ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
yuae
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 5:25 pm |
  |
ข้าพเจ้าสนใจนั่งสมาธิเพราะว่าอยากจิตสงบ ศรัทธา และรักษาโรคปวดหัวไมเกรน ตอนแรกที่นั่งจะกำหนดลมหายใจเข้าออก สัมผัสได้ว่าบางครั้งขนลุก บางครั้งน้ำตาไหล แล้วคลื้นไส้ แต่ไม่อาเจียน รู้สึกตัวเบาตัวหายเหมือนลืมว่านั่งอยู่ตรงนั้น รู้แต่ลมหายใจเข้าออก บางครั้งรู้สึกวูบจะผงะ แต่เพียงแค่เสียววินาที มีคนแนะนำว่าให้พิจารณากาย จึงพิจารณาท้อง ยุบหนอพองหนอ รู้สึกได้ว่าตรงกลางท้องนั้นเป็นศูนย์รวมพลังงานและสามารถเชื่อมโยงกับทุกสรรพสิ่ง หรือธรรมชาติ พอนั้งไปพอรู้สึกว่าว่าตัวหายไปหมายถึงกายหายไป แล้วรู้สึกว่าตัวข้าพเจ้ากลม ๆ เหมือนมีแสงสว่าง แต่ว่ารู้สึกเหมือนขาชา ภาวนาแล้วไม่หายชาจึงออกจากสมาธิก่อน แล้วแผ่เมตตา พักหลังเวลาข้าพเจ้าแผ่เมตตา รู้สึกได้ว่ามีพลังบางอย่างแผ่ออกมามันหยุ่นๆคล้ายวุ้น และละเอียดหนาแน่นขึ้นถ้ายิ่งมีสมาธิมากขึ้น และถ้าตั้งใจแผ่เมตตามาก ๆ รู้สึกเหมือนจะวูบ หมดแรงบางครั้งตั้งจิตรำลึกถึงบุญกุศล หรือพระพุทธคุณ รู้สึกขนลุก ตามตัว และตามกลางหัว เย็นผาว น้ำตาไหลและคลื่นไส้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าลมหายใจที่มีสมาธินั้นมีพลังงานมหาศาล ข้าพเจ้าควรทำอย่างต่อไป และสิ่งที่ข้าพเจ้าสัมผัสได้นัน้คืออะไร ท่านผู้รู้หรืออาจารย์ท่านใดรู้ช่วยตอบข้าพเจ้าด้วย ขอบคุณมาก |
|
_________________ ชีวิตมันสั้นทำบุญให้มากๆ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 9:24 pm |
  |
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยอยากพูดเรื่องสมาธิ เรื่องปีติ เรื่องสมถะ เรื่องวิปัสสนา เท่าไหร่นัก แล้ว
พูดไปก็แย้งๆกัน มีความเห็นไม่ค่อยลงรอยกัน ต่างคนต่างว่าต่างคนต่างวิพากษ์ เหมือนคน
ได้-ฟังข้อมูลข่าวสารมาไม่ตรงกันฉันใดก็ฉันนั้น
-ถ้าไม่เชื่อ
ลองดูคนๆหนึ่งพูดเรื่อง สมาธิไว้ที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=26121&st=0
เขาเห็นว่า....ผู้ฝึกสมาธิแล้วถอดร่างไปเที่ยวไหนต่อไหนได้
ก็ไม่เข้าใจว่าเป็นสมาธิอะไร
แต่เขาพูดเองว่า...สมาธิชนิดส่งจิตออกนอก
ลองอ่านคำถามและคำตอบเรื่องสมาธิที่ลิงค์นั้น แล้วพิจารณาดู |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
สมพร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 9:38 pm |
  |
อาการที่คุณเล่ามา สมาธิเข้าถึงระดับของปิติ มีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล ร่างกายโยกโครง ตัวลอย ร่างกายสั่น ตัวใหญ่โปร่ง ล้วนเป็นอาการของปิติ ทำต่อไปครับไม่ต้องไปสนใจมาก ทำจนถึงอย่างน้อยให้จิตเป็นสุข แล้วก็หันมาพิจารณากาย โลก ว่าเป็นทุกข์ ไม่น่าอยู่เลย ให้จิตเบื่อหน่ายในการเกิดอีก แล้วทำจิตใจของเราให้รักในพระนิพพานอย่างเดียวครับ สวรรค์ พรหม เราก็ไม่ต้องการ ให้ทำแบบนี้เรื่อยไปครับ แล้วให้ตัดละ ความโกรธ ความโลภ ความหลงโดยนำกว่ายตรงข้ามเข้ามาตัด เช่นตัดความโลภก็ให้ให้ทาน ตั้งใจไว้เราจะให้อยู่เสมอ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็จับอารมณ์พระโสดาบันไว้ อย่างนี้ถึงจะถึงฝั่งที่หวังไว้ครับ |
|
|
|
|
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 9:43 pm |
  |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 10:46 pm |
  |
-คัดสมถะและวิปัสสนา ให้คุณ yuae พิจารณานำมาจาก web หนึ่ง ดังนี้
๗. การทำสมถะ เพื่อให้เกิดสมาบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และ ประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาเพ่งดูกสิณหรืออสุภะ เป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจเพียงอย่างเดียว
ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตู ทีเดียว
๘. การทำสมถะ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาธินั้น จะทำไปหยุดไป เป็นชั่วโมง หรือ ๒ ชั่วโมง ก็อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องให้ติดกัน และส่วนใหญ่จะทำได้ใน อิริยาบถนั่ง เท่านั้น
-ส่วนวิปัสสนานั้น สามารถทำได้ทุกๆ อิริยาบถ โดยไม่จำกัดและเวลาทำก็หยุดไม่ได้ จำเป็นจะต้องทำติดต่อกันไปเว้นแต่เวลาหลับเท่านั้น
ถ้าไม่หวั่นปวดหัวอีกก็ดูเต็มๆ ที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=11408&st=0
ท่านผู้นั้นพูดตามหลักวิชา พูดตามตัวหนังสือจริงๆ ตรงเหมือนไม้บรรทัดเลย
กรัชกายนำมาให้พิจารณาว่า เรื่องเหล่านี้เขามีความเห็นต่างกันอย่างไรเท่านั้น
อ่านตำราต่างเล่มต่างหน้าก็ถกกันแล้ว
เอาอีกสักตัวอย่างหนึ่งเป็นไง
ที่นี่เขาถกกันเรื่องศรัทธาด้วยกัน แต่มาคนละเล่มคนละที่กัน
อ่านแล้วจะนึกขำ
http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=6694 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
17 พ.ค.2007, 10:58 pm |
  |
|
  |
 |
yuae
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 3:05 pm |
  |
ข้าพเจ้าขอขอบคุณกรัชกายมาที่ชี้แนะ และรบกวนเล่าว่าตอนสมัยที่ข้าพเจ้าอายุ 15 ปี ข้าพเจ้านั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนา พุทโธ นั่งไปสักพักรู้สึกว่าเหมือนลืมกายสังขารไป คือว่าเหมือนลืมว่านั่งอยู่ตรงนี้ท่านี้ มือประสานกันอย่างนี้ เหมือนว่าไม่มีกายสังขารอยู่ แล้วใจนึกไปว่าจะก้มกราบพระ กายมันก็ไปเองเหมือนว่าไม่ได้ออกแรงเลยแม้แต่น้อย จากนั้นรู้สึกสงบ เป็นสุขอิ่มเอม หลังจากข้าพเจ้าออกจากสมาธิดูเวลา ก็แปลกใจว่าข้าพเจ้านั่งสมาธิไป 1 ชั่วโมงทั้ง ๆ ที่คิดไปว่านั่งไปแค่ 10 นาทีเอง แต่เวลาผ่านไปเร็วมาก แล้วยังรู้สึกว่าสุข สงบ อิ่มเอม นุ่มลึก ยังคงอยู่ไปเกือบทั้งวันทั้ง ๆ ที่ออกจากสมาธิไปแล้ว แต่เหมือนกับว่ายังนั่งสมาธิอยู่ ข้าพเจ้านั้นนั่งถูกทางแล้วใช่ไหม ไม่เคยนั่งที่วัดมาก่อนเคยนั่งแต่ที่บ้านหน้าพระ ข้าพเจ้าคิดว่าตอนเป็นเด็กนี้ดีจังนั่งสมาธิได้ง่ายกว่าตอนโตเสียอีก แล้วตอนนี้นอกจากข้าพเจ้าขนลุกอยู่บ่อย ๆ แล้ว ยังรู้สึกหวิว ๆ กลางหน้าผาก บางทีก็วูบวาบลมเย็นที่กลางกระหม่อมขนหัวชี้ พูดเรื่องธรรมะประวัติพระพุทธเจ้ารู้สึกหวิว ที่หน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง หวิว ๆ เหมือนข้างในกายมันสั่นบอกไม่ถูก แต่คงไม่เป็นไร ขอพระรัตนตรัยคุ้มครอง ขอแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งเจ้ากรรมนายเวรโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด |
|
_________________ ชีวิตมันสั้นทำบุญให้มากๆ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 5:45 pm |
  |
ตอนสมัยที่ข้าพเจ้าอายุ 15 ปี
ข้าพเจ้านั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนา พุทโธ
-จากวันนั้น (อายุ 15 ปี) จนถึงวันนี้ได้กี่ปีแล้วล่ะครับ
ไม่เป็นไรหรอกครับคุณ yoae ยินดีแนะนำด้วยความเต็มใจ กรัชกายก็ชอบพูดเรื่องนี้ พูดจน
ไม่อยากจะพูดแล้วล่ะครับ
-ก่อนได้ยินคำพูดหรืออ่านข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ทีไร ขนลุกไปทั้งตัวน้ำตาซึมๆ
บางครั้งไหลออกมาก็มี
นี่แหละอาการของปีติ
นักปฏิบัติพึงกำหนดรู้ไปตามอาการ
วันนี้ใกล้จะปกติแล้ว
อาจารย์เคยพูดให้ฟังว่า ปีติก็ต้องละ
ละอย่างไร ?
ละได้ด้วยการกำหนดรู้ตามที่มันเป็นคือตามอาการที่รู้สึกนั้นแหละ
..........
ใจนึกไปว่าจะก้มกราบพระ กายมันก็ไปเองเหมือนว่าไม่ได้ออกแรงเลยแม้แต่น้อย
-ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ใจคิดก่อน แล้วกายจะโอนอ่อนผ่อนไปตาม
สังเกตให้ละเอียด ดูนามด้วยครับ
คำพูด หรือวจีกรรมก็เช่นกัน ใจคิดจะพูดก่อนแล้ว จึงพูด
.............
ดูเวลา ก็แปลกใจว่าข้าพเจ้านั่งสมาธิไป 1 ชั่วโมงทั้ง ๆ ที่คิดไปว่านั่งไปแค่ 10 นาทีเอง แต่เวลาผ่านไปเร็วมาก ฯลฯ ข้าพเจ้านั้นนั่งถูกทางแล้วใช่ไหม
ข้าพเจ้าคิดว่าตอนเป็นเด็กนี้ดีจังนั่งสมาธิได้ง่ายกว่าตอนโตเสียอีก
-ครับ....บางคนนั่งตั้งแต่เช้ายันค่ำ ยังคิดว่า 1 ชม.
ความรู้สึกเหมือนนั่งอยู่บนก้อนเมฆ หรือบนปุยนุ่นฉะนั้น
เป็นธรรมดาครับ จิตไม่ถูกนิวรณ์รบกวนจะมีลักษณะนี้
ถามว่า นั่งถูกทางไหม ?
ไม่ผิดหรอก ถ้าต้องการแค่นี้เพื่อรักษาโรคไมเกรน
เท่านี้ก็นับว่าดีกว่าผู้ซึ่งมิเคยประสบนิรามิสสุขเช่นนี้ สุขนี้แม้มีเงินก็หาซื้อไม่ได้
-ขอชี้แนะสริมไปเลยว่า
ถ้าจะให้ดีก็กำหนดรู้อาการที่เกิดทุกอย่างด้วย สุขก็กำหนดรู้ว่า สุข เป็นต้น
-คุณกล่าวถูกต้องครับ
เด็กๆ ย่อมฝึกง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะประสบการณ์ชีวิตยังน้อย ความยินดียินร้ายก็
น้อย
บอกให้ทำอะไรก็ทำ มีจิตใจมุ่งแน่วทำตามคำสั่งอาจารย์ จิตจึงเป็นสมาธิได้ง่าย
เคยได้ยิน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ไหมครับ ?
.................
ข้าพเจ้าขนลุกอยู่บ่อย ๆ แล้ว ยังรู้สึกหวิว ๆ กลางหน้าผาก
บางทีก็วูบวาบลมเย็นที่กลางกระหม่อมขนหัวชี้
พูดเรื่องธรรมะประวัติพระพุทธเจ้ารู้สึกหวิว ที่หน้าอก
หายใจไม่ทั่วท้อง หวิว ๆ เหมือนข้างในกายมันสั่นบอกไม่ถูก
อาการที่คุณเล่ามาทั้งหมดเป็นปฏิกิริยาของปีติทั้งสิ้น
-กรัชกายจึงพูดเสริมไว้ข้างบนไงครับว่า ให้กำหนดรู้สิ่งที่เกิดนั้นๆ ด้วย ไม่ควรทิ้งไว้เฉยๆ
เมื่อกำหนดรู้ตามที่มันเป็น ความรู้สึกหวิวๆ เป็นต้น ก็จะดับไป
-ถ้าคุณ yoae กำหนดรู้ตามอาการนั้น เช่น "หวิวๆ หนอๆ"
แค่นี้แหละอาการนั้นจะดับไปทันที เพราะสมาธิคุณมากพอแล้ว
-ผู้ใช้พุทโธ จะพุทโธๆ อารมณ์เดียว ไม่กำหนดรู้อารมณ์อื่นเลย เมื่อมีอาการใดเกิดขึ้น จิตก็
ยึดอาการนั้น วางความรู้สึกนั้นอาการนั้นไม่ลง เหมือนมันยังคาๆค้างๆอยู่ในใจฉะนั้น
เพราะ ฉะนั้นผู้ ที่บริกรรมพุทโธ พึงเข้าใจตามนี้
ไม่อย่างนั้นจะเป็นเหมือนตัวอย่างข้างบน ซึ่งตกเป็นทาสของอารมณ์ คิดว่าถอดร่างไปนั่นไป
นี่ อันที่จริงยังนั่งศีรษะโด่อยู่ตรงนั้นเอง แต่ใจมันโน้มไป โอนไป เอนไป เหมือนคุณ yoae
คิดว่า จะกราบกายก็โน้มกราบลงไปแล้ว...
..............
แต่คงไม่เป็นไร ขอพระรัตนตรัยคุ้มครอง
ขอแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งเจ้ากรรมนายเวรโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
-ถ้าจะแผ่เมตตาเป็นต้น ก็ควรทำหลังจากเลิกทำสมาธิแล้วนะครับ ไม่ควรนึกแผ่ในขณะที่
พุทโธๆ อยู่
จะพูดประเด็นนี้อีกครั้งหนึ่ง
พักไว้เท่านี้ก่อนยาวมากแล้ว
ขอให้เจริญในธรรมปฏิบัติครับ สาธุ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
yuae
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 17 พ.ค. 2007
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 6:53 pm |
  |
ขอขอบคุณ คุณกรัชกาย และคุณสมพร มากค่ะ ตอนนี้อายุ 28 ปี แล้ว ยังคงนั่งสมาธิอยู่และจะยังนั่งไปเรื่อย ไม่กลัวแล้ว ถ้าจะตายก็ตายไปเลย พ้นทุกข์เสียทียึดติดทำไม ที่แท้ก็ทุกข์ทั้งนั้น คิดดูแล้วยิ่งโตก็ยิ่งทุกข์ ตอนเป็นเด็กดีกว่า คิดไปคิดมา ถ้าไม่เกิดได้เป็นดีที่สุด |
|
_________________ ชีวิตมันสั้นทำบุญให้มากๆ |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 7:17 pm |
  |
(ต่อ)
หายใจไม่ทั่วท้อง หวิว ๆ เหมือนข้างในกายมันสั่นบอกไม่ถูกแต่คงไม่เป็นไร ขอพระรัตนตรัยคุ้มครอง
ขอแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งเจ้ากรรมนายเวรโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
-ไม่มีอะไรหรอกครับ คุณ yoae มันเป็นอย่างนั้นเอง
แต่คุณไม่กำหนดรู้ ดูให้ทันมาแต่ต้น ก็จึงเข้าไม่ถึงต้นเหตุปัญหา จึงไม่รู้ว่าอาการนั้นสาเหตุ
มาจากไหน เกิดจากอะไร มันเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไร
-พูดให้อิงหลักอริยสัจก็ว่า คุณไม่กำหนดรู้ทุกข์ จึงไม่เห็นสมุทัย หรือต้นเหตุแห่งทุกข์นั้น
(อาการที่เป็น)
เมื่อไม่รู้ต้นเหตุต้นเค้าต้นตอของมัน ก็จึงโทษสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือโยนให้สิ่งภายนอก อะไรก็ได้ที่
ตนคิดเห็น
อุปมาเหมือนคนเดินทางยามค่ำคืนผ่านป่าช้าเห็นตอไม้ตะคุ่มๆ ไม่ทันพิจารณา คิดแต่ผีๆ
เป็นต้น
เมื่อใจคิดว่าผี ภาพผีก็ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในใจ จึงเผ่นป่าราบ (เหมือนคุณคิดจะกราบ
พระกายก็น้อมลงแล้วโดยอัตโนมัติ)
กลางวันไปดูเห็นตอไม้อยู่ ก็โล่งอกร้องอ๋อ
โธ่เอ้ย เรากลัวความคิดตนเอง เมื่อประจักษ์ความจริงแล้วจึงหายกลัว ฉันใดก็ฉันนั้น
-ตามที่กรัชกายกล่าวมาบ้างว่า ในขณะที่กำลังพุทโธ ๆ อยู่ หรือแม้ในขณะพองหนอ ยุบหนอ
นั่งหนอ ถูกหนอ เป็นต้นอยู่ ไม่พึงคิดเรื่องแผ่เมตตาเป็นอาทิ ไม่ว่าจะให้แก่สรรพสัตว์หรือ
เจ้ากรรมนายอะไรก็แล้วแต่ ควรภาวนาอารมณ์กรรมฐานนั้นๆ ไป อะไรเกิดก็กำหนดรู้ ดูให้
ทัน
-การปฏิบัติกรรมฐาน ก็เพื่อให้เข้าถึงสภาวธรรมตามเป็นจริง หรือเพื่อให้รู้รูป-นามตามที่มัน
เป็น โดยอาศัยรูปแบบปฏิบัติ มีการเดินจงกรม เป็นต้น เป็นเครื่องมือหรือเป็นอุปกรณ์ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
18 พ.ค.2007, 7:41 pm |
  |
ยังคงนั่งสมาธิอยู่และจะยังนั่งไปเรื่อย ไม่กลัวแล้ว
ถ้าจะตายก็ตายไปเลย
พ้นทุกข์เสียทียึดติดทำไม
ที่แท้ก็ทุกข์ทั้งนั้น
คิดดูแล้วยิ่งโตก็ยิ่งทุกข์
ตอนเป็นเด็กดีกว่า
คิดไปคิดมา ถ้าไม่เกิดได้เป็นดีที่สุด
สาธุอีกครั้งหนึ่ง ที่ปลงใจเช่นนั้น จะปฏิบัติเช่นนั้นต่อไปเรื่อยๆ
-ที่เรายังยึดติดอยู่ ก็เพราะไม่เห็นความจริงยังไงเล่าครับ
เมื่อใดรู้เห็นความจริง เข้าถึงความจริงแล้ว จิตใจจะคลายออกไม่ยึดติดเองเมื่อนั้น
โดยไม่ต้องฝืนไม่ต้องฝึกไม่เสแสร้งแกล้งทำ ถึงตอนนั้นคุณจะไม่เกิดอีก
ขอจบเพียงเท่านี้ครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ค.2007, 2:12 pm |
  |
อืมม...
ขอต่อที่กระทู้นี้อีกหน่อยครับ เพื่อความสมบูรณ์ของการปฏิบัติกรรมฐาน
-สิ่งที่จะเสริมนั้น ได้แก่การเดินจงกรม
จงกรม จงกรม....ได้ยินบ่อยๆ นึกว่าง่ายๆ
แต่ก็ไม่ง่ายดังเข้าใจกันนะครับ
มีการถกเถียงกันค่อนข้างบ่อยอยู่เหมือนกัน
ดูเขาถกกันที่นี่ครับ
http://www.section-5.org/webboard3/aspboard_question.asp?GID=11 |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
admin
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886
|
ตอบเมื่อ:
19 พ.ค.2007, 3:56 pm |
  |
คำบริกรรมว่า พุทโธ นี้ เกิดขึ้นภายหลัง ตามหลักฐานที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ไม่ได้แสดงไว้ไว้ว่าให้บริกรรม พุทโธ หรืออย่างอื่น แต่ก็ไม่ผิดอะไร แต่เป็นการได้ใช้สมมุติทั้งสองอย่าง ใช้บัญญัติอารมณ์ทั้งสองอย่าง คือ อัตถบัญญัติ และ สัททบัญญัติ คำบริกรรมที่ใช้เรียกชื่อ พุทโธ นี้ ถือเป็น สัททบัญญัติ เป็นชื่อ เป็นสมมุติอย่างหนึ่ง แต่ว่า สมมุติโดยการเรียกชื่อ การรู้ลมเข้าลมออก หรือ เข้ายาวออกยาว อันนี้เป็นความหมาย จัดเป็นอัตถบัญญัติ
ฉะนั้นการที่บริกรรมกำหนดดูลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ ย่อมทำให้เกิดสมาธิ หรือว่าบางท่านอาจจะกำหนดลมหายใจในส่วนเบื้องปลาย เช่น มาดูที่หน้าท้อง ฉะนั้น ในบางสำนักบางแห่งให้มาดูที่หน้าท้องก็ใช้สัททบัญญัติ ใช้คำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ คำว่าพองหนอ ยุบหนอ เป็นสัททบัญญัติ เป็นการสมมุติแห่งความเป็นชื่อ ส่วนอาการที่ พองยุบ ยังเป็นความหมาย จัดเป็น อัตถบัญญัติยังไม่ใช่สภาวะจริง
การที่จิตเข้าไปรู้ถึงว่ามันพองขึ้นหรือยุบลง เป็นการเข้าไปรู้ในความหมายหรืออาจจะเห็นเป็นรูปร่าง บางคนอาจจะเห็นเป็นสัณฐานรูปร่างของหน้าท้อง มันเป็นมโนภาพท้องนูนขึ้นหรือแฟบลง อย่างนี้เป็นส่วนของอัตถบัญญัติเหมือนกันในส่วนของรูปร่างสัณฐาน
ฉะนั้น ความหมายของคำว่าพองหรือยุบ ท้องโป่งท้องแฟบเป็นอัตถบัญญัติ คำบริกรรมว่า พองหนอยุบหนอก็เป็นสัททบัญญัติ
บัญญัติอย่างนี้ก็จัดเป็นกรรมฐานได้ เป็นที่ตั้งของจิต เป็นที่ตั้งของสติ เพื่อให้เกิดความสงบ บริกรรมพองหนอ ยุบหนอ เพ่งดูที่หนังท้องไปเรื่อยก็จะเกิดความสงบ มันก็ได้เหมือนกัน
คนถนัดดูลมหายใจที่ปลายโพรงจมูก บริกรรมพุทโธ หรือคนถนัดมาดูที่ท้องยุบหนอ พองหนอทำให้เกิดสมาธิได้ หรือบางคนก็อาจจะมาดูที่อิริยาบถ ในสติปัฏฐานอันแสดง อิริยาบทปัพพะ ที่ว่าด้วยอิริยาบถ คนที่ไม่ถนัดดูลมหายใจก็มาดูอิริยาบถได้ ดูอิริยาบถใหญ่ ๔ เช่น นั่งก็ให้รู้ตัวในท่านั่ง อาการของกายที่อยู่ในท่านั่ง ดูท่าทางของกาย แล้วก็มีสัณฐาน มีรูปร่าง มีสัดส่วนของอวัยวะ แขนขาร่างกายเป็นมโนภาพ ก็จัดว่าเป็น อัตถบัญญัติในส่วนของสัณฐาน หรือบางคนอาจรู้ในส่วนของความหมายนั่งอยู่นี้คือเป็นความหมายว่า นั่งอยู่ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งห้อยเท้า ก็เป็นความหมายที่ขยายออกไป
ฉะนั้นการที่ดูท่าทางของกาย จิตก็ต้องไปสัมผัสในความเป็นรูปร่างสัณฐานบ้าง ก็ถือว่ายังเป็นการเพ่งดูสมมุติบัญญัติ บางคนก็อาจใช้คำบริกรรมไปช่วย เป็นสัททบัญญัติเข้ามาช่วย เช่น บริกรรมว่า นั่งหนอ นั่งหนอ เป็นชื่อ เป็นสมมุติแห่งความเป็นชื่อเข้ามา หรือว่าเวลายืน บริกรรมว่า ยืนหนอ ยืนหนอ เห็นเป็นท่าทางของกายที่ยืนอยู่ ทรวดทรงของกายหรือรู้ความหมายว่า ยืนอยู่แล้วก็บริกรรม ถือว่าใช้ทั้งสัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ หรือแม้แต่เวลาเดินเข้าไปรู้การก้าวไปเรียกว่า เดินจงกรม รู้การก้าวไป การก้าวนี้ถือเป็นความหมายว่าก้าวไป หรือรู้เห็นเป็นรูปร่างของขาของเท้า เวลาจิตไปรับรู้ที่เท้าก็เห็นเป็นรูปร่างของขาเท้า อย่างนี้เรียกว่าเป็นอัตถบัญญัติเหมือนกัน
ก้าวไปก็เป็นความหมาย บางคนก็อาจใช้สัททบัญญัติเข้าช่วย คือว่า บริกรรม เช่น บริกรรมว่า ก้าวเป็นรูป รู้เป็นนาม ก็เป็นการเรียกชื่อ เป็นสัททบัญญัติเข้าไปกำกับ หรืออาจบริกรรมว่า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ ก็เป็นการใช้สัททบัญญัติเข้าไปกำกับให้จิตอยู่กับเท้า ให้มีทั้งสัททบัญญัติและอัตถบัญญัติอย่างนี้จัดเป็นกรรมฐานได้ เอามาใช้ดำเนินการปฏิบัติไปได้ เพื่อให้เกิดสมาธิ เกิดความสงบ หรือจะใช้บริกรรมอื่น แล้วแต่จะคิดค้นขึ้นมาให้เหมาะสมก็ได้ เราก็พึงทราบว่า คำบริกรรมต่างๆ เป็นเพียงอุปกรณ์ของการผูกจิตให้อยู่กับกรรมฐานนั้นๆ
ฉะนั้น ในอันดับแรก หากเราจะปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ขั้นแรกก็เพ่งดู บัญญัติ ไปก่อน เดินก็รู้การก้าวไปหรือจะบริกรรมด้วยก็แล้วแต่ เวลานั่งก็ดูกาย ดูท่าทางของกายที่นั่งอยู่หรือจะบริกรรมไปด้วย หรือจะดูลมหายใจเข้าออกหรือจะบริกรรมไปด้วย หรือจะดูหน้าท้องแล้วบริกรรมไปด้วยก็ได้ให้เกิดสมาธิ ในช่วงนี้ยังไม่เป็นวิปัสสนา
ทำไมไม่จัดเป็นวิปัสสนา ก็เพราะว่า วิปัสสนานั้นเป็นเรื่องของปัญญา วิปัสสนาเป็นตัวปัญญาว่า เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ การที่จะเป็นปัญญา ต้องรู้ความจริง ตัองเข้าไปรู้ปรมัตถ์ ฉะนั้น สติต้องระลึกตรงต่อปรมัตถ์ ถ้าสติรู้ตรงต่อปรมัตถ์ อารมณ์เป็นปรมัตถ์ไม่ใช่บัญญัติ จึงเข้ามาเป็นวิปัสสนา
ถ้าอารมณ์ยังเป็นบัญญัติอยู่ จะเป็นวิปัสสนาไม่ได้ คือเป็นปัญญาไม่ได้ วิปัสสนาเป็นชื่อปัญญา ปัญญาที่รู้จริงเห็นจริงก็ต้องระลึกปรมัตถ์ ปรมัตถ์ คือ สิ่งที่เป็นจริง แต่ว่าบุคคลยังไม่คุ้นเคยกับปรมัตถ์ มักคุ้นเคยต่อสมมุติบัญญัติกว่า การจะสื่อกันสอนกันให้เพ่งบัญญัติมันสื่อกันง่าย สอนกันง่าย บอกให้บริกรรม พุทโธ หรือบอกให้บริกรรมพองหนอ ยุบหนอ จะสื่อกันง่ายปฏิบัติกันเข้าใจ ก็ให้ทำอย่างนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิ ให้เกิดความสงบขึ้น เมื่อเกิดความสงบก็อาจจะเป็นเพียงเครื่องรองรับ มีจิตใจรองรับที่จะศึกษาปฏิบัติในขั้นวิปัสสนาต่อไป
...ธรรมบรรยาย ตอนที่ 8 ปฏิบัติตามลำดับ
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
สำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์
ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ศึกษาต่อตามลิ้งค์...
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7061 |
|
_________________ -- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง -- |
|
    |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 พ.ค.2007, 8:25 pm |
  |
การนั่งสมาธิของผู้ไม่บวชสงฆ์ หรือ ผู้ถือพุทธมามกะ ควรนั่งด้วยวิธีดังนี้ครับ
ใช้หลัก ให้ทาน ถือศีล ทำสมาธิ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
( ทานของพระคือการให้ธรรมเทศนาครับ )
ให้ทานด้วยวิธีถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ประเคนอาหาร ล้างถ้วยล้างชาม ทำความสะอาดสถานที่รับประทานอาหารทั้งของพระ และ ของผู้มาปฏิบัติธรรม รับพร จากนั้นจึงค่อยหาที่สงบปฏิบัติสมาธิเจริญสติกรรมฐาน ครับ ถ้าได้ไปทำที่สำนักสงฆ์จะดีมาก
การนั่งสมาธิ 1 ชม. ก็ถือว่าได้ทำการถือศีล แล้ว 1 ชม. ครับ
เป็นอีกวิธีการปฏิบัติสมาธิของชาวพุทธมามกะ และ ผู้สนใจ |
|
|
|
|
 |
|