ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2007, 8:30 pm |
  |
(นำมาจากพุทธธรรมหน้า 382...)
อัตตา
ภาพ อัตตา หรือ ความสำคัญหมายว่าเป็นอัตตา (อัตตสัญญา) ก็ดี
ความเห็น หรือ ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตา (อัตตทิฐิ หรือ อัตตานุทิฐิ) ก็ดี
ความยึดติดถือมั่นที่ให้พูดยันอยู่ว่ามีอัตตาเป็นอัตตา (อัตตวาทุปาทาน) ก็ดี
เป็นความเคยชินที่ถือกันมาสั่งสมกันมาไหลต่อเนื่องไปข้างเดียว จนติดฝังแน่น เมื่อถูกขัดแย้ง จึงมักให้หาทางเลี่ยงออก ทำให้มีการค้นหากันอีกว่า เมื่อนี่ไม่ใช่อัตตาแล้ว อะไรจะเป็นอัตตา
จึงขอย้ำว่า อัตตาเป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากภวตัณหา มีอยู่ในความยึดถือ เมื่อถอนความยึดถือนั้นแล้ว
ก็ไม่มีเรื่องต้องพูดถึงอัตตาอีก
เมื่อละภวตัณหาได้แล้ว
อัตตาก็หมดความหมายไปเอง |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2007, 8:41 pm |
  |
อนัตตา
แม้คำว่า อนัตตา ก็มุ่งเพื่อปฏิเสธอัตตา ซึ่งตัณหาและทิฐิได้สร้างขึ้นมายึดถือไว้ผิดๆ
เมื่อถอนความยึดถือนั้นแล้ว ตัวอัตตา หรือภาพอัตตาก็หมดไปเอง
แต่ถ้ามาเข้าใจ อนัตตา ว่าไม่มี อัตตา
ในความหมายอย่างที่ปุถุชนเข้าใจ ก็เป็นอันกระโดดไปเข้าเขตอุจเฉททิฐิ ซึ่งเป็นความเห็นผิดไปอีก
ในสุตตนิบาต
มีข้อความหลายแห่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงภาวะของผู้หลุดพ้นแล้วว่า ไม่มีทั้ง อัตตัง
ทั้ง นิรัตตัง
หรือไม่มี อัตตา ทั้ง นิรัตตา แปลว่า ไม่มีทั้ง "อัตตา" ทั้ง "ไม่มีอัตตา"
คือไม่มีภวตัณหา ที่จะแสวงหาอัตตา และไม่มีภวทิฐิ ที่จะยึดมั่นในเรื่องอัตตา
ให้เกิดเป็นอัตตทิฐิ หรือ อุจเฉททิฐิขึ้น
อีกนัยหนึ่งอธิบายว่า ไม่มีทั้ง "มีอัตตาอยู่" ทั้ง "หมดอัตตาไป"
(เดิมเคยยึดว่า มีอัตตา ยึดว่า นั่น นี่ เป็นอัตตา แล้วมาเข้าใจใหม่ว่า อัตตาไม่มี เลยกลายเป็น อัตตาหมดไป หรือ อัตตา หายไป) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2007, 9:07 pm |
  |
หลักฐานโดยทั่วไปในคัมภีร์ กล่าวถึงหลักอนัตตารวมอยู่ในไตรลักษณ์ว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
แสดงให้เห็นความแตกต่างอยู่แล้วว่า ขอบเขตของอนัตตากว้างขวางกว่าอนิจจัง และทุกข์ กล่าวคือ ในสองอย่างแรก สังขาร (สังขตธรรม) ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
แต่ในข้อสุดท้าย ธรรมทั้งปวง ซึ่งปกติตีความกันว่าทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม
(ทั้งสังขารและวิสังขาร) เป็นอนัตตา
และมีอยู่ท่อนหนึ่ง คือในคัมภีร์ปริวารแห่งวินัยปิฎก ชี้ชัดลงไปทีเดียวว่า นิพพานรวมอยู่ในคำ
ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ดังข้อความเป็นคาถาในบาลีว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้ วินย. 8/826/224
ถึงแม้จะมีข้อความกล่าวไว้อย่างนี้ ผู้ศึกษาก็ควรกำหนดความหมายด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้เพราะแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ตรัสเรื่องอัตตา อนัตตา อย่างระมัดระวัง ดังจะเห็นได้จากลักษณะทั่วไปในการตรัสถึงเรื่องนี้ ซึ่งสรุปได้ ๒ อย่าง คือ
๑. เมื่อผู้ฟังมีพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นเพียงพอ คือ มีความพร้อม พระองค์จะทรงแสดงเรื่องอนัตตา โดยตรัสพร้อมไปกับสิ่งที่ถูกยึดว่าเป็นอัตตา และตัวความยึดถือที่จะต้องละเสีย ดังตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป เมื่อตรัสเรื่องขันธ์ ๕ และอายตนะ ๑๒ ตามหลักไตรลักษณ์
๒. ถ้าใครตั้งคำถามขึ้นมาเดี่ยวโดดลอยๆ เพื่อต้องการคำตอบในเชิงอภิปรัชญาว่า อัตตา มีหรือไม่มี พระพุทธเจ้าจะทรงนิ่งเสีย ไม่ตอบ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2007, 6:44 am |
  |
(ข้างบนมีตัวอย่างดังนี้)
สํ.สฬ. 18/801/486 เรื่องย่อมีอยู่ว่า ปริพาชกชื่อวัจฉโคตต์ เข้าไปทูลถามพระเจ้าว่า อัตตามีอยู่หรือ ?
พระพุทธเจ้าทรงนิ่งเฉย
วัจฉโคตต์ ถามต่ออีกว่า อัตตาไม่มีหรือ ?
พระพุทธเจ้า ทรงนิ่งอีก
วัจฉโคตต์ จึงลุกออกไป
ครั้นแล้ว พระอานนท์ได้เข้าไปทูลถามว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงตอบคำถามของปริพาชกนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตามี ก็เท่ากับเข้ากับลัทธิพวก สัสสตวาท
ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี ก็เท่ากับเข้ากับลัทธิพวก อุจเฉทวาท
อนึ่ง ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตามี ก็จะไม่เป็นการสอดคล้องกับการเกิดญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
แต่ถ้าพระองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี วัจฉโคตต์ซึ่งกำลังงงหนักอยู่แล้ว ก็จะงงงวยยิ่งขึ้นว่า
แต่ก่อนนี้ ตัวตนของเราคงมีแน่ แต่เดี๋ยวนี้ ตัวตนนั้นไม่มี |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2007, 7:00 am |
  |
เมื่อเข้าใจเหตุผลในเรื่องนี้ ขอย้อนกลับไปหาความที่กล่าวมาข้างต้น ที่ว่า เป็นอัตตานั้น ความจริงก็คือ ความสำคัญหมายว่าเป็นอัตตา หรือ ภาพอัตตาที่ยึดถือเอาไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภวตัณหา กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกยึดว่าเป็นอัตตา
อัตตานั้นเนื่องอยู่กับสิ่งที่ถูกยึดถือ แต่ก็ไม่มีอยู่ต่างหากจากภวตัณหาที่เป็นสาเหตุให้ยึดถือ
สิ่งที่ถูกยึดถือ ย่อมเป็นไปตามสภาพหรือกฎธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการที่ใครจะไปยึดมันว่าเป็นอัตตาหรือไม่
สิ่งที่ต้องจัดการแท้จริงคือ ภวตัณหา เมื่อละภวตัณหาได้ ก็ละอัตตาหรือภาพอัตตาที่ยึดถือหรือหมายมั่นไว้ในใจได้ด้วย
เมื่อละอย่างนี้แล้ว ปัญหาเรื่องอัตตา เป็นอันจบสิ้นไปในตัว ไม่ต้องยกอัตตา หรือภาพอัตตานั้นไปใส่ให้แก่สิ่งใดอื่นอีก
อัตตายุติที่การทำลายความยึดถือที่มีมาเดิมเท่านั้น และเป็นไปเองพร้อมกับการละความยึดถือได้
แต่ตรงข้าม ถ้ายังละภวตัณหาไม่ได้ ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาสำเร็จ
เมื่อถูกปฏิเสธ อาจยอมรับโดยทางเหตุผล แต่ลึกซึ้งลงไปเป็นการฝืนต่อภวตัณหา จึงไม่อาจยอมรับได้
เมื่อถูกปฏิเสธอย่างหนึ่ง ก็ต้องควานหาอย่างอื่นมายึดต่อไป
อาจออกในรูปอัตตาอย่างใหม่ หรือประชดด้วยทฤษฎีที่ตรงข้ามกับอัตตา คือความไม่มีอัตตาชนิดอัตตาขาดสูญ
พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ทั้งสัสสตทิฐิ ไม่ใช่ทั้งอุจเฉททิฐิ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2007, 9:07 am |
  |
ถ้ามีใครตั้งคำถามว่า สิ่งทั้งหลาย มี หรือ ไม่มี
ถ้าตอบอย่างเคร่งครัด ทั้งคำว่า มี และ ไม่มี ใช้เป็นคำตอบไม่ได้ เพราะแสดงถึงสัสสตทิฐิ และอุจเฉททิฐิ
ถ้าจะตอบก็ต้องไม่ใช้คำเดียวโดดว่า มี หรือ ไม่มี แต่ต้องบอกว่า มีอยู่อย่างมีเงื่อนไข เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นปฏิจจสมุปบันธรรม คือ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
ดังนั้น แทนที่ท่านจะใช้คำตอบว่า มี หรือ ไม่มี
ท่านจะพูดถึงกระบวนธรรมแทน คือ ไม่พูดถึงสิ่งนั้นเดี่ยวโดด แต่พูดถึงกระบวนการที่สิ่งนั้นปรากฏขึ้น
คำตอบเหล่านี้ มุ่งเพื่อปฏิเสธภาพของสิ่งทั้งหลาย ที่คนเรายึดถือเอาไว้ผิดๆ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2007, 9:27 am |
  |
การปฏิบัติเกี่ยวกับนิพพานก็ดี นิพพานก็ดี ไม่ใช่เรื่องของการดับอัตตา หรือทำลายอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องไปดับ หรือไปทำลาย
สิ่งที่จะต้องดับ หรือทำลายคือความยึดมั่นในอัตตา หรือภาพอัตตาที่สร้างขึ้นมายึดถือไว้
พูดในเชิงวิชาการให้มากขึ้นว่า ดับความถือมั่นในวาทะว่า เป็นอัตตา หรือดับทิฐิว่าเป็นอัตตา
ตลอดจนถอนสัญญาว่า เป็นอัตตาเสีย
นิพพานดับความยึดมั่น ดับความเข้าใจผิดนี้ และดับทุกข์ ดับปัญหา ที่เนื่องมาจากความยึดติดถือมั่นเช่นนี้
ได้แก่ ตัดความเยื่อใยอยากมีอัตตาทิ้งเสีย ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาทั้งหลายก็หมดความหมายไปเอง
ดับอุปาทาน
คือถอนความยึดมั่นในอัตตาเสียเท่านั้น
ท่านก็จะเห็นโลกและชีวิต หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็น ไม่ต้องมาเสียเวลาคิดคาดคะเนสร้างทฤษฎีอัตตาใดๆ ให้วุ่นวาย
พอดับความยึดมั่นที่ทำให้เกิดมีอัตตาแล้ว อัตตาก็หายไปเอง
นิพพานคือดับทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่ดับอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องดับ ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ว่า เราสอนแต่ทุกข์ และความดับทุกข์เท่านั้น
พระพุทธศาสนาชอบพูดอย่างง่ายๆ ตรงๆ เมื่อกล่าวถึงนิพพานก็ว่าเป็นการดับกิเลสได้ หายร้อน จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ ผ่องใส เบิกบาน ไม่ติดข้อง ไม่ถูกครอบงำรัดรึง พูดทำนองนี้จบแล้วก็พอกัน |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กุหลาบสีชา
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2007, 3:55 am |
  |
สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะคุณกรัชกาย  |
|
|
|
    |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2007, 4:38 pm |
  |
ขอบคุณที่ติดตามอ่านขอรับ คุณกุหลาบสีชา  |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2007, 4:50 pm |
  |
อัตตาเป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากภวตัณหา มีอยู่ในความยึดถือ เมื่อถอนความยึดถือนั้นแล้ว
ก็ไม่มีเรื่องต้องพูดถึงอัตตาอีก
เมื่อละภวตัณหาได้แล้ว
อัตตาก็หมดความหมายไปเอง
แต่ตรงข้าม ถ้ายังละภวตัณหาไม่ได้ ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาสำเร็จ
.
