Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบว่าอะไรคือเปรียญธรรมครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2008, 11:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ

ขอถามรายละเอียดเกี่ยวกับเปรียญธรรมครับ

1.เปรียญธรรม เอาไว้ใช้เพื่อการใด นำไปสมัครงานได้หรือไม่ได้
2.เปรียญธรรม จะมีสำหรับพุทธมามกะได้หรือไม่
3.ต้องทำอย่างไรในการให้ได้มาซึ่งเปรียญธรรม

ขอรบกวนคำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวด้วยครับ

อีกที่หนึ่งสำหรับผู้บวชจิตครับ

http://www.supawangreen.in.th/

สาธุ ขอบพระคุณแก่ท่านผู้ให้คำตอบด้วยครับ
 

_________________
บวชจิตแวะมาเยี่ยมชมที่นี่ได้ครับ
http://www.supawangreen.in.th/
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
cat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2008
ตอบ: 20

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2008, 10:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิงแล้ว สมัยก่อน เขาไม่ได้เขียนว่าเปรียญหรอกนะ เขาเขียน บาเรียน
เปรียญในปัจจุบันนี้ หมายถึง วุฒิการศึกษาของพระเณร อาจรวมญาติโยมด้วย
ในเมื่อเขาผู้นั้นสอบได้ความรู้เกี่ยวกับภาษาบาลีหรือมคธ เช่น
ผู้ที่สอบได้ เปรียญธรรม 3 ประโยค เรารู้ไม่มากหรอกแค่นี้แหละ
ใครรู้มากมาตอบหน่อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ก. หมวดทั่วไป

1. การศึกษาพระปริยัติธรรม หมายถึง การศึกษาตามหลักสูตรพระประยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง

2. วิชาการพระพุทธศาสนา ตามพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 หมายถึง วิชาการซึ่งจัดให้พระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ต่อไปนี้

(1) หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง
(2) หลักสูตรปริญญาศาสนาศาสตรบัณฑิตของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(3) หลักสูตรปริญญาพุทธศาสรบัณฑิต ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิทยาฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 วิชาการพระพุทธศาสนา หมายถึง วิชาการซึ่งจัดให้มีพระภิกษุสามเณรศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง (ไม่รวมมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง 2 แห่ง เพราะมีพระราชบัญญัติทั้ง 2 มหาวิทยาลัยรับรองโดยเฉพาะ)

3. พระมหา หมายถึง พระภิกษุซึ่งสอบบาลีได้ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป

4. สามเณรเปรียญ หมายถึง สามเณรซึ่งสอบบาลีได้ชั้นเปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป

5. สอบธรรมสนามหลวง หรือสอบบาลีสนามหลวง หมายถึง การสอบพระปริยัติธรรมแผนกธรรมหรือแผนกบาลีประจำปี เพราะการสอบพระปริยัติธรรมแต่เดิมอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นประธานการสอบเอง ต่อมา ในระยะหลังๆ ได้ถวายให้คณะสงฆ์ดำเนินการ แต่ยังคงเรียกว่า สอบธรรมหรือสอบบาลีสนามหลวงอยู่ดี

6. นักธรรม หมายถึง ระบบการศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณร ตามหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม มี 3 ระดับ คือ นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก โดยนักธรรมชั้นเอกเทียบเท่าการศึกษาระดับประถมบริบูรณ์

7. ธรรมศึกษา หมายถึง ระบบการศึกษาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับนักธรรม แต่เป็นหลักสูตรที่ให้คฤหัสถ์ทั้งชายและหญิงได้ศึกษา มี 3 ระดับ คือ ธรรมศึกษาตรี ธรรมศึกษาโท ธรรมศึกษาเอก (แต่ไม่มีการเทียบวุฒิ)

