Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบความหมายของรูปธรรม-นามธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กบ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบความหมายของรูปธรรม-นามธรรม

ทำไมไม่มีใครตอบความหมายของคำว่ารูปธรรม-นามธรรมค่ะ สาธุ
 
กรัชกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 6:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปธรรม
นามธรรม
เรียกย่อ รูป-นาม

ก็คือมนุษย์คนหนึ่ง หรือชีวิตหนึ่งนั่นเอง
รูปธรรม คือ สิ่งที่มองเห็นด้วยตาได้แก่อาการ 32 มีตา หู เป็นต้น ส่วนนี้เรียกว่ารูปหรือรูปธรรม

ส่วนนามธรรม คือ สิ่งที่คิดนึก เรียกว่า นามธรรม หรือเรียกสั้นว่า นาม
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2006, 2:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปธรรมนามธรรม คืออะไร หมายความว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่เป็นตัวตน เราเขา เป็นเพียงสภาพธรรมที่เรียกว่ารูป ที่เรียกว่านาม คือมีสิ่งจริงๆ มีอยู่เป็นอยู่ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา พระพุทธเจ้า ตรัสเรียกว่า รูปธรรมนามธรรม หรือถ้าขยายออกไปก็เรียกว่า "ขันธ์ห้า "

ขันธ์ห้า ก็คือ รูปนามนั่นแหละ ย่อลงมาแล้วคือรูปนาม คำว่ารูป คำว่านามเป็นสมมุติ คำว่าขันธ์ห้าก็เป็นสมมุติคือเป็นชื่อ เรียกชื่อออกมาว่ารูป เรียกชื่อว่านาม เรียกว่าขันธ์ห้า แต่เป็นสมมุติที่มีสภาวะรับรองอยู่คือสภาวะจริงๆ น่ะมีอยู่ การเข้าไปรู้เห็นนั้นที่เป็นวิปัสสนาคือรู้เห็นจริงๆ ไม่ใช่รู้เห็นด้วยการจำ หรือไม่ใช่เป็นการรู้ด้วยการเรียกชื่อเอา แต่เป็นการประจักษ์แจ้งหมายถึงการรู้เห็นเฉพาะหน้าปัจจุบัน ไม่ได้คิดไม่ได้นึก ไม่มีการนึกเอา ความรู้มันมีระดับเกิดจากความคิดนึกเอาก็ได้ เกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ การไตร่สวน การพิจารณาคิดนึกเอา ก็เกิดเป็นความรู้ขึ้น เกิดเป็นความเข้าใจขึ้น แต่ความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ยังไม่แจ้งไม่เป็นความรู้ที่รู้แจ้ง เพราะเป็นการรู้โดยการคิดนึกต่อสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงๆ เฉพาะหน้า



พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
ธรรมบรรยาย ตอนที่ 7 ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา


อ่านต่อตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7060
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
kt13
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 11 พ.ค. 2005
ตอบ: 18

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2006, 8:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปธรรม หมายถึง ธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
รวมทั้งปรากฏการณ์และความเป็นจริงที่มีอยู่จริงทาง ภาววิสัยด้วย ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้มีอยู่ต่างหากจากตัวเรา
และเป็นสิ่งสะท้อนขึ้นในจิตสำนึกของคนเรา เมื่อได้สัมผัสมัน
อันทำให้ได้รับรู้ถึงความมีอยู่ของมันในสิ่งนั้น ๆ
ในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า รูปธรรม หมายความถึง
สิ่งที่มีอยู่จริงทางภาววิสัยที่อวัยวะสัมผัสทั้ง 6 ของมนุษย์สามารถสัมผัส
ได้แก่ สิ่งที่มีอยู่จริงที่เรียกว่า รูป ซึ่งมีอยู่ต่างหากจาก นามธรรม
และเป็นตัวยืนให้จิตรับรู้อารมณ์หรือหลุดพ้นวิมุตจากการรับรู้อารมณ์โดยทั่วไป
1.1สสาร ในทางโลกมีคุณลักษณะ 2 ประการ คือ
1.1.1เปลี่ยนแปลงคุณภาพได้ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมตัวหรือแยกตัวของสสาร
แล้วแต่กรณี ก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า H2
และก๊าซออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า O2 สามารถรวมตัวเป็นไอน้ำ
ซึ่งมีสูตรทางเคมี H2O
เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้นในบรรยากาศที่มีก๊าซทั้งสองชนิดนี้อยู่ ในการกลับกัน
ถ้าเราแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ไฮโดรเจนจะแยกออกจากออกซิเจนกลับมาเป็นก๊าซอีกได้
โดยที่ก๊าซไฮโดรเจนจะไปปรากฏที่ขั้วลบ ส่วนก๊าซออกซิเจนจะไปปรากฏที่ขั้วบวก
1.1.2เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพได้ เช่น น้ำในภาวะปกติจะเป็นของเหลว
เมื่อกระทบกับความเย็นจัดจะแปรสภาพเป็นของแข็ง
หรือเมื่อกระทบความร้อนจัดจะกลายเป็นไอ ดังนี้เป็นต้น
1.2รูปธรรม ในทางพุทธศาสนามีคุณลักษณะ 3 ประการคือ
1.2.1มีการเคลื่อนไหว (Moving) อยู่เสมอ ซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวอยู่ภายนอก
และการเคลื่อนไหวภายใน เป็นการเคลื่อนไหวของปรมาณูที่มีอยู่ภายในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
1.2.2มีการเปลี่ยนแปลง (Changing) หรือเปลี่ยนแปลงคุณภาพได้อยู่เสมอ คือ
ไม่มีรูปแบบอันเป็นการคงที่หรือแน่นอนตายตัว
โดยรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของอากาศและกาลเวลา
1.2.3การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างส่งเดช แต่เป็นการเคลื่อนไหวอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎแห่งธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดคงทนถาวรตลอดกาลได้ สสารทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นไปตามกฎแห่งการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้น ๆ
รูปธรรมนั้น โดยตัวของมันเอง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นคุณ ไม่เป็นโทษ
ส่วนความดีความชั่ว ความเป็นคุณเป็นโทษ
จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมนุษย์นำเอาสิ่งนั้น ๆ ไปใช้หรือไปยึดมันเข้า
ตามตำราพระอภิธรรมจำแนกรูปออกได้หลายนัยด้วยกัน เช่น จำแนกโดยย่อก็มี
มหาภูตรูป 4 ได้แก่
ปฐวีธาตุ (ปถวีธาตุ) (ธาตุดิน) ของแข็ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ของเหลว เตโชธาตุ
(ธาตุไฟ) พลังงาน วาโยธาตุ (ธาตุลม) ก๊าซ
อุปาทานรูป 24 คือ รูปที่อาศัยการปรุงแต่งมาจากมหาภูตรูป 4 ได้แก่
ประสาทรูป 5 โคจรรูป 4 ภาวรูป 2 หทยรูป 1 อาหารรูป 1 ชีวิตรูป
1 ปริเอทรูป 1 วิญญัติรูป 2 วิการรูป 3 ลักษณะรูป 4
รวมเป็นอุปาทายรูป 24
นอกจากนี้ ก็มีการจำแนกรูปโดยวิภาค ซึ่งมี อัชญัติติกรูป พาหิรรูป
วัตถุรูป อวัตถุรูป ทวารรูป อินทรียรูป อนินทรียรูป โอฬิกรูป สุขุมรูป
ฯลฯ หรือถ้าจำแนกโดย สมุฏฐานก็มี กัมมสมุฏฐานรูป จิตตสมุฏฐานรูป
อุตุสมุฏฐานรูป อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
การจำแนกรูปต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่า
รูปนั้นมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่วิธีจำแนก แต่จะจำแนกโดยวิธีใดก็ตาม
วัตถุประสงค์ก็เพียงเพื่อให้เข้าใจว่า รูปนั้นหมายถึง
บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่จริง โดยเป็นอิสระต่างหากจากนามธรรม
เช่น ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่จริง
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สภาพแวดล้อม ความเป็นจริง ความประจักษ์
สภาพปกติ สภาพธรรมดา ศีลธรรม ความเป็นธรรม และสิ่งอื่น ๆ
ทั้งหลายทั้งปวงที่มี รูป คือ รูปรูป และสิ่งที่ไม่มีรูป คือ อรูปอรูป
อันได้แก่ อาการนามและคุณนามทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น

อิอิ คัดลอกมานะคับ เอาแค่นี้พอ อิอิ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2006, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุค่ะคุณ kt13
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2006, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปธรรม คือ ธรรมชาติ ที่รู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย หรือ รูปขันธ์ ,กามคุณ 5
นามธรรม คือธรรมชาติที รู้ได้ทางใจ ,รู้แจ้งได้ด้วยใจ หรือ ขันธ์๔
ทั้งรูปธรรม และ นามธรรม มีสภาพเป็น ไตรลักษณ์
 
แง้ว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2006, 5:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รูปธรรม คือรูป ได้แก่มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป 24

นามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง