ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
webmaster
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769
|
ตอบเมื่อ:
26 มี.ค.2005, 12:32 am |
  |
|
   |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.พ.2006, 9:57 am |
  |
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
หมู่ 9 บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี
อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 49110
พระพวงพิด ธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ อดีตประธานสงฆ์และอดีตเจ้าอาวาส
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยทราย หมู่ที่ ๙ ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ระมาณ ๓๓ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ประมาณ ๓๐๐ เมตร จดที่ดิน-ที่สวนชาวบ้าน ทิศใต้ ประมาณ ๓๕๐ เมตร จดที่ดินสาธารณประโยชน์-ถนนลาดยาง ทิศตะวันออก ประมาณ ๑๘๐ เมตรจดที่ราชพัสดุ ทิศตะวันตก ประมาณ ๑๓๐ เมตร จดที่สวนชาวบ้าน
อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นโปร่ง, หอสวดมนต์ ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นอาคารตึกชั้นเดียว, กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารไม้ ๖ หลัง และตึก ๕ หลัง มีห้องน้ำประจำกุฏิ, โรงครัวสร้างด้วยไม้หนึ่งหลัง ตลอดจน ห้องน้ำสำหรับญาติโยมเป็นเรือนแถว จำนวน ๙ ห้อง
ปูชนียวัตถุ ประกอบด้วย เจดีย์บู่ทองกิตติ เป็นเจดีย์ลักษณะห้ายอด ตั้งอยู่บนฐานกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ ๔๕ เมตร เป็นศิลปะประยุกต์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกหลายองค์ นอกจากนี้แล้วยังมีพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่ง
เจดีย์บู่ทองกิตติ
.........................................................................
ประวัติเจดีย์บู่ทองกิตติ
จากหนังสือจังหวัดมุกดาหาร
เจดีย์บู่ทองกิตติ เป็นเจดีย์สำคัญ ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอคำชะอี ตามเส้นทางคำชะอี-กุฉินารายณ์ เป็นระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร โดยวัดป่าวิเวกวัฒนาราม สถานที่ตั้งเจดีย์เป็นวัดเก่าแก่ ได้สร้างขึ้นโดยพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แม่ทัพธรรมแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๔ มีเนื้อที่ประมาณ ๓๓ ไร่
สำหรับเจดีย์บู่ทองกิตติ สร้างขึ้นโดยการปรารภของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ในขณะนั้น ลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นแกนนำในการก่อสร้าง สำหรับเป็นที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธาตุของพระอรหันต์สาวกของพระองค์ อาทิ พระสีวลี พระอุปคุต พระองคุลีมาล เป็นต้น พระธาตุดังกล่าวมีจำนวนมากมายกว่าที่พบในที่อื่นๆ, ใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ มีทั้งพระทองคำ เงิน ทองเหลือง ทองแดง ดินปูน รวมประมาณ ๑,๑๐๐ องค์ รวมทั้งใช้เก็บวัตถุโบราณต่างๆ ที่มีผู้นำมาถวายให้แก่วัด
เจดีย์แห่งนี้สร้างตามรูปแบบที่หลวงปู่จาม เคยพบในความฝันว่า ได้ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ลึกลับแห่งหนึ่ง แล้วไปพบเจดีย์รูปร่างแปลกประหลาดจึงจดจำไว้ เมื่อตื่นขึ้นได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ที่มีความสามารถทางการวาดภาพ เมื่อได้วาดตรงตามที่องค์หลวงปู่ให้รายละเอียดแล้ว ได้มอบให้ช่างในท้องถิ่นเป็นผู้ออกแบบคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด และได้เก็บแบบเจดีย์ไว้ เนื่องจากยังขาดกำลังทรัพย์ที่จะนำมาก่อสร้างได้ แต่ยังมีความประสงค์ที่จะสร้างเจดีย์รูปแบบดังกล่าวเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของอรหันต์สาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่จามได้รับมาจำนวนมากแต่ยังไม่มีที่สมควรจะเก็บรักษาได้
ต่อมามีคหบดีคนหนึ่งนามว่า คุณแม่บู่ทอง กิตติบุตร สานุศิษย์ของหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ซึ่งมีเชื้อสายเป็นเจ้านายเก่าจากจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของโรงพยาบาลลานนาและโรงแรมลานนา มากราบมนัสการหลวงปู่และได้เห็นภาพเจดีย์ จึงเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้บริจาคเงินสร้างเจดีย์องค์นี้เป็นจำนวนมาก และได้เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยใช้ช่างพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ได้มีการควบคุมการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดโดยหลวงปู่จาม เจดีย์สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
