Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
การพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรม ๔ ประการ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 06 พ.ย.2007, 8:21 pm
การพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรม ๔ ประการ
กระแสพระราชดำรัสคุณธรรม ๔ ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕ มีความสอดคล้องกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา
คือ
หลักฆราวาสธรรม ๔ ประการ
ซึ่งเป็นเครื่องขัดเกลาความต้องการส่วนจำเป็นของผู้คนให้น้อยลง
อันจะเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจพอเพียง
ที่เน้นให้ประชาชนรู้จักพออยู่พอกิน มีความสงบ
ซึ่งส่งผลให้การดำเนินชีวิตเกิดความสงบสุขร่มเย็น
ดังกระแสพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
....คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ มีอยู่ ๔ ประการ
ประการแรก คือ การรักษาความสัจ
ความจริงใจต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง
ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น
อดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความชั่ว ความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต
และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรมทั้งสี่ประการนี้
ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง และบำรุงให้เจริญงอกงามโดยทั่วกันแล้ว
จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น
และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์...
ข้อดีของการปฏิบัติตนตามคุณธรรม ๔ ประการ
๑.คุณของการมีความจริงใจต่อตนเอง (สัจจะ)
คือ เป็นคนหนักแน่นอดทน มีความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจการงานกิจการได้ผลดี
มีคนเชื่อถือยำเกรง ทำความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ทำให้ไม่ท้อถอย
๒.คุณแห่งการรู้จักข่มใจตนเอง (ทมะ)
คือทำให้มีความสามารถในการทำงาน ไม่เป็นที่รังเกียจของคนอื่น
มิตรภาพมั่นคง ยั้งตัวไว้ได้เมื่อจะกระทำผิด
๓.คุณค่าแห่งการมีความอดทน อดกลั้น (ขันติ)
คือ ทำงานได้ผลดี บำเพ็ญตนเป็นหลักแห่งบริวาร
ไม่มีการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ไม่กระทำผิด เพราะเห็นแก่ความอยาก
๔.คุณของการละวางความชั่ว (จาคะ)
คือ ทำความปลอดภัยให้แก่ตนเอง
ทำความมั่นคงให้แก่สังคมและประเทศชาติ เป็นที่นับถือของบุคคลอื่น
ทำความสงบสุขให้แก่ครอบครัว สังคม และมีจิตใจเป็นสุข
(มีต่อ)
แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 06 พ.ย.2007, 9:46 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
ตอบเมื่อ: 06 พ.ย.2007, 8:28 pm
ชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง
ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้บ้านเมืองพออยู่พอกิน
มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ปณิธาน จุดมุ่งหมายในแง่นี้ ในทางนี้
ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน ไม่ใช่รุ่งเรืองอย่างยอด
ช่วยกันรักษาให้ส่วนรวมอยู่ดี กินดี พอสมควร
ขอย้ำ พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ
(พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคมองค์การเกี่ยวกับศาสนา
ครู นักเรียน โรงเรียนต่างๆ นักศึกษามหาวิทยาลัย
ในโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
กระแสพระราชดำรัสในเรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นวิธีการหนึ่งที่สมควรอย่างยิ่งที่ปวงชนชาวไทย
จะนำวิธีการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ยามที่เศรษฐกิจของบ้านเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ เศรษฐกิจถดถอย
และสมควรอย่างยิ่งยวดที่คนไทยทุกคนจะต้องสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
และน้อมนำกระแสพระราชดำรัสไปปฏิบัติ
โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง หรือความพอเพียง ความพอดี ๕ ประการ
*
คือ
ความพอดีด้านจิตใจ
ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้มีจิตสำนึกที่ดี
เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงประโยชน์ส่วนรวม
ความพอดีด้านสังคม
ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง
และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานของความมั่นคงและแข็งแรง
ความพอดีในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาด และรอบคอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด
และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ
เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันคงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ความพอดีด้านเทคโนโลยี
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ
และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของชาวบ้านเอง
และสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
ความพอดีด้านเศรษฐกิจ
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่พอกิน
สมควรแก่อัตภาพแก่ฐานะของตน
หากกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงของศาสนา
โดยนัยแล้วมีรากฐานมาจากคุณธรรม ๔ ประการ หรือ
ฆราวาสธรรม ๔
หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน
มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ยึดทางสายกลางในการดำเนินชีวิต
พึ่งตนเอง ไม่หลงใหลฟุ้งเฟ้อไปตามกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม
ซึ่งการปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ชาวไทยทุกอาชีพทุกหมู่เหล่า
สามารถนำไปปฏิบัติโดยยึดหลัก ขยัน พากเพียร อดทน
ประหยัดเก็บออม ซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจไมตรีหวังดีมีเมตตา
และยึดทางสายกลางตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา
ขยัน พากเพียรอดทน
คือการทำงานหรือประกอบอาชีพด้วยความขยันขันแข็ง
มุ่งการทำงานให้สำเร็จไม่ว่าเหนื่อยยากหรือลำบากสักเพียงใด
ถ้าคนไทยมีความขยันก็จะสามารถดำรงชีวิตโดยไม่ลำบาก
เพราะไม่มีคนจนในหมู่คนขยัน
ประหยัดเก็บออม
มีการประมาณตน ลดความฟุ่มเฟือย
รู้จักเก็บเงินที่หามาได้จากการประกอบอาชีพที่สุจริต
เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นในการดำรงชีวิต
เช่น การประหยัดเก็บออมทั้งเงินทอง และของใช้สอย
ประหยัดทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซื่อสัตย์สุจริต
คือการทำงานหรือประกอบกิจการสัมมาอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง
มีน้ำใจไมตรี หวังดีมีเมตตา
คือ เลิกการแก่งแย่งแข่งขันในการทำงานหรือการประกอบสัมมาอาชีพ
มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
ยึดทางสายกลาง
คือ การประกอบกิจการใดที่สุดทางสายกลาง
คือไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป รู้จักแยกแยะสิ่งใดดี สิ่งใดเลว
หรืออีกนัยหนึ่ง คือ
วิถีแห่งความพอเพียง
* หมายเหตุจาก
: วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา. เศรษฐกิจพอเพียง. ๒๕๔๘
.
http://www,chaipat.or.th/journal/aug99/whai/self.html
ที่มา : การพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรม ๔ ประการ
ใน
๘๐ พรรษาเทิดไท้องค์ราชัน,
จัดพิมพ์โดย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า ๑๒๖-๑๒๙.
I am
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
ตอบเมื่อ: 07 พ.ย.2007, 7:36 am
สาธุ...
ขอธรรมจงยังความสุขให้ทุกคนนะครับ
_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2007, 11:44 am
อนุโมทนาสาธุค่ะ...คุณ กุหลาบสีชา
ธรรมะสวัสดีค่ะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th