ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
charoem
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 12:30 pm |
  |
ผมอยากทราบว่า การบรรลุธรรม จำเป็นมั้ยที่ต้องบวชพระเสียก่อน
เป็นปุถุชน ชาวบ้านธรรมดา สามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่ครับ
ที่สงสัยเพราะตอนนี้ผมเริ่มอ่านหนังสือเรื่อง 7 เดือนบรรลุธรรม โดยตังตฤน
http://dungtrin.com/7months/index.html
ตอนนี้ในใจผมก็มีกิเลสหนานัก แต่อยากจะบรรลุธรรมบ้าง
ซึ่งผมเริ่มปฏิบัติธรรมและศึกษาหนังสือธรรมมะที่หอพัก
วันแรก 1 มีนาคม 2551 ผ่านมาถึงวันนี้ 1 เดือนกับ 7 วัน (1 มีค-7 เมย 51)
ก็เริ่มตั้งแต่การศึกษาเรื่อง สติปัฐฐาน ถ้าผมตั้งใจทำจริงเดือนกันยายน
ผมก็ต้องบรรลุธรรม ตามที่หนังสือเขียนไว้
แต่มันจะเป็นไปหรือครับ ผมยังเป็นคนทั่วไปอยู่เลย ต้องบวชก่อนมั้ย
แล้วค่อยปฏิบัติ หรือปฏิบัติไปก่อน แล้วมีโอกาสค่อยไปบวชทีหลัง
แล้วสิ่งที่ปฏิบัติไว้แล้วตอนยังไม่บวช จะยังคงอยู่หรือไม่
หรือต้องเริ่มกันใหม่หมดหลังจากบวชแล้ว
ความอยาก หรือ ความต้องการ ที่จะบรรลุธรรม
ผมว่า เป็นกิเลสที่ขวางกั้นใจผมแน่ๆ ถ้างั้นผมควรปล่อยวาง
ไม่คิดเรื่องนี้อีกต่อไปจะดีมั้ยครับ
จากที่อ่านหนังสือมา ผมยังไม่อาจจะละนิวรณ์ 5 ที่เป็นธรรมเบื้องต้นได้เลย
การอาศัยศึกษาด้วยตัวเอง คงจะไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องซะทีเดียว
เลยมาขอคำชี้แนะจากผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทุกท่านด้วยครับ
จะได้ปฏิบัติให้ถูกทาง |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 9:00 pm |
  |
สาระหนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้างกรัชกายไม่เคยอ่านครับ จึงตอบไม่ได้ว่า คุณ ชโลม
จะบรรลุธรรมภายใน 7 เดือนหรือไม่ เพราะคุณเพิ่งอ่านได้เดือนกว่าเอง
อนึ่ง ชื่อหนังสือนี้ น่าจะได้เค้าจากพุทธพจน์นี้ ครับ
เราย่อมกล่าวดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็นวิญญู ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด
เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำสอน ก็จักประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก
โดยชอบต้องการ อันเป็นจุดหมายของพรหมจรรย์ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันทีเดียว
(โดยใช้เวลา) เจ็ดปี..หกปี...ห้าปี ฯลฯ หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน...เจ็ดวัน
(ที.ปา.11/31/58 ฯลฯ)
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 เม.ย.2008, 9:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 9:10 pm |
  |
แต่อ่านหนังสือธรรมะชื่ออื่นๆ มาบ้างนิดหน่อยครับ ได้มาพบพุทธพจน์นี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต ถึงจะมีความปรารถนาว่า
ขอให้จิตของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด ดังนี้ จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่...
เหมือนไข่ไก่ 8 ฟอง ก็ตาม 10 ฟองก็ตาม 12 ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก
ถึงแม้แม่ไก่จะมีความปรารถนาว่า ขอให้ลูกของเรา ใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลาย
เปลือกไข่ออกมาโดยสวัสดีเถิด ดังนี้ ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก
ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่ สํ.ข. 17/261/186
จึงได้ข้อคิดว่า อ่านหนังสืออย่างเดียว กิเลส มีนิวรณ์ เป็นต้น ไม่น่าหลุดร่วงออกไป
จากจิตใจได้นะครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 9:45 pm |
  |
อ้างอิงจาก: |
การบรรลุธรรม จำเป็นมั้ยที่ต้องบวชพระเสียก่อน
เป็นปุถุชน ชาวบ้านธรรมดา สามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่ครับ |
เท่าที่อ่านประวัติทางศาสนาท่านว่าไม่ต้องบวชก็บรรลุธรรมได้ หากรู้เข้าใจธรรมะ
ที่ตนจะบรรลุนั้นคืออะไร
ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์และได้บรรลุธรรมท่านบันทึกไว้ในคัมภีร์ มี ดังนี้ครับ
-พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นมคธ ผู้ทรงถวายเวฬุวันเป็นสังฆารามแห่งแรก
ในพระพุทธศาสนา และทรงรักษาอุโบสถเดือนละ 4 ครั้ง (วินย.4/57-63/64-72)
-อนาถบิณฑิกเศรษฐี เจ้าของทุนสร้างวัดเชตวันที่มีชื่อเสียง ผู้บำรุงพระสงฆ์และสงเคราะห์
คนอนาถาอย่างไม่มีใครอื่นเทียบเท่า (วินย.7/241-256/102-112 ฯลฯ )
-นางวิสาขามหาอุบาสิกาเอตทัคคะฝ่ายทายิกา ผู้แม้มีบุตรธิดามากถึง 20 คน แต่สามารถ
บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี มีบทบาทช่วยกิจการของสงฆ์อย่างสำคัญ เป็นผู้
กว้างขวางและมีเกียรติคุณสูงเด่นในสังคมแคว้นโกศล (วินย.5/153-155/207-214 ฯลฯ)
-หมอชีวกโกมารภัจ แพทย์ใหญ่ประจำพระองค์ราชาแห่งมคธ ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า
และคณะสงฆ์ ผู้มีเกียรติคุณยิ่งยืนตลอดมาในวิชาแพทย์แผนโบราณ
(วินย.5/128-138/168-193 ฯลฯ)
-นกุลบิดาและนกุลมารดา คู่สามีภรรยาผู้ครองรักอันภักดีมั่นคงตราบเท่าชรา
และยังปรารถนาเกิดพบกันทุกชาติไป (อง.เอก.20/151-2/33-4 ฯลฯ)
ทั้งหมดนี้ท่านว่าเป็นพระโสดาบันบุคคล
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
มรรคคา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 11:13 pm |
  |
๗ เดือนบรรลุธรรม ผมก็ได้อ่านเหมือนกันครับนานแล้ว
สาระในหนังสือก็น่าจะยกมาจากพระพุทธพจน์ที่ว่า
ใครก็ตามที่เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างต่อเนื่องเขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน หรือถ้ายังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามีภายในเวลา ๗ ปี หรือ ๖ ปี หรือ ๕ ปี หรือ ๔ ปี หรือ ๓ ปี หรือ ๒ ปี หรือ ๑ ปี หรือ ๗ เดือน หรือ ๖ เดือน หรือ ๕ เดือน หรือ ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน หรือ ๒ เดือน หรือ ๑ เดือน หรือ ๑๕ วัน หรือ ๗ วัน ครับ
ข้อความนี้คัดมาจากส่วนหนึ่งในหนังสือเจ็ดเดือนบรรลุธรรมนะครับ ไม่ทราบเหมือนกันว่าในพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร |
|
_________________ มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก |
|
  |
 |
มรรคคา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
07 เม.ย.2008, 11:20 pm |
  |
การปฏิบัติธรรมเป็นของแปลกนะครับยิ่งถ้าอยากได้ก็ยิ่งจะไม่ได้
ถ้าพึ่งจะเริ่มปฏิบัติ ผมว่าการบรรลุธรรมน่าจะยกไว้ก่อนนะครับ
เอาแค่สามารถมีสติให้มากที่สุดในแต่ละวันให้ได้ก่อนจะดีกว่านะครับ
เพราะว่าถ้าไม่มีสติ สัมปชัญญะแล้วอย่าว่าแต่จะบรรลุธรรมเลยครับ
แค่จะมีจิตใจที่สงบร่มเย็นก็ยังยากเลย |
|
_________________ มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก |
|
  |
 |
charoem
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 7:18 am |
  |
ขอขอบคุณ คุณกรัชกายและคุณมรรคานะครับที่ชี้แนะ จะลองพิจารณาดูครับ |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 6:08 pm |
  |
ขออนุญาตผู้ตั้งกระทู้แทรกข้อความต่อไปนี้เพื่อพิจารณาอีกนิดนะครับ
พุทธพจน์ดังกล่าวแล้วว่า
เราย่อมกล่าวดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็นวิญญู ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด
เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำสอน ก็จักประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก
โดยชอบต้องการ อันเป็นจุดหมายของพรหมจรรย์ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันทีเดียว
(โดยใช้เวลา) เจ็ดปี..หกปี...ห้าปี ฯลฯ หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน...เจ็ดวัน
สาระได้แก่สติปัฏฐาน 4 ดังที่คุณมรรคคาว่าไว้จริงๆ
สติปัฏฐาน 4 มีพุทธพจน์ดังนี้ครับ
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศก
และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔
(แม้จะเห็นแนวทางชัดเจนอย่างนั้น แต่เวลา...นำไปใช้ไปปฏิบัติจริงๆ ไม่ง่าย ครับ
เพราะความเห็นของมนุษย์ต่างกัน มองเห็นสาระกันคนละมุมละด้าน
การฝึกอบรมจึงต่างกันเพราะทิฏฐิด้วย อาจผิดหรือถูกก็ได้เช่นกัน
ดังที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ปรารถไว้ท้าย คาถา) =>
-การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา
ในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน
ไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนา
เป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้
วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมาก
พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน
ศึกษาการเจริญสติ หรือ สัมมาสติ หรือ สติปัฏฐาน ลิงค์นี้ ครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
มรรคคา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 11:32 pm |
  |
อยากจะขอเพิ่มเติมสักนิดนะครับการที่จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้ครบถ้วนและราบรื่นตลอดนั้นต้องเริ่มมาจากสิ่งที่เหล่าพระอริยเจ้าเรียกว่าของหยาบก่อน
ของหยาบที่ว่านี้คือ ศีล ๕ ถ้าหากว่าแค่ศีล ๕ ยังรักษาไม่ได้แล้วก็ไม่ต้องคิดที่จะยกจิตใจขึ้นสูงในการรับรู้สมาธิอันเป็นสิ่งที่ละเอียดกว่าศีล ๕ หรอกครับ
ศีล ๕ ต้องรักษาขนาดที่ว่าแม้แต่มด ปลวก ยุง หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
นั้นเราก็จะไม่เบียดเบียน แถมยังรู้สึกสงสารที่เขาเป็นผู้ที่ไม่มีบุญคุ้มครอง
เหมือนเราๆ ถ้ามีโอกาสได้ช่วยชีวิตของเขาเหล่านั้นเราก็จะทำตามความเหมาะสม เพราะว่าเราเห็นทุกชีวิตมีค่าเสมอด้วยชีวิตเรา เพราะเขาเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย และก็เป็นผู้ที่ประกอบด้วยธาตุ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ หรือรูปนาม เช่นเดียวกันกับเราๆท่านๆ
ดูเหมือนทำยากนะครับแต่ว่าถ้าทำได้แล้วคุณจะมองเห็นโลกอีกแง่มุมหนึ่ง
ที่คุณไม่เคยพบเห็น |
|
_________________ มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก |
|
  |
 |
มรรคคา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2008, 11:36 pm |
  |
ตามหลัก สติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม)
ควรจะเริ่มที่ กาย ก่อน โดยการเฝ้าตามดูลมหายใจเราเท่านั้นเองครับ
หายใจออก ก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ |
|
_________________ มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก |
|
  |
 |
RARM
บัวบาน

เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417
|
ตอบเมื่อ:
09 เม.ย.2008, 4:04 am |
  |
การปฏิบัติ
กายบวช หรือว่าใจ บวชครับ ลองถามตัวเองดู
การบรรลุ บรรลุด้วยกาย หรือบรรลุด้วยใจ ครับ
 |
|
แก้ไขล่าสุดโดย RARM เมื่อ 11 เม.ย.2008, 8:00 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
sittidet
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 26 ธ.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
09 เม.ย.2008, 6:48 pm |
  |
บรรลุ3ขั้นแรกได้แน่นอน คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี แต่อรหันต์ไม่ได้แน่นอนครับเพราะเพศฆราวาสไม่สามารถรับได้ครับ เจ็ดเดือนบรรลุธรรมนั้นไม่ใช่ทุกคนทำแล้วจะบรรลุได้ในเจ็ดเดือน
ผมอ่านหลายรอบแล้วครับ มันเป็นแค่แนวทางให้ครับไม่ได้รับรองว่าเจ็ดเดือนจะบรรลุอย่างตอนจบที่เขาแนะนำให้ผู้หญิงคนหนึ่งทำตามก็ใช้เวลาปีกว่ารับ บรรลุธรรมในที่นี้หมายถึงมีดวงตาเห็นธรรมนั่นเองครับ พระพุทธเจ้าตรัสรับรองไว้แล้วว่าอย่างมากภายในเจ็ดปีดวงตาเห็นธรรมอย่างน้อยก็ขั้นอนาคามีไม่ต้องกลับมาโลกนี้อีกแน่นอนครับ สู้ต่อไปนะจะเป็นกำลังใจให้นะผมก็ดูความไม่เที่ยงอยู่เช่นเดียวกัน |
|
_________________ ผู้ใดมีตนเป็นที่พึ่งนับว่าหาที่พึ่งอันหาได้ยาก |
|
  |
 |
มรรคคา
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
09 เม.ย.2008, 11:39 pm |
  |
เอาประวัติของพระนางเขมาเถรีมาให้อ่านเล่นครับ
พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา
พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระ
นามว่า เขมา เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์
เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์นั้นพระนางได้สดับ
ข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษในรูปสมบัติและเพราะความที่พระนางเป็นผู้หลงมัวเมาในรูปโฉมของตนเอง จึงไม่กล้าไปเข้าเฝ้าพระทศพล ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉมของพระนาง
หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงดำริว่า เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสี
ของอริยสาวกเช่นเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย ดังนั้น พระองค์จึงคิดหาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่งบทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหารเวฬุวันราชอุทยาน
แล้วรับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบสดับบทประพันธ์นั้น พระนางได้สดับคำรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ก็มีพระประสงค์จะ เสด็จไปชม
จึงเข้าไปกราบทูลพระราชาผู้สามี ซึ่งท้าวเธอก็ทรงยินดีให้เสด็จไปตามพระประสงค์ เมื่อพระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้วใคร่จะเสด็จกลับ พวกราชบุรุษทั้งหลายได้นำพระนางไปยังสำนักของพระบรมศาสดาทั้ง ๆ ที่พระนางไม่พอพระทัยเลย
พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสร
นางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็นนางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้
ยืนอยู่ใกล้ ๆ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ
พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่
ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรงอธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัยแล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาลนั้น
พระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า สรีระที่
สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกันขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคาเหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเองเมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้วละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช
เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง
พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน
ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือน เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียใน
วันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหัตถ์ได้ แต่พระนางรู้ว่าอายุสังขารของตนยังเป็นไปได้
จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรงอนุญาตการบวชก่อน แม้พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคืออาการที่พระนางแสดงว่าบรรลุอริยธรรมแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทในสำนักของภิกษุณีสงฆ์เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า
พระเขมาเถรี เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา |
|
_________________ มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก |
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
11 เม.ย.2008, 5:38 pm |
  |
|
    |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
17 ส.ค. 2008, 2:17 am |
  |
พระเขมาเถรี เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา
นับเป็นความรู้ใหม่ค่ะ อนุโมทนาบุญกับทุกท่าน  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
|