ลักษณะเจดีย์องค์นี้ มีฐานรากลึก ๓ เมตร มีเสาขนาดใหญ่ ๙ เสา ตั้งอยู่บนฐานกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๓ เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ ๔๕ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบเจดีย์ กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ชั้นล่างปูหินอ่อน ใช้ในการกระทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ในวัด ชั้นที่ ๒ มีบันไดขึ้นกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และมีเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ในชั้นที่ ๓ ของเจดีย์สี่เหลี่ยมดังกล่าว แต่ละด้านจะเป็นฐานรูปทรงระฆังคว่ำขนาดย่อม ย่อมุมไม้สิบสองมี ๔ องค์ ล้อมรอบเจดีย์รูปทรงระฆังคว่ำองค์กลางที่มีรูปแบบคล้ายกัน ต่างกันเฉพาะที่มีขนาดใหญ่และสูงกว่า เจดีย์รูปทรงขนาดย่อมจะอยู่รอบเจดีย์องค์กลางเป็นจตุรมุข ยอดเจดีย์องค์กลางยกช่อฉัตร ๙ ชั้น เมื่อสร้างและตกแต่งเสร็จแล้ว ได้ให้นามว่า เจดีย์บู่ทองกิตติ เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับนางบู่ทอง กิตติบุตร ผู้ถวายเงินสร้างเจดีย์จำนวนมาก
นอกจากวัดป่าวิเวกวัฒนารามจะมีเจดีย์รูปทรงแปลกแล้ว ยังมี กุฏิพระเสาเดียว ที่แปลกไม่เคยพบที่อื่นเลยจำนวนหลายหลัง ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยหลวงปู่จาม มหาปุญโญ เช่นเดียวกัน นับเป็นวัดที่สำคัญและควรได้รับความสนใจจากพุทธศาสนิกชนควรที่จะแวะมาสักการบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนตลอดไป
อุโบสถ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
.........................................................................
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เดิมชื่อ วัดหนองน่อง ชาวบ้านเรียกว่า วัดบ้านห้วยทราย ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหมู่บ้านห้วยทราย โดยหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์ และมีพระสายปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น มาปฏิบัติธรรม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้ย้ายสำนักสงฆ์เดิมมาตั้งด้านทิศตะวันตกเพราะบริเวณเดิมเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังตลอด และได้ตั้งชื่อวัดใหม่เป็น วัดป่าวิเวกวัฒนาราม เพราะบริเวณวัดมีสภาพเหมาะสมกับการปฏิบัติบำเพ็ญสมณธรรม ต่อมาได้มีพระสงฆ์ซึ่งเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนาได้จำพรรษาตลอดมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
รูปที่ ๒ พระหล้า เขมปตฺโต
รูปที่ ๓ พระศรี มหาวีโร
รูปที่ ๔ พระสิงห์ทอง ธมฺมวโร
รูปที่ ๕ พระจาม มหาปุญโญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๕๖
รูปที่ ๖ พระเพชร อรุโณ รักษาการเจ้าอาวาส
รูปที่ ๗ พระพวงพิด ธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว)
สอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่...
ผอ.อุทิศ ผิวขำ โทร. 081-999-4713
คุณมุก โทร. 089-713-2241
คุณ Ayuraveda โทร. 035-505299
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ อดีตเจ้าอาวาส
พระพวงพิด ธมฺมธโร (ครูบาแจ๋ว) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ละสังขารแล้ว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44376
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24254
กำหนดการประชุมเพลิงสรีระสังขารครูบาอาจารย์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44511
ประมวลภาพวันมาฆบูชา ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม
http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1996
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.dhammasavana.or.th/
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
19 ก.พ.2006, 10:03 am |
  |
วัดพุทโธธัมมธโร (วัดภูด่านแต้)
เลขที่ 109 หมู่ 1 ถ.ชยางกูร บ้านชัยมงคล
ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
โทรศัพท์ 042-651-116, 042-681-176
โทรสาร 042-638-301
พระเทพสิทธิโมลี (พระอาจารย์สมพงษ์ ขนุติโก)
เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร (ธรรมยุติ )
เจ้าอาวาสวัดพุทโธธัมมธโร (ภูดานแต้)
พระเทพสิทธิโมลี (พระอาจารย์สมพงษ์ ขนุติโก)
ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อลี ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม
วัดพุทโธธัมธโร ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 212 ห่างจากตัวอำเภอนิคมคำสร้อยประมาณ 4 กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 134 ณ เลขที่ 133 หมู่ที่ 1 บ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย มีหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่หลังคาพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางปฐมเทศนา ศิลปะรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ออกแบบโดยท่านพ่อลี ธัมมธโร ที่เคยดำริจะก่อสร้างที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ หันหน้าออกอ่าวไทยเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจแก่นักเดินเรือ และประชาชนที่อาศัยในละแวกใกล้ๆ นั้น เมื่อท่านหลวงพ่อลี ละสังขารก็ไม่มีผู้ใดสานต่อเจตนารมณ์
ท่านอาจารย์สมพงษ์ ขันติโก ลูกศิษย์พระอาจารย์ลี เจ้าอาวาสวัดพุทโธธัมธโร ได้ก่อสร้าง เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์กัมมัฏฐาน ตามแบบที่ท่านพ่อลีออกแบบทุกประการ หลวงพ่อธรรมจักรสร้างบนหลังคาอุโบสถ องค์พระสูงใหญ่มาก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อยู่ห่างจากถนนชยางกูรประมาณ 500 เมตร ประชาชนเดินทางผ่านไปมามองเห็นองค์พระได้ชัดเจน ตรงหน้าหลวงพ่อธรรมจักร มีรูปปั้นพระอรหันต์เบญจวัคคี ก่อด้วยอิฐถือปูน หันหน้าเข้าหาหลวงพ่อธรรมจักร นับเรียงจากซ้ายไปขวา องค์ที่ 1 พระอัญญาโกญทัญญะ องค์ที่ 2 พระวัปปะ องค์ที่ 3 พระภัทธิยะ องค์ที่ 4 พระมหานามะ องค์ที่ 5 พระอัสสชิ
ด้านหลังหลวงพ่อธรรมจักร เป็นธรรมจักรขนาดใหญ่สูงเท่าองค์หลวงพ่อธรรมจักร มองเห็นเป็นภูมิทัศน์ มีความแปลกมหัศจรรย์กว่าพระพุทธรูป ทุกบาง ที่เคยปรากฏ ทำให้เป็นที่หน้าสนใจของประชาชน แวะเข้าชมและนมัสการมากมาย แม้องค์พระเองก็เป็นปริศนาธรรมให้ขบคิด นิ้วพระหัตถ์ที่กล่าวถึงธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 และกิเลสที่พระองค์ตัดห่างไกลโดยสิ้นเชิงคืออวิชชา 3
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.mukdahannews.com/v-pudantea.htm
http://www.ssk.mukdahan.net/www.culture%202004/cul05_25.htm
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
08 เม.ย.2006, 12:30 pm |
  |
วัดป่าสมเด็จ
ต.หนองแวง อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร 49130
พระมงคลกิติวัฒน์ (ม.ล.ทวีศักดิ์ ดารากร)
หรือหลวงพ่อน้ำมนต์เดือด เจ้าอาวาส |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
วีรยุทธ
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2006, 4:15 pm |
  |
|
  |
 |
วีรยุทธ
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร
|
ตอบเมื่อ:
27 ธ.ค.2006, 11:39 am |
  |
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
............................................................................
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ)
บ้านแวง ต.หนองสูงใต้
อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 49110
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต อดีตเจ้าอาวาส
วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) เป็นวัดปฏิบัติตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ลำนำธรรมมาพาให้ชวนคิดของ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
พระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไม่ล้าสมัย แต่ผู้วิจัยพิจารณาไม่อยู่ระดับเดียวกัน ก็จำเป็น จำไปจะตีพระคุณค่าสูงต่ำลุ่มดอนต่างกันไปตามอิสระเสรีของเจ้าตัว ตามวาสนาบารมีที่สร้างมาแต่ปางชาติ ปางก่อนไม่เสมอกัน ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ด้านปัญญาอันเป็นนายหน้าของศีล และสมาธิอันเป็นพละพลัง ทรงบังลังในปัจจุบันแข็งแกร่งไม่เสมอกัน จึงกลายเป็นพรรคเป็นพวกแห่งความเห็นไปซะแล้ว แต่ก็ต้องอาศัยความเมตตาปราณีสามัคคียสมานมิตรสมานฉันท์กันกลมเกลียวไว้
เพราะเราคนเดียวเป็นโลกมนุษย์ไม่ได้ เราคนเดียวเป็นประเทศไม่ได้ เราคนเดียวเป็นพระนครหลวงไม่ได้ เป็นภาคจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านครอบครัว กระทรวงนั้นกระทรวงนี้ไม่ได้ และฝ่ายนานาศาสนา แม้พระพุทธศาสนาอันเป็นจอมพลของศาสนาที่เรียกว่า อริยะสัจจะศาสนาเล่าก็ต้องอาศัยพรรคอีกจะเว้นไม่ได้ แม้ผึ้งและปลวกซึ่งเป็นสัตว์เล็กๆ มันยังควบคุมกันอยู่ได้เป็นพวกๆ ตามกรรมและผลของกรรมใครมัน เพราะกรรมและผลของกรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีและเลวต่างกันเป็นพวกๆ เป็นบุคคล (พระพุทธศาสนายืนยันแข็งแกร่ง) การยืนยันตามอริยะสัจจธรรมไม่เป็นอุปาทานเลย
พระหล้า เขมปตฺโต
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44660
รวมคำสอน หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38521
ประมวลภาพ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=44375
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * |
|
_________________ ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com |
|
  |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
06 ก.ค.2007, 10:41 am |
  |
หลวงปู่อ้ม สุขกาโม
...................................................................
วัดภูผาผึ้ง (วัดป่าภูผาผึ้ง)
หมู่ 3 บ้านคำผักกูด ต.กกตูม
อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร 49140
หลวงปู่อ้ม สุขกาโม ประธานสงฆ์
วัดภูผาผึ้ง (วัดป่าภูผาผึ้ง) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ และพระอาจารย์แบน ธนากโร ปฏิบัติโดยใช้อานาปานสติ (การทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึดจิต) + บริกรรมพุทโธ และการพิจารณาร่างกาย
วัดภูผาผึ้ง เป็นวัดตั้งอยู่ในป่าเชิงเขา มีเนื้อที่นับหมื่นไร่ (ทางราชการฝากให้วัดช่วยดูแลป่าให้) แวดล้อมไปด้วยแมกไม้ สงบ ร่มเย็น กุฎี ที่พัก ส่วนใหญ่พักได้หลังละ 1 คน แยกเป็นสัดส่วนชาย-หญิง ที่พักส่วนใหญ่มีไฟฟ้า และระบบน้ำเข้าถึง (เป็นน้ำที่ต่อท่อลงมาจากบนภูเขา มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี) เรื่องอาหาร ถ้าอาหารที่พระรับบิณฑบาตไม่เพียงพอ ทางโรงครัวจะทำอาหารเพิ่มเติมให้ นับว่าเป็นสถานที่ที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติจะปล่อยให้ปฏิบัติกันเองตามกำลังของแต่ละบุคคล
สามารถไปพักปฏิบัติธรรมได้ตามความสะดวกของแต่ละท่านตลอดทั้งปี ทั้งนักบวช ทั้งฆราวาส ชาย-หญิง ทั้งธรรมยุตและมหานิกาย ขอให้ตั้งใจจริงเป็นใช้ได้ ทางวัดไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ปฏิบัติสามารถบริจาคช่วยเหลือค่าอาหาร-ค่าไฟฟ้าได้ตามกำลังศรัทธา
การเดินทาง : วัดภูผาผึ้งตั้งอยู่ใกล้ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ มากกว่า (อยู่เกือบสุดเขตของ จ.มุกดาหาร) อยู่ห่างจาก อ.เขาวง ประมาณ 14 กม. จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถประจำทาง (จากหมอชิต) ไปลงที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ (มีรถเพียงวันละประมาณ 1 เที่ยวเท่านั้น) แต่ถ้าขึ้นรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ไปลงที่ อ.กุฉินารายณ์ (บัวขาว) จ.กาฬสินธุ์ (มีรถเกือบทั้งวัน) แล้วต่อรถสองแถวไปลงที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ จะหารถง่ายกว่ามาก จากนั้นขึ้นรถสองแถวจาก อ.เขาวง ไปลงที่บ้านสานแว้-บ้านคำผักกูด ตรงสถานีตำรวจกกตูม แล้วนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปอีกประมาณ 6 กม. ก็จะถึงวัดตามที่ต้องการ
และถ้าหากไปด้วยรถส่วนตัว ก็ไปตามเส้นทางกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์-เขาวง-บ้านสานแว้-บ้านคำผักกูด แล้วเลี้ยวเข้าทางย่อยตรงสามแยกสถานีตำรวจกกตูม ก็จะไปถึงวัดภูผาผึ้งเช่นกัน (การเดินทางอาจจะลำบากสำหรับท่านที่อยู่ไกลวัด แต่ถ้ามีเวลา และความเพียรมากพอ แล้วจะรู้สึกว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง) |
|
|
|
    |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
07 ส.ค. 2007, 9:46 pm |
  |
สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าภูกระโล้น
ต.คำชะอี อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร 49160
สถานที่สัปปายะมากๆ สงบร่มรื่น เหมาะแก่การเจริญภาวนาเป็นยิ่งนัก
ทางสำนักฯ มีการจัดบวชปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี |
|
|
|
    |
 |
|