8. ประโยค หมายถึง ระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี มี 8 ระดับ คือ ประโยค 1-2 (ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) ประโยค ป.ธ. 3-9 (7 ระดับ) รวม 8 ระดับ เปิดสอบปีละ 1 ครั้ง มีข้อสังเกตในการเรียกชื่อ ดังนี้

ชั้นที่ 1 เรียกว่า ประโยค 1-2
ชั้นที่ 2 เรียกว่า เปรียญธรรม 3 ประโยค ผู้สอบชั้นนี้จะได้รับการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ถ้าเป็นพระภิกษุจะมีคำนำหน้าชื่อว่า พระมหา ถ้าเป็นสามเณรจะมีคำว่า เปรียญ ต่อท้ายนามสกุล (ใช้คำนำหน้าเช่นนี้จนถึงประโยค ป.ธ.9)

ชั้นที่ 3 เรียกว่า เปรียญธรรม 4 ประโยค (ไม่มีการเทียบวุฒิ)
ชั้นที่ 4 เรียกว่า เปรียญธรรม 5 ประโยค ผู้ที่สอบได้ชั้นนี้หากได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอน 1 ปี และทำการสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง สามารถนำมาขอใบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้

ชั้นที่ 5 เรียกว่า เปรียญธรรม 6 ประโยค ผู้สอบได้ชั้นนี้มีวุฒิเที่ยบเท่าการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (โดยไม่ต้องมีใบเทียบวุฒิ)

ชั้นที่ 6 เรียกว่า เปรียญธรรม 7 ประโยค (ไม่มีการเทียบวุฒิ)
ชั้นที่ 7 เรียกว่า เปรียญธรรม 8 ประโยค (ไม่มีการเทียบวุฒิ)
ชั้นที่ 8 เรียกว่า เปรียญธรรม 9 ประโยค ผู้สอบได้ชั้นนี้ถือว่า มีวุฒิปริญญาตรีตามพระราชบัญญัติผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540

อนึ่ง การศึกษาระดับประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3 ประโยค เรียกว่า เปรียญตรี คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบประโยค 1-2 ขึ้นไป จะต้องสอบได้นักธรรมชั้นตรีก่อน

ระดับเปรียญธรรม 4-6 ประโยค เรียกว่า เปรียญโท คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคขึ้นไป จะต้องสอบได้นักธรรมชั้นโทก่อน

ระดับเปรียญธรรม 7-9 ประโยค เรียกว่า เปรียญเอก คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 7 ประโยคขึ้นไป จะต้องสอบได้นักธรรมชั้นเอกก่อน


http://www.geocities.com/thaibuddhists/term.htm
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 11:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่มเติมข้อมูลให้ค่ะ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน

เปรียญธรรม คือการศึกษาตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทยสายภาษาบาลี
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๗ ชั้น
ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค จนถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ซึ่งเป็นหลักสูตรสูงสุด

เป็นการศึกษาพระไตรปิฎก และหนังสืออธิบายพระไตรปิฎก
คืออรรถกถา ฎีกา เป็นต้น
ทั้งหมดทั้งมวลที่เขียนไว้ด้วยภาษาบาลีนั่นเอง


การศึกษาภาษาบาลีในสมัยโบราณ ก่อนยุคกรุงรัตนโกสินทร์นั้น
เท่าที่ทราบ เป็นการศึกษาแบบที่เรียกว่า มูลกัจจายน์
ซึ่งเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ภาษาบาลีโบราณ

เริ่มเรียนกันตั้งแต่ ธาตุ วิภัตติ ปัจจัย
เพื่อใช้ในการประกอบเป็นศัพท์
เมื่อได้ศัพท์มาแล้วก็เอามาประกอบเป็นประโยค
เรียนรู้รูปประโยค ความหมายของการใช้ถ้อยคำ
เช่นคำนี้ควรใช้ในความหมายเช่นนี้ๆ เป็นต้น

นอกจากนั้นยังต้องเรียน สำนวนนิยมในพระไตรปิฎก
เรียนการแต่งฉันท์ลักษณ์
หรือกาพย์กลอน มีอินทรวิเชียร ปัฐยาวัตร วสันตดิลก เป็นต้น
เมื่อจบแล้ว ก็สามารถอ่านพระไตรปิฎก
รู้ความหมายโดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรมเลย
แถมยังเขียนแต่งหนังสือภาษาบาลีได้คล่องอีก

เช่นในสมัยลานนาไทย ราว พ.ศ. ๒,๐๐๐ นั้น
มีพระภิกษุไทยไปเรียนบาลีลังกากลับมามาก
ได้แต่งหนังสือเป็นภาษาบาลีไว้เยอะ
และยังคงตกทอดเป็นมรดกทางปัญญาของไทย อยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
คาถาต่างๆ เช่น พาหุง ก็ดี ชินบัญชร ก็ดี

นักปราชญ์ท่านก็สันนิษฐานว่า
ได้แต่งโดยพระมหาเถระ ชาวเชียงใหม่ทั้งสิ้น

การเรียนการสอนบาลีในยุคสุโขทัย-ลานนา มาจนถึงอยุธยา และธนบุรีนั้น
จึงยังไม่มีการแบ่งเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่าประโยค เหมือนในปัจจุบัน แต่อย่างใด

ยุครัตนโกสินทร์

เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เสด็จขึ้นครองราชย์ปราบดาภิเษก เป็นปฐมบรมราชวงศ์จักรีแล้ว
ทรงมีรับสั่ง ให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
โดยอาศัยพระไตรปิฎกใบลาน
ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
มีรับสั่งให้รวบรวมไว้จากภัยสงครามในรัชกาลก่อน

การสังคายนาพระธรรมวินัย ในรัชกาลที่ ๑ นี้
เริ่มขึ้นเมื่อวันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๓๑
ใช้เวลา ๕ เดือนจึงสำเร็จ
เมื่อเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว

ทรงมีรับสั่งให้นายช่าง
ทำการจารหรือเขียนพระไตรปิฎกลงในใบลาน ปิดทองร่องชาด
เรียกว่าฉบับทองใหญ่ นับได้รวมทั้งสิ้น ๓๕๔ คัมภีร์
เป็นหนังสือใบลาน ๓,๖๘๖ ผูก
เก็บรักษาไว้ในหอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แล้วให้มีการสมโภช ฉลองพระไตรปิฎกและหอมณ เฑียรธรรม

การศึกษาพระธรรมวินัย ของพระสงฆ์ไทยในรัชกาลที่ ๑ นี้
ท่านแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ เรียกว่าบาเรียน

ซึ่งก็คงจะเอาคำว่า บาลี กับ เรียน มาผสมกันเป็น บาเรียน (ผู้เขียน)

ระดับแรก ผู้ที่เรียนจบพระสูตร เรียกว่าบาเรียนตรี
ระดับกลาง เรียนจบพระวินัย เรียกว่าบาเรียนโท
ระดับสูงสุด เรียนจบพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถ์ เรียกว่าบาเรียนเอก


ซึ่งในรัชกาลที่ ๑ นี้ ยังไม่มีการแบ่งชั้นการศึกษาภาษาบาลี
เป็นประโยค ๓ ถึง ประโยค ๙ แต่อย่างใด

การตั้งเปรียญในรัชกาลที่ ๑ นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้ง
โดยพระราชทานพัดให้ด้วยพระหัตถ์ ในพระบรมมหาราชวัง

รัชกาลที่ ๒ : รัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเรียนบาลี
คือทรงให้แก้ไขระดับการศึกษาเสียใหม่
จากเปรียญตรี เปรียญโท เปรียญเอก
ก็เปลี่ยนมาเป็น ๗ ระดับ
นับตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยค ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค

โดยผู้ที่จะได้รับการตั้งเป็นเปรียญนั้นต้องสอบได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป
ผู้ที่สอบได้ไม่ถึง ๓ ประโยค ยังไม่ให้เป็นเปรียญ

แต่ก็ได้รับการอุปถัมภ์จาก
สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
พระราชวังหน้า ในรัชกาลที่ ๒

เนื่องจากสามเณรสา (ที่ได้ ๑๘ ประโยคในภายหลัง)
ท่านสอบได้เพียง ๒ ประโยค ในขณะมีอายุได้เพียง ๑๔ ปี

ตั้งแต่นั้นมา ผู้ที่สอบได้เพียง ๒ ประโยค
จึงเรียกว่า “เปรียญวังหน้า”
และคำว่า “ประโยค” นี้ กำหนดด้วยการแปลหนังสือบาลี
ต่อหน้าพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
ที่เรียกว่าสอบบาลีสนามหลวงนั่นเอง
เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงกำกับ การสอบด้วยพระองค์เอง

เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดสอบได้
คือแปลผ่าน ๓ ประโยคขึ้นไป
ก็ทรงถวายพัดยศ เรียกว่าทรงตั้งเปรียญในเวลานั้นเลย
แสดงให้เห็นถึงความเอาธุระ ในพระศาสนาของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นอย่างดียิ่ง

การสอบภาษาบาลีในรัชกาลที่ ๒ นี้
ยังคงเป็นแต่การแปลด้วยปากเปล่า
ยังไม่มีวิธีการเขียน แบบในปัจจุบัน
เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นแบบข้อเขียนในปัจจุบันใน พ.ศ. ๒๔๖๙

สมัยก่อนนั้น ก็ยังไม่เรียนเขียนอ่าน เป็นภาษาไทย
เขาเรียนกันด้วย อักษรขอมหรือเขมร
เพิ่งมาเปลี่ยนเอาก็ใน พ.ศ ๒๔๘๕ นี่เอง
จะสังเกตเห็นว่า สมัยโบราณ เวลาพระไทยเขียนภาษาบาลี
มีการลงอักขระเลขยันต์เป็นต้น
ก็ต้องลงด้วยอักษรขอมทั้งนั้น นี่ก็เพราะติดมาแต่โบราณ

ซึ่งกลายเป็นคตินิยมอีกว่า
ถ้าจะลงคาถาให้ขลังแล้วละก็ต้องเขียนเป็นอักษรขอม
เขียนเป็นไทยคนไทยอ่านได้ ก็เข้าใจ
ทีนี้อะไรที่คนเขาเข้าใจมันก็ไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธิ์
เพราะว่าความศักดิ์สิทธิ์นั้น มันเป็นเรื่องของศรัทธา
หาใช่เรื่องของปัญญา คือความฉลาดไม่

(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 07 มี.ค.2008, 11:58 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 11:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในรัชกาลที่ ๓ ได้มีสามเณรรูปหนึ่งเรียนเก่งมาก
ชื่อว่า สามเณรสา ศึกษาอยู่ ในสำนักพระภิกษุวชิรญาณ
(สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะทรงผนวช)
ขณะมีอายุได้ ๑๘ ปี ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรม ในสนามหลวง
(ต่อพระพักตร์รัชกาลที่ ๓) สามารถแปลบาลีได้หมดคราวเดียวถึง ๙ ประโยค
นับเป็นสามเณรรูปแรก ของประเทศไทยที่สอบได้สูงสุด

ครั้นมีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
แต่บวชพระได้ไม่กี่พรรษา พระมหาสา ก็ลาสิกขา ออกไปเป็นฆราวาส

ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๓ แล้ว พระภิกษุวชิรญาณทรงลาผนวช เสด็จขึ้นครองราชย์
ในพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

มีตำนานว่า รัชกาลที่ ๔ มีรับสั่งให้นำนายมหาสาเข้าเฝ้า
พระราชทานผ้าไตร พร้อมกับพระดำรัสถามว่า
จะเอาผ้าไตรหรือว่าจะเอาคุก ?
ก็หมายถึงว่าถ้าไม่บวชก็ต้องโทษ
ทิดสาจึงได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง
ในปีกุน จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔

ขณะมีอายุได้ ๓๙ ปี มี กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมปวเรศวริยาลงกรณ์
พระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
ได้ฉายา “ปุสฺสเทโว” จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศ

พระมหาสาบวชใหม่ได้ ๗ พรรษา
ก็ฟื้นความรู้บาลีขึ้นมาใหม่ ได้สมัครเข้าสอบบาลี สนามหลวงอีกเป็นครั้งที่ ๒ แล้ว
ก็ปรากฏเหตุมหัศจรรย์ เมื่อท่านสามารถ สอบแปล ปากเปล่าได้อีกถึง ๙ ประโยครวด
กิตติศัพท์ของท่านจึงดังระบือไปว่า

“พระมหาสา ปุสฺสเทโว เปรียญ ๑๘ ประโยค !..”

สมณศักดิ์สุดท้ายของพระมหาสา
ท่านได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช"
สถิต ณ วัดราชประดิษฐ์ สถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๔๒ เวลา ๐๒.๒๐ น. ชนมายุ ๘๗ พรรษา
ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ ๖ พรรษา
ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
นี่คือเรื่องพระมหาสา ๑๘ ประโยค

เท่าที่สังเกตเห็น คำว่า “มหา”
เพิ่งมาปรากฏเอาในชื่อของพระมหานาค วัดภูเขาทอง
สมัยพระเจ้าจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก
ก่อนแต่นี้ขึ้นไปมีแต่คำว่า บาเรียนหรือเปรียญ ใช้เท่านั้น
หรืออาจจะใช้มาก่อนหน้านี้แล้วก็เป็นได้
หากเป็นแต่เพียงคำเรียกเท่านั้น
มิได้เขียนเป็นชื่อเรียกขานมาก่อน

สรุปได้ว่า
คำว่ามหาบาเรียนหรือมหาเปรียญที่แบ่งออกเป็น ๗ ระดับ
ตั้งแต่ประโยค ๓ ถึง ประโยค ๙ นั้น
เป็นสมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเป็นสมณศักดิ์ ที่ได้มาด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมซึ่งใช้ภาษาบาลีเป็นสื่อ


สมณศักดิ์ “มหาเปรียญ” นั้น
ก็มีแตกต่างกันถึง ๗ ชั้น ซึ่งท่านได้แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ

คือ เปรียญ ๓ ประโยค จัดเป็นเปรียญตรี
เปรียญ ๔-๕-๖ ประโยค จัดเป็นเปรียญโท
เปรียญ ๗-๘-๙ เป็นเปรียญเอก


สำหรับเปรียญธรรม ๙ ประโยคนั้นถือว่าเป็นชั้นเอกอุ
คือสูงสุดในฝ่ายการศึกษาของคณะสงฆ์ที่จัดขึ้น จึงถือว่ามียศสูง

อยู่ในระดับรองพระราชาคณะชั้นสามัญ
ถ้าได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ สูงขึ้นไปอีก
ก็มักจะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะไปเลย
ไม่ต้องเป็นพระครูสัญญาบัตร
แสดงถึงสมณศักดิ์มหาเปรียญ ๙ ว่าสูงกว่า
พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

นอกนั้นก็มีลดหลั่นกันลงมา
นี้ว่ากันด้วยเรื่อง ระดับของยศพระมหาเปรียญ

ส่วนในด้านการศึกษานั้น
แต่โบราณมา การศึกษาภาษาบาลีนั้น
ถือว่าเป็นการศึกษาที่ยาก หาคนสำเร็จได้น้อย
จึงได้รับการยกย่องจากคนทั่วไป


อย่างไรก็ตาม การที่มหาเปรียญ ตั้งแต่ ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค
ได้รับการจัดระดับเป็นเปรียญตรี เปรียญโท และเปรียญเอกนั้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงนำมาเป็นเกณฑ์กำหนดความรู้ ของพระภิกษุในสายบาลีนี้ว่า

๑. เปรียญ ๓ ประโยค เทียบเท่าปริญญาตรี
๒. เปรียญ ๔-๕-๖ ประโยค เทียบเท่าปริญญาโท
๓. เปรียญ ๗-๘-๙ ประโยค เทียบเท่าปริญญาเอก


แต่ก็เป็นเพียงการกำหนดของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้เท่านั้น
ยังมิได้มีพระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะ
ผู้ที่เรียนจบเปรียญธรรมอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

สำหรับเครื่องหมายสมณศักดิ์ชั้นมหานั้น ก็คือพัด
เมื่อพระภิกษุรูปใด ได้รับพระราชทานพัด
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ก็แสดงว่า ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นมหาเปรียญแล้ว
จึงมีศักดิ์และสิทธิ์ตามสมณศักดิ์


ทั้งสามารถใช้คำ “พระมหา” นำหน้าชื่อของพระรูปนั้นได้
แต่ก็ใช้ได้แต่พระภิกษุ เท่านั้น
ส่วนสามเณรนั้นท่านห้ามมิให้ใช้
ใช้แต่เพียงคำว่า “สามเณร...เปรียญ” เท่านั้น
คือการใช้คำว่าเปรียญต่อท้ายชื่อ

สำหรับพระมหาเปรียญ ที่สึกออกไปแล้ว
กลับเข้ามาบวชใหม่ ท่านก็ไม่ให้ใช้คำว่า “พระมหา” อีก
ให้ใช้แต่เพียงคำว่า “เปรียญ” ต่อท้ายชื่อเท่านั้น
พัดยศของมหาเปรียญนั้น ท่านเรียกว่าพัดหน้านาง มี ๓ สี คือ
เปรียญ ๓-๔ และ ๕ ประโยค เทียบเท่าเปรียญตรี ถือพัดหน้านางสีแดง
เปรียญ ๖-๗ และ ๘ ประโยค เทียบเท่าเปรียญโท ถือพัดหน้านาง
สีเหลือง
เปรียญ ๙ ประโยค เทียบเท่าเปรียญเอก ถือพัดหน้านาง พื้นตาด
สีเหลืองทอง ด้ามงา

การกำหนดนี้มีในปี พ.ศ.๒๕๐๔

ถ้าจะถามว่า แล้วพัดยศที่ว่านี่เอาไปทำอะไร ?

อันนี้ต้องบอกว่า เอาไว้เป็นเครื่องประดับยศ
ในเวลาเข้าร่วมงานหลวงหรืองานพระราชพิธี
ซึ่งในการถือยศนี้ มีผลไปถึงที่นั่งในบริเวณพิธีด้วย

กล่าวคือว่าท่านผู้ใดถือพัดยศระดับใดมา
ก็ต้องนั่งเรียงลำดับไป ตามสมณศักดิ์
จะถือเอาอายุพรรษาเป็นเกณฑ์ เหมือนในงานขึ้นบ้านใหม่ไม่ได้

ดังนั้น ถ้าพระรูปใด ถือพัดที่แสดงถึงยศอันสูงกว่ารูปอื่น
ก็ย่อมได้นั่งสูงกว่า
ส่วนผู้ที่มีสมณศักดิ์ต่ำกว่า
แม้อายุพรรษาจะมากกว่าก็ตาม
ก็ต้องนั่งบนอาสนะอันต่ำกว่า
เพราะการใช้พัดเป็นเครื่องหมายนี่เอง รู้ไว้ใช่ว่า
และนี่คือการรับรองวิทยฐานะพระเปรียญอย่างเป็นทางการ


(มีต่อ)
 


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 07 มี.ค.2008, 11:49 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 11:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศักดิ์และสิทธิ์ตามกฏหมาย

พระราชบัญญัติ
กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.


