Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 รู้ทันบริโภคนิยม (พระไพศาล วิสาโล) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2007, 2:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

มองจากมุมของศาสนา
ไม่มีศาสนาอะไรที่มีผู้นับถือมากเท่าศาสนาบริโภคนิยม
ศาสนานี้แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก
อย่างไม่มีศาสนาใดเทียบเท่าได้
แม้แต่ในป่าอะเมซอน ขั้วโลกเหนือ ยอดเขาเอเวอเรสต์
ศาสนานี้ก็ยังแพร่ไปถึง โดยผ่านเคเบิลทีวีและสัญญาณดาวเทียม
และโดยนักท่องเที่ยวที่นิยมบริโภคประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ
ศาสนาคริสต์ซึ่งมีผู้นับถือมากที่สุดในโลก
เมื่อเทียบกับศาสนาอิสลาม พุทธ ฮินดู
ก็ยังต้องพ่ายแพ้ต่อศาสนาบริโภคนิยม
ดังผลการสำรวจความเห็นคนทั่วโลกพบว่า
สัญลักษณ์ของแฮมเบอร์เกอร์ยี่ห้อแมคโดแนลด์
(อักษร M มนโค้ง) มีคนรู้จักมากกว่า
สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ (ไม้กางเขน) เสียอีก

ลัทธิบริโภคนิยมสามารถแพร่ขยายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วได้
สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง
ก็เพราะมันสามารถเข้าถึงจุดอ่อนของมนุษย์ นั่นคือ ตัณหา

มนุษย์นั้นต้องการความสะดวกสบายในทางกาย
ปรารถนาสิ่งปรนเปรอทางประสาททั้งห้า (กามตัณหา)
แต่เท่านั้นก็ยังไม่พอ
เรายังต้องการเป็นอะไรที่มากไปกว่าเดิม (ภวตัณหา)
บริโภคนิยมให้สัญญาว่า
สามารถตอบสนองความอยากมีและอยากเป็นของมนุษย์ได้
ใช่แต่เท่านั้นบริโภคนิยมยังมีเสน่ห์ดึงดูดใจสำหรับคนในยุคปัจจุบัน
ที่ถือว่าเสรีภาพและอิสรภาพเป็นคุณค่าที่สำคัญ
บริโภคนิยม ทำให้เราเชื่อว่า
การมีวัตถุสิ่งเสพจะทำให้เรามีเสรีภาพและอิสรภาพมากขึ้น
เช่น รถยนต์จะทำให้เรามีเสรีภาพในการเดินทาง
โทรศัพท์มือถือจะทำให้เราเป็นอิสระจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์
สามารถติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนได้อย่างเสรี
เครื่องสำอางและสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ
จะทำให้เรามีเสรีภาพในการเปลี่ยนตัวตน
หรือสร้างภาพลักษณ์ใหม่ได้ตามใจปรารถนา
ใช่แต่เท่านั้นความหลากหลายของสินค้า
ทำให้เรามีเสรีภาพในการเลือกและบริโภคอย่างแทบจะไม่มีขีดจำกัด
ในยุคที่เชิดชูปัจเจกภาพ บริโภคนิยม
สามารถทำให้เราเลือกที่จะเป็นคนที่ไม่เหมือนใครก็ได้
ที่สำคัญก็คือ บริโภคนิยมทำให้เราเชื่อว่า
ความสุขนั้นอยู่แค่เอื้อม
ความทุกข์และปัญหาต่างๆ ในชีวิต
สามารถแก้ได้ด้วยวัตถุสิ่งเสพ
ขอเพียงแต่มีปัญญาหามาบริโภคให้ได้เท่านั้น

แต่สิ่งที่บริโภคนิยมไม่ได้บอกเรา ก็คือ
การที่จะได้สิ่งเหล่านี้มา เราต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง
ในขณะที่เราไล่ล่าหาความสุขที่อยู่ข้างหน้านั้น
เราได้ละทิ้งความสุขที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
ไม่ต่างจากหมาคาบเนื้อกลางสะพานในนิทานอีสป ที่ทิ้งเนื้อลงน้ำ
เพียงเพราะอยากได้เนื้อชิ้นใหญ่ในแม่น้ำ ซึ่งที่จริงเป็นแค่เงา
ยิ่งไล่ล่าหาความสุข ชีวิตกลับเครียดมากขึ้น และสุขภาพย่ำแย่
แม้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย
แต่ชีวิตกลับเร่งรีบวุ่นวาย จนไม่มีเวลาให้กับตัวเอง
ขณะเดียวกันความสัมพันธ์กับผู้คนก็แย่ลง
ผลก็คือ แม้จะมีบ้านหลังใหญ่ แต่ไร้ความอบอุ่น
แม้จะมีรถหลายคัน แต่ไม่เคยมีเวลาข้ามถนนไปทักทายเพื่อนบ้าน
และแม้จะโทรศัพท์หรือออนไลน์ข้ามโลก
แต่กลับห่างเหินกับคนในบ้าน
ขณะที่ในบ้านเราติดแอร์เย็นสบาย
แต่นอกบ้านกลับร้อนอ้าว เต็มไปด้วยมลภาวะ
และไม่ปลอดภัยที่จะเดินกลางคืน

