Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
อยากทราบความหมายของรูปธรรม-นามธรรม
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
กบ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 5:05 pm
อยากทราบความหมายของรูปธรรม-นามธรรม
ทำไมไม่มีใครตอบความหมายของคำว่ารูปธรรม-นามธรรมค่ะ
กรัชกาย
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 6:43 pm
รูปธรรม
นามธรรม
เรียกย่อ รูป-นาม
ก็คือมนุษย์คนหนึ่ง หรือชีวิตหนึ่งนั่นเอง
รูปธรรม คือ สิ่งที่มองเห็นด้วยตาได้แก่อาการ 32 มีตา หู เป็นต้น ส่วนนี้เรียกว่ารูปหรือรูปธรรม
ส่วนนามธรรม คือ สิ่งที่คิดนึก เรียกว่า นามธรรม หรือเรียกสั้นว่า นาม
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2006, 2:53 am
รูปธรรมนามธรรม คืออะไร หมายความว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่เป็นตัวตน เราเขา เป็นเพียงสภาพธรรมที่เรียกว่ารูป ที่เรียกว่านาม คือมีสิ่งจริงๆ มีอยู่เป็นอยู่ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา พระพุทธเจ้า ตรัสเรียกว่า รูปธรรมนามธรรม หรือถ้าขยายออกไปก็เรียกว่า "ขันธ์ห้า "
ขันธ์ห้า ก็คือ รูปนามนั่นแหละ ย่อลงมาแล้วคือรูปนาม คำว่ารูป คำว่านามเป็นสมมุติ คำว่าขันธ์ห้าก็เป็นสมมุติคือเป็นชื่อ เรียกชื่อออกมาว่ารูป เรียกชื่อว่านาม เรียกว่าขันธ์ห้า แต่เป็นสมมุติที่มีสภาวะรับรองอยู่คือสภาวะจริงๆ น่ะมีอยู่ การเข้าไปรู้เห็นนั้นที่เป็นวิปัสสนาคือรู้เห็นจริงๆ ไม่ใช่รู้เห็นด้วยการจำ หรือไม่ใช่เป็นการรู้ด้วยการเรียกชื่อเอา แต่เป็นการประจักษ์แจ้งหมายถึงการรู้เห็นเฉพาะหน้าปัจจุบัน ไม่ได้คิดไม่ได้นึก ไม่มีการนึกเอา ความรู้มันมีระดับเกิดจากความคิดนึกเอาก็ได้ เกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์ การไตร่สวน การพิจารณาคิดนึกเอา ก็เกิดเป็นความรู้ขึ้น เกิดเป็นความเข้าใจขึ้น แต่ความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ยังไม่แจ้งไม่เป็นความรู้ที่รู้แจ้ง เพราะเป็นการรู้โดยการคิดนึกต่อสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงๆ เฉพาะหน้า
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
ธรรมบรรยาย ตอนที่ 7 ว่าด้วยเรื่องวิปัสสนา
อ่านต่อตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7060
kt13
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 11 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
ตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2006, 8:47 pm
รูปธรรม หมายถึง ธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
รวมทั้งปรากฏการณ์และความเป็นจริงที่มีอยู่จริงทาง ภาววิสัยด้วย ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้มีอยู่ต่างหากจากตัวเรา
และเป็นสิ่งสะท้อนขึ้นในจิตสำนึกของคนเรา เมื่อได้สัมผัสมัน
อันทำให้ได้รับรู้ถึงความมีอยู่ของมันในสิ่งนั้น ๆ
ในทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า รูปธรรม หมายความถึง
สิ่งที่มีอยู่จริงทางภาววิสัยที่อวัยวะสัมผัสทั้ง 6 ของมนุษย์สามารถสัมผัส
ได้แก่ สิ่งที่มีอยู่จริงที่เรียกว่า รูป ซึ่งมีอยู่ต่างหากจาก นามธรรม
และเป็นตัวยืนให้จิตรับรู้อารมณ์หรือหลุดพ้นวิมุตจากการรับรู้อารมณ์โดยทั่วไป
1.1สสาร ในทางโลกมีคุณลักษณะ 2 ประการ คือ
1.1.1เปลี่ยนแปลงคุณภาพได้ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมตัวหรือแยกตัวของสสาร
แล้วแต่กรณี ก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen) ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า H2
และก๊าซออกซิเจน (Oxygen) ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า O2 สามารถรวมตัวเป็นไอน้ำ
ซึ่งมีสูตรทางเคมี H2O
เมื่อมีประกายไฟเกิดขึ้นในบรรยากาศที่มีก๊าซทั้งสองชนิดนี้อยู่ ในการกลับกัน
ถ้าเราแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ไฮโดรเจนจะแยกออกจากออกซิเจนกลับมาเป็นก๊าซอีกได้