มาตรา ๔ ให้ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา

(๑) ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และแผนกบาลี สนามหลวง
เปรียญธรรม ๙ ประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีเรียกว่า

"เปรียญธรรมเก้าประโยค" ใช้อักษรย่อว่า ”ป.ธ.๙"

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
รองนายกรัฐมนตรี

ก็เป็นอันว่าพระเปรียญธรรม ๙ ประโยค มีศักดิ์และสิทธิ์เป็นปริญญาตรี ตามกฎหมาย
ส่วนในระดับอื่นๆ นั้น มีวุฒิดังต่อไปนี้

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นพ.ศ.๒๕๒๑
และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.๒๕๒๔
มาใช้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น ในปีการศึกษา ๒๕๒๖

และกระทรวงศึกษาธิการประสงค์จะสนองต่อนโยบายในการบำรุงส่งเสริมพระศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาของสงฆ์

จึงได้พิจารณาการเทียบวุฒิเปรียญธรรมกับวุฒิสามัญที่มีอยู่เดิม ว่า
มีความจำเป็นที่จะต้องปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาแล้ว

ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงให้เทียบวุฒิเปรียญธรรมกับวุฒิสามัญ ดังนี้

๑. เปรียญธรรม ๓ ประโยค (ป.ธ.๓) เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น
ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.๒๕๒๑ (ม.๓)
โดยไม่ต้องออกใบเทียบความรู้

๒. เปรียญธรรม ๕ ประโยค (ป.ธ.๕) และประการณ์ในการสอนวิชาปริยัติธรรม
แผนกธรรม หรือแผนกบาลี หรือในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๑ ปี โดยมีเวลาสอนไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ชั่วโมง
เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๒๖ (ม.๖)

โดยให้กรมการศาสนา เป็นผู้รับรองประสบการณ์
และกรมวิชาการเป็นผู้ออกใบเทียบความรู้ให้


ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๒๖
นายสมาน แสงมลิ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค ในปัจจุบัน
ถือนิตยภัต (เงินเดือน) จากรัฐบาลไทย เดือนละ ๒,๔๐๐ บาท
เทียบเท่ากับยศพระราชาคณะชั้นสามัญ ป.ธ.๓
และเป็นเพียงตำแหน่งเดียว
ที่ได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล
ในฐานะที่สำเร็จการศึกษาของคณะสงฆ์
ถือเป็นบำเหน็จ ในความสำเร็จในการศึกษา


หมายความว่าพระที่สำเร็จเปรียญธรรม ๙ ประโยคนี้แล้ว
แม้จะไม่ต้องสอนหนังสือ ไม่ต้องมีตำแหน่งใดในทางการปกครอง
เรียกว่าอยู่เปล่าๆ ก็ได้รับเงินเดือนจากรัฐบาลไทย

ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชลงมานั้น
ต้องเป็นพระสังฆาธิการ หรือพระที่มีตำแหน่งในทางการปกครองเท่านั้น
จึงจะได้รับพระราชทานนิตยภัตตามตำแหน่ง

ส่วนพระเปรียญชั้นอื่นๆ ตั้งแต่ประโยค ๘ ลงมา
ยังไม่มีการพิจารณาให้เงินเดือนแต่อย่างใด
รวมความเกี่ยวกับพระเปรียญก็คือว่า

นอกจากจะเป็นศักดิ์และสิทธิ์ในทางการศึกษาแล้ว
คำว่า “เปรียญธรรม” ยังเป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ที่จบการศึกษาอีกด้วย


สาธุ สาธุ สาธุ

คัดลอกบางตอนมาจาก : http://www.alittlebuddha.com/html/Jullasarn2004/J0643/Jullasarn06_5.html

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม.
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 22 พ.ค. 2007
ตอบ: 95

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 3:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณครับ

สาธุ
 

_________________
บวชจิตแวะมาเยี่ยมชมที่นี่ได้ครับ
http://www.supawangreen.in.th/
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง