ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 3:38 pm |
  |
ตามพุทธพจน์ 2 ข้อนี้ =>
1. โลกเป็นไปตามกรรม หรือโลกเป็นไปเพราะกรรม (กมฺมุนา วตฺตตี โลโก)
2. ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำด้วย
กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ฯลฯ)
-ใครคิดเห็นอย่างไร เข้าใจ "กรรม" อย่างไร ออกความเห็นกันได้ครับ
ตามพุทธประสงค์ 2 ข้อนั่น และตามความเห็นของตนเอง คงเป็นประโยชน์ไม่น้อย
นะครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
jirajade
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 16 ต.ค. 2007
ตอบ: 2
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 3:52 pm |
  |
ผมเห็นด้วยนะครับว่ากรรมทำให้เราต้องเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ โดยที่เราอาจคาดไม่ถึงตามกรรมเก่าที่ตามมาให้ผล แต่ปฏิกิริยาที่เราตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งเกิดจากเจตนาของเราของเราว่าจะทำอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นๆ ก็มีผลในการสร้างกรรมใหม่ที่ดีหรือเลว นั้นผมว่ามีความสำคัญมากกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาจากจิตซึ่งก็คือเจตนาว่าคิดจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระทำอันจะเป็นเหตุให้เกิดกรรมสืบเนื่องกันต่อไป |
|
|
|
  |
 |
z
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 23 ต.ค. 2007
ตอบ: 46
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 5:57 pm |
  |
...เป็นกฎของธรรมชาติ....เป็นอย่างนั้นเอง.....เป็นธรรมดา.... |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 7:29 pm |
  |
[quote="กรัชกาย"][size=18]ตามพุทธพจน์ 2 ข้อนี้ =>
1. โลกเป็นไปตามกรรม หรือโลกเป็นไปเพราะกรรม (กมฺมุนา วตฺตตี โลโก)
วิเคราะห์,,,,,,,,
กรรม หมายถึง การกระทำ ไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดี หรือไม่ดีก็ตาม ถ้าจะกล่าวว่า มนุษย์ย่อมเป็นไปตามกรรม หรือมนุษย์ เป็นไปเพราะกรรมจะถูกต้องกว่า
คำว่า โลก ก็คือโลก ของเรา หมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นไปเพราะการกระทำของดวงอาทิตย์
2. ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำด้วย
กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ฯลฯ)
ไม่มีคำตอบ เพราะอยู่ในข้อวิเคราะห์แล้ว |
|
|
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 7:51 pm |
  |
ขอบคุณทั้งสามท่านที่ร่วมสนทนาครับ
ชาวพุทธสนใจเกี่ยวกับกรรมกันมากๆ
ที่กระดานนี้มีกระทู้เกี่ยวกับกรรม ไม่ต่ำกว่า 4 กระทู้ เป็นกรรมประเภทไหน
ใช่กรรมอย่างเดียวกันกับพุทธพจน์ข้างต้นหรือเป็นกรรมคนละตัวคนละกรรมกันครับ
ช่วยกันวิจารณ์ธรรม จะเป็นประโยชน์มากเลยครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
bad&good
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2007, 9:19 pm |
  |
ตอบ คำถามในข้อ 1
คำว่า โลก ในพุทธธรรม จำได้ว่า พระพุทธทาส ได้หมายถึง มนุษย์
............................................
คำว่า โลก ในความเข้าใจของข้าพเจ้า หมายถึง มนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งปวง
หรือ ทุกสรรพสิ่ง
.............................................
เมื่อใช้คำแปลนี้ลงไป แทน คำว่า โลก แล้ว จึงได้ความหมายว่า
ทุกสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ได้ด้วย การกระทำ (กรรม)
.............................................
ดังนั้น ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ได้ด้วย การกระทำ (กรรม) ของตนเอง ของผู้อื่น ของฝ่ายส่งเสริมท่าน ของฝ่ายทำลายท่าน ของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นจะดี หรือ เลว อย่างไร
.............................................
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า อาจให้ความหมายหนึ่งว่า
กระทำอะไร ได้อย่างนั้น
พูดดี กระทำดี จิตใจดี(เจตนาดี) กับตนเอง กับผู้อื่น กับสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งจะดีตอบกลับมา
พูดเลว กระทำเลว จิตใจเลว(เจตนาเลว) กับตนเอง กับผู้อื่น กับสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งจะ เลว ตอบกลับมา เช่นกัน
ดังนั้น พระพุทธเจ้า จึงสรุปว่า
สัมมาวาจา(พูด)
สัมมากัมมันตะ(กระทำ)
สัมมาสังกัปโป(เป้าหมายดี เจตนาดี)
สัมมาสติ(ระลึก ตั้งใจทำดีอย่างมีเจตนา)
สัมมาทิฎฐิ(ความคิดเห็นดีก่อแต่เรื่องดี)
สัมมาสมาธิ(ทำดีอยู่ตลอดเวลา ทำดีสม่ำเสมอ)......................
แล้ว ทุกสรรพสิ่ง จะดี สงบเย็น
...............................................
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ท่านเหมือนกับจะกล่าวว่า
อย่าคิดว่า โลกนี้มันสนุกเลย มันน่าเบื่อหน่าย
ไม่มีเลยที่เป็นความสุข ตามเข้าใจของเธอ ผู้มีกิเลส
..................................................................................................................
ตอบ คำตอบในข้อ 2
คำว่า เจตนา เป็นคำหลักสำคัญ ขีดเส้นเน้นไว้
จำได้ว่า พระมหาวุฒิชัย ว.....
ท่านกล่าวว่า กรรมนั้นจะสมบูรณ์ เพราะมีเจตนา ตั้งใจแน่วแน่ กระทำลงไป
ถ้ากระทำเลว ก็เกิดอกุศลกรรม
ถ้ากระทำดี ก็เกิดกุศลกรรม
ถ้าไม่ได้เจตนา กระทำลงไป อาจไม่ถือเกิดกรรม
ถ้าไม่ได้เจตนากระทำเลว อกุศลกรรม อาจไม่เกิดขึ้น หรือ เกิดขึ้นแต่เป็นโทษอันเล็กน้อย
(ข้อความดูเหมือนมีช่องโหว่ แต่จิตผู้ใดแสร้งกระทำให้เกิด แสร้งกระทำไปโดยส่วนรวม หวังกระทำร้ายบางคน บางสิ่ง ก็ถือเป็นอกุศลกรรม)
ถ้ากระทำดี กระทำอย่างไม่ตั้งใจ กระทำไปตาม ๆ กัน ตามรูปแบบ บวชพระสงฆ์ไปนุ่งเหลือง หม่เหลือง กระทำไปตามพิธีรีตรอง ไม่เคร่งครัดต่อศีล ก็ไม่เกิดกุศลกรรม แต่อย่างไร เพราะทำไปอย่างส่ง ๆ ทำไปด้วยว่าให้มันจบ ๆ หรือ สร้างภาพให้กับผู้อื่นได้เห็น
เจตนาดี จึงไม่มี
ความรู้สึกสงบเย็น อิ่มสุข จึงไม่มี
เพราะเจตนาต่อการกระทำ ไม่มี
.................................................................. |
|
_________________ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์ |
|
  |
 |
ช้างชูธง
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2007
ตอบ: 50
|
ตอบเมื่อ:
05 พ.ย.2007, 2:55 pm |
  |
สงสัย อย่างคนบ้าไปทำร้ายคน ถือว่าทำกรรมหรือป่าวครับ
หรืออย่างในอเมริกา คนที่เสียสติ หรือ เกิดความเครียด สติแตก เปืนไปยิงเพื่อนนักเรียนตายโดยไม่เจตนา จะเป็นกรรมหรือป่าวครับ
* |
|
|
|
  |
 |
Buddha
บัวบาน

เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415
|
ตอบเมื่อ:
06 พ.ย.2007, 12:46 pm |
  |
IS THIS REALLY YOU ??? i cant remember who sent it to me...
กรัชกาย พิมพ์ว่า: |
ขอบคุณทั้งสามท่านที่ร่วมสนทนาครับ
ชาวพุทธสนใจเกี่ยวกับกรรมกันมากๆ
ที่กระดานนี้มีกระทู้เกี่ยวกับกรรม ไม่ต่ำกว่า 4 กระทู้ เป็นกรรมประเภทไหน
ใช่กรรมอย่างเดียวกันกับพุทธพจน์ข้างต้นหรือเป็นกรรมคนละตัวคนละกรรมกันครับ
ช่วยกันวิจารณ์ธรรม จะเป็นประโยชน์มากเลยครับ |
คำตอบ,,,,,,,,,,,
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า "กรรม" หมายถึงการกระทำ อันจะนับว่า เป็นการกระทำในทางที่ดีที่ถูกที่ควร ตามค่านิยมของสังคม หรือจะนับว่า เป็นการกระทำในทางที่ไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควร ตามค่านิยมของสังคม และความคิดของแต่ละบุคคล
การกระทำใดใดของแต่ละบุคคล ล้วนย่อมเกิดจากความคิด อันต่อเนื่องจากการได้สัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย เกิดจากสภาพจิตใจอันต่อเนื่องจากความคิด เกิดจากวาจา และกาย อันต่อเนื่องจากความคิด และสภาพสภาวะจิตใจ
กรรม หรือ การกระทำของบุคคล ล้วนเกิดด้วยสาเหตุที่ได้กล่าวไป ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น |
|
|
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ย.2007, 10:08 am |
  |
ต่อไปท่านที่จะกล่าวถึงกรรม
ตรงนี้น่าจะเป็นบรรทัดฐานสำหรับ "กรรม"
ส่วนกรรมเก่า
หมายถึง ตัวเรานี่แหละ |
|
|
|
   |
 |
ใบโพธิ์
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
07 พ.ย.2007, 6:02 pm |
  |
กรรมเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และยุติธรรมที่สุด |
|
_________________ ทำความดีทุกๆ วัน |
|
  |
 |
I am
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
08 พ.ย.2007, 3:31 pm |
  |
1. โลกเป็นไปตามกรรม หรือโลกเป็นไปเพราะกรรม (กมฺมุนา วตฺตตี โลโก)
2. ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำด้วย
กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ฯลฯ)
1. โลกในที่นี่ ท่านหมายถึงสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่ามีเท้าไม่มีเท้า มีปีกไม่มีปีก ฯ
เมื่อทำเหตุ คือกรรมก็ต้องรับผลของกรรมนั้น ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว
2. เจตนาคือกรรมหมายถึง มุ่งให้กรรมนั้นเกิดผล เช่น
ฆ่าสัตว์ เจตนาคือฆ่า เพียรพยายามให้สัตว์นั้นตาย เป็นต้น เจตนาแรง เพียรพยายามแรงกล้า กรรมก็หนัก
กรรมนั้นเหมือนกันหมด
ใครทำใครได้ คนอื่นสัตว์รับแทนไม่ได้
กรรมนั้นควรเสวนากันบ่อยๆ
แต่วิบากของกรรมนั้น ท่านเรียก อจินไตย
สาธุกับทุกท่านครับ.. |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
     |
 |
walaiporn
บัวบาน

เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ย.2007, 4:06 pm |
  |
|
  |
 |
บัวหิมะ
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
|
ตอบเมื่อ:
14 ส.ค. 2008, 11:55 pm |
  |
ตามมาอ่าน สนทนาไม่เป็น สาธุ  |
|
_________________ ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ |
|
  |
 |
ศุภมณฑา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 07 ม.ค. 2008
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง
|
ตอบเมื่อ:
15 ส.ค. 2008, 9:45 pm |
  |
เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นแดนตาย
แล้วถ้ากรรมปัจจุบัน ใครรู้บ้างว่าให้ผลเร็วช้าแค่ไหน ได้รับชาตินี้หรือชาติหน้าเอ๋ย แล้วถ้าเราทำกรรมดี เราจะได้ดีชาตินี้ได้มั๊ย แล้วต้องสร้างบุญหรือบารมีขนาดไหน อย่างไร
(ถามเป็นชุดไม่รู้จะมีใครช่วยตอบหรือเปล่า) |
|
_________________ ขยัน อดทน ทำดี คิดดี พูดดี จะประสบความสำเร็จที่ดี |
|
   |
 |
|