ร้ายกว่านั้นก็คือ สิ่งที่เราได้มาด้วยราคาที่แพงนั้น
ก็หาใช่ของจริงที่ต้องการไม่
เสรีภาพที่บริโภคนิยมสัญญาว่าจะให้นั้น
แท้ที่จริงก็เป็นเพียงเสรีภาพ
ที่จะเลือกซื้อรถยนต์หรือโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไหนเท่านั้นเอง
ขณะที่เรากลับเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้
จะไปไหนก็ไม่ได้หากขาดรถ
และกระสับกระส่ายทำอะไรไม่ถูก
หากลืมโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้าน
จิตใจไร้อิสระ เพราะถูกล่ามไว้กับวัตถุสิ่งเสพ
บริโภคนิยมให้ได้แต่ความสะดวกสบาย
แต่ไม่สามารถให้ความสุขที่แท้จริงได้
เพราะใจไม่รู้จักพอ ชีวิตจึงไม่เคยเต็มอิ่มเสียที


บริโภคนิยมให้สัญญาว่า
เทคโนโลยีนานาชนิดจะทำให้เรามีเวลาว่างมากขึ้น
แต่แล้วชีวิตเรากลับวุ่น จนแม้แต่จะนอนก็ไม่มีเวลา
อีกทั้งชีวิตก็เร่งรีบกว่าเดิม จนแม้แต่จะกินก็ต้องเคี้ยว
ยิ่งไปกว่านั้นตัวตนใหม่ๆ ที่ได้จากการบริโภค ก็ไม่จิรังยั่งยืน
ไม่ใช่เพียงเพราะเราเบื่อตัวตนเหล่านี้
และถูกกระตุ้นให้อยากได้ตัวตนใหม่ๆ อยู่เสมอเท่านั้น
แต่ที่สำคัญก็คือ ตัวตนเหล่านี้เป็นเพียงมายา
มันเป็นได้แค่ภาพลักษณ์ ซึ่ง “ตกรุ่น” ไปในเวลาไม่นาน

ปัญญาพาเท่าทัน
บริโภคนิยมทำให้เราเป็นทาสของวัตถุ
และตกอยู่ในความหลงมากขึ้น
การเป็นไทจากบริโภคนิยม
จะต้องเริ่มต้นจากการมีปัญญา
แลเห็นโทษและข้อจำกัดของมัน กล่าวคือเห็นว่า

๑) ในการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งเสพ เพื่อบริโภคนั้น
เราต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง
เงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
เรายังต้องเสียเวลา พลังงาน และความสุขทางใจ
และอาจต้องแลกกับสุขภาพ
และความสัมพันธ์อันราบรื่นกับผู้คน
ไม่เว้นแม้แต่คนในครอบครัว
ใช่แต่เท่านั้นเมื่อได้มาแล้ว
ก็ต้องเป็นภาระในการดูแลรักษา คอยห่วงกังวล
แต่ไม่ว่าจะดูแลรักษาหรือห่วงกังวลเพียงใด
ในที่สุดสิ่งนั้นก็ต้องเสื่อมเสีย สูญหาย
หรือพลัดพรากไปจากเรา
มองให้กว้างออกไป วัตถุสิ่งเสพเหล่านี้
ไม่ได้สร้างภาระให้เราคนเดียวเท่านั้น
หากยังสร้างภาระให้แก่สังคม
ยิ่งเราเสพมากเท่าไร ก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างน้อยก็ในรูปของขยะและมลพิษ

๒) วัตถุสิ่งเสพ ไม่สามารถให้ความสุขแก่เราได้อย่างแท้จริง
มันให้อย่างมากแค่ความสะดวกสบายทางประสาททั้งห้า
จริงอยู่ตอนที่เสพหรือได้มาใหม่ๆ ก็มีความสุข
แต่ความสุขนั้น ก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
ไม่นานความสุข ก็จะกลายเป็นความทุกข์
อาหารไม่ว่าอร่อยเพียงใด
แต่ถ้ากินทุกมื้อไปทั้งเดือน ก็ทำให้เอียนได้
เพลงไม่ว่าจะไพเราะเพียงใด
หากฟังบ่อยๆ ก็จะรู้สึกเบื่อ
แม้แต่เสื้อผ้าที่ให้ความสุขใจเมื่อสวมใส่
หรือโทรศัพท์มือถือที่ทำให้เจ้าของภูมิอกภูมิใจที่ได้โชว์
แต่ไม่นานก็กลายเป็นของล้าสมัยที่ไม่มีใครอยากใช้

การเห็นโทษและข้อจำกัดของวัตถุสิ่งเสพ
จะช่วยให้เรารู้เท่าทันการโฆษณา
(ซึ่งล้วนแต่พูดถึงสิ่งดีๆ ของสินค้า)
และทำให้เราไม่หลงคล้อยตามบริโภคนิยมไปง่ายๆ
แต่การเห็นเพียงเท่านั้น ยังไม่พอ
เราจะเป็นอิสระจากบริโภคนิยมได้
ก็เพราะมีปัญญาแลเห็นทางเลือกที่ดีกว่าด้วย
กล่าวคือ เห็นว่าความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ
วัตถุเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบ
แม้วัตถุหรือความสบายทางกาย จะช่วยให้เรามีความสุข
แต่ก็เป็นเพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
เลยจากนั้นไปต้องอาศัยการรักษาใจอย่างถูกต้อง
หากรักษาใจไม่ถูกต้อง แม้จะเป็นเศรษฐีพันล้าน
หรือได้โชคหลายสิบล้านจากล็อตเตอรี่ ก็ยังฆ่าตัวตายได้
ในขณะที่คนจำนวนไม่น้อย มีเงินไม่มากแต่ก็มีความสุข
บางคน ทั้งๆ ที่เป็นโรคร้าย
ก็ยังพูดได้เต็มปากว่า “โชคดีที่เป็นมะเร็ง”
หรือแม้เป็นโรคหัวใจจนเกือบตาย
แต่ก็มองว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเขา
กล่าวอีกนัยหนึ่งสุขหรือทุกข์ล้วนอยู่ที่ใจ
วัตถุสิ่งเสพเป็นได้อย่างมากแค่อุปกรณ์เสริมไปสู่ความสุข
แต่หาใช่ตัวความสุขไม่ “ความสุขที่คุณดื่มได้” ในชีวิตจริงหามีไม่

๓) การเปลี่ยนแปลงตัวตนหรือเป็นคนใหม่นั้น
สำเร็จได้ก็ด้วยการกระทำ มิใช่เกิดจากการบริโภค
การบริโภคนั้น ทำได้อย่างมากเพียงแค่สร้างภาพลักษณ์
และไม่ว่าจะเปลี่ยนภาพลักษณ์อย่างไร
ก็ไม่ได้ทำให้เราเป็นคนใหม่ไปได้
ร้ายกว่านั้นก็คือ ทำให้เราเป็นทาสของวัตถุสิ่งเสพ
และเอาคุณค่าของตัวเองไปฝากไว้กับวัตถุ
ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เราไม่รู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่าเลย
จนกว่าจะมีวัตถุสิ่งเสพ เช่น สินค้าแบรนด์เนม อยู่ใกล้ตัว
อันทีจริงคุณค่าในตัวเองเกิดขึ้นได้
ก็จากการทำสิ่งดีงามและสร้างสรรค์
ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นเท่านั้น
หากยังผลย้อนกลับมาเปลี่ยนแปลงตัวเรา ทั้งกายและใจ
ให้มีคุณภาพใหม่ และทำให้เราค้นพบคุณสมบัติที่แท้จริงในตัวเรา
ความเป็นคนใหม่หรือสำนึกในตัวตนใหม่ที่ดีกว่าเดิม
จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเหตุนี้



คัดลอกจาก...
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10445


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2007, 8:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2007, 11:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้ทฤษฎีทางโลกเช่น จิตวิทยา และการตลาด ก็มีกล่าวไว้ว่า

ความต้องการของมนุษย์...ถมอย่างไรก็ไม่มีวันเต็ม

และเมื่อความต้องการระดับหนึ่งได้รับการสนองตอบแล้ว
มนุษย์ก็ยังมีระดับความต้องการที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ไป....

ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นได้ไม่หยุดยั้ง
เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวที่ไร้ขีดจำกัด

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

"ปัญญา" เท่านั้น ที่ทำหน้าที่กำกับให้รู้เท่าทัน
และปลดปล่อยเราสู่อิสรภาพ....อย่างแท้จริง ยิ้มเห็นฟัน

อนุโมทนาด้วยนะคะคุณลูกโป่ง สาธุ สู้ สู้ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง