Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตเกิดดับตลอดเวลาไม่ยึดมั่น แล้วดวงจิตที่ตามภพชาติคืออะไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
pakapob
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 30 ส.ค. 2007
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2007, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
pakapob
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 30 ส.ค. 2007
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 30 ส.ค. 2007, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านที่รู้กระทู้นี้ ขอความกรุณาบอกด้วยครับ จะอนุโมทนามากๆๆ ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2007, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดวงจิตที่ตามภพชาติ ด้วยมิอาจปล่อยวางขันธ์ 5 หรือ รูปธรรม นามธรรม คือ ร่างกายจิตใจให้เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปตามกฏของธรรมชาติ เช่นนั้นเองได้ แต่กลับมายึดมั่นถือมั่นเอาว่า:-

รูปขันธ์ ว่าเป็นเนื้อหนังร่างกายกู หรือตัวกูด้วย อัตตวาทุปาทาน
เวทนาขันธ์ ว่าเป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุข ของกู มีตัวกู ผู้รู้สึกต่อกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่กูหลงชอบ ที่กูหลงชัง ด้วย กามุปาทาน
สัญญาขันธ์ ว่าเป็นความรู้สึกตัว รู้สมปฤดีของกู มีตัวกู ผู้รู้จำ รู้หมาย ด้วยอัตตวาทุปาทาน
สังขารขันธ์ ว่าเป็นความคิดนึกปรุงแต่งของกู มีกูผู้คิดนึก เป็นความคิดความเห็นของกู ด้วยทิฏฐปาทาน
วิญญาขันธ์ ว่าเป็นความสามารถรับรู้โลกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของกู มีตัวกูเป็นผู้รับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ทั้งปวงเหล่านั้น ด้วยอัตตวาทุปาทาน และ กามุปาทาน

อุตตวาทุปาทาน กามุปาทาน และทิฏฐุปาทาน อาศัยตัณหาเป็นปัจจัย พร้อมกับการเกิดขึ้นของ ภพ ชาติ และทุกข์ซึ่งเป็นกิเลสอันมี โลภะ โทสะเป็นต้น สัตว์จึงหนีไม่พ้นกรรม ต้องประกอบกรรมโดยไตรทวาร คือ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ด้วยสีลพตปรามาส เพราะยึดติดอยู่กับ สีลพตุปาทาน มีความพยายามที่จะดับทุกข์ทางใจ ด้วยวิธีทางผิดๆ ยึดมั่นในมิจฉาทิฎฐิ ผิดทำนองคลองธรรมที่ควรจะเป็นไปตามปกติของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขณะจิตดังกล่าวจึงมีชาติหน้า ชาติโน้นๆ นิรันดร ไม่มีสิ้นสุด

จาก ศีล ธรรม มงคล

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา


ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2007, 2:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะดวงจิตของเรายังมี.....

"อวิชชา"
คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงคิดปรุงแต่งไปต่างๆนานา
และก่อให้เกิด "สังขาร"

และเพราะเกิดความคิดปรุงแต่งได้งอกงาม
จึงรับรู้ผลแห่งความคิด หรือความรับรู้นั้น ซึ่งเรียกว่า "วิญญาณ"

และการรับรู้ วิญญาณ ก่อให้เกิดผลต่อความยึดมั่นถือมั่น
เป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้เป็น กาย และใจ สนองวิญาณที่เกิดขึ้นตามความคิดปรุงแต่งนั้น
เป็นวิบากที่รับผลกรรมจากความคิด อันเราเรียกว่า "รูป นาม"

ที่เกิดเป็นบุคลิกภาพทางกาย และใจ
บุคลิกภาพดังกล่าวนี้จะสนองเจตนาของความคิดได้
ต้องอาศัยช่องทาง หรือเครื่องมือต่างๆ ที่กระตุ้นให้ทำงานได้ตามความคิด
เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า"อายตนะ ๖" หรือ "สฬายตนะ"

ซึ่งเป็นเครื่องมือในการรับรู้ปรากฏการณ์ของโลกภายนอก เช่น

ความคิดมีเจตนาเรื่อง รูปร่าง
ดังนั้น "ตา" จึงมองรูป
มีเจตนาต่อถ้อยคำ "หู" จึงฟังเสียง
"จมูก" มีเจตนาต่อการรับรู้กลิ่น
"ลิ้น" มีเจตนาในการรับรู้รส
"กาย" มีเจตนาต่อการรับรู้ สัมผัส ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
และ "ใจ" มีเจตนารับรู้ความรู้สึกนึกคิด

รูปและนามเหล่านี้ ไหลผ่านอายตนะทั้ง ๖
ซึ่งเปรียบเหมือน ประตู ลงสู่ จิตใจ เป็นการรับรู้ที่เรียกว่า "ผัสสะ"

อย่างไรก็ตาม
หากเราไม่รู้เท่าทันประตูหน้าต่างตามความเป็นจริง
ขาดสติในการพิจารณา
สิ่งต่างๆ ที่เป็นปรากฏการณ์ของโลกภายเมื่อไหลผ่านประตูทั้ง ๖ ลงสู่จิตใจ
จิตก็จะได้รับรู้รสชาติแห่ง สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ เป็นการเสวยอารมณ์
ซึ่งเรียกว่าเป็น "เวทนา"

และเพราะจิตรับรู้รสชาติของ สุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ
จึงเกิดมีปฏิกิริยา ของการชอบ ไม่ชอบ
เพราะ "ชอบ" จึง "อยากมี อยากเป็น"
เพราะ "ไม่ชอบ" จึง "ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น"
ความอยากเหล่านั้น เราเรียกว่า "ตัณหา"

และเพราะชอบจึงอยากยึดไว้
ยึดเพราะความต้องการ
ยึดเพราะความเชื่อ
ยึดเพราะคิดว่ามีเรา
สิ่งที่ยึดถูกกระทบเมื่อใด เราจึงถูกกระทบเมื่อนั้น
ความยึดถือเหล่านั้นในสิ่งที่ชอบ หรือชังเรียกว่า "อุปาทาน"

และเพราะยึดไว้กับความอยาก
จึงเป็นแรงผลักดันอันก่อให้เกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจตนา
และเจตนาที่เป็นเสมือนแรงขับนี้เอง
ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ จึงเป็นที่อยู่ของจิตใจ เรียกว่า "ภพ"
และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด

ตัวตนขึ้นภายในที่ได้มี ได้เป็นจากการกระทำที่สั่งสม และกรรมที่ได้กระทำไป
เรียกว่า "ชาติ"

และเมื่อเกิด "ภพ" และ "ชาติ"
สิ่งต่างๆ จึงดำเนินไปภายใต้กฏแห่งความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยง
คือ เกิดความเสื่อมถอย และความดับ ที่เรียกว่า "ชรา" และ "มรณะ"

เหล่านี้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงผลไปตามเหตุปัจจัย ของ
"ปฏิจจสมุปบาท"

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้

ดังคำกล่าวที่ว่า

"เพราะมีเมล็ดจึงมีต้น เพราะมีต้นจึงมีเมล็ด
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น วนเวียนอยู่เช่นนี้"


เมื่อใดใช้ "สติ" และ "ปัญญา"
พิจารณา ตัดกระแสแห่งความยึดมั่นถือมั่น ใน "รูปนาม"ให้รู้เท่าทันตามเป็นจริง
ไม่หลงในความไม่รู้จริง (อวิชชา)
ได้เด็ดขาดแล้ว จิตจึงพ้นจากวัฏฏสงสารเหล่านี้โดยสิ้นเชิง


สาธุ สาธุ สาธุ

เอวังด้วยประการฉะนี้....ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง