Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การดำเนินชีวิตเป็น...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 25 เม.ย.2007, 11:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การดำเนินชีวิตของคนเรานั้น
ในความหมายหนึ่งก็คือ การบริโภค
การเสพหรือใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ
การใช้เวลาเป็นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการรู้จักบริโภค
ซึ่งเป็นความหมายอย่างหนึ่ง ของการ ดำเนินชีวิตเป็น

คนเราที่จะเป็นอยู่อย่างดีนี้ จะต้องดำเนินชีวิตเป็น
คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง
ถ้าใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิตนั่นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม
เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้าประสบประโยชน์สุข
แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็น
ก็มีแต่ขาดทุนและประสพแต่ความทุกข์ และความเสื่อม
ฉะนั้นจะต้องรู้จักดำเนินชีวิตหรือ ดำเนินชีวิตเป็น

เป็นคือพอดี ในมัชฌิมาปฏิปทา
ตกลงว่า นี่ก็คือ องค์รวมของการดำเนินชีวิต
ถ้าทำได้หมดทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว เรียกว่ ดำเนินชีวิตเป็น
เป็นชีวิตที่เจริญงอกงามอย่างแน่นอน

ด้านที่ ๑ แก้ปัญหาเป็น

ด้านที่ ๒ คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น

ด้านที่ ๓ รับรู้ประสบการณ์เป็น
ดูเป็น ฟังเป็น ใช้ตา หู จมูก ลิ้น กายเป็น

ต้านที่ ๔ กินใช้บริโภค เสพ คบหา เป็น

ที่พูดมาในตอนนี้ทั้งหมดนี่แหละ คือ เรื่องทั้งนี้หมดที่การศึกษา
จะต้องเกี่ยวข้องซึ่งแยกเป็น ๔ ด้าน ดังที่บรรยายมาแล้ว


การศึกษาจะต้องให้ครบ คือ ต้องช่วยให้คนฝึกฝน
พัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตเป็น ครบทั้ง ๔ ด้าน

ฉะนั้น การที่จะดำเนินชีวิตเป็นก็ต้อง เป็นหลายอย่าง
ต้องเป็นทุกอย่างไม่ใช่แค่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นเท่านั้น
ซึ่งยังไม่พอ เดี๋ยวนี้เราเน้นกันมากในเรื่องเป็นนี้ แต่ยังไม่ครบ

ตกลงก็จะต้องพูดว่า ดำเนินชีวิตเป็น
แต่ที่ว่า “เป็น” นั้น คืออย่างไร “เป็น” ก็คือ ให้ได้ผล
หมายความว่า ให้ได้ผลสมตามวัตถุประสงค์
ให้ได้คุณค่าที่เป็นจริง ให้พอดี
ให้เหมาะเจาะ ที่จะได้ผลที่ต้องการ

การที่จะได้ผลตรงตามต้องการ ก็ต้องทำให้พอดี
เพราะที่ว่า เป็น ก็หมายถึงว่า ให้คุณภาพไม่เสีย ไม่ขาดไม่เกิน
ก็คือ ต้องให้พอดี

การคิด การพูด ทำ เป็นต้นในเรื่องนั้นๆ ได้พอดี ตรงเรื่องตรงเป้า
ได้เหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบในเรื่องนั้น พร้อมบริบูรณ์
จึงจะให้เกิดผลตามที่ต้องการนี่แหละ เรียกว่า “พอดี”

เราจะทำอะไรก็ต้องทำให้พอดี
ทำเหตุปัจจัยให้ครบถ้วนพอดี แล้วผลจึงจะเกิดตามที่ต้องการ


ตัวอย่างเช่น เป็น แพทย์ เป็นพยาบาล
จะรักษาดูแลคนไข้ก็ต้องทำทุกอย่างให้พอดี
แล้วผลดีที่ต้องการทั้งต่อคนไข้ ต่อแพทย์ และพยาบาล
และต่อกิจการส่วนรวม จึงจะเกิดขึ้น

ฉะนั้น คำว่าเป็น จึงมาตรงกับ คำว่า พอดี พอดี ก็คือคำว่า มัชฌิมา

มัชฌิมา ก็คือ สายกลางที่เราพบกันอย่างเสมอในคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ที่แปลว่าทางสายกลาง ตกลงว่านี่คือ ธรรมะในพระพุทธศาสนา นั่นเอง

ที่ว่าดำเนินชีวิตเป็นนั้น เราลองมามองดูตามหลักธรรม
ดำเนินชีวิต คืออะไร ก็คือ มรรค

เป็น... คืออะไร ก็มือพอดี ก็คือ มัชฌิมา

มรรค ก็คำเดียวกันปฏิปทาตกลงว่าดำเนินชีวิตเป็นก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา
มัชฌิมาปฏิปทา ก็คือ ทางสายกลาง
ทางสายกลาง ก็คือ ทางที่พอดี
ทางอะไร ก็คือ ทางดำเนินชีวิต ทางดำเนินชีวิตที่พอดี
ที่จะให้เกิดประโยชน์ที่ต้องการให้บรรลุจุดหมาย

ตกลงว่าไปๆ มาๆ เรื่องการดำเนินชีวิต เป็น
ก็คือ เรื่องมัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลางนี้เอง
และมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง การใช้เวลาเป็นนี่แหละ

วันนี้มาพูดเน้นในเรื่องใช้เวลา เพราะถ้าเขาใช้เวลาเป็น
ในแต่ละขณะ แต่ละวันแล้วเราจะได้กำไร ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้า
เมื่อเราเจริญ ก้าวหน้า เป็นอย่างดีแล้ว ท่านว่าพรก็จะเกิดขึ้นมาเอง



คัดลอกจาก...
http://www.jarun.org/

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 26 เม.ย.2007, 8:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ..
ถ้าจะว่า ใช้ชีวิตแบบพอเพียงเหมือนพ่อหลวงคงไม่ผิดครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง