ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 5:55 pm |
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 5:57 pm |
|
.ความรักที่แท้จริงต้องการความเสียสละสูงเป็นอันมาก
มีความสุขที่ได้เสียสละ ได้ทำอะไรให้กับคนที่ตนรัก
และความเสียสละเป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของความรัก
และเป็นนิมิตหมายว่า เป็นความรักที่แท้จริง คือ ต้องเสียสละ
ที่เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าความรัก ต้นรัก ต้องรดด้วยน้ำตา
มันต้องมีความเสียใจ มันต้องมีความเจ็บปวด
นี่คือ ความรักที่เป็นโลกียะ
.. ความสุขที่เกิดจากความรักที่เจือด้วยความใคร่ในประสาทสัมผัส
มักจะเป็นความสุขที่มีปัญหา มีความขัดแย้งและบกพร่อง
เพราะว่าทั้งผู้รักและผู้ถูกรักก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่ไม่สมบูรณ์
มีความบกพร่องอยู่ในตน
เมื่อมาสัมพันธ์กันเข้า ก็เพิ่มความบกพร่องให้มากขึ้น
เหมือนคนตาบอดคนหนึ่ง เมื่อมาสัมพันธ์กับคนตาบอดอีกคนหนึ่ง
มันจะทำให้ตาดีขึ้นได้อย่างไร เป็นไปไม่ได้ มีแต่จะเป็นภาระมากขึ้น
เรื่องนี้เป็นข้อสังเกต วิญญูชนผู้รู้ควรจะนำมาพิจารณา
การที่คนไปสัมพันธ์กันด้วยความรัก
ในแง่ของเสน่หา หรือ สิเน่หา นั้นคิดว่าจะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น
แต่บางทีก็ทำให้ความทุกข์สมบูรณ์ขึ้น
เพราะว่าเอาความบกพร่องทั้งสองไปบวกกัน
คนหนึ่งก็บกพร่องอีกคนหนึ่งก็ยังบกพร่อง
แล้วถ้าคนไม่มีธรรมะก็คอยจับผิดกัน
ไม่มีธรรมะเป็นทางดำเนินของความรัก มันก็ไปนั่งจับผิดกัน
ส่วนที่ดีก็ไม่พูดถึง มองแต่ส่วนที่ร้าย มันก็มีความบกพร่อง
พอเอาความบกพร่องไปบวกกับความบกพร่อง
มันก็ยิ่งมีความบกพร่องมากขึ้น
แล้วความบกพร่องมันก็เกิดขึ้นในใจ
..
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 5:58 pm |
|
.ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้
และควรพยายามที่จะเข้าใจเขา
มากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา
ควรทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์
ดีกว่าที่จะพยายามให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้สมบูรณ์
โดยที่ตัวเรายังบกพร่องอยู่นานาประการ
ตัวเราก็ยังบกพร่องอยู่มากมาย
แต่ว่าต้องการที่จะให้อีกคนหนึ่งหรืออีกด้านหนึ่งทำหน้าที่ให้สมบูรณ์
หรือว่าถ้าเป็นเพื่อนกันเราก็ควรจะตั้งความหวังว่า
ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง
ไม่ใช่คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไรเราจะได้เพื่อนที่ดีสักคนหนึ่ง
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 5:58 pm |
|
..การพ่ายรักและการชนะรัก ในภาษาโลกและในภาษาธรรม
ถ้าสมมติว่าจำเป็นจะต้องเป็นไปอย่างนั้นแล้ว
ก็ต้องพยายามที่จะทำอย่างไรให้ความรักเป็นพิษต่อจิตใจให้น้อยที่สุด
คือว่า รักโดยประการที่จะทำให้มีทุกข์น้อยที่สุด
แต่ถ้าเกิดมีความทุกข์ขึ้นทีไรก็ให้พิจารณาเห็นโทษสิ่งนั้นอยู่เนืองๆ
ให้เห็นโทษของความรักอยู่เนืองๆ
แทนที่จะไปโทษคนนั้นคนนี้
ก็ให้โทษความรักนั่นแหละเป็นตัวการสำคัญ
บางทีเราก็ทำหน้าที่ไปโดยที่ว่ารับผิดชอบ มีความเข้าใจ
อันนั้นสำคัญกว่าด้วยซ้ำไปสำหรับการดำเนินชีวิต
ที่เกี่ยวกับความรักความผูกพัน
คือ ทำไปตามหน้าที่ใน ทิศหก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์นั่นแหละเป็นสิ่งที่ดี
เราอาจจะมีความสุขที่สงบเย็นตามมามอบให้เป็นรางวัลในภายหลัง
หรือแม้ในขณะที่ทำอยู่นั้นเอง
ได้รู้สึกว่าเขาได้ทำหน้าที่ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด
เราก็ชื่นชมตัวเอง
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 5:59 pm |
|
..การปรารถนาความสุขจากภายนอก
ไม่มีวันสนองความอยากให้เต็มบริบูรณ์ได้
เพราะโดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มีความบกพร่องอยู่ในตน
เมื่อได้สิ่งนั้นมาจึงได้รับเอาความบกพร่องเหล่านั้นมาด้วย
ท่านลองนึกดูรอบๆตัวท่านว่าท่านมีสิ่งใด
ท่านก็ต้องทุกข์กับสิ่งนั้นบ้างไม่มากก็น้อย
ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มีบุตรย่อมเศร้าโศรกเพราะบุตร
ย่อมเดือดร้อนเพราะบุตร ย่อมมีปัญหาเพราะบุตร
ย่อมจะมีความกังวลเรื่องบุตร
อย่างทำนาก็ย่อมมีโค ย่อมต้องเดือดร้อนเพราะโค
สมัยก่อนพระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้อย่างนั้น
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:00 pm |
|
..ความรักที่มีอยู่โดยทั่วๆไปของคนทั้งหลาย
เป็นความรักแบบโลกียะ(เกี่ยวกับโลก) นั่นมันวางอุเบกขาไม่ได้
วางไม่ลง มันปล่อยไม่ได้ ก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้ไม่มากก็น้อย
เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ต่ำ
หรือในระดับที่ว่าเป็นน้ำที่รดผักได้ รดต้นไม้ได้
แต่ว่าไม่เพียงพอที่จะนำมาดื่มแก้ความกระหายได้
ขอให้เราช่วยกันคิดช่วยกันนึก
ช่วยกันฝึกอบรมพัฒนาให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้น
เรียกว่าใช้ความรักให้เป็นประโยชน์กับชีวิต
ไม่ใช่จมปลักอยู่กับความรักแล้วก็เศร้าหมองไม่มีการพัฒนา
ไม่มีการเสาะหาแสวงหาทางที่จะหลุดพ้น
พระพุทธเจ้าท่านก็ให้เห็นคุณเห็นโทษ
แล้วก็เห็นทางออกว่าเราจะออกอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
และก็พร้อมที่จะออกไปได้เหมือนเนื้อป่าที่นอนทับกองบ่วงอยู่
แต่ไม่ติดบ่วง เมื่อพรานป่ามาก็พร้อมที่จะหนีไปได้
ไม่เหมือนเนื้อที่ติดบ่วงมันหนีไม่ได้
มันต้องเป็นเหยื่อของนายพราน
มันต้องถูกจับถูกยิงอย่างนี้นะครับ
.มีพุทธภาษิตยืนยันอยู่ว่า
ความเศร้าโศก ความกลัว ก็เกิดจากความรักและสิ่งที่รัก
ผู้ใดพ้นจากความรักและไม่มีสิ่งอันใดเป็นที่รักแล้ว
ความสุขและความกลัวก็ไม่มีแก่ท่านผู้นั้น
พุทธภาษิตบางแห่งก็บอกว่า สิ่งไม่น่ายินดีและไม่น่ารัก
มักจะแปลงมาในรูปของสิ่งที่น่ายินดีและน่ารัก
ทุกข์มักจะมาในรูปแห่งสุข จึงสามารถครอบงำ ย่ำยีผู้ประมาทได้
ถ้าพิจารณาตามแนวนี้ หรือพิจารณาตามแนวของพุทธปรัชญาแล้ว
ก็จะเห็นชัดเจนว่า อาการที่จิตยึดเหนี่ยวเอาไว้อย่างแน่นแฟ้น
ในตัวตนและของตนนั่นเอง ก็คือ ต้นตอที่อยู่ลึกๆของอารมณ์รัก
ซึ่งจะผลิดอกออกผลออกมาเป็นความทุกข์ทรมานใจในกาลต่อมา
ถ้าเผื่อว่าเขาไม่มีธรรมะเป็นทางดำเนิน
ไม่มีธรรมเป็นเครื่องประคับประคองเกี่ยวกับเรื่องความรัก
..
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:01 pm |
|
..วิธีที่จะถนอมรักก็คือ รู้จักความพอดี
ต้องท่องไว้เสมอเลยนะครับว่า ความพอดีนั้นดีเสมอในทุกเรื่อง
ขอให้เชื่อศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนาที่ว่า
มัตตญ ญุตา สทา สาธุ ความพอประมาณนั้นดีเสมอ
และก็แม้ในเรื่องความรักนี่ก็เหมือนกัน
คือ ต้องรู้จักความพอดีในการถนอมรัก
ไม่เฉยเมยจนแห้งแล้งและก็ไม่วุ่นวายกับเขามากเกินไป
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:02 pm |
|
..มีสุภาษิตอังกฤษอยู่ประโยคหนึ่งที่ว่า
To err is human, to forgive divine
การทำผิดเป็นเรื่องของมนุษย์ธรรมดา
และ การให้อภัยเป็นเรื่องของเทวดา
ก็หมายความว่าเมื่อใดเราให้อภัย เมื่อนั้นก็เป็นเทวดา คือ ใจสูง
เมื่อใดเราให้อภัย เมื่อนั้นเราก็ใจสูง
คำว่าให้อภัย หมายความว่าไม่มีภัยจากเรา
และก็เป็นการให้ที่เกลี้ยงเกลา
ก็คือว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเหลืออยู่ในการถือโทษ
หรือ ผูกโกรธพยาบาท
เมื่อคิดว่าให้อภัยแล้ว คือ ให้ อภัยไปเลย
หมดเลย หมดเกลี้ยงเลย และก็มีความรับผิดชอบสูง
ในเรื่องเกี่ยวกับการผูกรัก
ศิลปะในเรื่องการผูกรัก ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง
คือว่าไม่เป็นคนเหลาะแหละ ได้พูดอะไรไปต้องทำตามที่พูด
ได้สัญญาอะไรไว้กับใคร กับภรรยา กับลูก กับเพื่อน
กับใครต่อใคร สัญญาเอาไว้ก็ต้องทำตามที่ได้สัญญาเอาไว้
แสดงถึงความรับผิดชอบสูง ไม่ใช่เป็นคนพูดพล่อย
พูดง่ายอะไรๆก็รับ แต่ทำไม่ได้สักอย่าง
หรือว่าพูดล่วงหน้าไปว่าจะทำนั่นทำนี่ แล้วก็ไม่ได้ทำ
อันนี้ก็ทำให้เสน่ห์ลดลง
ทำให้คนที่เกี่ยวข้องรักใคร่กันอยู่จืดจาง
หรือว่าเจือจางความรักลงไป
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:04 pm |
|
อาการแปรแห่งความรัก คือ ความรักแบบเสน่หา
ก็อาจจะแปรเป็นมิตรภาพได้
ในกรณีที่ความรักนั้นถูกขัดขวาง
ไม่ให้ดำเนินไปตามทางที่มุ่งหมายไว้แต่แรก
ความรักแบบเสน่หาจะกลับเป็นมิตรภาพได้
แต่จะเป็นอย่างนั้นได้ก็เฉพาะคนที่มีใจสูงเท่านั้น
คนที่มีใจไม่สูงพอไม่อาจทำได้
ส่วนมากเมื่อไม่สมหวังในความรักเสน่หาก็จะแตกหักไปเลย
คือ ไม่เกี่ยวข้องกันอีก อาจจะด้วยความละอายต่อกัน
หรือว่าอาจจะเป็นความช้ำใจ จึงไม่อยากจะพบเห็นอีก
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:05 pm |
|
.เมื่อแต่งงานนานไป ความรักอันตื่นเต้นทางประสาทสัมผัส
ก็จะลดลงเจือจางลง ถ้ามีคุณธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ก็จะกลับไปเข้มทางมิตรภาพ
จะเห็นอกเห็นใจกันเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
ข้อนี้ทางศาสนาพระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองว่า
คู่ครองนั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง
จะเป็นภรรยาหรือสามีก็ตามเถิด
ภริยา ปรมา สขา แปลว่า ภริยานั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง
และอันนี้ก็น่าจะหมายถึงภริยาหรือสามีที่ดีเท่านั้น
ภรรยาหรือสามีที่ไม่ดี ก็จะเป็นศัตรูที่ร้ายกาจเหมือนกัน
ดูไปแล้วก็คล้ายๆกับมีงูพิษอยู่ในบ้าน
น่าระแวงน่าเกรงภัย คือว่า มีตัวอย่างให้ดูมากมายอยู่แล้ว
เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ที่มีงูพิษอยู่ในบ้าน
แทนที่จะเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง หรือกัลยาณมิตรที่ยอดเยี่ยม
กลับกลายเป็นข้าศึกหรือศัตรูที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
บางคนก็ต้องเสียชีวิตทั้งตัวและลูก
และบางคนก็ต้องทุกข์ทรมานอกไหม้ไส้ขมไปตลอดชาติ
.อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไมตรีเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
คนที่เคยรักกันแบบหนุ่มสาว
ถ้าเผื่อว่าการดำเนินความรักเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง มันก็ควรจะแปรให้มันเป็นมิตรภาพ
เพราะว่าความรักในแบบมิตรภาพนั้นเป็นความรักที่ดี
ก็พยายามทำให้ได้ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
ถึงอย่างไรก็รักสุข เกลียดความทุกข์ด้วยกัน
แต่ว่านิสัยใจคออุปนิสัยต่างๆมันเป็นไปไม่ได้
เข้ากันไม่ได้ อะไรกันไม่ได้
..
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:05 pm |
|
..พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า การได้เห็น
การได้อยู่ร่วมกับผู้มีคุณอันประเสริฐ ที่ใช้คำภาษาบาลีว่า อริยะ
การได้เห็นการได้อยู่ร่วมกับผู้มีคุณอันประเสริฐ คือ อริยะ
เป็นความสุขทุกเมื่อ
การไม่ได้พบเห็นไม่ได้คบหาสมาคมกับคนพาล ก็เป็นความสุขเป็นมิตร
การสมาคมกับคนพาลย่อมจะต้องเศร้าโศกตลอดกาล
การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์เสมอ
เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูก็เลี่ยงเสีย
เห็นคนพาลก็พยายามเลี่ยงเสีย
..
..ผู้มีปัญญาแม้ไร้กำลังกายและกำลังทรัพย์
แต่อุดมด้วยปัญญา ก็จะใช้ปัญญานั้นเองช่วยแก้ข้อติดขัดให้ลุล่วงไปได้
การที่เรามีมิตรสมบูรณ์ด้วยปัญญา
ผมก็คิดว่าแม้จะอยู่ในนรก หรืออยู่ในที่ลำบาก
ดีกว่าอยู่กับคนโง่คนพาลบนสวรรค์หรือในที่สบาย
คนโง่จะนำความทุกข์มาให้เสมอ เพราะความโง่เขลาของเขานั่นแหละ
แต่ว่าคนฉลาดจะนำความสุข ความชื่นใจมาให้
เพราะความฉลาดของตน
คนโง่มีเหตุผลไม่ควรกลัวก็หวั่นวิตก กลัวไปเสียหมด
มีเหตุอะไรนิดหน่อยก็ตกใจ วิตกกังวลเกินเหตุ
ส่วนผู้มีปัญญาไม่สะทกสะท้านไม่หวั่นไหว
อยู่กับคนโง่และขี้กลัว จะหาความสุขความเย็นใจได้อย่างไร
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:07 pm |
|
..ผมขอย้ำเรื่องมิตรภาพ
มิตรภาพที่สูงส่งนี้จะเป็นมิตรภาพระหว่างคนดีด้วยกัน
ถ้าเผื่อเป็นคนไม่ดีด้วยกันก็จะเป็นมิตรภาพที่ไม่สูงส่ง
คบกันพากันไปสู่ความหายนะ ไม่เป็นมิตรภาพที่ดี
มิตรภาพที่ดีที่สูงส่งเป็นมิตรภาพระหว่างคนดีด้วยกัน
เขาจะช่วยกันทำความดี ช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์
และต่างคนต่างก็ได้มองเห็นความดีของกันและกันก็ชื่นใจ
.
..พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นตถิ พาเล สหายตา
ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล คนพาลก็มีแต่นำความทุกข์มาให้
สหายเป็นคำที่ดี แต่สิ่งนี้ไม่มีในคนพาล
เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อเราได้คนดี ได้เพื่อนดี ได้มิตรดี
ได้สหายดีมาเป็นเพื่อน เป็นมิตร
แล้วก็ควรจะถนอมเอาไว้ให้ดี
คือว่าถ้ารู้ว่าเขาดีก็ต้องรู้จักรักษาให้สมกับที่เขาดี
รู้จักถนอมให้สมกับที่เขาดี
เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้อะไรว่าดี ข้าวของที่ดี มิตรที่ดี
ใครก็ตามที่เป็นคนดีมีค่าควรแก่การถนอมเลี้ยงดูให้ดี มันก็ควรจะทำ
ถ้าเผื่อไม่ทำก็จะพลาดโอกาส หรือเสียไปแล้วต้องมาเสียใจภายหลัง
ไม่น่าเลยที่เราจะต้องละเลยทอดทิ้งสิ่งที่ดีงาม
ที่มีค่าขนาดนี้ไปเสีย
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:08 pm |
|
. อันนี้เป็นเรื่องการถนอมสิ่งที่ดี
ถ้าเป็นเพชรเป็นทองก็จัดการถนอมให้สมกับที่เป็นเพชรเป็นทอง
จะเป็นอะไรก็ทำให้เหมาะสมกับอย่างนั้น และก็เป็นสิริมงคล
เป็นความดีงามกับคนที่กระทำเอง
ในชาดกก็มีพูดถึงบ่อยเรื่องทำนองนี้
มีม้าดีตัวเดียวดีกว่ามีม้ากระจอกตั้งร้อยตัว
เพราะม้าร้อยตัวมันทำอะไรไม่ได้ เวลาคับขันขึ้นมา
ม้ากระจอกร้อยตัวมันทำอะไรไม่ได้
แต่ม้าดีตัวเดียวมันทำได้ คุณภาพคุณค่ามันผิดกัน
ม้าสินธพอาชาไนยแม้เพียงตัวเดียว
ก็ดีกว่าม้ากระจอกเป็นร้อยๆตัว
ถ้าเราได้คนดีเพียงคนเดียวไว้ทำการงาน
ไว้ประกอบการงาน ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้เรื่องได้ราวเป็นร้อยๆคน
หรือเรามีมิตรดีเพียงคนเดียวก็อาจช่วยเราได้
มากกว่าที่จะมีมิตรเทียมจำนวนมาก
เพราะฉะนั้น เรื่องความรักเกี่ยวกับมิตรภาพ
ก็ถ้าเราได้มิตรที่ดีแล้วก็ควรจะถนอมมิตรให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้
เหมือนกับสารถีหรือพระราชารักษาม้าอาชาไนยด้วยดีที่สุดเท่าที่จะดีได้
แล้วความรักระหว่างคนดีกับคนดีเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูง
เพราะว่าเขาจะชวนกันทำความดี และบำเพ็ญประโยชน์
และคนดีเป็นคนที่มีประโยชน์
มีประโยชน์ ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น
.ความรักโดยทั่วไป เป็นเรื่องของอารมณ์
แต่มิตรภาพเป็นเรื่องของอุปนิสัย
คือ มีอุปนิสัยตรงกันและเข้ากันได้ คบกันได้สนิท
สมานัตตตตา คือ สม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย
เมื่อก่อนสมัยเป็นเพื่อนกัน เรียนหนังสือมาด้วยกัน รุ่นเดียวกัน
ต่อมาเราหรืออีกคนหนึ่งขึ้นสู่ฐานะสูงไปเรื่อยๆ
อีกคนหนึ่งก็ต่ำต้อยอยู่ ถึงจะไม่ต่ำต้อยมากก็ไม่สูงเท่ากับอีกคนหนึ่ง
คนที่อยู่สูงก็ต้องนำมิตรภาพมาสู่ผู้ที่ต่ำต้อยกว่าด้วยสมานัตตตาธรรม
คือ เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
..
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:09 pm |
|
..ความรักที่ดำเนินไปถูกทางหรือในทางที่ถูกชอบธรรม
และก็มีความพอใจด้วยกันทุกฝ่าย จะมีรากฐานอยู่ที่คุณธรรม
ก็ทำให้เกิดความอบอุ่นใจ มีความรู้สึกว่าปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้
หรือว่าเราได้มีโอกาสได้อยู่ท่ามกลางคนที่เป็นที่รัก
ทำให้มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสมีความสุข
และมีกำลังใจที่จะทำความดี ขยันหมั่นเพียรเพื่อตัวเองด้วย
แล้วก็เพื่อคนที่ตนรักด้วย และก็รู้สึกตนเป็นคนมีค่า
และก็พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติในคุณธรรมต่างๆ
..
..ส่วนในทางโทษของความรัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรักด้านเสน่หา นี่ก็มีมาก
เช่น เป็นต้นเหตุของความเศร้าเสียใจ พิไรรำพัน
ความริษยา ความเกลียดชังผู้อื่น
ที่เข้ามาแย่งชิงสิ่งที่เป็นที่รักของตน
ความวิตกกังวล ความห่วงใย
ความที่ใจต้องจดจ่ออยู่กับคนที่ตนรัก
รู้สึกไม่อิสระคอยวนเวียนอยู่
จิตใจถูกจองจำผูกพัน อารมณ์รักคอยหน่วงเหนี่ยวจิตใจ
ให้วนเวียนอยู่กับคนที่ตนรัก แล้วก็ยิ่งหมกมุ่นมากก็ยิ่งทุกข์มาก
เครียดในกรณีที่ความรักสลายเป็นพิษขึ้นมาอีก
จะยิ่งเห็นโทษของความรักมากขึ้น
เมื่อเป็นอย่างนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องความรัก
ก็ต้องนึกถึงอย่างน้อย 3 อย่าง คือ นึกถึง
อัสสาทะ แปลว่าความชื่นใจ
อาทีนวะ โทษของความรัก
นิสรณะ การที่จะสลัดออกไปเสียจากความรัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นโทษของมันอยู่โต้งๆ
คือ ความทุกข์ที่มันปรากฏให้เห็นอยู่เฉพาะหน้า
คือ โทษของมัน ก็ต้องพร้อมที่จะสละความรัก
ที่มันก่อให้เกิดโทษนั้นเสีย เพื่อจะให้โทษมันหายไปด้วย
มันมีคุณมันมีโทษตามกันมา
คนที่พ้นจากกระแสความรักอย่างโลกๆแล้ว
ก็จะได้รับการอุดหนุนจากกระแสธรรม
ซึ่งสงบเยือกเย็นกว่า ปลอดภัยกว่า
ไม่ต้องเสี่ยงต่อโทษที่แฝงอยู่ในความรักนั้น
เรียกว่า ผู้ที่ปลอดโปร่งอย่างแท้จริง
คือ คนที่เคยได้รับความสุขความเพลินเพลินจากความรัก
ก็นึกว่าถ้าเผื่อไม่มีที่ ไม่มีความรัก ไม่มีสิ่งที่รัก จะว้าเหว่ จะเหงา
จะรู้สึกอะไรต่ออะไรต่างๆนี้ ไม่เป็นอย่างนั้นหรอกครับ
เพราะว่าอย่างอื่นมันจะเข้ามาแทน
กระแสธรรมมันจะเข้ามาแทน กระแสความดี
กระแสความเยือกเย็นอย่างอื่นมันจะเข้ามาแทนที่ก็ดีกว่า
.
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:10 pm |
|
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะต้องการพัฒนาสังคม
ต้องพัฒนาที่ครอบครัวก่อน คือ ให้ครอบครัวดีพัฒนาสังคม
ถ้าจะพัฒนาครอบครัวมัน ก็ต้องพัฒนาคนก่อน
ถ้าถามว่าพัฒนาคนเราพัฒนาที่ไหนก่อน
เราก็ต้องพัฒนาที่นิสัยของคนก่อน
เพราะว่าอุปนิสัยนี่เหมือนกับดิน
เราจะปลูกพืชก็ต้องเตรียมดินก่อน
ถ้าดินไม่ดีละก็เอาพืชอะไรมาปลูก มันก็ขึ้นไม่ดีไม่งาม
ถ้าดินดีพืชที่จะเอามาปลูกมันก็ขึ้นงามดี
เพราะฉะนั้น ถ้าจะพัฒนาคนก็ต้องพัฒนาที่อุปนิสัยของเขาก่อน
คือ ให้คนมีอุปนิสัยที่ดี
คำว่าอุปนิสัยดีนั้นคือ อะไร
อุปนิสัยดี ก็คือ ความเลอเลิศทางคุณธรรมนั่นแลเป็นอุปนิสัยดี
คุณธรรมคืออะไร คุณธรรม คือ ความเลอเลิศของอุปนิสัย
พูดกลับกันก็ได้ คราวนี้การพัฒนาคนต้องพัฒนาให้เขามีคุณธรรม
ถึงเขาจะมีความรู้สักเท่าไหร่ มีความสามารถสักเท่าไหร่
เก่งสักเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็เหลว
คือ ทำคนอื่นหรือคนใกล้ตัวเดือดร้อน เพราะไม่มีคุณธรรม
และก็เป็นที่พึ่งแก่ตัวเองก็ไม่ได้
เมื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองไม่ได้แล้ว จะเป็นที่พึ่งแก่ใครได้
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:10 pm |
|
พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน
ขอให้ท่านทั้งหลายมีตนเป็นที่พึ่ง แล้วก็มีธรรมเป็นที่พึ่ง
คนที่จะพึ่งตัวเองได้ก็ต้องเป็นคนที่มีธรรม
มีธรรมเสียก่อนแล้วจะพึ่งตัวเองได้
พ่อแม่ที่เราจะพึ่งได้ก็ต้องมีธรรม
สามีหรือภรรยาที่เราจะพึ่งได้ก็ต้องเป็นสามีภรรยาที่มีธรรม
ลูกที่เราจะพึ่งได้ก็ต้องเป็นลูกที่มีธรรม
เพื่อนที่จะเป็นที่พึ่งของเพื่อนได้ก็ต้องเป็นเพื่อนที่มีธรรม
ภิกษุสามเณรที่จะเป็นที่พึ่งของฆราวาสได้
ก็ต้องเป็นภิกษุสามเณรที่มีธรรม
และชาวบ้านที่จะเป็นที่พึ่งกับภิกษุได้ ก็ต้องเป็นชาวบ้านที่มีธรรม
นี่ท่านจะเห็นว่า ธรรมนั้นแหละเป็นแกนกลางของสังคมมนุษย์
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนวาเสฐถะ และ ภารัทวาชะ ทั้งบัดนี้และภายหน้า
ธรรมนั้นแลประเสริฐสุดในหมู่ชน
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:12 pm |
|
.เกริ่นเอาไว้ว่า จะพูดถึงธรรมของสามีภรรยา
ที่หวังจะอยู่ร่วมกันยั่งยืนผาสุข
สามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้วก็มีความหวังร่วมกัน
ตั้งแต่ต้นว่าจะอยู่ร่วมกัน ร่วมสุขร่วมทุกข์กันตลอดชีวิต
บางคู่ก็ปรารถนาจะพบกันอีกในชาติหน้า พอออยู่ร่วมกันแล้ว
แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจต่อกัน
ใจก็เริ่มแยกจากกันก่อน แนวทางดำเนินชีวิตก็แยกกัน
ผัวก็ไปทาง เมียก็ไปทาง ทรรศนะชีวิตไม่ตรงกัน
ความนิยมผิดแผกกัน และไม่ยอมเข้าใจกัน
เมื่อความแตกแยกถึงที่สุด ก็ต้องแยกทางกัน
นั่นคือการหย่าร้าง ชีวิตสมรสก็ต้องอับปาง
ถ้าไม่อับปางก็อยู่ด้วยความยากลำบาก คับแค้น เดือดร้อน
ในสมัยพุทธกาลนะครับ มีสามีภรรยาคู่หนึ่งรักกันมาก
กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เขาทั้งสองปรารถนาจะได้พบกันอีก
ทั้งในชาติปัจจุบันและชาติหน้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สามีภรรยาหวังว่าจะได้พบกันครองคู่กัน
ทั้งในชาตินี้หรือชาติหน้า
พึงเป็นผู้มีธรรม 4 ประการเสมอกันคือ
1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน
คือว่า เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย เป็นต้น
จะเรียกว่ามีทรรศนะตรงกันก็ได้
เวลานี้ก็มีเรื่องเกิดขึ้นหลายอย่างหลายเรื่องในสังคมของเรา
มีลัทธิความนับถือศาสนาที่ไม่ตรงกัน
สามีไปทางหนึ่ง ภรรยาไปทางหนึ่ง คือว่า มีศรัทธาไม่เหมือนกัน
สามีก็ศรัทธาวัดโน้น ภรรยาก็ศรัทธาวัดนี้
คือ ต้องใช้ปัญญาส่องดูนะครับ ว่าอะไรถูก อะไรผิด
คุยกันด้วยเหตุผลไม่ใช่เอาความเชื่อเฉพาะตัว
มากีดกันทั้งสองออกจากกัน พูดกันด้วยเหตุผล
2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน
ก็คือว่า มีความประพฤติดีด้วยกัน ตั้งอยู่ในคุณธรรม
คือว่า ไม่เบียดเบียนกัน และก็ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
มีศีลเสมอกัน มีความดีด้วยกัน อย่างนี้ก็ไปกันได้
ไม่รังเกียจกันในเรื่องความประพฤติ
3. สมจาคา มีจาคะเสมอกัน
เสียสละให้แก่กันไม่เห็นแก่ตัว
ก็รวมถึงว่า มีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อญาติพี่น้องของคนทั้งสองฝ่าย
และก็คนทั่วไป และต้องมีขอบเขตจำกัด
คือหมายความว่า ไม่ใช่เสียสละโดยไม่มีเหตุผล
ต้องใช้เหตุผลด้วยเหมือนกัน
4. สมปัญญา คือ ต้องมีปัญญาเสมอกัน
เรียกว่าไม่ห่างกันมากในทางวุฒิปัญญา
กล่าวโดยเฉพาะคือว่า มีปัญญารู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด
ไม่ขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทกันเพราะวุฒิปัญญา
หรือต่างคนต่างอวดรู้ไม่ยอมกัน
มีทิฏฐิมานะเข้าหากัน อย่างนี้อยู่กันไม่ได้
|
|
|
|
|
|
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
|
ตอบเมื่อ:
13 ก.พ.2007, 6:13 pm |
|
การปรับคุณธรรมเหล่านี้ให้เสมอกัน
ให้ไปด้วยกันได้เป็นสิ่งสำคัญในระหว่างสามีภรรยาที่จะอยู่ร่วมกัน
หรือจะอยู่ด้วยกันทั้งในชาตินี้หรือชาติหน้า
เพราะบางคนความคิดมันแยกกันไปแล้วตั้งแต่ชาตินี้
ไม่ต้องไปถึงชาติหน้า พอความคิดแยกทาง ดำเนินชีวิตก็แยกกัน เพราะฉะนั้น พยายามปรับศรัทธา ปรับศีล
พยายามปรับจาคะ พยายามปรับปัญญา ให้มีสม่ำเสมอกัน
ให้ขึ้นมาใกล้เคียงกัน ก็จะไปกันได้
เท่าที่ปรากฏให้เห็นนะครับ เรื่องสามีภรรยามีความสำคัญต่อความสุข
หรือความทุกข์ของชีวิตฆราวาสมาก
คนที่ได้สามีหรือภรรยาดี มีศีลธรรมเป็นคนโชคดี
คำว่าโชคดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเรื่องลอยๆ
แต่ว่าเป็นเรื่องของผลดี ของกรรมดี
ที่ได้ทำไว้ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
คือว่า ปัจจุบันเราต้องเป็นคนดีด้วย
ดีมันดูดดี ชั่วมันดูดชั่ว
ถ้าเราอยากได้คนดี เราก็ต้องเป็นคนดีก่อน
ถ้าเราเป็นคนไม่ดี อยากได้แต่คนดี มันไม่ได้
ถ้าหากได้ตรงกันข้ามก็เป็นคนโชคร้ายมาก
เป็นคนไม่มีศีลธรรมด้วยกัน
ยังดีเสียกว่าฝ่ายหนึ่งที่มีศีลธรรม
แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มี เพราะว่ามันอยู่กันแบบเทวดาอยู่ร่วมกับปีศาจร้าย
ปีศาจร้ายอยู่ร่วมกับเทพธิดา แบบนี้ทรมานมาก
คนดีเมื่อมาอยู่ร่วมกับคนไม่ดีต้องมีความอดทนมาก
ไม่มีความสุขในชีวิตสมรส
โดยปกติชีวิตฆราวาสมีทุกข์มากอยู่แล้ว มีภาระมาก
มีเรื่องต้องวิตกกังวลมาก
หากได้เพื่อนร่วมชีวิตที่ไม่ดีเข้าอีก
ความทุกข์นั้นจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวทีเดียว เพราะ
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ทุราวาสา ฆราทุกขา
เรือนที่ครองไม่ดีเป็นทุกข์ ครองเรือนไม่ดีเป็นทุกข์
.
|
|
|
|
|
|
I am
บัวบานเต็มที่
เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.พ.2007, 8:25 am |
|
ธรรมสวัสดี วันแห่งความรักคร้าบ คุณลูกโป่ง
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ |
|
_________________ ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก |
|
|
|
|