข หรือหนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ อันสามารถ ยังให้บุคคลดำรงชีวิตอยุ่ในสังคมโลก ได้อย่างสงบสันติ" ฉะนี้ |
|
|
|
  |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
30 เม.ย.2008, 1:32 pm |
  |
ถูกต้องแล้วครับ คุณ Buddha
ถูกต้องในส่วนที่เป็นโลกิยสุข .....แต่ระวังยึดติดสุขมาก จนกลายเป็นทุกข์นะครับ |
|
|
|
   |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2008, 10:44 am |
  |
montasavi พิมพ์ว่า: |
ถูกต้องแล้วครับ คุณ Buddha
ถูกต้องในส่วนที่เป็นโลกิยสุข .....แต่ระวังยึดติดสุขมาก จนกลายเป็นทุกข์นะครับ |
ท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หากได้เข้ามาอ่าน ขอให้ท่านทั้งหลาย คิดพิจารณา ข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าให้ดี ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า
ในทางศาสนาแล้ว ไม่มีคำว่า โลกิยสุข โลกิยะธรรม คำสองคำนี้ ถึงแม้ว่า จะมีอยู่ในตำราทางศาสนา มันเป็นเพียง คำอธิบายขยายความในบางเรื่อง
เพราะเมื่อ ทุกคนเกิดมาบนโลก มนุษย์ ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในศาสนาไหน ย่อมต้องการ ความสุข ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ความสุข ในทางศาสนานั้น แท้จริงแล้ว มีเพียงความสุข เพียงรูปแบบเดียว คือ
ความสุข ที่สามารถ อยู่บนโลก ได้อย่างสงบสุข สันติ
เพราะทุกคน เป็นมนุษย์ การได้ รับประทาน ได้มีเครื่องนุ่งห่ม ได้มีที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ล้วน เป็นความสุข ที่มีอยู่บนโลกมนุษย์
แต่บุคคลใด จะมีความ พอดี มากน้อยเพียงใด ก็ย่อมขึ้นอยุ่กับบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุ้ ความเข้าใจ ฯลฯ
ท่านทั้งหลาย อย่าหลงว่า อย่างนั้น เป็นความสุขทางโลก เช่น ถ้าเขาได้เที่ยวผลับเที่ยวบาร์ เป็นความสุขทางโลก ถ้านั่งสมาธิ อยู่กับบ้าน อยู่กับวัด ไม่ไปไหน เป็นความสุขทางธรรม
คิดอย่างนั้น คิดผิดขอรับ
ตราบใดที่ท่านทั้งหลาย ยังครองเรีอน เป็นมนุษย์อยู่ ความสุขที่เกิดขึ้นในใจนั้น เป็นความสุขที่เป็นทางโลกทั้งสิ้น และความสุข ที่เป็นทางโลกนี้แหละ ก็คือ ความสุขที่เป็นทางธรรมด้วย
เพราะสภาพสภาวะจิตใจของบุคคลที่เที่ยวผลับเที่ยวบาร์ กับ สภาพสภาวะจิตใจของคนที่นั่งสมาธิอยู่กับบ้าน กับวัด มีสภาพสภาวะจิตใจไม่แตกต่างจากกันเลยแม้แต่น้อย
แต่ความแตกต่างของบุคคลทั้งสอง คือ ความคิด และพฤติกรรม
และจะเป็นไปในทาง หยาบ หรือ ละเอียด ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความต้องการ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม
ที่สุด ถ้าศาสนาแยกว่า นั้นทางโลก นั้นทางธรรม ไม่นาน ศาสนานั้น ก็จะเสื่อมโทรม เพราะ คนค้าขาย บริษัท ห้างร้าน หรือ อื่นๆ คงไม่มีใครชอบศาสนา แย่ ๆ ที่ยุคน มิให้ใช้จ่าย ใช้สอย เพื่อการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
( ฝากไว้เป็นข้อคิด สำหรับผู้เกี่ยวข้องในศาสนา โดย เฉพาะ ศาสนาพุทธ หากจะพัฒนาศาสนา ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป) |
|
|
|
  |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
01 พ.ค.2008, 3:21 pm |
  |
ขอถามคุณBuddha ...ว่า " คุณเชื่อหรือไม่ว่า เทวดา และพรหมยังต้องตกนรก..เพราะยึดติดในโลกิยสุขจนเกินไป.. |
|
|
|
   |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 8:31 am |
  |
montasavi พิมพ์ว่า: |
ขอถามคุณBuddha ...ว่า " คุณเชื่อหรือไม่ว่า เทวดา และพรหมยังต้องตกนรก..เพราะยึดติดในโลกิยสุขจนเกินไป.. |
ตอบ.....
