ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:31 pm |
  |
ความฉลาดไร้พรมแดน*
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ
วันนี้อาตมาได้รับนิมนต์มาบรรยายธรรมเรื่องความฉลาดไร้พรมแดน
ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญาความรู้ความเห็น ตามความเป็นจริงนั่นเอง
พุทธศาสนาเรียกได้ว่าเป็นศาสนาแห่งปัญญา
เป็นศาสนาที่สอนว่าการพัฒนาปัญญา
เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนิกชน
อาตมาได้หันมาศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
เพราะความสนใจฝักใฝ่ในเรื่องปัญญา
ตั้งปณิธานจิต มีอุดมการณ์ตั้งแต่เด็กเลยว่า
เป็นผู้ใหญ่แล้วอยากเป็นผู้มีปัญญา
ทั้งๆที่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ว่า ปัญญาคืออะไร
ตอนเด็กไม่เคยคิดว่าศาสนาจะสอนวิธีพัฒนาปัญญาได้
เพราะในคัมภีร์ของศาสนาประจำชาติ
หาคำสอนทางด้านปัญญาแทบจะไม่เจอเลย
ทำให้รู้สึกแปลกแยกจากศาสนานั้นตลอดมา
พออายุประมาณสิบห้าปีเริ่มจะสนใจเรื่องชีวิต
เกิดความสงสัยมากว่าเราเกิดมาทำไม เราเกิดมาเพื่ออะไร
ความดีความชั่วมีจริงไหม มีหลักการตายตัวตามธรรมชาติ
หรือว่าเป็นเพียงเรื่องสมมติ
ปีนั้นอาตมามีโอกาสเดินทางไปเที่ยวอัฟริกาเหนือกับหมู่เพื่อน
เป็นครั้งแรกที่ไปเที่ยวต่างประเทศ
ได้ประสบการณ์ที่มีประโยชน์และประทับใจมาก
โดยเฉพาะในการได้ข้อคิดเรื่องชีวิต
เจอวัฒนธรรมอิสลามก็ได้สัมผัสหลายสิ่งหลายอย่างที่รู้สึกว่าแปลกประหลาด
ซึ่งทำให้เกิดความรู้ขั้นมาว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่อังกฤษ
ที่เคยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่จริงไม่ใช่ เป็นแค่ผลการสมมติกัน
หรือการตกลงกันของชาวเกาะเล็กเกาะหนึ่ง
ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปเท่านั้นเอง
ประเด็นที่ชวนคิดไตร่ตรองมาก
คือว่าเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าความยึดมั่นถือมั่นของคนอังกฤษ
ดีกว่าความยึดมั่นถือมั่นของชาวมอรอคโค
อะไรคือเครื่องตัดสิน
ปัญญาในระดับพื้นฐานจึงเกิดขึ้นจากการดูสิ่งที่คุ้นเคยด้วยสายตาใหม่
เมื่อกลับไปถึงอังกฤษแล้ว
อาตมาก็เริ่มหาคำตอบปัญหาต่างๆ ด้วยการอ่านหนังสือ
ยากจะรู้ว่าทำไมทุกคนในโลกล้วนแต่ต้องการความสุขทั้งนั้น
แต่น้อยคนเหลือเกินที่ประสบความสำเร็จ
อยากจะทราบว่าชีวิตที่ดีงามเป็นอย่างไร มีจริงไหม
เป็นสิ่งที่มนุษย์เราหวังได้ไหม
หรือเราต้องยอมรับว่าชีวิตเป็นอย่างนี้แหละ คือ ผิวเผิน พร่องเป็นนิจ
ความทุกข์เป็นของสากล
แต่ลักษณะอาการของความทุกข์มีต่างๆ
ความทุกข์ของคนในประเทศที่เจริญแล้วมักไม่เกี่ยวกับปัจจัยสี่
การดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดทางเศรษฐกิจมีอยู่แต่ไม่มาก
ความทุกข์ทางใจมักจะเด่นกว่า
เช่นความทุกข์ที่เกิดจากความรู้สึกลึกๆ ว่า
ชีวิตของตนไม่มีความหมาย
ในสมัยปัจจุบันปัญหาสังคมในโลกเจริญแล้วมีเยอะ
และไม่มีวี่แววเลยว่าจะหมดไปเพราะความพร้อมทางวัตถุ
ปัญหายาเสพติดอาชญากรรมไม่น้อยลง
จำนวนผู้ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงทุกปี
แม้ในหมู่วัยรุ่น โรคจิตโรคประสาท น่าตกใจ
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอาการของสังคมที่หลงทาง
และของอารยธรรมที่ถึงจุดตัน
เมื่อสังคมไหนเป็นอย่างนี้
คนจำนวนหนึ่งมักจะกลับไปหาของเก่าคือศาสนาประจำชาติ
เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิต ชาวอเมริกันไปทางนี้ค่อนข้างมาก
ที่อื่นโดยเฉพาะที่ยุโรปมีการแสวงหาแนวทางใหม่
และพุทธศาสนาได้รับความนิยมจากคนจำนวนมากพอสมควร
พระพุทธศาสนามีคำสอนที่ชัดเจน
ไม่ขัดแย้งในตัว ละเอียดอ่อน ซึ่งเน้นภาคปฏิบัติ
โดยมีแนวทางพัฒนาชีวิตให้พ้นจากความทุกข์
เข้าถึงความสุขที่แท้จริง
คือมีระบบการศึกษาที่สมบูรณ์
ส่วนระบบการศึกษาที่ได้รับความนิยมทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นในประเทศทางตะวันออกหรือทางตะวันตกก็ตาม
มักเน้นในการสอนให้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาเฉพาะด้าน
เราจึงได้ผลิตคนออกมาที่ฉลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แต่ไม่ฉลาดในอีกหลายๆ เรื่อง
ความรู้ของคนสมัยนี้จึงค่อนข้างคับแคบ
แน่นอนเราปฏิเสธไม่ได้ว่าการเตรียมนักศึกษา
เพื่อประกอบอาชีพต่อไปเป็นเรื่องจำเป็น
แต่ที่น่าเสียดายก็คือเด็กทุกวันนี้กำลังขาดความฉลาดในความเป็นมนุษย์
เด็กถูกมองว่าเป็นอนาคตของเศรษฐกิจมากกว่าเป็นอนาคตของสังคมโลก
งานและเงินเป็นมิติชีวิตที่กำลังทับถมมิติอื่นเสีย
คนเราชอบลืมภาพรวม ลืมถามว่าเพื่ออะไร
