ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2007, 6:37 pm |
  |
คำถามนี้นำมาจากลิงค์ข้างล่าง
http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=6658
เห็นว่า มีประโยชน์จึงนำมาถามที่นี่...เขาถามว่า....
-มีการถกเถียงกันพอสมควร ตามเว็บธรรมะ และตามสำนักปฏิบัติกรรมฐาน เรื่องใช้
บริกรรมภาวนา
บ้างก็ให้บริกรรมพุทโธๆ บ้าง พองหนอยุบหนอบ้าง อื่น ๆอีกบ้างตามอาการลมหายใจ ตามที่เคย
ได้ยินมา
กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็ว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้ามิได้สอนให้บริกรรม...ดังกล่าว จึงไม่ตรงกับพระ
ไตรปีฎก ที่สอนว่า
หายเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น เป็นต้น ไม่ได้สอนให้บริกรรมสะหน่อย
เพราะฉะนั้นสอนให้บริกรรมจึงผิดพุทธวจนะ
ทำให้ผู้ใหม่สับสน
ขอถามท่านผู้แตกฉานในธรรมะปฏิบัติว่า มีความเห็นในกรณีนี้อย่างไร ?
สมัยพุทธกาลมีสอนให้บริกรรมบ้างไหม ? มีหลักฐานตรงไหนบ้างที่สอนให้บริกรรม |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2007, 6:49 pm |
  |
มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ เคยอ่านพบเจอที่ไหนกันบ้างไหม ที่พระพุทธเจ้าสอนให้บริกรรม
อยากให้วิจารณ์ธรรมกันดูนะครับ |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
aratana
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด
|
ตอบเมื่อ:
09 พ.ค.2007, 7:39 pm |
  |
คำบริกรรม เป็นเพียงอุบาย ที่ทำให้ จิตงดการ "ปรุงสังขาร"
เพื่อเข้าสู่ "ความสงบ" สงัดจากขันธ์ทั้งหลาย ให้จิตเป็นอิสระ จาก"โลกธรรม"
จิต...จึงจะสามารถเข้าถึงความละเอียดแห่งธรรมได้ตามลำดับ จากหยาบไปหาพิสดาร
การยึดติดกับ การบริกรรมแบบใดแบบหนึ่ง อย่างจริงจัง ก็จะเป็น "อุปาทาน" ไม่ใช่ "สมาทาน" จึงเป็นการยกโทษให้กับจิต จิตจะไม่ปล่อยวาง
ดังนั้น จริงๆแล้ว บริกรรมอย่างไรก็ได้ที่ เหมาะกับ จริตแห่งตนก็ใช้ได้หมด
แต่ พุทธบุตรแท้แล้ว การน้อมเอารูปแบบแห่งพระศาสดา มาใช้ นับเป็นการดำเนินตามพระองค์อย่างไม่มี วิตกจริตเลย
.......อนุโมทนา |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2007, 7:25 am |
  |
ตอบว่า เคย "รโชหรณัง รโชหรณังๆๆ" ที่สอนพระจุลปันถกให้บริกรรมผ้าขาวพร้อมกับเอาลูบผ้านั้น "รโชหรณังๆ" |
|
|
|
|
 |
สมพร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ค.2007, 12:04 pm |
  |
ภาวนาแบบไหนก็ได้หมด เหมือนกับที่คุณaratana บอกถูกต้องแล้วครับ ส่วนการที่จะฝึกกสินก็จำเป็นต้องมีคำภาวนาต่างหาก ตามแต่กสินนั้นๆครับ เพราะคำภาวนาจะมีกำลังต่างกันครับ
แต่ถ้าทำเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ ใช้คำภาวนาแบบไหนก็ได้ครับ |
|
|
|
|
 |
นวโยคี
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2007
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2007, 8:45 am |
  |
ใน อนุสติ 10 ข้อที่ว่า พุทธานุสติ ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เราจึงใช้คำว่า พุท โธ เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ก็ไม่เห็นผิดจากคำสอนตรงไหน
ในการเพ่งกสิณ สีต่างๆ ท่านก็สอนให้บริกรรม ลองไปศึกษาดูได้ครับ |
|
|
|
  |
 |
เศษพุทธทาส
บัวใต้น้ำ

เข้าร่วม: 08 เม.ย. 2007
ตอบ: 121
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2007, 9:20 am |
  |
บริกรรมด้วยคำต่างๆสามารถภาวนาได้โดยปัญญา แต่ไม่สามรถภาวนาได้โดยสัจจธรรม เนื่องจากไม่ตรงกับสภาวะที่ใหลเลื่อนเคลื่อนตัวอยู่ตลอด เช่น นั่งไปแล้ว ปวดหลัง แต่ไปภาวนาว่าพุทธ โธ มันก็ไม่ตรงสภาวะความเป็นจริง เป็นหินทับหญ้า เมื่อเราออกจากสมาธิเราไม่สามารถที่จะภาวนา พุทธโธได้ แต่ถ้าเราภาวนาแบบปรมัตถธรรม ถึงแม้เราจะออกจากการนั่งปฏิบัติ เราก็สามารถที่จะ มีสมาธิอยู่ได้ด้วยการอยู่กับปัจจุบัน
May the Dhamma be with you. ขอธรรมจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลาย  |
|
_________________ ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด |
|
  |
 |
Atago
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2007, 5:14 pm |
  |
จะใช้คำบริกรรมหรือไม่ก็ดี อยู่ที่ สติ เป็นพื้นฐานอยู่ตลอดเวลา ต้องศึกษาสติปัฏฐาน ๔ ให้เข้าใจ ก็จะหมดความสงสัย |
|
|
|
|
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 พ.ค.2007, 9:04 pm |
  |
|
|
 |
|