จะนำหลักปฏิจจสมุปบาท ข้อที่ว่าเวทนาเป็นปัจจัยแก่ตัณหา พอให้เห็นเค้าภวตัณหา ดังนี้
เวทนาเป็นปัจจัย แก่ตัณหา - เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ได้ความสุขสบายชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา
อยากคงอยู่ อยากเข้าอยู่ในภาวะที่จะได้ครอบครองเสวยสุขเวทนา จากอารมณ์นั้น เกิดเป็นภวตัณหา
เมื่อรับรู้อารมณ์ใด เกิดความทุกข์บีบคั้นไม่สบาย ก็เกลียดชัง ขัดใจ อยากพรากอยากพ้น อยากกำจัด ทำให้สูญหายไป เกิดเป็นวิภวตัณหา
ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เรื่อยๆ ซึมๆ เพลินๆ อยู่ในโมหะ และติดได้อย่างเป็นสุขเวทนาอ่อนๆ พร้อมที่จะขยายออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
30 ก.ค.2007, 5:20 pm |
  |
อาศัยเวทนาจึงมีตัณหา หรือ เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา ข้อความนี้หมายความด้วยว่า ตัณหาจะมีต้องอาศัยเวทนา หรือ ต้องมีเวทนา ตัณหาจึงจะมีได้
แต่เมื่อมีเวทนาแล้วไม่จำเป็นต้องมีตัณหาเสมอไป
การเข้าใจความหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญ และจุดนี้เป็นช่วงตอนสำคัญ ที่จะทำลายวงจรแห่ง
ปฏิจจสมุปบาท หรือตัดวัฏฏะให้ขาดตอน....ซึ่งอาศัยสติสัมปชัญญะ หรือ สติปัญญา คือ เสวยเวทนาโดยมีสติสัมปชัญญะ ตัดตอนไม่ให้เกิดตัณหา
ช่วงเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหานี้ เป็นช่วงสำคัญยิ่งฝ่ายภายใน ในการส่งผลสืบเนื่องออกมาบันดาลพฤติกรรมทางสังคมมนุษย์ ตลอดจนวิวัฒนาการของสังคมทั้งหมด |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2007, 6:31 pm |
  |
พึงพิจารณาตัณหาภายในจิตสักเล็กน้อย จากพุทธธรรมหน้า 124
จำคำแปลไว้ก่อนจึงจะอ่านเข้าใจ = อยากได้, อยากเป็นอยู่, อยากให้ดับสูญ
ความหมายศัพท์ดังนี้
1. กามตัณหา= อยากได้
2. ภวตัณหา=อยากเป็นอยู่
3. วิภวตัณหา = อยากให้ดับสูญ
ท่านอธิบายไว้ว่า
ตัณหา 3 ก็คืออาการแสดงออกของตัณหาอย่างเดียวกัน และมีอยู่เป็นสามัญโดยครบถ้วนในชีวิตประจำวันของบุถุชนทุกคน
แต่จะเห็นได้ ต่อเมื่อวิเคราะห์ดูสภาพการทำงานของจิตในส่วนลึก
เริ่มแต่ มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่รู้จักมองสิ่งทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของเหตุปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติ จึงมีความรู้สึกมัวๆอยู่ว่ามีตัวตนของตนอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
มนุษย์จึงมีความอยากที่เป็นพื้นฐานสำคัญ คือ ความอยากมีอยู่เป็นอยู่ หรืออยากมีชีวิตอยู่
ซึ่งหมายถึงความอยากให้ตัวตนในความรู้สึกมัวๆ นั้นคงอยู่ยั่งยืนต่อไป
แต่ความอยากเป็นอยู่นี้ สัมพันธ์กับความอยากได้ คือไม่อยากเป็นอยู่เฉยๆ แต่อยากอยู่เพื่อเสวยสิ่งที่อยากได้ คือเพื่อเสวยสิ่งที่จะให้สุขเวทนาสนองความต้องการของตนต่อไป
จึงกล่าวได้ว่า ที่อยากเป็นอยู่ก็เพราะอยากได้ เมื่ออยากได้ ความอยากเป็นอยู่ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น
เมื่อความอยากเป็นอยู่รุนแรง
อาจเกิดกรณีที่ 1 คือ ไม่ได้สิ่งที่อยากทันอยาก จึงเกิดปฏิกิริยาขึ้น คือ ภพ หรือ ความมีชีวิติเป็นอยู่ในขณะนั้น ไม่เป็นที่น่าชื่นชม
ชีวิตในขณะนั้นเป็นที่ขัดใจ ทนไม่ได้อยากให้ดับสูญไปเสีย ความอยากให้ดับสูญจึงติดตามมา
แต่ทันทีนั้นเอง ความอยากได้ก็แสดงตัวออกมาอีก จึงกลัวว่าถ้าดับสูญไปเสีย ก็จะไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ที่อยากได้ต่อไป ความอยากเป็นอยู่จึงเกิดตามติดมาอีก
ในกรณีที่ 2 ไม่ได้สิ่งที่อยาก หรือ กรณีที่ 3 ได้ไม่เต็มขีดที่อยาก ได้ไม่สมอยาก หรือ กรณีที่ 4 ได้แล้วอยากได้อื่นต่อไป
กระบวนการก็ดำเนินไปในแนวเดียวกัน แต่กรณีที่นับว่าเป็นพื้นฐานที่สุดและครอบคลุมกรณีอื่นๆ ทั้งหมดก็คืออยากยิ่งๆขึ้นไป
เมื่อกำหนดจับลงที่ขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม จะปรากฏว่ามนุษย์กำลังแส่หาภาวะที่เป็นสุขกว่าขณะที่กำหนดนั้นเสมอไป
บุถุชนจึงปัดหรือผละทิ้งขณะปัจจุบันทุกขณะ
ขณะปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นภาวะชีวิตที่ทนอยู่ไม่ได้ อยากให้ดับสูญหมดไปเสีย
อยากให้ตนพ้นไป ไปหาภาวะที่สนองความอยากได้ต่อไป
ความอยากได้ อยากอยู่ อยากเป็นอยู่
จึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์บุถุชน
แต่เป็นวงจรที่ละเอียดชนิดทุกขณะจิต อย่างที่แต่ละคนไม่รู้ตัวเลยว่า ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะของตน ก็คือ การดิ้นรนให้พ้นไปจากภาวะชีวิตในขณะเก่า และแส่หาสิ่งสนองความต้องการในภาวะชีวิตใหม่อยู่ทุกขณะนั่นเอง
(เมื่อตัณหาละเอียดถึงขนาดนี้ แล้วการปฏิบัติเพื่อละตัณหานั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก) |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
04 ส.ค. 2007, 9:40 am |
  |
อนัตตา-เป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เป็นเรื่องของสภาพที่เป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย
เป็นเรื่องสำหรับรู้สำหรับเข้าใจ คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เข้าใจความเป็นจริงที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมดาว่าสิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ปราศจากแก่นสารที่จะยึดถือเอาได้ว่าเป็นตัวตน
เมื่อรู้เห็นเข้าใจถูกต้องแจ่มแจ้ง ก็เรียกว่าเป็นญาณ หรือวิชชา ทำให้จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ติดข้องไม่เป็นทาสของสิ่งทั้งหลาย เรียกว่าปัญญาวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยปัญญา
โดยนัยนี้
อนัตตา จึงไม่ใช่เรื่องของการ (รู้สึกว่า) มีตัวตนอยู่แล้ว ตัวตนนั้นมาหายไปหมดไปหรือเข้ารวมกับอะไรๆ อัตตาถูกกลืนหายกลายไปเป็นภาวะอย่างนั้นแต่ประการใดเลย |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
12 ต.ค.2007, 2:57 pm |
  |
-อัตตา (อตฺต) เป็นคำบาลี แปลว่า ตน, ตัว, หรือตัวตน รูปสันสกฤตเป็น อาตมัน
-อนัตตา แปลว่า ไร้ตัว, ไม่ใช่ตน, หรือไม่ใช่ตัวตน
( อนตฺตา = น+อตฺต - นะ (ไม่) ปฏิเสธ อตฺต ท่านแปลง นะ เป็น อน = อนัตตา เป็นศัพท์ปฏิเสธ
อัตตา)
ศัพท์ อนัตตา แปลผิดความหมายเกลื่อน เช่นไปแปลกันว่า....มันเป็น อนัตตา บังคับ
บัญชาไม่ได้
เมื่อแปล...อะไรๆ ก็เป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อทุกข์เกิดปัญหาเกิดก็ปล่อย ไม่แก้ไข
ปัญหา
การบำเพ็ญเพียรทางจิตเป็นต้นจึงติดตัน ติดวนอยู่กับกองทุกข์นั้น
ความจริง อนัตตา-เป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เป็นเรื่องของสภาพที่เป็นจริงของสภาวธรรม
เป็นเรื่องสำหรับรู้สำหรับเข้าใจ ฯลฯ
พิจารณาสาระของอนัตตาห้องข้างบนนี้อีกครั้ง
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
22 ธ.ค.2007, 6:40 pm |
  |
มีชาวพุทธบางกลุ่ม นำศัพท์ อนัตตา กับคำแปลไปใช้คิดปนกัน เช่นที่ว่า
ศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งสัจจะเจ้าค่ะ...
ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่จริง ๆ
กาลเวลามีจริง สุข ทุกข์ก็มีจริง หิวกระหายก็มีจริงแต่เป็นอนัตตา
ความรักความเมตตา ความกตัญญูของท่านภูวนารถ
ก็มีอยู่จริง ๆ แต่เป็น
อนัตตา
ฯลฯ...สิ่งที่มีอยู่เหล่านี้เป็นอนัตตา คือ มีอยู่จริง ๆ แต่ไม่ใช่ตัวตน
อนัตตา คือมีอยู่จริง ๆ แต่ไม่ใช่ตัวตน
-ฟังเผินๆ ก็เคลิ้มตามคำที่ว่า สุข ทุกข์ เป็นต้นก็มีอยู่จริง
แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นอนัตตา (ตรงนี้พอฟังในแง่ปรัชญา)
ที่เข้าใจผิด.... อนัตตา คือมีอยู่จริงๆ แต่ไม่ใช่ตัว
ตน
ไม่ใช่ตัวตน เป็นคำแปล อนัตตา อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัว
ตน ความจบเท่านี้
(อนัตตา) ไม่ใช่ตัวตน ท่านปฏิเสธ ตัวตน (อัตตา) ที่ตัณหาอุปทานเข้าไป
ยึด
นามรูปว่า เป็น ตัวตน (อัตตา อนัตตา เป็นศัพท์กลุ่มเดียวกัน)
ผู้พูดไม่รู้ไม่เห็นอนัตตลักษณะ ด้วยการเข้าถึง
แต่อ่านตำราที่ท่านยกรูปนาม ขึ้นแจกออกเป็นขันธ์ 5 ว่าเป็นอนัตตา
แล้วเชื่อข้อเขียน
ที่ท่านแสดงนั้น
-อนัตตา เป็นลักษณะของสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งสำหรับรู้สำหรับเข้าใจ
เมื่อบุคคลปฏิบัติธรรม จนรู้เห็นอนัตตลักษณะชัดเจน ตัณหาอุปาทาน
จะลดลง เพราะเห็นความเป็นอนัตตาแล้ว
การปฏิบัติธรรมจะจบลงที่นี่
การนำศัพท์อนัตตา เป็นต้น ไปใช้คิดกันอย่างนั้น ตัณหาก็ไม่ลด
มีแต่เพิ่ม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 ก.พ.2008, 3:17 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2007, 9:42 am |
  |
ความเข้าใจผิดเกี่ยว อัตตา และ อนัตตา อีกลักษณะหนึ่ง
ผู้ตอบเข้าใจ อนัตตา ว่าได้แก่สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง
เข้าใจ อัตตา ว่าคือสิ่งที่มีรูปร่างสัมผัสได้
(ผู้เข้าใจหลักธรรมลักษณะมีไม่น้อย)
เค้าจึงตอบ คำ ถามด้วยความมั่นใจเต็มร้อย
ดังที่ถาม-ตอบกัน ไว้ ดังนี้ (สังเกตคำตอบ)
ตามที่คุณ...กล่าวข้างบนนั้น ถูกต้องตามนั้นนะครับ
ขอคำยืนยัน... เพื่อความมั่นใจ จะได้จำไว้เพื่อแนะนำผู้อื่นต่อไป
55 (58.9.84.*)
(คำตอบ) =>
ไม่ยืน และไม่ยันขอรับ...เพราะ มิกล้า
คุณ 55 คงเคยมีความรู้สึกดีใจ อิ่มใจ ปีติ หรืออะไรทำนองนี้ๆ น่ะครับ
ถ้าผมถามว่า คุณเคยมีความสุขหรือไม่
คุณ ก็คงตอบกระพ๊มว่า
อ๊ะ แน่นอนครับ ผมมีความสุข ครับ
กระพ๊มก็จะถามต่อว่า แล้วไอ้ตัวความสุขน่ะ หน้าตามันเป็นยังไง หรือหนอ
ช่วยส่งมาให้กระพ๊มดูหน่อยเถิดขอรับ
555555555
นั่นแหล่ะขอรับ สภาวะที่ไม่ใช่ตัวตน
ถามว่า มีไหม
ตอบ มี แต่ไม่ใช่ตัวตน อ่ะนะขอรับ
ภูมิรู้กระพ๊มมีเท่านี้อ่ะครับ คงยืนยันบ่ได้
ลิงค์ที่สนทนา เรื่อง อนัตตา =>
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=8191
ลิงค์สนทนาเรื่อง อัตตา =>
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=8175 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ธ.ค.2007, 7:00 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
  |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2007, 10:25 am |
  |
ขอแทรกคำถามท่านกรัชกาย
เขาบอกความหิวเป็นตัวตนครับ
ผมไม่กล้าตอบค้านเลยครับ
ผมเข้าใจอยู่ว่าความหิวเป็นเวทนา
กลัวเขาจะย้อนถามกลับมาว่าถ้าไม่มีตัวตนจะมีเวทนาหรื่อ
แล้วเอาคัมภีร์มาอ้างอิง ให้ตาลาย
แต่เห็นว่าเป็นประโยคที่น่าจะมีประโยชน์จึงนำมาสนทนา
เพราะแสดงให้เห็นได้ว่าเขาเข้าใจผิดกันอย่างไร |
|
|
|
   |
 |
mes
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2007, 10:29 am |
  |
เรื่องฌาณก็ประการหนึ่งแก่กล้าจนส่งบรรณาการกันได้
เป็นอีกเรื่องที่เป็นมิจฉทิฐิ
นำมาเตือนกันให้ผู้ที่หาความรู้ธรรมะทางเวประวัง
ให้ใช้มนสิการมากๆ |
|
|
|
   |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2007, 1:39 pm |
  |
การเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของง่ายครับ คุณ mes เพราะปรโตโฆสะ
(ปัจจัยภายนอก) และโยนิโสมนสิการ (ปัจจัยภายใน) ของมนุษย์ต่างกัน
ลองพิจารณา ศรัทธาที่เชื่อมถึงปัญญาว่าต้องอาศัยอะไร ที่ติดตันอยู่แค่ศรัทธาเพราะเหตุใด
นำมาจากหนังสือพุทธธรรม ดังนี้ ครับ
ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้
แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนำไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้
ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่งและอาศัยความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่ง
แห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน
ถ้าผู้มีศรัทธา รู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถนำไปสู่
ความเจริญปัญญาและการรู้ความจริงได้
เฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อผู้อื่นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้
แนะให้รู้จักใช้ปัญญา
-แต่ถ้าเชื่องมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้น
ไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม
นำไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
23 ธ.ค.2007, 8:09 pm |
  |
ปัจจุบันในวงการชาวพุทธบางส่วน มีการใช้ถ้อยคำสำนวนพูดพาดพิงถึง
อัตตาและอนัตตาในแง่จริยธรรมกันบ่อยๆ เช่นว่า คนนี้มีอัตตาแรง
ลดหรือทำลายอัตตาลงเสียบ้าง เขาทำการต่างๆ ก็เพื่อเสริมความมั่นคงยิ่ง
ใหญ่ของอัตตา ดังนี้เป็นต้น
ความจริงคำว่า อัตตาในกรณีเช่นนี้ เป็นสำนวนอย่างคนรู้กัน
หมายถึงความยึดมั่นในอัตตา หรือภาพอัตตาที่ยึดถือไว้ด้วยอุปาทานเท่า
นั้น ไม่ได้หมายความว่า มีอัตตาอะไรอยู่จริงจังเลย อย่างไรก็ตาม
เมื่อพูดสั้นๆ แบบรู้กันอย่างนี้บ่อยๆ และแพร่หลายออกไป
ก็มีผู้ไม่เข้าใจความหมายโดยนัยแบบรู้กันเช่นนั้น แล้วนำไปใช้สับสน
จนอนัตตาที่พูดถึงเป็นคนเรื่องคนละราว ห่างไกลจากความหมายอนัตตา
ในพุทธศาสนาอย่างไม่เกี่ยวข้องกันเลย
|
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
|