ฉะนั้นถ้ามีใครสงสัยว่าทำไมเราต้องมีศาสนา
ศาสนามีประโยชน์อะไรบ้าง
ศาสนาพุทธหายไปจากประเทศไทยจะเป็นปัญหาอะไร
ก็ตอบได้อยู่นัยหนึ่งว่า
ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้มีความรู้ความเข้าใจ
ในความเป็นมนุษย์ของตน
สามารถทำให้เราได้เห็นภาพรวม
รู้ประจักษ์ในสิ่งที่เหนือวัตถุเหนือการผลิตและการบริโภค
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 8:13 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:38 pm |
  |
ในการพัฒนาประเทศชาติที่ผ่านมาหรือการพัฒนาโลกก็ว่าได้
ความฉลาดที่ได้รับการบำรุงอย่างเห็นได้ชัด
คือความฉลาดในการพัฒนาวิธีการ
เช่นวิธีการสื่อสารและวิธีการทำนั่นทำนี่ซึ่งไม่ผิดอะไร
ข้อบกพร่องอยู่ที่การขาดการพิจารณาว่าเราพัฒนาสิ่งเหล่านี้เพื่ออะไร
มักจะถือเพียงแค่ว่าถ้าทำได้เราต้องทำ เราไม่ทำคนอื่นจะทำ
แต่เราสามารถทำสิ่งต่างๆ เร็วขึ้น สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น
ความเร็วไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป
ความสะดวก ความง่ายนั้นอาจไม่นำไปสู่คุณภาพชีวิตก็ได้
หลวงพ่อชาเคยสอนพวกเราว่าศาสตร์ที่สำคัญที่สุด คือ พุทธศาสตร์
เพราะถ้าเราได้ศึกษาพุทธศาสตร์อย่างถ่องแท้แล้ว
เราเรียนวิชาหรือศาสตร์อื่นต่อไปก็พร้อมที่จะรับประโยชน์เต็มที่
และไม่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ใคร
ทั้งนี้เพราะเรามีแนวทางดำเนินที่ชัดแล้ว เราตั้งเข็มทิศเอาไว้แล้ว
ทุกสิ่งทุกอย่างเราหยิบมาศึกษา ที่หยิบมาวิจัยได้
หากเราขาดพุทธศาสตร์เป็นพื้นฐานแล้ว
ก็ไม่รู้ว่าเราศึกษาเพื่ออะไร อย่างไร
เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ยากที่การพัฒนาของเราจะนำไปสู่ความสุขของชาวโลก
มักจะตกใต้อำนาจของตัณหาและความเห็นแก่ตัว
พระพุทธองค์เคยจำกัดความของคำว่าบัณฑิตหรือนักปราชญ์
ว่าหมายถึงผู้ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
คือพระองค์ทรงสอนว่าใครฉลาดจริง
ต้องมีพฤติกรรมที่ไร้โทษด้วยความฉลาด
ไม่ใช่เรื่องสมอง เรื่อง IQ อย่างเดียว
พระพุทธคุณข้อหนึ่งซึ่งตรงกับเรื่องนี้คือ วิชชาจรณะ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ
วิชาก็คือความรู้ จรณะก็คือความประพฤติ
การกระทำของพระองค์งดงามอย่างยิ่ง
เพราะพระองค์ทำอะไรหรือพูดอะไรก็ตาม
ล้วนแต่เกิดจากความบริสุทธิ์ ความเมตตากรุณา
และปัญญาภายในพระหทัยของพระองค์ทั้งนั้น
ทางหลักพุทธศาสนาของเราถือว่าด้านนอกด้านในต้องสอดคล้องกัน
ต้องมีความสมานกัน ต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ความรู้ภายในหากไม่ปรากฏในการสัมพันธ์กับโลกหรือกับสังคม
ในทางสร้างสรรค์หรือเกื้อกูล
หรือยิ่งร้ายกว่านั้นถ้าถูกใช้ไปในการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น
ท่านไม่ให้เกียรติแก่ความรู้นั้นว่าเป็น ปัญญา
และผู้ที่กระทำอย่างนั้นไม่ถือว่าเป็นบัณฑิต เป็นแค่คนสมองใส
สรุปว่าปัญญาในทางพระพุทธศาสนา
คือวิชาหรือคุณธรรมที่สามารถตัดความทุกข์และกิเลสได้
เป็นความรู้ที่เราน้อมนำไปสู่ประโยชน์
และความสุขที่แท้จริงในชีวิตของเรา
นำไปสู่ความสุขและประโยชน์แก่ชุมชน แก่สังคม
แก่ประเทศชาติ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
ปัญญาในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นจากจิตใจ
ที่สามารถดำรงอยู่เหนืออำนาจของกิเลสที่มีชื่อว่า นิวรณ์
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 8:15 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:43 pm |
  |
นิวรณ์ข้อแรก คือความยินดีในความสะดวกสบาย
การคิดปรุงแต่งในความสนุกสนานต่างๆ ที่เคยมีในอดีต
หรือที่หวังว่าจะมีในอนาคต
จิตใจที่เข้มแข็งและเป็นที่พึ่งแก่ตนได้
ต้องสามารถปล่อยวางความยึดติดใจความสุขทางเนื้อหนังบ้าง
ไม่เอาจริงเอาจังกับมันมากเกินไป
ข้อนี้สำคัญที่สุด
บัณฑิตต้องสามารถอยู่เหนือหรือหลุดพ้นชั่วคราวจากความคิดผิดต่างๆ
จิตใจที่ไม่เป็นเหยื่อของอารมณ์ต่างๆ
ไม่เป็นเหยื่อของความใคร่ในกาม
ความขัดเคือง ความพยาบาท ความกลัดกลุ้ม ความซึมเศร้า
ความวิตกกังวล ความฟุ้งซ่านวุ่นวาย ความลังเลสงสัย
คือจิตที่จะเกิดปัญญา
เพราะสิ่งเหล่านี้บั่นทอนสมรรถภาพของจิต
บั่นทอนความสุข บั่นทอนปัญญาของเราตลอดเวลา
ฉะนั้นการเจริญด้วยปัญญา
มีเงื่อนไขอยู่ที่ความสงบของจิตใจและความรู้ตัว
ความรู้ของเราที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง
หรือจากการอ่านหนังสือเป็นความรู้ในระดับสัญญาคือความจำ
ปัญหาของเราอยู่ตรงที่ว่า
เราสามารถดึงปัญญาระดับนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่แน่นอน
เมื่อสิ่งแวดล้อมอำนวยอารมณ์เราปกติดีอาจจะไม่ยากนัก
ไม่มีอะไรมากระทบกระเทือนจิตใจจนเกินไป
และไม่มีสิ่งที่มีผลต่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรืออัตตาของเราก็พอไปได้
แต่อารมณ์รุนแรงครอบงำจิตใจเมื่อไร
ไม่ว่าจะเป็นความอยากได้ ความโกรธ ความน้อยใจ
ความกลัวหรืออะไรก็แล้วแต่ ปัญญาจะดับไปทันที
อาตมาจึงเคยพูดว่า คนเราฉลาดเฉพาะเวลาที่ไม่โง่
ประธานาธิบดีคลินตันเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ ท่านฉลาดไหม
ถ้ามองในแง่ทั่วไปก็ต้องยอมรับว่าฉลาดมาก
ถ้าไม่ฉลาดก็คงไม่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
การอ่านหนังสือ การจับประเด็นในการถกเถียงกัน การใช้ภาษา ใช้จิตวิทยา
ล้วนแล้วแต่ส่อให้เห็นว่าเขาเป็นคนที่มีไอคิวสูงพอสมควร
เสียแต่ว่าอีคิวอ่อน เนื่องจากว่าเขาขาดวุฒิภาวะทางจิต
ขาดความฉลาดในการบริหารอารมณ์ของตัวเอง
จึงตกเป็นเหยื่อของความรู้สึกทางเพศจนกระทั่วกล้าทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
ผลสุดท้าย เขาทำลายชื่อเสียงเกียรติคุณของตน
สร้างความทุกข์และความอับอายกับครอบครัว
และยิ่งกว่านั้นเนื่องจากว่าเป็นผู้นำประเทศ
ยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงแห่งโลก
(เช่นนโยบายต่างประเทศ
ที่มุ่งเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากเรื่องอื้อฉาวส่วนตัว)
เห็นได้ว่าความฉลาดของมิสเตอร์คลินตันมีขีดจำกัด ไม่สู้สมบูรณ์
คนเรามักมองความฉลาดในแง่คับแคบมาก
เราจึงไม่เข้าใจว่าทำไมคนฉลาดเพิ่มขึ้นทุกวัน
แต่บ้านเมืองไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร
คนสะสมทฤษฎีมากกว่าสั่งสมนิสัยดี ก็เป็นอย่างนี้แหละ
ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก เป็นระบบเรือหางยาวมีหางสั้น
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 7:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:48 pm |
  |
ในสมัยนี้ศาสนามีอิทธิพลน้อยลง
สิ่งที่มีอิทธิพลและได้รับความเคารพนับถือจากคนทั่วไปมากขึ้น
ก็คือ วิทยาศาสตร์ โดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องผูกพันจิตใจของชาวบ้าน
ในสมัยนี้วิทยาศาสตร์จึงมีฐานะคล้ายๆกับศาสนาอยู่พอสมควร
ข้อแตกต่างประการหนึ่งอยู่ที่ว่า
ศาสนายอมรับบทบาทของศรัทธา
คือความเชื่อในสิ่งที่ตนยังพิสูจน์ไม่ได้
ส่วนวิทยาศาสตร์นั้น
ซึ่งคงต้องการให้เราเชื่อในบางสิ่งบางอย่างที่พิสูจน์ไม่ได้เหมือนกัน
แต่วิทยาศาสตร์ไม่ค่อยยอมรับว่าตนเกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือคุณค่าใดๆ
มีอะไรบ้างที่วิทยาศาสตร์ให้เราเชื่อโดยพิสูจน์ไม่ได้ก็มีหลายอย่าง
ตัวอย่างเช่นข้อที่วิทยาศาสตร์ถือว่า
เราสามารถอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาตินอกตัวเราได้
โดยไม่ต้องสนใจหรือรับรู้ต่อธรรมชาติของจิตใจ
วิทยาศาสตร์จะรับเฉพาะสิ่งที่เทคโนโลยีปัจจุบันวัดได้
สิ่งที่วัดไม่ได้ วิทยาศาสตร์ถือว่าอยู่นอกเขตของมัน
แค่นี้ก็ไม่เป็นไรเป็นการยอมรับขีดจำกัดของวิทยาศาสตร์
ในการแสวงหาความจริงอย่างถ่อมตน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมื่อนักวิทยาศาสตร์หลงตัวว่า
วิธีการแสวงหาความจริงของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง
และสิ่งที่วัดได้เท่านั้นที่เป็นความจริง
พอมีความเห็นอย่างนี้ปั๊บ
วิธีการแสวงหาความจริงอย่างอื่นก็กลายเป็นเรื่องงมงายไปหมด
ความจริงที่วัดไม่ได้กลายเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน
หรือถ้ามีจริงก็ไม่มีความสำคัญอะไร
ตรงนี้แหละที่เราเห็นบ่อเกิดของวัตถุนิยมปัจจุบัน
มีความสงสัยว่าวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่า
วิธีการของตนสามารถรู้ความจริงของโลกทั้งหมดได้
หรือพิสูจน์ได้หรือว่า
เหตุผลของมนุษย์สามารถเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้
ทั้งที่ไม่รู้จักจุดกำเนิดของเหตุผลคือจิต
ทางพุทธศาสนาเราถือว่าวิทยาศาสตร์ยังเป็นระบบที่บกพร่องอยู่
เพราะไม่สามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม
การที่วิทยาศาสตร์มักมองข้ามความสำคัญของจิตใจ
ย่อมมีผลกระทบต่อทุกวิชาการ
การที่ให้ความสำคัณเฉพาะกับสิ่งที่เราวัดได้
และไม่ยอมรับในสิ่งที่เราวัดไม่ได้
เป็นการสร้างขีดจำกัดในการแสวงหาความจริง
ซึ่งอาจทำให้เกิดความคิดผิดได้
หลายอย่างพิสูจน์ไม่ได้ แต่เป็นส่วนสำคัญของชีวิต
เอาง่ายๆว่าความรักมีจริงไหม มีซิ
พิสูจน์ได้ไหม จะเอาอะไรมาพิสูจน์ได้
เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งใช่ไหม
ความเกลียดมีจริง แต่พิสูจน์ได้ไหม
ก็พิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เพราะวัดไม่ได้
มันเลยขอบเขตของวิทยาศาสตร์
ที่นี้นักวิทยาศาสตร์อาจจะค้านว่าความรู้สึกเหล่านี้
เป็นผลพลอยได้ของการทำงานของสมอง
กำลังค้นคว้าในเรื่องนี้อยู่
หวังว่าอีกไม่นานจะสามารถจับกลไกได้
ถ้าไม่ฟังดีๆ เราอาจจะไม่สังเกตความเชื่อที่ซ่อนเร้นอยู่ในคำพูดนี้
หนึ่งความเชื่อว่าวัตถุมาก่อนและเป็นที่ตั้งของจิตซึ่งไม่เคยพิสูจน์ได้
ในห้าสิบปีที่ผ่านมา เขาใช้งบประมาณในการวิจัยสมอง
ไม่รู้กี่พันล้านยังไม่ค่อยได้เรื่องอะไร
สองความเชื่อว่าสิ่งใดที่เขายังไม่เข้าใจ
ในอนาคตเขาจะต้องเข้าใจอยู่ เพราะวิธีการเขาถูกแล้ว
ความยึดมั่นถือมั่นในวิทยาศาสตร์เป็นความงมงายได้
วิทยาศาสตร์มีคุณประโยชน์มีคุณประโยชน์ต่อเรามาก
อาตมาไม่มีเจตนาดูหมิ่น
เพียงแต่อยากให้เห็นว่าเป็นส่วน
หรือสาขาหนึ่งของการแสวงหาความจริงของมนุษย์
มีทั้งคุณและโทษ เป็นสิ่งที่เราควรรู้เท่าทัน
ไม่อย่างนั้นอาจจะกลายเป็นอุปสรรคของการเกิดความฉลาดที่สมบูรณ์
คือความฉลาดที่นำไปสู่ปัญญาที่จะดับความทุกข์ของมนุษย์เราได้
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ม.ค. 2008, 12:08 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:52 pm |
  |
ส่วนพระพุทธศาสนานั้นยืนยันว่าความฉลาดและปัญญาจะเกิดขึ้นได้
จะเป็นปัญญาที่บริสุทธิ์ไม่มีโทษก็โดยมีเงื่อนไขทางจิตใจ
ถ้าจิตใจขาดการฝึกอบรม
ไม่ได้สัมผัสความสงบในระดับใดระดับหนึ่ง
ปัญญาที่เกิดขึ้นจะไม่บริสุทธิ์
เราจะอดลำเอียงไม่ได้
ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ย่อมฝังอยู่ในปัญญานั้น
การเข้าข้างตัวเองและอิทธิพลของความโลภ
ความโกรธ ความหลงต่างๆจะค่อยๆปรากฏขึ้น
ถ้าเราไม่ฉลาดในอารมณ์ของตน
ความรู้ความเข้าใจของเรา
แม้ใจวิชาการที่ตนถนัดเคยเรียนมาอาจถูกตัณหาดึงไปได้
เมื่อเราตึงเครียดมีความกดดัน มีเรื่องวิกฤต
เราจะพึ่งเหตุผล ใช้ความฉลาดของเรามาแก้ปัญหาไม่ค่อยทัน
ยกตัวอย่างจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อสามปีที่แล้ว
ตอนค่าเงินบาทกำลังตกฮวบ
ความตระหนกตกใจของพวก Finance บางคน
ทำให้สถานการณ์เสื่อมเร็วขึ้น
หมู่ผู้เล่นหุ้นมีลักษณะเหมือนฝูงแกะ
พอผู้นำทางขวัญบิน ตัวอื่นก็วิ่งแตกตื่นไปหาทางออกจากอันตราย
เกือบทุกคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจปีนั้น คงมีการศึกษา
แต่เมื่อเจอจุดวิกฤตที่คุกคามผลประโยชน์หรืออัตตาตัวเอง
เหตุผลต่างๆ ความฉลาดของคนเรามักจะถูกอารมณ์ครอบงำ
ไม่ทึ่มก็โม้ อย่างนี้ห่างไกลธัมโม
อาจพูดได้ว่าเศรษฐศาสตร์ไม่ได้อยู่ในโลกที่เป็นจริง
เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ที่อาศัยภาพ
หรือเป็นโมเดลในโลกของมนุษย์ที่ไม่มีอารมณ์ไม่มีกิเลส
นอกจากความต้องการหาผลประโยชน์อย่างมีเหตุผล
แต่ในโลกที่เป็นจริงคนเรามีกิเลสเยอะ เราไม่ค่อยรู้จักตัวเอง
จึงสามารถทำตามหลักเหตุผลได้น้อยวิ่งตามความรู้สึกมากกว่า
ผู้ที่จะดำเนินอย่างสม่ำเสมอ
ตามหลักเหตุผลคือผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมทางจิตอย่างดีแล้ว
พระพุทธศาสนามีระบบการพัฒนาชีวิต
ที่ละเอียดอ่อนและสมบูรณ์แบบ
เป็นทรัพยากรล้ำค่าของชาวโลก
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งของชาวไทย
เมื่อเป็นเช่นนั้นอาตมารู้สึกทั้งเสียใจและเสียดายว่า
เมืองไทยยังเอาหลักธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาสังคมน้อย
ความจริงเมืองไทยได้เปรียบต่างประเทศกันพอสมควรในเรื่องศาสนา
เพราะหนึ่ง เรามีเอกภาพทางศาสนาสูง
สองคือมีศาสนาที่มีระบบการศึกษา
หรือพูดอีกนัยหนึ่งมีศาสนาที่เป็นตัวระบบการศึกษา
พร้อมที่จะเป็นเครื่องพัฒนามนุษย์ทั้งในแง่ไอคิวและอีคิว
ฉะนั้นนอกจากไม่สร้างความวุ่นวายแก่สังคม
หรือกระตุ้นความรู้สึกของประชากรให้รุนแรงแล้ว
พระพุทธศาสนายังให้แนวทางพัฒนาประเทศชาติ
เพื่อเข้าถึงสังคมที่ยุติธรรม และมีสันติสุข
สิ่งที่น่าสังเกตในเรื่องนี้
ก็คือพุทธศาสนาไม่ได้เอาอุดมการณ์เป็นที่ตั้งของการพัฒนา
แต่เอาการรู้เท่าทันธรรมชาติของมนุษย์เป็นแก่น
จึงเป็นระบบที่เป็นทั้ง practical และ realistic
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 11:59 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 5:56 pm |
  |
เราทุกคนก็คงเคยได้ยินคำว่า ภาวนา
คนส่วนมากเข้าใจว่าภาวนาเป็นเรื่องของการนั่งหลับตา
อันที่จริงแล้วคำว่า ภาวนา คำสมัยปัจจุบันว่า พัฒนา นั้นเอง
การภาวนาในพุทธศาสนาต้องดำเนินไปในสี่ด้านพร้อมๆกันเลย
จึงจะได้ระบบบูรณาการ
ซึ่งเป็นระบบที่จะเกิดผลที่ดีทั้งแก่ตนเอง
แก่ครอบครัว แก่ชุมชน แก่ประเทศชาติ
ด้านแรกที่ต้องพัฒนาคือความสัมพันธ์กับโลกวัตถุ
เริ่มตั้งแต่ทรัพย์สมบัติสิ่งของของตนเอง พัฒนาความรู้สึก
พัฒนาท่าทีต่อปัจจัยสี่ ตลอดจนถึงการพัฒนาในด้านความรู้สึก
และ ความประพฤติต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ใน การภาวนาในด้านนี้การหาความพอดีเป็นหลักสำคัญ
กินอย่างไรจึงจะเป็นการกินที่พอดี
นอนเท่าไรจึงจะเป็นการนอนที่พอดี
บริหารกายเท่าไรจึงจะพอดี
แต่งตัวอย่างไรจึงจะพอดี
การใช้จ่ายเท่าใดจึงจะพอดี
แต่งตัวอย่างไรจึงจะพอดี
การใช้จ่ายเท่าใดจึงจะพอดี
บริโภคอย่างไรจึงจะพอดี
สร้างความรู้สึกต่อทรัพย์สมบัติของตัวเองอย่างไร
จึงจะไม่เป็นทุกข์กับมัน
การพัฒนาความฉลาดในการปฏิบัติต่อโลกวัตถุ
ท่านเรียกว่ากายภาวนา
ผลจากการภาวนาพิสูจน์ได้จากการไม่เบียดเบียนตน
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือสิ่งอื่น
ในด้านที่สอง
เราต้องการพัฒนาความฉลาดในการปฏิบัติต่อกับคนรอบข้าง
รวมถึงความฉลาดในการสื่อสาร
ในสมัยปัจจุบันนี้ความฉลาดประเภทนี้สำคัญมาก
ในยุคข้อมูลข่าวสารนี้เราได้เน้นในเรื่องเทคโนโลยีหรือวิธีการมากเกินไป
จนมองข้าม เป้าหมาย ในการสื่อสาร
และเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยี
อีเมลล์ทำให้ติดต่อได้ง่ายเสียจนเกิดปัญหา
บางทีเกิดอารมณ์หงุดหงิดรำคาญ
ใครๆก็เขียนอีเมลล์ถึงเขา กดๆส่งไปเลย เอาคืนไม่ได้
ยังไม่ได้กลั่นกรองยังไม่ค่อยได้คิดทบทวนอีกทีว่าควรไม่ควร
ความสะดวกในการสื่อสารอาจเป็นพิษกับคนใจร้อนได้
ในทางพุทธศาสนาไม่เคยมีการสอนว่ายิ่งเร็วยิ่งดี
ในทำนองเดียวกันก็ไม่เคยสอนว่ายิ่งช้ายิ่งดี
แต่สอนว่าเอกลักษณ์ของผู้ฉลาดหรือนักปราชญ์ข้อหนึ่ง
คือ การรู้จักกาลเทศะ จะเรียกว่าเป็นศิลปะก็ได้
บัณฑิต sensitive ต่อกาลเวลา รู้จักว่าเวลาไหนควรจะเป็นผู้นำ
เวลาไหนควรจะเป็นคนยอม โดยมีสติช่วยบอก
ไม่มีสูตรสำเร็จรูปที่ไหนที่เราอ่านได้ท่องได้
แล้วก็รู้ได้ว่าในกรณีอย่างนี้ เหตุการณ์อย่างนี้ คุยกับบุคคลนี้
อยู่ในชุมชนนี้เราจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นไปไม่ได้
เราต้องฉลาดในการสื่อสาร ฉลาดในการดูคนออก
เราต้องสามารถสัมผัสบรรยากาศในที่ประชุม หรือในที่ชุมชน
บางสิ่งบางอย่างจะต้องทำเร็ว
บางสิ่งบางอย่างก็ควรค่อยๆเป็นค่อยๆไป
นักปราชญ์เป็นผู้ที่ฉลาดในเรื่องนี้หลายสิ่งหลายอย่าง
ถ้าทำถูกกาลเทศะก็จะได้ผลดี
บางสิ่งบางอย่างทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์
แต่ทำไม่ถูกกาละเทศะอาจไม่ได้ผล
การผิดหวังในการทำความดีมักชวนให้น้อยอกน้อยใจว่าทำดีไม่ได้ดี
บางทีเราทำดีก็จริงแต่ทำโดยขาดปัญญา
คนเราเอาแต่เจตนาเป็นหลักไม่ได้
ต้องใช้เจตนากับปัญญาประสานกันจึงจะสำเร็จผล
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 11:07 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 6:00 pm |
  |
ทุกวันนี้ความฉลาดในการสื่อสาร
หรือที่เรียกว่า Social Intelligence มีคนสนใจมากขึ้น
ปัจจุบันนี้บริษัทใหญ่ๆ ต้องการคนที่มีความฉลาดในการสื่อสาร
ต้องการคนที่ทำงานเป็นทีมได้
อาตมาเคยอ่านบทความซึ่งกล่าวว่าบริษัทชั้นนำของอเมริกา
มีคนที่มีไอคิวสูงถึง ๑๖๐ เป็นลูกน้องของคนที่มีไอคิวแค่ ๑๐๐ เยอะ
หลายแห่งพบว่าผู้ที่มีไอคิวสูงทำงานเป็นทีมไม่ค่อยได้
ไม่รับฟังเหตุผลของคนอื่น เชื่อว่าตนเองต้องถูกอยู่เสมอ
ไม่ยอมแพ้ใคร ถือตัวถือตน เลยไม่มีใครชอบไม่มีใครอยากคบ
ถึงแม้ว่าวิชาความรู้เขาดี แต่เขาไม่เจริญในอาชีพ
เพราะขาดความฉลาดในการสื่อสารกับคนรอบข้าง
สรุปว่าความฉลาดในการพูดและการฟังเป็นสิ่งที่เราต้องตั้งใจพัฒนา
การพัฒนาในด้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาด้านศีลธรรม
ข้อสังเกตในเรื่องศีลธรรมแนวพุทธก็คือ
เรามองว่าศีลธรรมเป็นความปกติของผู้มีปัญญา
จึงเน้นที่การทำความเข้าใจเรื่องชีวิต
มากกว่าการปลูกฝังความรู้สึกใฝ่ฝันหรือหวาดกลัว
พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้วิธีล่อให้คนรักษาศีลด้วยรางวัลหรือขู่ด้วยโทษ
เพราะศีลที่แท้ต้องเกิดด้วยความสมัครใจ
และความเข้าใจในเหตุผลและจุดประสงค์
ในพิธีกรรมขอศีล พิธีก็บอกอยู่ในตัวว่า
ศีลธรรมของชาวพุทธเราต้องเกิดจากความพอใจ
และความริเริ่มของฝ่ายฆราวาส
หรือของผู้ที่จะรักษา คือโยมต้องขอศีล
ไม่ใช่ว่าอยากได้หรือไม่อยากได้ พระก็จะยัดเยียดให้
ถ้าโยมไม่ขอพระก็ไม่ให้
เพราะว่าต้องการให้แต่ผู้ที่ต้องการรักษา
และถ้ามีใครยังไม่พร้อมหรือไม่อยากจะขอ
ถือว่าเป็นเรื่องของโยม
โยมเสียดายกิเลส พระก็ไม่ได้ว่าอะไร
อย่างไรก็ตามพระพุทธองค์ตรัสเรื่องศีลบ่อย
เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพัฒนาชีวิต
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 7:57 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 6:03 pm |
  |
ถ้าสมมติว่าเราเป็นผู้นำประเทศ และมีอำนาจทำอะไรตามใจได้
หรือเรามีฤทธิ์มีเดชสามารถทำความฝันให้เป็นความจริงได้
ถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะปรับปรุงที่ทำงานหรือชุมชนที่เราอยู่อย่างไรจึงจะดี
โดยทุกคนมีความสุข นั่งคิดดูซิ
อาตมาเดาว่า ทุกคนก็คงจะตอบว่าต้องการอยู่อย่างเป็นมิตรกัน
ต้องการอยู่อย่างเห็นอกเห็นใจกัน
มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ถ้าเราทุกคนตกลงกันในจุดนี้ได้ก็คือได้เป้าหมาย
เสร็จแล้วต้องดูที่เหตุปัจจัยว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดบรรยากาศแบบนั้น
อะไรคือเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดบรรยากาศแบบนั้น
อะไรคือเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรค
และทำให้บรรยากาศแบบนั้นเกิดไม่ได้สักที
ไม่ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นได้ลอยๆ เราต้องฉลาดในเรื่องเหตุปัจจัย
ศีลธรรมเท่านั้นมิใช่หรือที่ทำให้ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง
อยู่ด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน
และอยู่ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน
ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
เราอยู่กันหลายๆคน การที่จะรักกันทุกคน
หรือชอบกันทุกคน มันเป็นไปได้ยาก หรือคงเป็นไปไม่ได้
แต่ไม่เป็นไร แค่รู้สึกว่าเราปลอดภัย
ไม่มีใครในชุมชนนี้รังแกหรือกลั่นแกล้ง เราก็สบายใจแล้ว
ถ้าเรามั่นใจว่าที่นี่ในชุมชนของเรา
ไม่เคยมีขโมยเลยแม้แต่คนเดียว
เราวางของไว้ตรงไหน เราก็รู้ว่ามันจะคงอยู่ตรงนั้น
ทิ้งไว้เป็นชั่วโมงเราค่อยกลับมา มันก็อยู่ที่เดิม
ไม่เคยมีของหายก็สบายใจไม่เครียด ไม่ต้องระแวงกัน
ถ้าเรารู้ว่าไม่มีใครจะมาแย่งสามีเราแย่งภรรยาเรา
เราก็จะไม่ต้องคอยระแวงในเรื่องนี้ จะหึงทำไม เราก็สบาย
ถ้าเรามั่นใจว่าใครพูดกับเราก็ต้องเป็นความจริง
ไม่เคยมีใครหลอกลวงเรา
ที่นี่ไม่มีใครพูดเท็จกับเราแน่ อย่างนี้ก็สบายใจมาก
เมื่อเราอยู่ในชุมชนที่ไม่มีการใช้ยาเสพติด
ไม่ว่าจะยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาบ้า
หรือยาเสพติดที่ไม่ผิดกฎหมายก็ตาม เช่น เหล้า
เราก็รู้สึกไว้วางใจ
เพราะว่าคนที่ไม่ใช้ยาเสพติดก็ยังเป็นตัวของตัวเองอยู่พอสมควร
รับผิดชอบการกระทำของตัวได้
ทีนี้พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เราเห็นเหตุผลว่า
ถ้าเราอยู่ด้วยศีลธรรม ชุมชนจะรับผลดีอย่างไรบ้าง
ถ้าเราต้องการผลคือความอยู่ร่วมกันด้วยดี
มีความเคารพซึ่งกันและกัน
เราก็ต้องฉลาดในเหตุปัจจัยที่จะทำให้บรรยากาศนั้นเกิดขึ้น
ท่านจึงเรียก ศีลแต่ละข้อว่าเป็นสิกขาบท
คือบทศึกษาบทพัฒนาตนเอง
นอกเหนือจากเหตุผลทางชุมชนแล้ว
ก็ยังมีเหตุผลส่วนตัวด้วยว่า
เมื่อเรามีความสบายใจว่าเราไม่ได้ทำอะไร
ไม่ได้พูดอะไรให้เป็นการเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่นเลย
เราก็รู้สึกเคารพตัวเอง นับถือตัวเอง เป็นมิตรกับตัวเองได้
และการที่เราเคารพนับถือตัวเองได้
นี่ก็เป็นความสุขที่สำคัญที่คนมักจะมองข้าม
มันไม่ใช่ความสุขที่โลดโผน
ไม่ใช่ความสุขที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานก็จริง
แต่เป็นความสุขที่เยือกเย็น
เมื่อเคารพตัวเองได้ นับถือตัวเองได้
มีความสบายใจว่าเราไม่เศร้าหมอง
เราไม่มีอะไรที่จะต้องตะขิดตะขวง
หรือจะต้องคอยระแวงอยู่ตลอดเวลา
มันจึงเป็นพื้นฐานของการฝึกในด้านจิต
ในด้านสมาธิหรือการละกิเลสต่างๆ
การเจริญด้วยคุณธรรมต่างๆ
เช่นความอดทน ความขยัน ความเมตตากรุณา เป็นต้น
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของความเจริญด้วยปัญญา
ฉะนั้นชีวิตของชาวพุทธทุกคนที่ประกอบด้วยการพัฒนา
พัฒนาในด้านความสัมพันธ์กับวัตถุ
พัฒนาในด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เรียกว่า ศีลภาวนา
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ม.ค. 2008, 12:15 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 6:07 pm |
  |
ด้านต่อไปก็คือ การพัฒนาทางจิตใจ
ให้จิตใจเรามีความสุข ให้จิตใจเราเข้มแข็ง ให้จิตใจเราสงบ
ปราศจากสิ่งเศร้าหมองขุ่นมัวทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวกทั้งหลายยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า
ความสงบคือความสุขที่แท้จริง
ดังนั้นในฐานะที่เราทั้งหลายเป็นพุทธศาสนิกชน
คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศประเสริฐที่สุดที่เคยอุบัติขึ้นในโลกนี้
เชื่อว่าสิ่งที่พระองค์สอนล้วนแต่เกิดจากพระมหาปัญญาธิคุณของท่าน
เมื่อเป็นเช่นนั้นและเมื่อพระองค์ได้ทรงประกาศว่า
เราทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้ถึงความสงบได้
และความสงบนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อชีวิตของเรา
อาตมาว่าเราก็น่าจะลองดู
ไม่อย่างนั้นเหมือนเราไม่จริงใจต่อพระองค์ ไม่ศรัทธาจริง
เราเริ่มต้นอย่างนักวิทยาศาสตร์ก็ได้
คือรับสมมติฐาน แล้วคอยทดลองดูว่าสมมติฐานนั้นถูกไหม
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนแบบเผด็จการว่า
ต้องเชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่างนี้ ไม่เชื่อก็บาป
พระพุทธองค์ใช้วิธีฝากข้อคิดเกี่ยวกับชีวิต
ไว้ให้เราพินิจพิจารณาเองว่าที่ท่านสอนใช่หรือไม่
โดยเทียบเคียงกับชีวิตของตนเองบ้าง
ชีวิตของคนรอบข้างบ้าง
จนเกิดความฉลาดในเรื่องชีวิตของตนเอง
เข้าใจว่าเราคืออะไร ชีวิตเราคืออะไร
เมื่อเรายอมและสามารถอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น
สำนึกอยู่ในความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ของตนเองมากขึ้น
เราก็ย่อมเห็นและเข้าใจตนเองมากขึ้น เข้าใจคนอื่นมากขึ้นด้วย
เพราะว่าจิตใจของเราแต่ละคนก็ไม่ต่างกันเท่าไร
ฉลาดในเรื่องอารมณ์ของตน
ก็คือฉลาดในเรื่องอารมณ์ของมนุษย์
เราจึงได้ผลในด้านสังคมด้วยการพัฒนาในแต่ละด้านเกี่ยวเนื่องกันอย่างนี้
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 11:22 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 6:13 pm |
  |
ด้านสุดท้ายคือด้านปัญญา
จิตใจสงบแล้วไม่ดิ้นรน ไม่กระวนกระวาย ไม่กระสับกระส่าย
แล้วก็พร้อมที่จะเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
นี่คืออานิสงส์ของสมาธิโดยแท้
จุดประสงค์ของสมาธิ
ไม่ใช่เพื่อเคลิบเคลิ้มไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง
ที่ไม่ต้องรับรู้ต่อปัญหาชีวิต
บทบาทของสมาธิคือ
การรวบรวมพลังจิตของเราไว้เพื่อเป็นแรงหนุนการพิจารณาด้านปัญญาต่อไป
ทั้งนี้ก็เพราะว่ากิเลสอันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ในชีวิตของเรา
จะยอมแพ้ปัญญาที่ตั้งไว้บนฐานแห่งความสงบเท่านั้น
ก่อนที่จะได้ปัญญาระดับสูงนี้
เราต้องฝึกใช้ความคิดเสียก่อน
ปัญญามีสองระดับ ปัญญาที่ใช้ความคิดก็มี
ปัญญาที่ เหนือ ความคิดก็มี
เราต้องเจริญปัญญาทั้งสองระดับจึงจะสมบูรณ์
ปัญญาที่ใช้ความคิดบรรเทาความทุกข์ได้บ้าง
และมีหน้าที่ปูพื้นให้ปัญญาระดับเหนือความคิดเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นเป้าของปัญญาทั้งสองอย่างมีอันเดียว
คือ ไตรลักษณ์ ในชีวิตประจำวันเราต้องพยายามคิด
อย่างเช่นการพิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่แน่
ตัณหาอุปาทานทำให้เรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ว่า
เป็นเราเป็นของเรา ความหลงผิดว่าเราเป็นเจ้าของอย่างนี้
การมองไม่เห็นว่าสิ่งทั้งหลายอยู่กับเราชั่วคราวเท่านั้น
ตามเหตุ ตามปัจจัยของมัน
นี่แหละเป็นเหตุให้เราเป็นทุกข์กับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เรายึดติด
พระพุทธเจ้าสอนให้เราสนใจศึกษาในเรื่องความไม่เที่ยง
หลวงพ่อชาชอบใช้คำว่า ไม่แน่ ซึ่งมีความหมาย ตรงกับอนิจจัง
ท่านแนะนำว่าเวลาไหนเรารู้สึกว่าชอบอะไรมากๆ
ให้รีบบอกตัวเอง สอนตัวเองว่า "ไม่แน่"
ไม่ชอบก็ไม่แน่ รักก็ไม่แน่ ชังก็ไม่แน่ ชกมันไว้ก่อน ท่านว่าอย่างนั้น
อย่าให้มันชกเรา อย่าให้สิ่งที่เราชอบ
สิ่งที่เราไม่ชอบครอบงำจิตใจ
เราตื่นเต้นก็ไม่แน่ เบื่อหน่ายก็ไม่แน่
การหมั่นคิดอย่างนี้เป็นการฝึกให้เราไม่หลงงมงายในอารมณ์
ให้เห็นอารมณ์ตามความเป็นจริง ว่าเป็นแค่ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ดับไป
ตามเหตุตามปัจจัยของมัน
ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
ไม่รู้จักปล่อยวางความคิดผิดด้วยการรับรู้ต่อความจริง
เราก็ต้องตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ตัวเองอยู่ไม่รู้จบสิ้น
ถูกอารมณ์ชักตลอดเวลา
เหมือนเราเป็นแค่หุ่นกระบอก ไม่เป็นอิสระ
ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง
เขาสรรเสริญก็ดีใจ เขานินทาก็เสียใจ
จิตมีแต่ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตามการชักการกระตุ้นจากสิ่งอื่นหรือคนอื่น
อย่างไรก็ตามพระพุทธองค์จึงตรัสเตือนสติเรา
และให้กำลังใจว่าไม่มีสิ่งใด ไม่มีคนใด
ไม่มีอะไรเลยที่สามารถบังคับให้เราเป็นทุกข์ได้ถ้าเรามีปัญญา
พุทธพจน์ข้อนี้ให้ความหวังแก่เรา
ทั้งให้จุดมุ่งหมายในการพัฒนาชีวิต
(มีต่อ) |
|
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ม.ค. 2008, 11:42 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง |
|
    |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
28 ม.ค. 2008, 6:23 pm |
  |
ดังนั้นไม่ว่าเราเป็นนักบวชหรือเป็นฆราวาส
เราทุกคนมีแนวทางปฏิบัติ มีสิ่งท้าทายทุกวัน
ทำอย่างไรเราจะได้ทำหน้าที่ของเรา ทำหน้าที่ต่อครอบครัว
ทำหน้าที่ต่อสถาบันที่เราทำงาน
ทำหน้าที่ต่างๆ ด้วยจิตใจที่ไม่เศร้าหมอง
ทำอย่างไรจึงจะรักษาความทรงตัวของจิตไว้ไม่ให้เกิดความหวั่นไหว
ไม่ให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนกับการทำหน้าที่เหล่านั้น
มันสนุกอยู่ตรงนี้นะ ตรงที่มีสิ่งท้าทายอยู่ตลอดเวลา
แทนที่จะหลงใหลมัวเมาเมื่อมีสิ่งที่เราชอบ
แทนที่จะน้อยใจหรือซึมเศร้าในโอกาสที่ต้องอยู่กับสิ่งที่เราไม่ชอบ
เราก็สามารถเปลี่ยนท่าทีเสียใหม่
เมื่อจิตเราสะอาดและสดชื่น
เราจะมีความสุขกับหน้าที่ได้
มีความสุขแล้วเราคงทำงานดี
เราต้องเป็นนักศึกษาตลอดชีวิต
พร้อมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราทุกอย่าง
เมื่อเรายอมอยู่ในปัจจุบัน อยู่ด้วยสติ
ไม่ปล่อยให้จิตใจคิดเรื่อยเปื่อยเรื่องอดีตเรื่องอนาคต
แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยการรู้ตัวทั่วพร้อม
เรียนรู้จากประสบการณ์ ทบทวนประสบการณ์จากอดีต
เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันบ้าง
นึกถึงอนาคตเพื่อเตรียมตัวและวางแผนให้ถูกบ้าง
แต่ส่วนมากรู้จักสร้างความมักน้อย
ความสันโดษในปัจจุบันอารมณ์
ถ้าเราอยู่ในปัจจุบันในลักษณะนี้เป็น
คำว่า เซ็ง คำว่า จำเจ คำว่า เบื่อ ไม่ปรากฏเลย
เราสามารถมีความสุขได้
แล้วก็เป็นความสุขที่ประกอบด้วยความฉลาด
รู้ว่าอะไรควรไม่ควรโดยไม่ต้องถามใคร
ที่จริงเราทุกคนก็มีปัญญาของตนเองอยู่แล้ว
เพียงแต่ว่าปัญญานั้นถูกความคิดฟุ้งซ่านวุ่นวายทับถมเอาไว้
แต่เมื่อเราสามารถปล่อยวาง
และกล้าเสียสละความยินดีในสิ่งไร้แก่นสารสาระ
ปล่อยวางความคิดเรื่อยเปื่อย
เมื่อนั้นความคิดสร้างสรรค์ก็มีโอกาสบังเกิดขึ้น
เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้
ดังนั้นเรามีโอกาสที่จะฉลาดอยู่ตลอดเวลา
แม้ในโอกาสที่มีการกระทบกระทั่ง เกิดความกดดัน มีสิ่งคุกคาม
ถ้าเราภาวนาด้วยความจริงใจ ภาวนาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
เราก็สามารถสร้างที่พึ่งภายในได้
มีหลักการของตนเองที่ยังคงทนอยู่
ไม่หวั่นไหวตามการแปรปรวนของสิ่งภายนอก
ทำยากแต่ไม่เหลือวิสัย
พุทธศาสนาให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์
ทุกคนสามารถเจริญด้วยปัญญา
จนกว่าเป็นผู้ที่มีความฉลาดที่ไม่มีเงื่อนไขจากอารมณ์
พ้นภาวะที่ฉลาดคิดได้
ใช้เหตุผลได้เฉพาะเวลาหรือในเหตุการณ์ที่ไม่กระทบต่ออัตตา
หรือศักดิ์ศรีหรือผลประโยชน์ส่วนตัวของเรา
พ้นภาวะที่เหตุผลถูกบิดเบือนด้วยความอยากได้อยากมี
หรือหวั่นไหวต่อความรู้สึกสุขทุกข์ ความชอบและไม่ชอบ
หากสามารถมีจิตใจที่แน่วแน่อยู่
ไม่ว่าสิ่งรอบตัวเป็นอย่างไร ไม่ว่าอารมณ์ภายในเป็นอย่างไร
สามารถอยู่กับความถูกต้องได้อยู่ตลอดเวลา
บางสิ่งบางอย่างไม่ถูกใจเราเลย
แต่เมื่อเราเชิดชูเมื่อเราเคารพ
เมื่อเราตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง
เราจะปฏิบัติหน้าที่อย่างนักปราชญ์
หรือผู้มีวุฒิภาวะสมบูรณ์
คือสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ ชอบก็ทำ ไม่ชอบก็ทำ ถูกใจก็ทำ ไม่ถูกใจก็ทำ
โดยปรารภความถูกต้องเป็นหลัก
หลวงพ่อชอบบอกว่า ธรรมะคือ ความถูกต้อง
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ
เพื่อพัฒนากาย วาจา ใจ ให้มีคุณภาพ เพื่อประโยชน์ตน
เพื่อประโยชน์คนอื่น ตลอดกาลนานเทอญ.
วันนี้อาตมาได้ให้ข้อคิดบ้างเล็กน้อย
ในเรื่องความฉลาดและเรื่องปัญญา
พอสมควรแก่เวลาเพียงแค่นี้ เอวัง.
หมายเหตุ : แสดงธรรมเทศนา ณ กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๔
(ที่มา : ความฉลาดไร้พรมแดน โดย ชยสาโรภิกขุ,
พิมพ์ครั้งที่ ๔, พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๑-๒๙) |
|
|
|
    |
 |
|