ท่านทั้งหลายที่เข้ามาอ่านข้อแสดงความคิดเห็นนี้ ขอให้ใช้วิจารณญาณ และขอให้คิดว่า เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น ว่า
เทวดา และ พรหม ไม่มีการตกนรก ดอกนะคุณ เพราะ ผู้จะเกิดเป็น เทวดา และพรหมได้ ต้องมีธรรมะ หรือต้องฝึกปฏิบัติ ตามธรรมะที่ถูกต้อง จนสามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลสได้ ไม่มีการยึดติด ในสิ่งที่คุณว่ามา
ถ้าคุณยังไม่เข้าใจเรื่อง โลกิยะสุข หรือ โลกิยธรรม หรือ โลกุตธรรม
คุณก็กลับไปอ่าน กระทู้แสดงความคิดเห็น ก่อนหน้านี้ และทำความเข้าใจ อย่างช้าๆ ก็จะเกิดความเข้าใจว่า
ในโลกนี้ ถ้าจะกล่าวในแง่ศาสนา ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นทางธรรมทั้งหมด
แต่ถ้าจะกล่าวในแบบไม่เกี่ยวกับ ศาสนา ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเรื่องของทางโลก ทั้งหมดเช่นกัน |
|
|
|
  |
 |
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 10:34 am |
  |
เรียนถามคุณ buddha ครับ
ผู้ที่อยู่บนสวรรค์สามารถภาวนาต่อจนบรรลุพระอรหันต์ได้ไหมครับ
 |
|
_________________ "ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
http://www.wimutti.net |
|
     |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ค.2008, 1:01 pm |
  |
ทศพล พิมพ์ว่า: |
เรียนถามคุณ buddha ครับ
ผู้ที่อยู่บนสวรรค์สามารถภาวนาต่อจนบรรลุพระอรหันต์ได้ไหมครับ
 |
ผู้ที่จะอยู่บนสวรรค์ได้ ย่อมเป็นผู้ที่สำเร็จธรรมบนโลกมนุษย์ ไม่ชั้นใดก็ชั้นหนึ่ง ตังแต่ โสดาบันเป็นต้นไป
และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติธรรมต่อ เป็นเพียง รักษาวิชชา หรือรักษาธรรมที่มีอยู่ในตัว หรือ หมั่นทบทวนฝึกฝนอยู่เป็นนิจ ก็ย่อมรักษาธรรมในตนไว้ได้
เทวดาองค์ใด ไม่บรรลุอรหันต์ จากบนโลกมนุษย์ ย่อมต้องจุติดับและเกิดบนโลกเพื่อฝึกตนให้บรรลุหรือสำเร็จอรหันต์ จากบนโลกมนุษย์ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับ จักรวาลไปในตัว |
|
|
|
  |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2008, 11:34 am |
  |
พรหมตกนรก
ผู้ที่มนุษย์บูชาขอพรอยู่เสมออย่างเช่น พระพรหม ก็ยังต้องตกนรกเลย เพราะก่อนที่ท่านจะมาเกิดเป็นพรหมในพรหมโลก ท่านก็ต้องเคยเกิดเป็นมนุษย์มาก่อน บำเพ็ญเพียรจนได้ฌาน ตายแล้วจึงได้ไปเกิดเป็นพรหม
เมื่อครั้งที่เกิดเป็นมนุษย์ท่านก็ต้องเคยทำทั้งดีทั้งชั่วเอาไว้ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่งแน่นอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสเปรียบเทียบให้พระภิกษุฟังว่า เมื่อพรหมเคลื่อนจากภพของตนแล้ว ที่จะได้กลับไปเกิดเป็นพรหมอีกหรือไปเกิดในภูมิที่ต่ำลงมามีจำนวนน้อย ตกนรกเสียส่วนมาก เทียบได้กับจำนวนฝุ่นที่ปลายเล็บกับผืนดินทั้งปฐพี ฉะนั้น
อ้างอิง..... พระไตรปิฎก มจร.
ดูรายละเอียดใน สํ.ส.(ไทย) ๑๕/๑๗๕/๒๓๗
ดูรายละเอียดใน สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๑๑๗๕-๑๑๗๗/๖๕๔ |
|
|
|
   |
 |
montasavi
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ค.2008, 11:38 am |
  |
การได้ไปอยู่บนสรรค์..ก็ยังมิใช่ที่ปลอดภัย...เพราะ..??? เพราะเมื่อหมดบุญแล้วก็ต้องกลับไปเกิดในอบายภูมิเป็นส่วนมาก ปรากฏความในพระคัมภีร์ว่า
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ปลายพระนขา(เล็บ)ช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ..ภิกษุทั้งหลาย เธอเข้าใจความข้อนี้อย่างไร ฝุ่นที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้อย่างไหนจะมากกว่ากัน
ภิกษุทูลตอบว่า ....ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นที่ปลายพระนขามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวนไม่ได้ เทียบกัน ไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติเทวดามาเกิดในเทวดามีจำนวนน้อย ส่วนเทวดาที่เคลื่อนจากสวรรค์แล้วไปเกิดในนรก ไปเป็นเปรตมีจำนวนมากกว่า พวกเทพชั้น เวหัปผลาที่ไม่ได้สดับพุทธธรรมมีอายุประมาณ ๕๐๐ กัป เมื่อสิ้นอายุให้ระยะเวลาที่เป็นกำหนดอายุหมดไปแล้ว ไปสู่นรกบ้าง ไปสู่แดนเปรตบ้าง
พระองค์ตรัสเปรียบเทียบให้พระภิกษุฟังว่า.... เมื่อพรหมเคลื่อนจากภพของตนแล้ว ที่จะได้กลับไปเกิดเป็นพรหมอีกหรือไปเกิดในภูมิที่ต่ำลงมามีจำนวนน้อยแต่เทวดาที่ต้องไปตกนรกมีจำนวนมาก... เทียบได้กับจำนวนฝุ่นที่ปลายเล็บกับผืนดินทั้งปฐพี ฉะนั้น
สรุปว่า ถ้ายังไม่บรรลุอรหันต์เข้าถึงพระนิพพาน ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป โดยไม่ขึ้นกับศาสนา หรือศาสดาองค์ใด เพราะนี่คือกฎธรรมชาติ ถึงไม่มีใครเชื่อก็ยังคงเป็นอย่างนี้ เพราะนี้คือ กฎธรรมชาติ
อ้างอิง....พระไตรปิฎก..มจร.
สํ.มหา.(ไทย) ๑๙/๑๑๗๘/๖๕๔ , องฺ.จตุ.(ไทย) ๒๑ /๑๙๓/๑๒๕ |
|
|
|
   |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ค.2008, 7:57 am |
  |
ความเห็น ความเห็น
 |
|
|
|
  |
 |
ฌาณ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2008, 4:25 pm |
  |
สาธุ จขกท. ครับ  |
|
_________________ ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ |
|
  |
 |
ปริญญา ไชยา
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 18 ก.ค. 2008
ตอบ: 127
ที่อยู่ (จังหวัด): ราชบุรี
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 10:35 am |
  |
ขอบคุณคับทกความเห็น...มีประโยน์มากจริงๆ...อนโมทนาสาธุ |
|
|
|
   |
 |
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2008, 3:20 pm |
  |
|
  |
 |
lessnez
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 30 ก.ค. 2008
ตอบ: 3
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2008, 4:08 pm |
  |
จริงๆ แล้ว ทุกข์ กับ สุข ในทางโลกจะบอกว่าตัวเดียวกันเลยก็ได้
ถ้าไม่รู้จักทุกข์แล้วจะดับทุกข์อย่างไร |
|
|
|
  |
 |
natdanai
บัวบาน

เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok
|
ตอบเมื่อ:
06 ส.ค. 2008, 10:45 am |
  |
โลกมนุษย์เป็นโลกที่เรามาเพื่อสร้างบารมี
ส่วนสวรรค์ และนรก อยู่ใช้ผลกรรม(กุศล , อกุศล)เท่านั้น |
|
_________________ ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง |
|
    |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2008, 1:57 am |
  |
ทุกความเห็นมีประโยชน์ ถ้าดวงตาเห็นธรรมแล้ว ย่อมไม่กล่าวว่า พุทธศาสนาสอนแต่ ทุกข์ ดอกหนาท่านผู้เจริญ อมิตพุทธ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|