ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เรา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2004, 7:21 pm |
  |
หน้าที่ชาวพุทธคืออะไรคะ ช่วยตอบทีค่ะผู้รู้ |
|
|
|
|
 |
อยากตอบแต่ไม่รู้ครับ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2004, 7:49 pm |
  |
หน้าที่ชาวพุทธ ก็คือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
ปฏิบัติตนให้พ้นจากทุกข์ ในขั้นต่างๆ ตั้งแต่ระดับ ทั่วๆ ไป จนถึงขั้นพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง คือ เป้าหมายของศาสนาพุทธที่แท้จริง |
|
|
|
|
 |
TU
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589
|
ตอบเมื่อ:
21 ก.ค.2004, 9:38 pm |
  |
หน้าที่ชาวพุทธ 4 อย่าง
โดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์
16 ตุลาคม 2545
เป็นที่น่าเหลือเชื่อเลยว่า หากถามว่าท่านนับถือศาสนาอะไร ท่านตอบว่าเป็นชาวพุทธ และหากถามว่า ในฐานะที่ท่านเป็นชาวพุทธ ท่านมีหน้าที่อะไรบ้างที่มีต่อพุทธศาสนา ท่านเริ่มตอบไม่ได้ ไม่เป็นไร ลองมาดูคำเฉลยกัน หน้าที่ชาวพุทธ 4 อย่าง มีดังนี้
1. เรียนรู้ธรรมะ หากเป็นชาวพุทธ แล้วไม่รู้ว่าพุทธศาสนาสอนอะไร ก็ย่อมแสดงว่าท่านยังทำหน้าที่ชาวพุทธไม่ได้ พื้นฐานที่สุดที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้คือ อริยสัจ 4 เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ต้องรู้จักกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา รู้จักศีล 5 มีอะไรบ้าง อย่างนี้เป็นต้น
2. ปฏิบัติธรรม หากเรียนรู้ธรรมะแล้วหากไม่นำมาปฏิบัติ ธรรมะนั้นก็ไร้ค่า หาประโยชน์ไม่ได้ หน้าที่ชาวพุทธจึงต้องปฏิบัติธรรม
3. เผยแพร่ธรรมะ หากต้องรู้แล้ว ทราบซึ้งจากการปฏิบัติแล้ว ท่านต้องเผยแพร่ธรรมะในรูปแบบการพูด และการเขียน พุทธธรรมเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า การเผยแพร่ธรรมะทำให้ อายุของศาสนายืนยาวขึ้น
4. ปกป้องพุทธศาสนา เมื่อเห็นใครทำให้สงฆ์แตกแยกกัน คิดล้มล้างพุทธศาสนา ชาวพุทธที่ดีย่อมต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ปกป้องอย่างเต็มที่
เมื่อหันกลับมามองตัวเองแล้ว หน้าที่ของพนักงานที่มีต่อบริษัทหรือองค์กรอย่างไร เทียบเคียงกันแล้ว เราต้องมีหน้าที่ดังนี้
1. ศึกษากฎระเบียบขององค์กร ความรู้ในงาน
2. ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและค่านิยมของบริษัท ตลอดจนแผนงานต่างๆ ของบริษัท ให้ความร่วมมือกับผู้บังคับบัญชาในการทำหน้าที่ขององค์กร
3. สอนงาน บอกกล่าว โฆษณาประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดอบรมให้ความรู้ในเรื่องงาน มาตรฐานงานและข่าวสารต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรให้มากที่สุด
4. ปกป้องบริษัทหรือองค์กร เพื่อให้องค์กรอยู่รอด แข่งขันได้ และป้องกันภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียไม่ได้เกิดขึ้น |
|
|
|
    |
 |
๛ สายลม ๛
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ค.2004, 12:03 am |
  |
หน้าที่ชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักในการดำรงชีวิต
พระพุทธเจ้าทรงมีพระเมตตาแก่ชาวโลก ได้ให้มรดกอันล้ำค่าไว้ให้แก่มวล
มนุษย์นั่นคือหลักธรรม อันเป็นสิ่งที่นำมาปรับใช้ได้กับทุกยุกทุกสมัย เราชาว
พุทธต้องทำตนเป็นชาวพุทธที่ดี และปฎิบัติหน้าที่ของชาวพุทธที่ดีในเรื่อง
ดังต่อไปนี้ คือ ศักษาหาความรู้ ปฎิบัติตามหลักธรรมและประเพณีพิธีกรรม
ทางศาสนา เผยแพร่พระศาสนาและปกป้องพระศาสนา
http://www.act.ac.th/depart/social/Board/Board1/
หน้าที่ชาวพุทธ
สาระสำคัญ พุทธศาสนิกชนมีหน้าที่ศึกษาหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมปฏิบัติตนเพื่อเผยแผ่และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ตลอดจนปกป้องพระพุทธศาสนามิให้เสื่อมทรามลง
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธศาสนิกชนบรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนนี้มีทั้งผู้ที่ได้รับการศึกษามาอย่างดี ประวัติตัวเอง
ปฎิบัติชอบอยู่ในศีลธรรม มีทั้งผู้มีการศึกษาพอสมควร แต่รักและศรัทธาในพระรัตนตรัย ช่วยการกุศล ทำบุญตักบาตรเป็นนิจสิน ขณะเดียวกันก็มีทั้งผู้เป็นพุทธศาสนิก
ชนแค่เพียงในนาม เพราะเกิดในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น
ชาวพุทธทั้งหลายจึงควรหมั่นศึกษาหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมให้เป็นผู้มีสายตากว้างไกลรอบรู้ รู้เท่าทันสามารถปฏิบัติตนตามหลักธรรม เผยแผ่ความรู้ความเข้าใจด้านพระพุทธศาสนา และปกป้องพระพุทธศาสนาได้ตามสมควรแก่วัยโดยไม่ขัดเขิน
ศึกษาหาความรู้
ความรู้ทางโลก
ชาวพุทธต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ทั้งในด้านการศึกษาวิชาสามัญอันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประโยชน์แก่การดำรงชีวิตและการศึกษาขั้นสูงต่อไป การศึกษาวิชาชีพโดยเลือกที่เหมาะกับความสนใจ ความถนัดและความสามารถของตนเอง เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ หรือแม้แต่จะประกอบอาชีพแล้วก็ยังต้องหมั่นหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นการล้าหลังกว่าผู้อื่นที่แข่งขันอยู่ในวงการอาชีพเดียวกัน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การศึกษาหาความรู้ให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม การศึกษาพระพุทธศาสนาตามกำลังความรู้ของตนก็จะช่วยยังประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเองเช่นเดียวกัน คือ ทำให้พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุข ทั้งในครอบครัวของตนเองและในระดับสังคมนอกจากนี้เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือแล้ว หากมีโอกาสศึกษาถึงศาสนาอื่น ๆ ที่เผยแผ่อยู่ในประเทศไทยด้วย ก็จะยิ่งมีความเข้าใจถึงหลักการของศาสนาอื่น ๆ ได้ถูกต้อง รวมทั้งสามารถประพฤติปฏิบัติต่อผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น
ความรู้ทางธรรม
ชาวพุทธในประเทศไทยมีการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระศาสดามาตั้งแต่ครั้งโบราณและปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมา หน้าที่ของชาวพุทธในการศึกษาพระธรรมเพื่อการเป็นชาวพุทธที่ดีและเป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรต่อไป มีดังนี้
1. บวชหนึ่งพรรษาหรือ 3 เดือน ชาวไทยทุกคนควรบวชเป็นพระภิกษุอย่างน้อย 3 เดือนเพื่ออุทิศตนเป็นพุทธสาวก ศึกษาและปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระเบียบข้อยังคับของคณะสงฆ์ด้วย เมื่อลาสิกขาบทออกมาแล้วจะได้นำความรู้และการปฏิบัติตนขณะบวชอยู่มาประยุกต์ใช้ในการเป็นพลเมืองดีได้ ส่วนบางรายที่บวชและครองเพศบรรพชิตมากกว่าหนึ่งพรรษาก็จะได้มีเวลาศึกษาพระธรรมให้ลึกซึ้ง บำเพ็ญตนอุทิศแก่พระพุทธศาสนาให้มากขึ้น และอบรมสั่งสอนแก่ภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง
2. ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการครองเรือน การคบหาสมาคม การทำมาหากิน การปกครองดูแลสมาชิกในสังคมและครอบครัว เช่นหลักธรรมหมวดคิหิปฏิบัติ ฆราวาสธรรม ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ อคติ อิทธิบาท โลกธรรม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำหลักธรรมนั้นๆ ไปใช้ปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามฐานะและโอกาส
3. ศึกษาพุทธประวัติและหลักธรรมคำสั่งสอนต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจ และสวดมนต์ไหว้พระตามสมควรแก่เวลาและกำลัง เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ทำให้เกิดความศรัทธำเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้เกิดความสุขทางใจ
ปฏิบัติตามหลักธรรมและประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา
พระพุทธศาสนามีกิจกรรมหลากหลายประการที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ธำรงคงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป ดิจกรรมเหล่านั้นได้แก่ การปฏิบัติตามหลักธรรมและประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีอยู่มากมาย ล้วนแต่สั่งสอนให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส หลักธรรมต่างๆ อาจมีความเหมาะสมกับสถานการณ์แตกต่างกันไป พุทธศาสนิกชนควรศึกษาให้เข้าใจอย่างชัดแจ้ง และน้อมนำเอาหลักธรรมที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิต เพื่อความสงบสุขแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
นอกจากนี้ประเพณีและพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่พิธีกรรมเกี่ยวกับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เช่น การลงอุโบสถ เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น สำหรับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ ได้แก่ พิธีอุปสมบท พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น ในด้านการดำเนินชีวิตมีพิธีกรรมทางศาสนา เช่น มงคลสมรส ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ เป็นต้น และพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรศึกษาให้เข้าใจถึงพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างสืบต่อไปถึงพุทธศาสนิกชนรุ่นหลัง พิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้จะแฝงไว้ซึ่งความหมายสำคัญที่เป็นวัฒนธรรมอันดีงามเหมาะสมแก่สังคมไทย ควรค่าแก่การธำรงไว้ให้ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงความงดงามในจิตใจของพุทธศาสนิกชนสืบเนื่องไปไม่เสื่อมคลาย
เผยแผ่พระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
1. ด้วยการพูดและการเขียน พุทธศาสนิกชนสามารถใช้วาทศิลป์ หรือความสามารถในการเขียนบทความ เอกสาร ตำราต่างๆ ชี้แจง ขยายความรู้ความเข้าใจถึงหลักการที่สำคัญและเป็นสากลของพระพุทธศาสนา โดยไม่ก้าวก่ายพาดพิงไปในเชิงดูหมิ่นศาสนาอื่น การแสดงข้อเท็จจริงทางศาสนาจะต้องใช้ความรอบคอบ หลีกเลี่ยงต่อการไปกระทบกระเทือนศาสนาอื่น
2. ใช้หลักการประชาสัมพันธ์ ในสมัยปัจจุบันนี้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสามารถกระทำได้กว้างขวางขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และหลักการทางด้านนิเทศศาสตร์เข้าช่วย โดยผลิตออกมาในลักษณะตลับเทปบันทึกเสียง การแสดงธรรมเทศนา การบรรยายธรรม บันทึกภาพเป็นวิดีทัศน์ เอกสารพิมพ์สี่สี ภาพทางพระพุทธศาสนา เผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ หรือจัดเป็นกิจกรรมทางประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น
3. ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง พุทธศาสนิกชนควรทำตัวเป็นอย่างให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ บุคคลผู้ประสบความสำเร็จระดับสูง ผู้บริหารประเทศ และผู้มีชื่อเสียงต่างๆ สามารถใช้ตัวเองเป็นสื่อสะท้อนความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีในพระพุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง เพราะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
4. แสดงผลการปฏิบัติ ผลการปฏิบัติตนของผู้ประสบความสำเร็จทางด้านศาสนา ควรได้รับการเผยแพร่เกียรติคุณให้ผู้อื่นได้ศึกษาและเลื่อมใสยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติตาม
ปกป้องพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนาดังต่อไปนี้ คือ
1. การปกป้องพระพุทธ พระพุทธนั้นหมายรวมทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของพระองค์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนิกชนควรปกป้องพระพุทธจากการกระทำให้เกิดความมัวหมอง เช่น บิดเบือนพุทธประวัติ นำเอาพระรูปและพระนามของพระพุทธองค์มากล่าวล้อลบหลู่ดูหมิ่น การตัดเศียรพระพุทธรูป การขโมยพระพุทธรูป การนำพระพุทธรูปไปกระทำเพื่อการค้า การนำพระพุทธรูปไปวางในที่ไม่ควร การนำพระพุทธรูปเพื่อไปกระทำการอย่างอื่นที่มิใช่เพื่อการบูชา การกระทำกริยาลบหลู่ต่างๆ ต่อพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่ได้พบเห็นการกระทำดังกล่าว จะต้องอธิบายให้เข้าใจความจริง แนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้อง ห้ามปรามการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร
ถ้าเป็นการกระทำที่ลบหลู่อย่างร้ายแรง หรือการกระทำผิดอย่างร้ายแรง สามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจังตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดีตามกฎหมายได้ นอกจากนี้การป้องกันในด้านอื่น เช่น การวางกำลังเวรยามดูแลพระพุทธรูปในวัดของท้องถิ่นของตน การสร้างงเครื่องป้องกันอันตรายต่อพระพุทธรูป การบำรุงรักษาซ่อมแซมบูรณะพระพุทธรูปและโบสถ์วิหารให้คงสภาพดีและแข็งแรงอยู่เสมอ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำเพื่อปกป้องพระพุทธทั้งสิ้น
2. การปกป้องพระธรรม พระธรรมเป็นหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา อาจมีบุคคลบางคนหรือบางพวกนำพระธรรมไปบิดเบือน เพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง หรือทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจผิดเกิดแตกแยกกันทางด้านความคิด หรือหลงผิดหลงเชื่อ ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อันจะทำให้พระพุทธศาสนามัวหมองหรือเสื่อมลงไปได้ ชาวพุทธที่ดีควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อจะไม่หลงผิด และถ้าพบผู้บิดเบือนพระธรรมด้วยความจงใจ หรือเข้าใจผิดอย่างใดก็ตาม ควรแนะนำให้ความรู้ และชักจูงให้ทำความเข้าใจในพระธรรมในทางที่ถูกต้อง และถ้าพบว่าการบิดเบือนนั้นเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัวทำให้พระพุทธศาสนามีวหมองอย่างร้ายแรง ก็สามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้กระทำผิดนั้นได้
3. การปกป้องพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นผู้เผยแผ่พระธรรมแก่ประชาชน ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบไป อาจมรผู้บ่อนทำลายพระสงฆ์ทั้งโดยเจตนาและโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งที่เป็นรายบุคคล เช่น การขู่ฆ่าหรือทำร้ายเพื่อหวังผลประโยชน์ การให้ร้ายป้ายสีเป็นต้น และทั้งเป็นสถาบันสงฆ์ เช่น มีผู้ปลอมบวชเป็นพระออกบิณฑบาตหรือเรี่ยไร การประพฤตินอกรีตของพระนักบวชโดยอ้างว่าเป็นสงฆ์ในพระพุทธศาสนา การใช้ดิรัจฉานวิชา เครื่องราชของขลังต่าง ๆ เป็นต้น ชาวพุทธที่ดีควรช่วยกันป้องกัน เมื่อรู้เห็นเรื่องราวที่จะเป็นการบ่อนทำลาย ควรแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบเพื่อจะได้จัดการแก้ไขในทางที่ถูกต้อง ไม่ควรสนับสนุนพวกนอกรีต ไม่สนับสนุนการใช้ดิรัจฉานวิชาต่าง ๆ และควรเลือกสนับสนุนทำบุญกับพระสงฆ์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
4. การปกป้องศาสนสถานและศาสนสมบัติ ศาสนสถานได้กแ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป บริเวณวัด ศาสนสมบัติ ได้แก่ พระพุทธรูป ต้นไม้ในวัด เครื่องประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีผู้บ่อนทำลายโดยเจตนา และโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อยู่เสมอ เช่น การขุดเจาะโบราณสถานต่างๆ เพื่อหาสมบัติหรือพระเครื่อง การปีนป่ายขีดเขียนกำแพงวัด การลักขโมยเอาศาสนสมบัติไปเป็นของตน เป็นต้น ชาวพุทธมีหน้าที่ในการดูแลและป้องกันศาสนสถานและศาสนสมบัติเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวพุทธโดยส่วนรวม โดยการไม่กระทำการอันเป็นการบ่อนทำลายเสียเอง แนะนำตักเตือนเมื่อพบผู้ที่จะทำลาย แจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องถ้ารู้เบาะแสการกระทำอันเป็นมิจฉาชีพที่จะทำลายศาสนสถานและศาสนสมบัติ นอกจากนี้ยังต้องช่วยบำรุงรักษาบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพที่ดีอยู่เสมอ
กิจวัตรที่จำเป็นของพุทธศาสนิกชน
พุทธศาสนิกชนจำเป็นต้องมีกิจวัตรเป็นหลักปฏิบัติ เรียกว่า อุบาสกธรรม ซึ่งมีอยู่ 7 ประการคือ
1. หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะวัดเป็นสถานที่สงบ มีบรรยากาศโน้มนำให้เกิดความใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรม การพบปะกับพระภิกษุผู้ทรงศีลทรงคุณธรรมย่อมได้ชื่อว่าเป็นการคบหากัลยาณมิตร หรือเรียกว่ามิตรที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น