โดยที่ก๊าซไฮโดรเจนจะไปปรากฏที่ขั้วลบ ส่วนก๊าซออกซิเจนจะไปปรากฏที่ขั้วบวก
1.1.2เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพได้ เช่น น้ำในภาวะปกติจะเป็นของเหลว
เมื่อกระทบกับความเย็นจัดจะแปรสภาพเป็นของแข็ง
หรือเมื่อกระทบความร้อนจัดจะกลายเป็นไอ ดังนี้เป็นต้น
1.2รูปธรรม ในทางพุทธศาสนามีคุณลักษณะ 3 ประการคือ
1.2.1มีการเคลื่อนไหว (Moving) อยู่เสมอ ซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวอยู่ภายนอก
และการเคลื่อนไหวภายใน เป็นการเคลื่อนไหวของปรมาณูที่มีอยู่ภายในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
1.2.2มีการเปลี่ยนแปลง (Changing) หรือเปลี่ยนแปลงคุณภาพได้อยู่เสมอ คือ
ไม่มีรูปแบบอันเป็นการคงที่หรือแน่นอนตายตัว
โดยรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของอากาศและกาลเวลา
1.2.3การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างส่งเดช แต่เป็นการเคลื่อนไหวอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎแห่งธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดคงทนถาวรตลอดกาลได้ สสารทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นไปตามกฎแห่งการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้น ๆ
รูปธรรมนั้น โดยตัวของมันเอง ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นคุณ ไม่เป็นโทษ
ส่วนความดีความชั่ว ความเป็นคุณเป็นโทษ
จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมนุษย์นำเอาสิ่งนั้น ๆ ไปใช้หรือไปยึดมันเข้า
ตามตำราพระอภิธรรมจำแนกรูปออกได้หลายนัยด้วยกัน เช่น จำแนกโดยย่อก็มี
มหาภูตรูป 4 ได้แก่
ปฐวีธาตุ (ปถวีธาตุ) (ธาตุดิน) ของแข็ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ของเหลว เตโชธาตุ
(ธาตุไฟ) พลังงาน วาโยธาตุ (ธาตุลม) ก๊าซ
อุปาทานรูป 24 คือ รูปที่อาศัยการปรุงแต่งมาจากมหาภูตรูป 4 ได้แก่
ประสาทรูป 5 โคจรรูป 4 ภาวรูป 2 หทยรูป 1 อาหารรูป 1 ชีวิตรูป
1 ปริเอทรูป 1 วิญญัติรูป 2 วิการรูป 3 ลักษณะรูป 4
รวมเป็นอุปาทายรูป 24
นอกจากนี้ ก็มีการจำแนกรูปโดยวิภาค ซึ่งมี อัชญัติติกรูป พาหิรรูป
วัตถุรูป อวัตถุรูป ทวารรูป อินทรียรูป อนินทรียรูป โอฬิกรูป สุขุมรูป
ฯลฯ หรือถ้าจำแนกโดย สมุฏฐานก็มี กัมมสมุฏฐานรูป จิตตสมุฏฐานรูป
อุตุสมุฏฐานรูป อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
การจำแนกรูปต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่า
รูปนั้นมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่วิธีจำแนก แต่จะจำแนกโดยวิธีใดก็ตาม
วัตถุประสงค์ก็เพียงเพื่อให้เข้าใจว่า รูปนั้นหมายถึง
บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่จริง โดยเป็นอิสระต่างหากจากนามธรรม
เช่น ธรรมชาติ กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่จริง
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สภาพแวดล้อม ความเป็นจริง ความประจักษ์
สภาพปกติ สภาพธรรมดา ศีลธรรม ความเป็นธรรม และสิ่งอื่น ๆ
ทั้งหลายทั้งปวงที่มี รูป คือ รูปรูป และสิ่งที่ไม่มีรูป คือ อรูปอรูป
อันได้แก่ อาการนามและคุณนามทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น
อิอิ คัดลอกมานะคับ เอาแค่นี้พอ อิอิ
walaiporn
บัวบาน
เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ
ตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2006, 9:44 am
สาธุค่ะคุณ kt13
_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2006, 7:43 pm
รูปธรรม คือ ธรรมชาติ ที่รู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย หรือ รูปขันธ์ ,กามคุณ 5
นามธรรม คือธรรมชาติที รู้ได้ทางใจ ,รู้แจ้งได้ด้วยใจ หรือ ขันธ์๔
ทั้งรูปธรรม และ นามธรรม มีสภาพเป็น ไตรลักษณ์
แง้ว
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2006, 5:39 pm
รูปธรรม คือรูป ได้แก่มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป 24
นามธรรม คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th