ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2004, 4:43 pm |
  |
ช้างเกเรกลับใจ
นิทานธรรม ฉบับพิเศษ
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา
ในรัชกาลของพระเจ้าพรหมทัต มีช้างมงคลตัวหนึ่งเกิดอาการบ้าคลั่งวิ่งไล่ฆ่าควานช้างและผู้ที่มาพบเห็น ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัต ได้หาวิธีแก้ไขจนพญาช้างมหิฬามุขกลับใจมาประพฤติตัวดีได้สำเร็จ
พญาช้างมหิฬามุขเป็นช้างมงคลมีลักษณะดีสง่างาม ที่สำคัญ คือ เป็นช้างมีศีล ไม่ทำร้ายใคร พระเจ้าพรหมทัตเองก็ทรงโปรดปรานช้างมงคลตัวนี้มาก ทรงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและนายควานช้างเลี้ยงดูอย่างดี
โรงที่อยู่ของพญาช้าง พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงรับสั่งให้ตกแต่งสวยงาม มีกลิ่นหอมอบอวลด้วยเครื่องหอมชนิดเลิศ ประดับประดาด้วยพวงดอกไม้ห้อยย้อยระย้าเห็นแล้วชวนให้รื่นรมณ์ใจ พญาช้างเองก็เป็นสัตว์แสนรู้วางตัวได้เหมาะสมละเว้นพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่ดีอันจะทำให้พระเจ้าพรหมทัตไม่โปรดปราน
บริเวณโรงช้างเงียบสงบ ตกกลางคืนก็จะมืดมิด แม้จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลรักษาความปลอดภัยก็ไม่สู้จะเข้มงวดนักเนื่องจากไม่เคยมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น เลยเป็นโอกาสให้พวกโจรมาอาศัยเป็นที่มั่วสุมกัน
นอกจากจะใช้เป็นที่มั่วสุมพูดคุย เรื่องต่างๆ แล้วพวกโจรยังใช้บริเวณนั้นเป็นที่วางแผนปล้นรวมทั้งสอนวิชาโจรด้วยพวกโจรรุ่นใหม่จะถูกนำมาอบรมที่นี่ ซึ่งการอบรมนั้น มีทั้งเรื่องนิสัยใจคอและวิธีปล้นให้ได้ผล
“เฮ้ย...ไอ้น้อง เป็นโจรนี่มันต้องเหี้ยม ต้องหยาบคายต้องตัดสินใจเร็ว ชักช้าไม่ได้” หัวหน้าโจรจะเริ่มต้นอบรมด้วยน้ำเสียงดุดัน
“การจะเข้าปล้นบ้านไหน ต้องศึกษาลู่ทางให้ดีก่อน ให้รู้จักทางเข้าไปและทางหนีทีไล่ ไม่อย่างงั้นแล้วเดี๋ยวเสร็จ”รองหัวหน้าโจรเสริมต่อ
“บ้านพวกเศรษฐีมันเข้ายาก คุ้มกันแข็งแรง มีทางหนึ่งคือ ต้องขุดอุโมงค์ลงไปใต้ดินให้ไปทะลุกลางบ้านเลยเรื่องการขุดอุโมงค์คงต้องฝึกหัดกันในโอกาสต่อไป” โจร พี่เลี้ยงแนะนำเป็นอันดับต่อมา
“การปล้นจะขนเอาทรัพย์สิ่งของที่เราต้องการไปได้ง่ายนี่ต้องฆ่าเจ้าทรัพย์จึงจะขนไปได้ เพราะเมื่อฆ่าตายแล้วก็จะไม่มีคนขัดขวาง” โจรพี่เลี้ยงอีกคนหนึ่งแนะนำถึงวิธีการขนทรัพย์สิน
เมื่อสอนวิชาโจรกันพอสมควรแก่เวลาแล้ว หัวหน้าโจรก็กล่าวสำทับอีกครั้งหนึ่งว่า
“จำไว้นะ..ไอ้น้อง เป็นโจรมันต้องเหี้ยม ฆ่าได้เป็นฆ่า ความเมตตาสงสารไม่มีในหมู่โจร”
จบคำ หัวหน้าโจรก็หัวเราะหึหึอยู่ในลำคออย่างใจเย็นแต่สายตาแข็งกร้าวเอาจริงเอาจัง
พวกโจรจะมั่วสุมกันที่แถวบริเวณโรงช้างเป็นประจำพญาช้างมหิฬามุขได้ยินคำพูดทุกคำของพวกมันและเข้าใจความหมายได้ดี ครั้งแรกก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ต่อมา ได้ยินเสียงพูดบ่อยเข้าๆ ก็เกิดคิดคล้อยตาม
“โจรพวกนี้สอนกันให้โหดเหี้ยม หยาบคาย ฆ่าได้เป็นฆ่าเราก็น่าจะเป็นเช่นนั้นบ้าง”
นับแต่นั้นมา พญาช้างก็เปลี่ยนนิสัยกลายเป็นสัตว์ดุร้ายกระทืบโรงดังโครมคราม รุ่งเช้า พอนายควานช้างมาถึงก็อาละวาดเอางวงจับเขาฟาดที่พื้นจนขาดใจตาย พญาช้างฆ่าคนทุกคนที่เข้ามาใกล้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ความทราบถึงพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงรับสั่งให้อำมาตย์เข้าเฝ้า
“ช้างมหิฬามุขเกิดบ้าคลั่งฆ่าควานช้างตายเมื่อเช้านี้ท่านทราบไหม” พระองค์ตรัสถามเขาอย่างร้อนรนพระทัย
“ทราบพะย่ะค่ะ” อำมาตย์กราบทูล
“ถ้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาจารย์ช่วยไปดูทีว่ามันบ้าคลั่งอย่างนั้นไปได้เพราะอะไร” ทรงรับสั่งอย่างแข็งขัน
อำมาตย์รับกระแสพระดำรัส แล้วก็กราบถวายบังคมลาไปยังโรงช้าง พอดีเวลานั้นพญาช้างเพิ่งจะสงบ อำมาตย์ได้ถามหมอหลวงถึงสาเหตุที่พญาช้างบ้าคลั่ง
ตรวจดูแล้วก็ไม่พบโรค อะไรที่จะทำให้บ้าคลั่งถึงขนาดนั้นไปได้ หมอหลวงรายงานพร้อมทั้งสันนิษฐานว่า “น่าจะเป็นอาการแปรปรวนทางจิตใจ”
มีต่อ >>>>> |
|
|
|
    |
 |
amai
บัวบาน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2004
ตอบ: 435
|
ตอบเมื่อ:
10 พ.ย.2004, 4:48 pm |
  |
อำมาตย์รับทราบรายงานจากหมอหลวงอย่างนั้นแล้วก็คิดหาสาเหตุต่อไป เขาเห็นด้วยกับหมอหลวงว่าน่าจะเป็นอาการแปรปรวนทางจิต เขาสันนิษฐานลึกต่อไปว่าอาการแปรปรวนทางจิตนี้น่าจะเกิดมาจากที่ได้เห็นหรือได้ยินเรื่องที่ยั่วยุให้เกิดบ้าคลั่ง
“เรื่องเห็นนี่ไม่น่าเป็นไปได้” นายควานช้างอีกคนหนึ่งชี้แจง
“สิ่งแวดล้อมที่นี่ก็สวยงามทั้งนั้น”
“แล้วเรื่องได้ยินล่ะ” อำมาตย์ซักถามต่อ
“ไม่แน่ใจ” นายควานช้างตอบ
“แต่ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหาเพราะพวกเราก็ไม่ได้พูดหยาบคายอะไรกัน”
“เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน” อำมาตย์สรุป
“ขอให้สังเกตดูว่ามีเสียงอะไรมาทำให้ช้างเปลี่ยนไปบ้าง”
นับแต่นั้นมา นายควานช้างก็คอยสังเกตดูพฤติกรรมของช้าง จนกระทั่งคืนหนึ่ง เขาสังเกตเห็นช้างยืนหูผึ่งเหมือนกับตั้งใจฟังเสียงอะไร เขาค่อยๆ หลบตัวอยู่ในความมืดและคอยตั้งใจฟังว่าจะมีเสียงอะไรดังขึ้น
“เฮ้ย...เป็นโจรมันต้องเหี้ยม หยาบคาย ฆ่าได้เป็นฆ่า” เขาได้ยินเสียงโจรพูดอบรมกันชัดเจน
นายควานช้างสังเกตดูช้างและฟังเสียงโจรไปด้วย จนในที่สุดก็แน่ใจว่าเสียงโจรนี่เองที่ทำให้ช้างมีนิสัยเปลี่ยนไปจึงได้ไปแจ้งให้อำมาตย์ทราบ อำมาตย์ก็ได้กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตพระเจ้าพรหมทัตตบพระหัตถ์ฉาดใหญ่พร้อมกับตรัสว่า
“อย่างนี้นี่เล่า ช้างดีๆ จึงมาเป็นช้างเกเรไปได้ แล้วอาจารย์จะหาทางแก้ไขอย่างไร”
“เมื่อได้ทราบสาเหตุอย่างนี้แล้วก็แก้ไขไม่ยากหรอกพะย่ะค่ะ” อำมาตย์กราบทูลด้วยความเชื่อมั่น
“อาจารย์จะแก้ไขอย่างไร”
“ขอเดชะ เมื่อช้างมีนิสัยเปลี่ยนไปไม่ดีเพราะฟังเรื่องไม่ดีก็ต้องแก้ให้นิสัยเปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วยการให้ฟังเรื่องที่ดี ”
“นั่นซีอาจารย์จะทำอย่างไร”
“ขอเดชะ นับแต่นี้ข้าพระองค์จะให้เจ้าหน้าที่กวดขันไม่ให้พวกโจรหลบมามั่วสุมใกล้โรงช้าง แล้วจะให้นิมนต์สมณพราหมณ์ผู้มีศีลมานั่งสนทนากันเรื่องศีลเรื่องเมตตากรุณา ช้างได้ฟังเรื่องที่ดีมากเข้าๆ ข้าพระองค์เชื่อว่าจะทำให้นิสัยกลับมาดีได้ พะย่ะค่ะ”
“เอ้า...ลองดู เผื่อว่าจะได้ผล”
ครั้นได้รับพระราชานุญาตแล้ว อำมาตย์ก็ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปนิมนต์สมณพราหมณ์มานั่งใกล้โรงช้างแล้วขอให้สนทนากันถึงเรื่องศีลเรื่องเมตตากรุณา วันแรกๆ พญาช้างยังมีท่าทีเฉยเมย แต่ต่อเมื่อได้ฟังทุกวัน จิตใจที่หยาบคายร้ายกาจและแข็งกระด้างก็เริ่มอ่อนโยน แล้วในที่สุดก็กลายมามีเมตตากรุณาและสงบเยือกเย็นดุจเดิม
นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญทำให้คนดีหรือคนเลวได้ เหมือนพญาช้างมหิฬามุขได้ยินเสียงโจรพูดคุยบ่อยครั้งจนทำให้มีนิสัยดุร้ายไปได้ฉะนั้น
พญาช้างมหิฬามุขเที่ยวรังควานคน
เพราะฟังคำของพวกโจร
ต่อมา ได้ฟังคำของท่านผู้มีศีล
จึงกลับใจมาประพฤติตัวดีใหม่
-------จบ------- |
|
|
|
    |
 |
พญาช้างมหิฬามุข
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.พ.2007, 8:30 am |
  |
|
|
 |
suvitjak
บัวบาน

เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
|
ตอบเมื่อ:
03 มิ.ย.2008, 3:31 pm |
  |
ข้อคิดดีๆครับ  |
|
_________________ ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน |
|
  |
 |
|