2. หมั่นฟังธรรม เมื่อมีโอกาสควรใส่ใจในการฟังธรรมอยู่เสมอ เช่น การไปวัดเพื่อรักษาศีลฟังเทศน์ ฟังการแสดงธรรมเทศนาทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้ได้รู้สิ่งไม่รู้ ส่วนสิ่งที่รู้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจแจ่มชัดยิ่งขึ้น
3. พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้ดียิ่งขึ้น โดยพยายามนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศานามาใช้ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริงและสมบูรณ์
4. มีความเลื่อมใสในพระภิกษุทั้งหลายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะพระภิกษุแต่ละรูปได้เสียสละความสุขทางโลกเพื่อมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์และพระภิกษุยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
5. ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม มิใช่ฟังธรรมโดยคิดในแง่ติเตียนขัดแย้ง พยายามฟังธรรมเพื่อก่อให้เกิดบุญมิใช่ก่อให้เกิดบาป
6. ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่แสวงบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
7. ขวนขวายทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุกๆ ทาง คือ ถ้าสามารถช่วยเหลือพระพุทธศาสนาได้ด้วยวิธีการใดก็ควรเร่งรีบกระทำ เช่น จัดให้มีการอบรมเยาวชน หรือคนต่างชาติให้เข้าใจในพระพุทธศาสนา การตั้งชมรมพุทธศาสน์ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นต้น |
|
|
|
|
 |
DEV
บัวเริ่มพ้นน้ำ

เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 155
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ค.2004, 8:25 am |
  |
|
   |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
22 ก.ค.2004, 9:03 am |
  |
สาธุ ค่ะ โอ้ หน้าที่ชาวพุทธเพียบเลย  |
|
|
|
    |
 |
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305
|
ตอบเมื่อ:
23 ก.ค.2004, 4:52 am |
  |
สาธุนำแหน่ครับ
แต่หน้าที่เด็กบ้านยางตอนนี้คือ ต้องมีฤทธิ์ให้ได้อ่ะครับ เคี๊ยก เคี๊ยก เคี๊ยก  |
|
|
|
  |
 |
เซ้น
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ต.ค.2005, 1:08 pm |
  |
ประเภทหน้าที่ของชาวพุทธ ภาระหน้าที่ไครรู้ก็บอกหน่อยนะครับทำรายงานอะ |
|
|
|
|
 |
เซ้น
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
22 ต.ค.2005, 1:10 pm |
  |
ประเภทหน้าที่ของชาวพุทธ ภาระหน้าที่ไครรู้ก็บอกหน่อยนะครับทำรายงานอะ  |
|
|
|
|
 |
max
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
23 ต.ค.2005, 9:57 am |
  |
พุทธศาสนิกชน มีหลักปฏิบัติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตนกับพระพุทธศาสนา
ก. เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระสงฆ์เสมือนเป็นทิศเบื้องบน ดังนี้
1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2 จะพูดสิ่งใด ก็พูด้วยเมตตา
3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
ข. กระทำบุญ คือ ทำความดีด้วยวิธีการต่างๆ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ (เรื่องที่จัดว่าเป็นการทำบุญ) 3 อย่าง คือ
1. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันทรัพย์สิ่งของ
2. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติปฏิบัติชอบ
3. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจ
และควรเจาะจงทำบุญบางอย่างที่เป็นส่วนรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก 7 ข้อ รวมเป็น 10 อย่าง คือ
4. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติสุภาพอ่อนน้อม
5. ไวยาวัจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์
6. ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการหั้ผื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี
7. ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการพลอยยินดี ในการทำความดีของผู้อื่น
8. ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ
9. ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
10. ทิฏฐุชุกัมม์ ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง
(ที.ปา. 11/228/330; ที.อ. 3/246)
ค. คุ้นพระศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้ใกล้ชิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก เรียกว่า อุบาสกธรรม 7 ประการ คือ
1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
2. ไม่ละเลยการฟังธรรม
3. ศึกษาในอธิศีล คือ ฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
4. พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง
5. ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิดหาช่องที่จะติเตียน
6. ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสดงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นที่ต้น คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา
(องฺ.สตฺตก. 23/27/26)
ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ อุบาสก อุบาสิกที่ดี มีคุณสมบัติที่เรียกว่า อุบาสกธรรม 5 ประการ คือ
1. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย
2. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล 5
3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังผลจากการกระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่า ขลังศักดิ์สิทธิ์
4. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
5. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา
(องฺ.ปญฺจก. 22/175/230)
จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า กล่าวคือ โดยสรุป ให้ถือธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ 5 ประการ เป็นหลักวัดความเจริญในพระศาสนา
1. ศรัทธา เชื่อถูกหลักพระศาสนา ไม่งมงายไขว้เขว
2. ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต เป็นแบบอย่างได้
3. สุตะ รู้เข้าใจหลักพระศาสนาพอแก่การปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น
4. จาคะ เผื่อแผ่เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ซึ่งพึงช่วย
5. ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้เป็นอิสระ
(องฺ.ปญฺจก. 22/63-4/91-2) |
|
|
|
|
 |
มัลลิกา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 ต.ค.2005, 1:49 pm |
  |
หน้าที่ของชาวพุทธเข้าวัดฟังธรรมทำตัวเองให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติปฏิบัติตามหลังธรรมคำสอนแค่นี้ก็คงเป็นความคิดที่ดีของชาวพุทธที่ดีคนหนึ่ง |
|
|
|
|
 |
1
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 พ.ย.2005, 11:13 pm |
  |
|
|
 |
ปายฟ้า
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ม.ค. 2006, 12:58 pm |
  |
หน้าที่ชาวพุทธควรปฏิบัติกันให้เยอะนะค่ะ |
|
|
|
|
 |
z
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
14 พ.ย.2007, 8:38 pm |
  |
...พุทธ....หมายถึง ผู้รู้ ผู้มีปัญญาแจ้งโลก
...ชาวพุทธ ย่อมมีหน้าที่ ฝึกฝนตนเองให้มีปัญญาแจ้งโลก ตามแนวแห่งพระศาสดา.... |
|
|
|
  |
 |
วิชชา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 05 พ.ย. 2007
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่
|
ตอบเมื่อ:
15 พ.ย.2007, 3:20 am |
  |
ที่เรียกว่าชาวพุทธเพราะนับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก การเคารพนับถือพระรัตนตรัย
ที่ถูกควรทราบว่าพระรัตนตรัยคืออะไร แต่ละอย่างมีความสำคัญอย่างไร ทำไมจึงเป็นรัตนะ การ
เคารพสูงสุดคืออย่างไร เป็นต้น ฉะนั้น ถ้าเราไม่ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ เราก็ไม่
ทราบ เมื่อศึกษาย่อมทราบคุณของพระรัตนตรัย ย่อมเป็นผู้น้อม ประพฤติปฏิบัติตามด้วยการเจริญ
กุศลทุกๆ ประการ (ทาน ศีล ภาวนา)
คลิกอ่านต่อได้ข้างล่างครับ....
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=1144 |
|
_________________ ไม่มี |
|
      |
 |
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50
|
ตอบเมื่อ:
16 พ.ย.2007, 10:34 am |
  |
|
  |
 |
|