Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อย่ามองข้ามตัวเอง..... อย่าขี้โกง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
med_med
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 52

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2007, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สอนคนขี้บ่น
พระธรรมเทศนา ณ วัดป่าสุนันทวนาราม
วันที่ 18 กันยายน 2535

.....................................................................................


อย่าประมาท

ที่เราปฏิบัติทุกวันนี้ เราต้องตั้งใจปฏิบัติ อย่าประมาท
ความประมาทช่วยไม่ได้
ผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าอยู่ด้วยความประมาท
ก็เท่ากับไม่ได้ปฏิบัตินั่นแหละ
ความรู้สึกของเรา ใจของเราก็บอกว่า เราพยายามปฏิบัติ
แต่สิ่งต่างๆ ที่รู้สึกว่าเป็นอุปสรรคก็มีมาก
ใจหนึ่งก็อยากปฏิบัติ แต่อุปสรรคก็มี


อย่ามองข้ามตัวเอง..... อย่าขี้โกง

ผู้ปฏิบัติธรรมต้องซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง
ถ้าเรามีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
มีศรัทธาในการปฏิบัติธรรม เราต้องซื่อสัตย์สุจริต
อย่าไปถือทิฏฐิมานะ ถือตัวถือตน
สิ่งใดที่ไม่ถูกใจ เราก็ว่าเขาไม่ดี เรามองข้ามตัวเอง

มองแต่คนอื่น อันนี้..... เรียกว่าเราไม่ซื่อสัตย์สุจริต
เรายัง ขี้โกง ทุจริต
จิตใจไม่บริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์พอที่จะปฏิบัติธรรมได้
ใจหนึ่งก็อยากรวย รวยด้วยธรรมะ อยากสงบ
อยากบริสุทธิ์ อันนี้ก็มีอยู่ คือความอยาก
ความปรารถนาที่จะทำความดีของเราก็มีอยู่
แต่อีกใจหนึ่งก็ ขี้โกง ทุจริต ชอบคอรัปชั่น


“ละความชั่ว บำเพ็ญความดี ชำระจิตใจให้สะอาด”

ในการปฏิบัติ เราก็ไม่ค่อยปฏิบัติตัวเอง
ท่านให้
“ละความชั่ว บำเพ็ญความดี ชำระจิตใจให้สะอาด”
แต่พอเรามาปฏิบัติ เราก็จะเอาแต่ “ดี”
ปฏิบัติเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องการ “ดี” เดี๋ยวนี้
สิ่งที่เราต้องการ อะไรๆ ก็แล้วแต่ เราก็ต้องการ “เอาเดี๋ยวนี้แหละ”
เราก็ข้ามเรื่องการ “ละความชั่ว” ไปเสีย

เราก็เลยเหมือนคนมักได้
พอตั้งใจปฏิบัติ ก็จะเอาแต่ของดีเดี๋ยวนี้
เราไม่ได้นึกถึง “เรื่องการละความชั่ว” หรือ “ทำความสะอาด”
เราไม่ได้นึกถึงว่า ของสกปรกที่มีเกินควร เราต้องชำระออกจากกาย
ออกจากวาจา ออกจากใจของตัวเองเสียก่อน คือการละความชั่ว

เราต้องสำรวจดูว่ามีอะไรที่ไม่น่าดู ไม่สะอาด
ทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจของเรา มีบ้างหรือเปล่า
ที่ทำไปแล้วตัวเองก็ไม่สบายใจ คนอื่นเห็นแล้วเขาก็ไม่ชอบ
เรามีปิยวาจารึเปล่า ฯลฯ

อันนี้เราไม่ค่อยจะได้พิจารณา ไม่ได้ระลึกถึง
นั่งสมาธิเดินจงกรมปุ๊บ ก็จะเอาสมาธิเดี๋ยวนี้
มาวัดปุ๊บ ตั้งใจปฏิบัติ นั่งสมาธิ เดินจงกรม หาของดี เดี๋ยวนี้
อันนี้ก็ผิดหลักพุทธศาสนา
เราต้องนึก ต้องพิจารณาให้ดี


ต้องละความชั่วก่อน

ถ้าเราต้องการพ้นทุกข์ ต้องการความสงบ ต้องการความบริสุทธิ์
ก็มีขั้นตอน คือ ต้องละความชั่วก่อน
เพราะฉะนั้นเราต้องเฝ้าสังเกตตัวเอง
การกระทำก็ดี การพูดจาก็ดี ความคิดก็ดี
เราพยายามศึกษาดู ตั้งใจดู

ธรรมดาเราไม่ค่อยชอบดู เพราะเราไม่ซื่อสัตย์ เราทุจริต
เราไม่กล้า ไม่กล้ามองจุดอ่อน จุดบกพร่องของตัวเอง
การละความชั่วของตัวเองนี่เหนื่อยนะ แล้วเราก็ขี้เกียจด้วย

ปกติใจเราก็นึกแต่ “ให้เขาละความชั่ว”
คนอื่นที่ทำให้เราไม่ถูกใจ เราก็อยากให้เขาเปลี่ยน
เราไม่คิดจะเปลี่ยนตัวเอง เรามองข้ามตัวเองเสมอ
อะไรไม่ถูกใจก็วิ่งไปชนแล้ว
จิตใจของเราก็มักจะเป็นอย่างนั้น

จริงหรือไม่จริงก็ดูใจตัวเอง
ตาเห็นอะไร หูได้ยินอะไร ไม่ถูกใจแล้วเป็นอย่างไร
เห็นอะไร ได้ยินอะไร ไม่ถูกใจก็เกิดกิเลสออกจากภายในจิตใจ
ออกเป็นลักษณะ โกรธ โมโห จิตใจก็วิ่งไปชน อยากให้เขาแก้

ปกติเรามักขะสร้างปัญหา ทำเรื่องเล็กๆ ให้เป็นเรื่องใหญ่
อะไรนิดหน่อย เราก็เกิดอารมณ์ แล้วกิเลสก็ปรุงแต่งไป
ยิ่งพูดกับเพื่อนๆ ในเรื่องที่เราไม่พอใจ
ใครทำอะไรให้เราไม่พอใจ เราก็พูดไปเรื่อยๆ ปัญหาก็ใหญ่ขึ้นๆ
จนอยู่ด้วยกันไม่ได้ เห็นคนอื่นเป็นคนชั่วหมด

ความจริงก็ไม่มีอะไรมากมาย
เราก็มองเห็นแต่เขาเป็นคนชั่ว คนไม่ดี คนบ้า เป็นโรคประสาท
ใจเราก็นึกอยู่อย่างนั้น เพราะไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ
จิตก็ปรุงแต่ง สร้างขึ้นมา แต่ความจริงไม่ใช่เขาเป็นคนชั่ว
ไม่ใช่เขาไม่ดี ไม่ใช่เขาเป็นโรคประสาท

ใจเรานี่ต่างหาก
ความจริงมันก็เหมือนกับเรานินทาตัวเอง ว่าตัวเองว่า
เป็นโรคประสาท เป็นคนชั่ว เป็นคนไม่ดี เป็นบ้า
มีแต่ด่าตัวเองทั้งนั้น

คนมีโทสะ อยู่ที่ไหนก็เป็นอย่างนั้น
จัดห้องแอร์ดีๆ ปรับอากาศดีๆ อาหารการกินดี ห้องน้ำดี
ทุกสิ่งทุกอย่างสบายดี แต่คนที่มีโทสะก็ยังโกรธได้
เพราะยกเอาของเก่าๆ ขึ้นมานึก..... คิด แล้วก็โกรธอยู่อย่างนั้น
ไม่ใช่เพราะเราเจอคนไม่ดีหรอก

ถึงแม้ว่าเราไม่เจอใคร อยู่ดี กินดี ไม่มีอะไร
แต่ก็นึกอดีตขึ้นมา เอาอดีตขึ้นมาทะเลาะกันได้
นี่เป็นธรรมชาติของกิเลส
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอวกาศ คนโกรธก็โกรธอยู่อย่างนั้น
ฉะนั้นที่เราคิดว่า เราทุกข์อย่างนี้เพราะเขาเป็นอย่างนั้น
อันนี้ไม่จริง


นินทาผู้อื่นเท่ากับนินทาตัวเอง

เราต้องพยายามพิจารณาให้เห็นจริงๆ ว่า
การที่เรานึกนินทาผู้อื่นนั้น เท่ากับเรานินทาตัวเอง
เราต้องสร้างความรู้สึกถึงขนาดนั้น
จิตจึงจะสงบได้

ไม่กล้าคิดผิด คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว
เกิดหิริโอตตัปปะ ละอายบาป อายที่จะคิดชั่ว อายที่จะทำชั่ว
โอตตัปปะ คือ กลัว
กลัวว่าสิ่งที่เราคิดไปด้วยโทสะ จะทำให้เราเศร้าหมองทันที
และจะกลับมาหาเราและให้โทษแก่ตัวเราด้วย
อันนี้ก็เป็นความจริงนะ

ถ้าเราสนใจธรรมะจริงๆ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
มีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า มีมรรค มีศีล สมาธิ ปัญญา
เชื่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เชื่อว่าเมื่อเราบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็จะพ้นทุกข์ได้
ถ้าเราเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ

เราก็ต้องพิจารณาดูตัวเอง
ดูว่า เราเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่คอรัปชั่น ไม่โกง รึเปล่า
สิ่งใดเป็นหน้าที่ของตัวเองก็ไม่ขี้เกียจขี้คร้านทำ
แม้จะเหน็ดเหนื่อยขนาดไหน หรือเจ็บเพียงใด ก็พยายามทำ
ความรู้สึกว่าเราเจ็บๆ ๆ ความน้อยใจ เสียใจ เจ็บใจ อะไรๆ ก็มี

แต่ถ้าเราพร้อมที่จะทำลายความชั่วของตัวเอง
เราก็ต้องตั้งใจ..... แล้วก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้าได้
ถ้าเราเอาแต่ขี้โกง มักได้
มองข้ามตัวเอง จับผิดคนอื่น แล้วก็บ่นอีก
ก็ไม่มีวันสงบได้ ไม่มีวันพ้นทุกข์ได้
เราก็เสียเวลาอยู่อย่างนั้น


ใครๆ ก็ว่ากล่าวตักเตือนได้

มีแต่ความอยาก อยาก “ธรรมะ” แต่ปฏิบัติไม่ถูก
เพราะอะไร ก็เพราะเราไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อตัวเอง
โกหกตัวเองอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเราต้องสังเกต
เช่นมีบุรุษคนใดคนหนึ่ง ว่ากล่าวตักเตือนเรา
ให้เราสังเกตดูใจของตัวเอง
ปกติจิตใจเราก็จะวิ่งชนเขานั่นแหละ
เราพยายามแก้ตัว ป้องกันตัวเอง
เราไม่ผิด เรารับฟังไม่ได้ จิตก็นึกปรุงไป

ถ้าตามหลักแล้ว
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องปวารณาตัวเองกับทุกๆ คนว่า
ถ้ามีอะไรๆ ก็ว่ากล่าวตักเตือนได้
ถ้าเรามีจิตใจอย่างนี้ ก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้าได้
แต่ถ้าใครพูดผิดใจนิดหน่อย อารมณ์ขึ้น
อย่างนี้เราปิดทางก้าวหน้า
ถ้าเราสนใจปฏิบัติธรรมจริงๆ ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคน
ใครจะคิดอะไรกับตัวเรา ให้ว่ากล่าวตักเตือนได้


เราต้องรับฟังด้วยใจปกติ

ที่จริงแล้ว ใครพูดอะไร จะผิดจะถูกก็ไม่สำคัญ
เราไม่ต้องวิจารณ์ว่าเขาพูดผิด หรือถูก
เขาพูดผิด หรือถูกก็ไม่สำคัญ
สำคัญที่ว่าเราต้องรับฟังได้ ด้วยใจปกติ และใจดี
แล้วก็น้อมเข้ามาพิจารณาดูว่า สิ่งที่เขาพูดไปนั้นจริงหรือไม่
ธรรมดาก็จริง ไม่มากก็น้อย ส่วนมากก็เป็นอย่างนั้น
ใครจะว่าเรา ตำหนิเรา ส่วนมากก็เป็นจริง
ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่มาก


เราไม่ต้องคิดแก้ตัว

ฉะนั้น เราก็ไม่ต้องปฏิเสธ ไม่ต้องคิดแก้ตัว
ใจเราก็ชอบปฏิเสธ ชอบแก้ตัว
ใครจะพูดอะไร ว่ากล่าวตักเตือนเรา
ปัญญาปลอมๆ ของเราก็วิ่งเข้าชนแล้ว
ปัญญาหรือกิเลสก็ไม่ทราบ ปัญญาทางโลกนะ
ทางธรรมะเรียกว่ากิเลส ทางโลกเรียกว่าปัญญา
ความฉลาดของเราก็วิ่งออกไปแก้ตัว
“ฉันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เขาพูดไม่จริง”
นี่ก็ไม่ใช่ลักษณะของคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ลักษณะของคนดี


จากบางตอน หนังสือ สอนคนขึ้บ่น
ที่มา พันทิพ
 

_________________
ธรรมได้ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนา สาธุครับ... สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2007, 2:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณ med_med

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ


ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง